พรหมวิหาร ๔
พรหมวิหาร ๔ แปลว่า ที่อยู่ของผู้มีจิตใจประเสริฐ จิตใจกว้าง ประกอบด้วยหลักธรรมประการ ดังนี้
๑. เมตตา (loving-kindness; friendliness) คือ รัก เห็นอกเห็นใจ มีความสงสารต่อกัน เอื้อต่อกัน เมตตาต้องประกอบด้วยปัญญา ถ้าเมตตาไม่ประกอบด้วยปัญญาจะเป็นเมตตาดำ เช่น ธรรมที่ใกล้เคียงกับเมตตา คือ สิเน่หา ความมีเสน่หา ความเยื่อใยหรือความรักใคร่ รักต้องการผลตอบแทน
เอื้อ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้ออำนวย เอื้อให้โอกาส เอื้ออารี อารีอารอบ หมายถึง มีเมตตาต่อกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เปิดใจเต็มใจที่จะช่วยเหลือ รักกัน ส่งเสริมให้ เปิดโอกาสให้ ยอมรับเปิดโอกาสให้เหตุผล เอื้อโอกาสยอมรับฟังเขา เอื้อโอกาสให้เขารับฟังเรา แสดงความมีน้ำใจดีต่อผู้อื่น เอาใจใส่ มีน้ำใจ มีความเมตตาต่อกัน
ธรรมที่ตรงข้ามกับเมตตา คือ ความอาฆาต ความพยาบาท จองเวรซึ่งกันและกัน
๒. กรุณา (compassion) คือ มีใจจะช่วยเหลือ และแบ่งปันเกื้อหนุนกัน เข้าไปช่วยเหลืออย่างไม่มีเงื่อนไข (ไม่หวังสิ่งตอบแทน)
เกื้อ คือ เกื้อกูล เกื้อหนุน ส่งเสริม ทนุบำรุง ดำรงรักษา ดูแล อุ้มชู ปฏิสังขรณ์ ช่วยเหลือแบ่งปัน และเอื้อให้มีโอกาสกลับตัวกลับใจ ทำดี ปลดทุกข์ แก้ทุกข์ และมีจาคะอภัยให้ ไม่ถือสา มีความกรุณาต่อกัน
ธรรมที่ใกล้เคียงกับกรุณา คือ โสกะจิต คือ จิตที่ประกอบด้วยความโศก เช่น ร้องห่มร้องไห้
ธรรมที่ตรงข้ามกับกรุณา คือ วิหิงสา เบียดเบียน
๓. มุทิตา (sympathetic joy; altruistic joy) คือ มีความปรารถนาดีต่อกัน ยินดีไม่อิจฉา สาธุต่อผู้ได้ดี ไม่ให้ร้าย กล่าวโทษแก่ผู้อื่น ไม่ซ้ำเติมผู้อื่น ให้โอกาส ให้อภัย ให้อโหสิต่อกัน เคารพซึ่งกันและกัน มีความปรารถนาดีอย่างไม่หวังผลประโยชน์ต่อตนเองอย่างมีเงื่อนไข (ดีก็สรรเสริญ ตกทุกข์ก็เห็นใจ ให้โอกาส ไม่ซ้ำเติม)
กัน คือ เข้าใจซึ่งกันและกัน และให้โอกาส ให้อภัย เคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ไม่อคติต่อกัน และป้องกันไม่ให้ตกไปในความชั่ว ใฝ่ต่ำ ทุจริต คดโกง เข้าสู่ในหุบเหวแห่งอบายมุข เคารพในหน้าที่ ป้องกันซึ่งกันและกัน รักซึ่งกันและกัน สามัคคีกัน เคารพตัวเอง อย่าเป็นปรปักษ์กัน ความคิดอย่าตีกัน อย่าดูถูก ดูแคลน หมิ่นเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้นซึ่งกันและกัน และมีมุทิตาต่อกัน
ธรรมที่ใกล้เคียงกับมุฑิตา คือ ปหาสะ คือ ความร่าเริง และปฏิฆะ อุนฺนยะ คือ การตั้งเงื่อนไขไว้ก่อน เช่น คนดีหรือคนไม่ดี
ธรรมที่ตรงข้ามกับมุฑิตา คือ อรติ คือ จิตต่อต้าน ปรปักษ์ ปะทะ ความไม่ยินดี ไม่ใยดี ริษยา
ตั้งฐานจิตมุทิตาช่วยเหลือบุคคลให้คิดดังนี้
๑. ต้องตั้งฐานจิตให้เป็นกลาง อย่าอคติ
๒. เราพร้อมให้โอกาสเขา (เอื้อ-เกื้อ-กัน) และให้มองว่าเขาขาด อย่ามองว่าเขาผิด และการให้ "โอกาส" คนอื่นเป็นความกรุณาชั้นสูง
๓. ยอมรับความเป็นธรรมชาติ ของแต่ละฝ่ายได้ หรือแต่ละบุคคลได้ เช่น คนนี้เขาเป็นคนช้า เราต้องยอมรับเขาไม่งั้นเราต้องปวดหัวกับเขา ถ้ายอมรับเราก็สามารถเปลี่ยนแปลงเขาได้
๔. อุเบกเขา (equanimity; neutrality; poise) รู้และเข้าใจยอมรับความจริงแห่งภาวะธรรมนั้นๆ หมายความว่า แล้วแต่เหตุเป็นเช่นใดยอมรับในผลนั้น เหตุย่อมเป็นไปตามผลนั้น สร้างเหตุเช่นใดย่อมเป็นไปตามผลแห่งเหตุเช่นนั้นๆ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความเห็นทิฏฐิของตนและในการปล่อยวางสิ่งต่างๆ ย่อมให้เห็นเป็นไปตามวิถีแห่งธรรม ไม่มีอคติ มีความยุติธรรม และปัญญาที่รู้เข้าใจธรรมชาติ ยอมรับความเป็นจริงเป็นไปตามวิถีแห่งธรรมนั้นๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามธรรมที่เราต้องให้เป็นไปหรือให้อยู่
เราทำดีแล้วมีคนชมเราดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราหลงใหลกับคำชื่นชมเหล่านั้นไม่ชื่อว่าอุเบกขา ธรรมที่ใกล้เคียงกับอุเบกขา คือ อัญญาณุเบกขา (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)
ธรรมที่ตรงข้ามกับอุเบกขา คือ ราคะ บังคับข่มขืนจิตใจ และ ปฏิฆะ คือ สะใจ ชอบใจและขัดใจ
เข้าใจธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามธรรม ธรรมชาติของธรรมเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ฉะนั้นเราจึงต้องไปทำกิจของตนโดยธรรม กำหนดจิตของเราให้เป็นไปตามวิถีแห่งธรรม โดยธรรม
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต
อธิบายธรรม "พรหมวิหาร 4"
พรหมวิหาร ๔ แปลว่า ที่อยู่ของผู้มีจิตใจประเสริฐ จิตใจกว้าง ประกอบด้วยหลักธรรมประการ ดังนี้
๑. เมตตา (loving-kindness; friendliness) คือ รัก เห็นอกเห็นใจ มีความสงสารต่อกัน เอื้อต่อกัน เมตตาต้องประกอบด้วยปัญญา ถ้าเมตตาไม่ประกอบด้วยปัญญาจะเป็นเมตตาดำ เช่น ธรรมที่ใกล้เคียงกับเมตตา คือ สิเน่หา ความมีเสน่หา ความเยื่อใยหรือความรักใคร่ รักต้องการผลตอบแทน
เอื้อ คือ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เอื้ออำนวย เอื้อให้โอกาส เอื้ออารี อารีอารอบ หมายถึง มีเมตตาต่อกัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน เปิดใจเต็มใจที่จะช่วยเหลือ รักกัน ส่งเสริมให้ เปิดโอกาสให้ ยอมรับเปิดโอกาสให้เหตุผล เอื้อโอกาสยอมรับฟังเขา เอื้อโอกาสให้เขารับฟังเรา แสดงความมีน้ำใจดีต่อผู้อื่น เอาใจใส่ มีน้ำใจ มีความเมตตาต่อกัน
ธรรมที่ตรงข้ามกับเมตตา คือ ความอาฆาต ความพยาบาท จองเวรซึ่งกันและกัน
๒. กรุณา (compassion) คือ มีใจจะช่วยเหลือ และแบ่งปันเกื้อหนุนกัน เข้าไปช่วยเหลืออย่างไม่มีเงื่อนไข (ไม่หวังสิ่งตอบแทน)
เกื้อ คือ เกื้อกูล เกื้อหนุน ส่งเสริม ทนุบำรุง ดำรงรักษา ดูแล อุ้มชู ปฏิสังขรณ์ ช่วยเหลือแบ่งปัน และเอื้อให้มีโอกาสกลับตัวกลับใจ ทำดี ปลดทุกข์ แก้ทุกข์ และมีจาคะอภัยให้ ไม่ถือสา มีความกรุณาต่อกัน
ธรรมที่ใกล้เคียงกับกรุณา คือ โสกะจิต คือ จิตที่ประกอบด้วยความโศก เช่น ร้องห่มร้องไห้
ธรรมที่ตรงข้ามกับกรุณา คือ วิหิงสา เบียดเบียน
๓. มุทิตา (sympathetic joy; altruistic joy) คือ มีความปรารถนาดีต่อกัน ยินดีไม่อิจฉา สาธุต่อผู้ได้ดี ไม่ให้ร้าย กล่าวโทษแก่ผู้อื่น ไม่ซ้ำเติมผู้อื่น ให้โอกาส ให้อภัย ให้อโหสิต่อกัน เคารพซึ่งกันและกัน มีความปรารถนาดีอย่างไม่หวังผลประโยชน์ต่อตนเองอย่างมีเงื่อนไข (ดีก็สรรเสริญ ตกทุกข์ก็เห็นใจ ให้โอกาส ไม่ซ้ำเติม)
กัน คือ เข้าใจซึ่งกันและกัน และให้โอกาส ให้อภัย เคารพในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ไม่อคติต่อกัน และป้องกันไม่ให้ตกไปในความชั่ว ใฝ่ต่ำ ทุจริต คดโกง เข้าสู่ในหุบเหวแห่งอบายมุข เคารพในหน้าที่ ป้องกันซึ่งกันและกัน รักซึ่งกันและกัน สามัคคีกัน เคารพตัวเอง อย่าเป็นปรปักษ์กัน ความคิดอย่าตีกัน อย่าดูถูก ดูแคลน หมิ่นเชื้อชาติ ศาสนา ชนชั้นซึ่งกันและกัน และมีมุทิตาต่อกัน
ธรรมที่ใกล้เคียงกับมุฑิตา คือ ปหาสะ คือ ความร่าเริง และปฏิฆะ อุนฺนยะ คือ การตั้งเงื่อนไขไว้ก่อน เช่น คนดีหรือคนไม่ดี
ธรรมที่ตรงข้ามกับมุฑิตา คือ อรติ คือ จิตต่อต้าน ปรปักษ์ ปะทะ ความไม่ยินดี ไม่ใยดี ริษยา
ตั้งฐานจิตมุทิตาช่วยเหลือบุคคลให้คิดดังนี้
๑. ต้องตั้งฐานจิตให้เป็นกลาง อย่าอคติ
๒. เราพร้อมให้โอกาสเขา (เอื้อ-เกื้อ-กัน) และให้มองว่าเขาขาด อย่ามองว่าเขาผิด และการให้ "โอกาส" คนอื่นเป็นความกรุณาชั้นสูง
๓. ยอมรับความเป็นธรรมชาติ ของแต่ละฝ่ายได้ หรือแต่ละบุคคลได้ เช่น คนนี้เขาเป็นคนช้า เราต้องยอมรับเขาไม่งั้นเราต้องปวดหัวกับเขา ถ้ายอมรับเราก็สามารถเปลี่ยนแปลงเขาได้
๔. อุเบกเขา (equanimity; neutrality; poise) รู้และเข้าใจยอมรับความจริงแห่งภาวะธรรมนั้นๆ หมายความว่า แล้วแต่เหตุเป็นเช่นใดยอมรับในผลนั้น เหตุย่อมเป็นไปตามผลนั้น สร้างเหตุเช่นใดย่อมเป็นไปตามผลแห่งเหตุเช่นนั้นๆ
ไม่ยึดมั่นถือมั่นในความเห็นทิฏฐิของตนและในการปล่อยวางสิ่งต่างๆ ย่อมให้เห็นเป็นไปตามวิถีแห่งธรรม ไม่มีอคติ มีความยุติธรรม และปัญญาที่รู้เข้าใจธรรมชาติ ยอมรับความเป็นจริงเป็นไปตามวิถีแห่งธรรมนั้นๆ ไม่ยึดมั่นถือมั่นตามธรรมที่เราต้องให้เป็นไปหรือให้อยู่
เราทำดีแล้วมีคนชมเราดีอย่างนั้นอย่างนี้ แล้วเราหลงใหลกับคำชื่นชมเหล่านั้นไม่ชื่อว่าอุเบกขา ธรรมที่ใกล้เคียงกับอุเบกขา คือ อัญญาณุเบกขา (เฉยไม่รู้เรื่อง เฉยโง่ เฉยเมย)
ธรรมที่ตรงข้ามกับอุเบกขา คือ ราคะ บังคับข่มขืนจิตใจ และ ปฏิฆะ คือ สะใจ ชอบใจและขัดใจ
เข้าใจธรรม ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามธรรม ธรรมชาติของธรรมเป็นเช่นนี้ เป็นเรื่องปกติธรรมดา ฉะนั้นเราจึงต้องไปทำกิจของตนโดยธรรม กำหนดจิตของเราให้เป็นไปตามวิถีแห่งธรรม โดยธรรม
^_^ ..._/\_... ^_^
ขอความเคารพ หากผู้รู้มีสิ่งชี้แนะ น้อมรับฟังเสมอ และขอความกรุณาแย้ง ชี้แจง ชี้แนะ แม้แต่ต้องการให้เพิ่มเติมสิ่งใด ก็ขอได้บอกกล่าวมา
อ.พรหมสิทธิ์ ทิพย์ธาดาวงศ์
เอื้อ-เกื้อ-กัน เป็นกัลยาณมิตรทุกขณะจิต