6 กุมภาพันธ์ 1958 : เครื่องบินทีม “ปีศาจแดง” ระเบิดในมิวนิค เสียชีวิตรวม 23 ราย
(“บัสบีเบบ" ที่ถ่ายรูปร่วมกันก่อนเกมกับเรดสตาร์ ภาพจาก Wikimedia Commons)
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1958 นักเตะ 8 คน และเจ้าหน้าที่อีก 3 คน ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินระเบิดในมิวนิค ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตรวมจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 23 ราย
เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากพวกเขาบินกลับจากการแข่งขันกับเรดสตาร์เบลเกรดในเกมยูโรเปียนคัพ เครื่องบินของพวกเขาได้แวะจอดเติมเชื้อเพลิงในมิวนิค และพยามขึ้นบินท่ามกลางพายุหิมะซึ่งนักบินได้ล้มเลิกการขึ้นบินกลางคันแล้ว 2 ครั้ง และในความพยายามขึ้นบินครั้งที่ 3 นี่เองที่ทำให้เกิดหายนะขึ้น เครื่องบินลื่นไถลออกนอกรันเวย์ชนรั้วสนามบินจนเกิดการระเบิด
ผู้โดยสาร 21 รายได้เสียชีวิตทันทีหลังเกิดเหตุระเบิด กัปตันผู้บังคับเครื่องบิน เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ส่วนดันแคน เอ็ดเวิร์ด หนึ่งในนักเตะแมนยูฯ เสียชีวิตหลังเกิดเหตุได้ 15 วัน
ขณะที่ แมตต์ บัสบี ผู้จัดการทีม และบ็อบบี ชาร์ลตัน ซึ่งอายุเพียง 20 ปี ในขณะนั้น เอาชีวิตรอดมาได้ และมีส่วนในความสำเร็จครั้งใหญ่ในการสร้างทีมใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง และสามารถคว้าถ้วยยูโรเปียนคัพมาครองได้สำเร็จในอีก 10 ปีต่อมา
อ้างอิง เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
Cr.
https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_6219 / วันนี้ในอดีต
โศกนาฏกรรมแห่งซูเปอร์ก้า (Superga Air Disaster 1949)
(“อิล กรันเด้ โตริโน่” (Il Grande Torino))
ทีมเล็กๆ ทีมหนึ่ง ที่เคยก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งอย่างไร้คู่ต่อกรในดินแดนรองเท้าบูทแห่งนี้ และหากไม่เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นกับพวกเขา ไม่แน่ว่าประวัติศาสตร์วงการลูกหนังโลกอาจไม่ได้เป็นเหมือนเช่นทุกวันนี้ ซึ่งทีมนั้นก็คือ โตริโน่
ย้อนกลับไปในยุค 40 ช่วงที่โลกของเราเพิ่งบอกลาความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเพียงไม่กี่ปี สำหรับหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามอย่างหนักเช่นอิตาลี ฟุตบอลจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวที่ทำให้คนในชาติยิ้มได้ และทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้นคือ โตริโน่
พวกเขาคือทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเวลานั้น จนได้รับฉายาว่า “อิล กรันเด้ โตริโน่” (Il Grande Torino) ที่มีความหมายว่า ผู้ยิ่งใหญ่แห่งตูริน (The Grand Turin)
ช่วงยุค 40 นั้น โตริโน่คว้าแชมป์ เซเรีย อาไปถึง 5 สมัยคือในฤดูกาลที่ 1942–43, 1945–46, 1946–47, 1947–48, 1948–49, ความเก่งกาจของโตริโน่แพร่สะพัดไปทั่วยุโรป จนทางสโมสรเบนฟิก้า ยอดทีมจากโปรตุเกสได้ส่งคำเชิญให้ขุนพลกระทิงหิน อิล โตโร่ (Il Toro) ร่วมลงเตะเกมนัดพิเศษในนัดอำลาสนามของโชเซ่ แฟร์เรย์ร่า กัปตันทีมของเบนฟิก้า และก็ป็นทางโตริโน่ที่เอาชนะเบฟิก้าเจ้าถิ่นไปได้ 4-3
4 พฤษภาคม 1949 นี้คือวันที่ขุนพลกระทิงหินได้ออกเดินทางกลับอิตาลี แต่จะมีรู้ใครว่านี้จะเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของพวกเขา ในเวลา 14.50 น. เครื่องบินของพวกเขาออกเดินทางจากนครบาร์เซโลน่ามุ่งสู่ตูริน จนกระทั่งเครื่องบินเดินทางมาถึงตอนเหนือของประเทศปรากฏว่า สภาพอากาศในตูรินเลวร้ายอย่างมาก มีฝนตกหนัก ส่งผลให้ทัศนวิศัยในการบินย่ำแย่อย่างขีดสุด
ด้านนักบินแจ้งหอบังคับการบินว่า พวกเขาอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง ซึ่งในทิศทางนั้นคือที่ตั้งของ มหาวิหารแห่งซูเปอร์ก้า ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงกว่า 669 เมตร แต่เพดานบินของเครื่องบินในตอนนั้นอยู่ที่ 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้นักบินต้องรีบเชิดหัวเครื่องขึ้นอย่างเร่งด่วน แต่ก็ไม่ทันการเครื่องบินโดยสารพุ่งชนเข้ากับกำแพงวิหารอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดไปลุกไหม้เครื่องบินอย่างรุนแรง ชิ้นส่วนของเครื่องบินกระจุยกระจายไปทั่วบริเวณ และที่น่าเศร้าที่สุดคือไม่มีผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้
ในเวลานั้นทั่วอิตาลีเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ทั่วทั้งประเทศแสดงความอาลัยต่อการจากไปของพวกเขา หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับขึ้นข้อความแสดงความอาลัยต่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้
Cr.
https://workpointnews.com/2019/01/25/ย้อนรอยเหตุการณ์เครื่อ/ เขียนโดย :Workpoint News
โศกนาฏกรรมชาเปโคเอนเซ (Chapecoense air disaster 2016)
ชาเปโคเอนเซก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุดครั้งแรกในปี 2014 จนกระทั่งในปี 2016 จากทีมเล็กนอกสายตาพวกเขาก้าวขึ้นมาถึงรอบชิงชนะเลิศของศึก “โคปา ซูดาอเมริกานา” ซึ่งจะพบกับทีมอัตเลติโก นาซิอองนาล โดยก่อนหน้านี้พวกเขาผ่านทีมแกร่งๆ ในรอบน็อคเอาต์มาหลายๆทีม อาทิเช่นยักษ์ใหญ่จากอาร์เจนติน่าอย่าง ริเวอร์ เพลท, และซาน ลอเรนโซ่
28 พ.ย. 2016 เครื่องบินเช่าเหมาลำขนาดเล็กรุ่น Avro RJ85 ของสายการบิน LaMia เที่ยวบิน 2933 ได้ออกเดินทางจากเมืองซานตาครูซ เดอลา เซียรา ในประเทศโบลิเวีย มุ่งหน้าไปยังเมืองเมเดลลิน ในประเทศโคลอมเบีย ในขณะที่ใกล้จะถึงจุดหมายเครื่องบิน Avro RJ85 เกิดปัญหาขัดข้องขึ้นมาอย่างกะทันหัน เครื่องยนต์ไม่สามารถใช้การได้ ระบบไฟฟ้าทุกอย่างขัดข้อง ก่อนที่เครื่องบินจะดิ่งลงบริเวณหุบเขาที่ห่างจากเมืองเมเดลลินไม่มากนัก
อุบัติเหตุครั้งนี้ส่งผลให้นักเตะและสต๊าฟโค้ชของชาเปโคเอนเซ ต้องเสียชีวิตไปกว่า 81 ราย มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่รอดชีวิต โดยใน 3 จาก 5 คนที่รอดคือนักเตะของชาเปโคเอนเซ่ ได้แก่ อลัน รัสเซล , ดานิโล และ แจ็คสัน โฟลมันน์ ทั้งนี้เครื่องบินลำดังกล่าวถูกเตือนเรื่องปริมาณน้ำมันว่าอาจจะไม่เพียงพอที่จะไปถึงจุดหมาย ซึ่งทางนักบินเองก็ไม่ได้หยุดเติมน้ำมันที่เมืองโบโกต้า เมืองหลวงของโบลิเวีย แต่เลือกที่จะเดินทางไปที่เมเดลลินเลย
โศกนาฏกรรมครังนี้ถือเป็นอุบัติเหตุทางอากาศครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลยุคใหม่ ทั่วโลกต่างร่วมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้านบาร์เซโลน่ายอดทีมจากสเปนได้จัดโปรแกรมนัดพิเศษระหว่างทีมบาร์เซโลน่ากับชาเปโคเอนเซ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ครั้งนี้
Cr.
https://workpointnews.com/2019/01/25/ย้อนรอยเหตุการณ์เครื่อ/ เขียนโดย :Workpoint News
Cr.
https://www.bbc.com/thai/international-38143038
หายนะเที่ยวบิน 571 ที่เทือกเขาแอนดีส
เครื่องบินเช่าเหมาลำอุรุกวัยแอร์ฟอร์ซ นำผู้โดยสาร 45 ชีวิตรวมนักบิน และทีมรักบี้ของอุรุกวัย บินจากเมืองหลวงของอุรุกวัย มุ่งหน้าไปยังกรุงซานติอาโก ของชิลี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1972 แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ต้องหยุดพักที่สนามบินนานาชาติเมนโดซ่า ในอาร์เจนตินา ก่อนออกเดินทางอีกครั้งในวันถัดมา โดยไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเป็นการเดินทางที่พาพวกเขาไปสู่หายนะที่คร่าชีวิตเพื่อนร่วมทางไปหลายสิบคน ส่วนผู้รอดชีวิตก็ต้องกินเนื้อจากร่างมนุษย์ด้วยกันเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง
เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดเหตุขัดข้อง ประกอบกับสภาพอากาศเลวร้าย จึงตกลงบนเทือกเขาแอนดีส ผู้โดยสาร 12 ราย เสียชีวิตทันทีจากเหตุเครื่องบินตก อีก 6 ราย เสียชีวิตในอีกไม่กี่วันถัดมา และยังมีอีก 8 ชีวิต ที่จบลงจากเหตุหิมะที่ถล่มลงมายังซากเครื่องบินซึ่งพวกเขาปักหลักยึดเป็นที่พักพิง
อีก 16 คน ที่เหลืออยู่รอดได้ด้วยการกินเนื้อจากร่างผู้โดยสารที่เสียชีวิตไปแล้วเพื่อประทังชีวิตตัวเอง กว่าทั้งหมดจะถูกค้นพบและได้รับความช่วยเหลือก็เป็นเวลาอีก 72 วันถัดมา เมื่อ 2 คนในกลุ่มที่รอดชีวิต ตัดสินใจออกเดินเท้าข้ามเขตเขา ใช้เวลาถึง 10 วัน จนกระทั่งได้พบกับเซลล์แมนนักเดินทางชาวชีลีที่ได้แบ่งปันน้ำและอาหารให้ พร้อมทั้งแจ้งขอความช่วยเหลือกู้ภัยเร่งด่วนไปยังทางการ
เรื่องราวหายนะของเที่ยวบิน 571 และการต่อสู้ของผู้รอดชีวิตทั้ง 16 คน กลายเป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่อง Alive (1993)
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอบคุณภาพจาก
https://portalemisteri.altervista.org/blog/1972-tragico-incidente-aereo-delle-ande/
Cr.
https://hilight.kapook.com/view/99104
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา
6 กุมภาพันธ์ 1958 และเหตุการณ์เครื่องบินตกในประวัติศาสตร์โลกกีฬา
(“บัสบีเบบ" ที่ถ่ายรูปร่วมกันก่อนเกมกับเรดสตาร์ ภาพจาก Wikimedia Commons)
ในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1958 นักเตะ 8 คน และเจ้าหน้าที่อีก 3 คน ของสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ต้องเสียชีวิตจากอุบัติเหตุเครื่องบินระเบิดในมิวนิค ประเทศเยอรมนี ซึ่งมีผู้เสียชีวิตรวมจากเหตุการณ์นี้ทั้งหมด 23 ราย
เหตุดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากพวกเขาบินกลับจากการแข่งขันกับเรดสตาร์เบลเกรดในเกมยูโรเปียนคัพ เครื่องบินของพวกเขาได้แวะจอดเติมเชื้อเพลิงในมิวนิค และพยามขึ้นบินท่ามกลางพายุหิมะซึ่งนักบินได้ล้มเลิกการขึ้นบินกลางคันแล้ว 2 ครั้ง และในความพยายามขึ้นบินครั้งที่ 3 นี่เองที่ทำให้เกิดหายนะขึ้น เครื่องบินลื่นไถลออกนอกรันเวย์ชนรั้วสนามบินจนเกิดการระเบิด
ผู้โดยสาร 21 รายได้เสียชีวิตทันทีหลังเกิดเหตุระเบิด กัปตันผู้บังคับเครื่องบิน เสียชีวิตจากอาการบาดเจ็บในไม่กี่สัปดาห์ต่อมา ส่วนดันแคน เอ็ดเวิร์ด หนึ่งในนักเตะแมนยูฯ เสียชีวิตหลังเกิดเหตุได้ 15 วัน
ขณะที่ แมตต์ บัสบี ผู้จัดการทีม และบ็อบบี ชาร์ลตัน ซึ่งอายุเพียง 20 ปี ในขณะนั้น เอาชีวิตรอดมาได้ และมีส่วนในความสำเร็จครั้งใหญ่ในการสร้างทีมใหม่ขึ้นมาอีกครั้ง และสามารถคว้าถ้วยยูโรเปียนคัพมาครองได้สำเร็จในอีก 10 ปีต่อมา
อ้างอิง เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2561
Cr.https://www.silpa-mag.com/this-day-in-history/article_6219 / วันนี้ในอดีต
โศกนาฏกรรมแห่งซูเปอร์ก้า (Superga Air Disaster 1949)
(“อิล กรันเด้ โตริโน่” (Il Grande Torino))
ทีมเล็กๆ ทีมหนึ่ง ที่เคยก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งอย่างไร้คู่ต่อกรในดินแดนรองเท้าบูทแห่งนี้ และหากไม่เกิดโศกนาฏกรรมขึ้นกับพวกเขา ไม่แน่ว่าประวัติศาสตร์วงการลูกหนังโลกอาจไม่ได้เป็นเหมือนเช่นทุกวันนี้ ซึ่งทีมนั้นก็คือ โตริโน่
ย้อนกลับไปในยุค 40 ช่วงที่โลกของเราเพิ่งบอกลาความบอบช้ำจากสงครามโลกครั้งที่ 2 มาเพียงไม่กี่ปี สำหรับหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสงครามอย่างหนักเช่นอิตาลี ฟุตบอลจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวที่ทำให้คนในชาติยิ้มได้ และทีมที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเวลานั้นคือ โตริโน่
พวกเขาคือทีมที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในเวลานั้น จนได้รับฉายาว่า “อิล กรันเด้ โตริโน่” (Il Grande Torino) ที่มีความหมายว่า ผู้ยิ่งใหญ่แห่งตูริน (The Grand Turin)
ช่วงยุค 40 นั้น โตริโน่คว้าแชมป์ เซเรีย อาไปถึง 5 สมัยคือในฤดูกาลที่ 1942–43, 1945–46, 1946–47, 1947–48, 1948–49, ความเก่งกาจของโตริโน่แพร่สะพัดไปทั่วยุโรป จนทางสโมสรเบนฟิก้า ยอดทีมจากโปรตุเกสได้ส่งคำเชิญให้ขุนพลกระทิงหิน อิล โตโร่ (Il Toro) ร่วมลงเตะเกมนัดพิเศษในนัดอำลาสนามของโชเซ่ แฟร์เรย์ร่า กัปตันทีมของเบนฟิก้า และก็ป็นทางโตริโน่ที่เอาชนะเบฟิก้าเจ้าถิ่นไปได้ 4-3
4 พฤษภาคม 1949 นี้คือวันที่ขุนพลกระทิงหินได้ออกเดินทางกลับอิตาลี แต่จะมีรู้ใครว่านี้จะเป็นการเดินทางครั้งสุดท้ายของพวกเขา ในเวลา 14.50 น. เครื่องบินของพวกเขาออกเดินทางจากนครบาร์เซโลน่ามุ่งสู่ตูริน จนกระทั่งเครื่องบินเดินทางมาถึงตอนเหนือของประเทศปรากฏว่า สภาพอากาศในตูรินเลวร้ายอย่างมาก มีฝนตกหนัก ส่งผลให้ทัศนวิศัยในการบินย่ำแย่อย่างขีดสุด
ด้านนักบินแจ้งหอบังคับการบินว่า พวกเขาอยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง ซึ่งในทิศทางนั้นคือที่ตั้งของ มหาวิหารแห่งซูเปอร์ก้า ตั้งอยู่ที่ความสูงจากระดับน้ำทะเลถึงกว่า 669 เมตร แต่เพดานบินของเครื่องบินในตอนนั้นอยู่ที่ 600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ทำให้นักบินต้องรีบเชิดหัวเครื่องขึ้นอย่างเร่งด่วน แต่ก็ไม่ทันการเครื่องบินโดยสารพุ่งชนเข้ากับกำแพงวิหารอย่างรุนแรง ส่งผลให้เกิดไปลุกไหม้เครื่องบินอย่างรุนแรง ชิ้นส่วนของเครื่องบินกระจุยกระจายไปทั่วบริเวณ และที่น่าเศร้าที่สุดคือไม่มีผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์ครั้งนี้
ในเวลานั้นทั่วอิตาลีเต็มไปด้วยความโศกเศร้า ทั่วทั้งประเทศแสดงความอาลัยต่อการจากไปของพวกเขา หน้าหนึ่งของหนังสือพิมพ์ทุกฉบับขึ้นข้อความแสดงความอาลัยต่อโศกนาฏกรรมครั้งนี้
Cr.https://workpointnews.com/2019/01/25/ย้อนรอยเหตุการณ์เครื่อ/ เขียนโดย :Workpoint News
โศกนาฏกรรมชาเปโคเอนเซ (Chapecoense air disaster 2016)
ชาเปโคเอนเซก้าวขึ้นสู่ลีกสูงสุดครั้งแรกในปี 2014 จนกระทั่งในปี 2016 จากทีมเล็กนอกสายตาพวกเขาก้าวขึ้นมาถึงรอบชิงชนะเลิศของศึก “โคปา ซูดาอเมริกานา” ซึ่งจะพบกับทีมอัตเลติโก นาซิอองนาล โดยก่อนหน้านี้พวกเขาผ่านทีมแกร่งๆ ในรอบน็อคเอาต์มาหลายๆทีม อาทิเช่นยักษ์ใหญ่จากอาร์เจนติน่าอย่าง ริเวอร์ เพลท, และซาน ลอเรนโซ่
28 พ.ย. 2016 เครื่องบินเช่าเหมาลำขนาดเล็กรุ่น Avro RJ85 ของสายการบิน LaMia เที่ยวบิน 2933 ได้ออกเดินทางจากเมืองซานตาครูซ เดอลา เซียรา ในประเทศโบลิเวีย มุ่งหน้าไปยังเมืองเมเดลลิน ในประเทศโคลอมเบีย ในขณะที่ใกล้จะถึงจุดหมายเครื่องบิน Avro RJ85 เกิดปัญหาขัดข้องขึ้นมาอย่างกะทันหัน เครื่องยนต์ไม่สามารถใช้การได้ ระบบไฟฟ้าทุกอย่างขัดข้อง ก่อนที่เครื่องบินจะดิ่งลงบริเวณหุบเขาที่ห่างจากเมืองเมเดลลินไม่มากนัก
อุบัติเหตุครั้งนี้ส่งผลให้นักเตะและสต๊าฟโค้ชของชาเปโคเอนเซ ต้องเสียชีวิตไปกว่า 81 ราย มีเพียง 5 คนเท่านั้นที่รอดชีวิต โดยใน 3 จาก 5 คนที่รอดคือนักเตะของชาเปโคเอนเซ่ ได้แก่ อลัน รัสเซล , ดานิโล และ แจ็คสัน โฟลมันน์ ทั้งนี้เครื่องบินลำดังกล่าวถูกเตือนเรื่องปริมาณน้ำมันว่าอาจจะไม่เพียงพอที่จะไปถึงจุดหมาย ซึ่งทางนักบินเองก็ไม่ได้หยุดเติมน้ำมันที่เมืองโบโกต้า เมืองหลวงของโบลิเวีย แต่เลือกที่จะเดินทางไปที่เมเดลลินเลย
โศกนาฏกรรมครังนี้ถือเป็นอุบัติเหตุทางอากาศครั้งใหญ่ในประวัติศาสตร์ฟุตบอลยุคใหม่ ทั่วโลกต่างร่วมแสดงความเสียใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ด้านบาร์เซโลน่ายอดทีมจากสเปนได้จัดโปรแกรมนัดพิเศษระหว่างทีมบาร์เซโลน่ากับชาเปโคเอนเซ เพื่อมอบเงินช่วยเหลือครอบครัวของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ครั้งนี้
Cr.https://workpointnews.com/2019/01/25/ย้อนรอยเหตุการณ์เครื่อ/ เขียนโดย :Workpoint News
Cr. https://www.bbc.com/thai/international-38143038
หายนะเที่ยวบิน 571 ที่เทือกเขาแอนดีส
เครื่องบินเช่าเหมาลำอุรุกวัยแอร์ฟอร์ซ นำผู้โดยสาร 45 ชีวิตรวมนักบิน และทีมรักบี้ของอุรุกวัย บินจากเมืองหลวงของอุรุกวัย มุ่งหน้าไปยังกรุงซานติอาโก ของชิลี เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 1972 แต่ด้วยสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้ต้องหยุดพักที่สนามบินนานาชาติเมนโดซ่า ในอาร์เจนตินา ก่อนออกเดินทางอีกครั้งในวันถัดมา โดยไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเป็นการเดินทางที่พาพวกเขาไปสู่หายนะที่คร่าชีวิตเพื่อนร่วมทางไปหลายสิบคน ส่วนผู้รอดชีวิตก็ต้องกินเนื้อจากร่างมนุษย์ด้วยกันเพื่อความอยู่รอดของตัวเอง
เครื่องบินลำดังกล่าวเกิดเหตุขัดข้อง ประกอบกับสภาพอากาศเลวร้าย จึงตกลงบนเทือกเขาแอนดีส ผู้โดยสาร 12 ราย เสียชีวิตทันทีจากเหตุเครื่องบินตก อีก 6 ราย เสียชีวิตในอีกไม่กี่วันถัดมา และยังมีอีก 8 ชีวิต ที่จบลงจากเหตุหิมะที่ถล่มลงมายังซากเครื่องบินซึ่งพวกเขาปักหลักยึดเป็นที่พักพิง
อีก 16 คน ที่เหลืออยู่รอดได้ด้วยการกินเนื้อจากร่างผู้โดยสารที่เสียชีวิตไปแล้วเพื่อประทังชีวิตตัวเอง กว่าทั้งหมดจะถูกค้นพบและได้รับความช่วยเหลือก็เป็นเวลาอีก 72 วันถัดมา เมื่อ 2 คนในกลุ่มที่รอดชีวิต ตัดสินใจออกเดินเท้าข้ามเขตเขา ใช้เวลาถึง 10 วัน จนกระทั่งได้พบกับเซลล์แมนนักเดินทางชาวชีลีที่ได้แบ่งปันน้ำและอาหารให้ พร้อมทั้งแจ้งขอความช่วยเหลือกู้ภัยเร่งด่วนไปยังทางการ
เรื่องราวหายนะของเที่ยวบิน 571 และการต่อสู้ของผู้รอดชีวิตทั้ง 16 คน กลายเป็นที่มาของภาพยนตร์เรื่อง Alive (1993)
เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอบคุณภาพจาก https://portalemisteri.altervista.org/blog/1972-tragico-incidente-aereo-delle-ande/
Cr.https://hilight.kapook.com/view/99104
ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา