[ความคิดเห็น]
กรณีการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น จากคนสู่คน ที่เยอรมัน หญิงชาวจีนคือผู้ป่วยดรรชนี (Index Patient) แพร่เชื้อจากคนสู่คนให้ผู้ป่วย 1 และ 2 ในระหว่างการประชุม ก่อนบินกลับจีนแล้วพบว่าตนเองป่วยภายหลัง ดังที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น
ชม timeline ตามนี้นะครับ
ประเด็นที่ผมสนใจ คือผู้ป่วย 3 และ 4 ดังนี้ครับ
- ผู้ป่วย 3 ไม่ได้เข้าประชุม ไม่ได้พบปะกับผู้ป่วยดรรชนี แต่พบปะกับผู้ป่วย 1 รายเดียว ในวันเดียวกับวันประชุม แสดงอาการช้ากว่าผู้ป่วย 1 นาน 2 วัน
ดังนั้นคาดว่าผู้ป่วย 3 ได้รับเชื้อจากผู้ป่วย 1 ซึ่งยังไม่แสดงอาการใดๆ ในช่วงวันที่ 20 และ/หรือ 21 ซึ่งมีการพบปะกัน
- ผู้ป่วย 4 ไม่ได้เข้าประชุม ไม่ได้พบปะกับผู้ป่วยดรรชนี แต่พบปะกับผู้ป่วย 1 รายเดียว เป็นเวลา 4 วัน คาดว่าติดเชื้อจากผู้ป่วย 1 ในช่วงที่ผู้ป่วย 1 ยังไม่แสดงอาการใดๆ เช่นกัน
การแพร่เชื้อจากผู้ป่วย 1 ไปยังผู้ป่วย 3 และ 4 เป็นกรณีติดเชื้อจากคนสู่คน ในประเทศท้องถิ่น ทั้งๆ ที่ผู้แพร่เชื้อยังไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจเกิดจาก 2 กรณี :-
1) เชื้อไวรัสเข้าสู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย 1 ไปแล้ว และส่งผ่านออกมาจากภายในของผู้ป่วย 1 แพร่ไปยังผู้ป่วย 3 และ 4 ถ้าเป็นจริง แสดงว่าเชื้อใช้เวลาอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย 1 เพียง 1-2 วัน ก็สามารถแพร่พันธุ์ ย้อนกลับออกมานอกร่างกายผู้ป่วย 1 เพื่อแพร่ไปยังผู้อื่นได้แล้ว แต่จะแพร่ออกไปได้อย่างไรยังไม่ทราบ เพราะผู้ป่วย 1 ยังไม่มีอาการไอจามใดๆ
2) มีเชื้อไวรัสเดิมๆ ที่รับมาจากผู้ป่วยดรรชนี (หญิงจีน) บางส่วน ที่ยังคงติดอยู่กับตัว ภายนอกของผู้ป่วย 1 (เช่นที่มือ, เสื้อผ้า ฯลฯ) ซึ่งได้แพร่เชื้อไปยังผู้ป่วย 3 และ 4 อาจโดยผ่านการสัมผัส (เช่นการจับมือ โอบกอด ฯลฯ) หรือผ่านน้ำลายที่กระเด็นออกจากปาก จากนั้นเชื้อก็สามารถเข้าสู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย 3 และ 4 ได้ต่อไป (เช่นจากการเอามือแคะจมูก ขยี้ตา ฯลฯ)
ผมเชื่อว่า ในแง่ความน่าจะเป็น กรณีที่ 2 เป็นไปได้มากกว่า มากๆ ครับ
สรุปบทเรียน คาดว่า เชื้อไวรัสอู่ฮั่น อาจทนทานอยู่ในสภาพแวดล้อมภายนอกได้นาน หลายชั่วโมง หรือแม้กระทั่ง 1-2 วัน และนานพอที่จะเกาะติดตัวกับผู้ป่วย 1 อยู่ภายนอก จนไปแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยอื่นๆ ได้ ในขณะที่เชื้อที่รับมาบางส่วน ก็หลุดเข้าไปฟักตัวภายในผู้ป่วย 1 เอง
อนึ่ง สภาพอากาศของไทย ร้อนกว่าเยอรมันมาก เชื้ออาจจะทนอยู่ในอากาศภายนอกได้ไม่นานเท่า ซึ่งยังรอดูข้อมูลอยู่ครับ แต่ก่อนจะทราบได้ ก็คงต้องรอให้มีกรณี มีผู้ติดเชื้อต่อจากพี่แท้กซี่ ให้ศึกษากันว่าติดเชื้อกันได้อย่างไรนะครับ
ข้อสรุปเพื่อเฝ้าระวัง ควรอยู่ห่างๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น แต่พูดง่ายทำยาก ถ้าไปตลาดสด ก็ต้องสัมผัสผ่านธนบัตร/เหรียญ หรือมือ หรือการพูดคุยกัน อยู่ในรถไฟฟ้าเบียดเสียด ก็ยากที่จะไม่สัมผัสใคร ฯลฯ ถ้าสามารถเลี่ยงที่คนเยอะๆ ได้มากเท่าไหร่ ก็จะเสี่ยงน้อยลงเท่านั้นครับ
แต่หากสัมผัสไปแล้ว ต้องพยายามล้างมือทุกครั้ง หรือพกเจลแอลกอฮอล์ เช็ดก่อนที่จะเผลอนำมือไปขยี้ตาหรือแคะจมูก เรื่องนี้ การสวมถุงมือและแว่นตา เสริมจากเพียงหน้ากากอนามัย น่าจะช่วยได้ครับ
นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ ไม่รับประกันความถูกต้องแม่นยำใดๆ ทั้งสิ้น ขอให้ทุกท่านโชคดีไม่ติดเชื้อครับ
เอกสารงานวิจัยของเยอรมัน
https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc2001468
รูปแบบการติดต่อของไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น จากคนสู่คน บทเรียนจากเยอรมัน
กรณีการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าอู่ฮั่น จากคนสู่คน ที่เยอรมัน หญิงชาวจีนคือผู้ป่วยดรรชนี (Index Patient) แพร่เชื้อจากคนสู่คนให้ผู้ป่วย 1 และ 2 ในระหว่างการประชุม ก่อนบินกลับจีนแล้วพบว่าตนเองป่วยภายหลัง ดังที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น
ชม timeline ตามนี้นะครับ
ประเด็นที่ผมสนใจ คือผู้ป่วย 3 และ 4 ดังนี้ครับ
- ผู้ป่วย 3 ไม่ได้เข้าประชุม ไม่ได้พบปะกับผู้ป่วยดรรชนี แต่พบปะกับผู้ป่วย 1 รายเดียว ในวันเดียวกับวันประชุม แสดงอาการช้ากว่าผู้ป่วย 1 นาน 2 วัน
ดังนั้นคาดว่าผู้ป่วย 3 ได้รับเชื้อจากผู้ป่วย 1 ซึ่งยังไม่แสดงอาการใดๆ ในช่วงวันที่ 20 และ/หรือ 21 ซึ่งมีการพบปะกัน
- ผู้ป่วย 4 ไม่ได้เข้าประชุม ไม่ได้พบปะกับผู้ป่วยดรรชนี แต่พบปะกับผู้ป่วย 1 รายเดียว เป็นเวลา 4 วัน คาดว่าติดเชื้อจากผู้ป่วย 1 ในช่วงที่ผู้ป่วย 1 ยังไม่แสดงอาการใดๆ เช่นกัน
การแพร่เชื้อจากผู้ป่วย 1 ไปยังผู้ป่วย 3 และ 4 เป็นกรณีติดเชื้อจากคนสู่คน ในประเทศท้องถิ่น ทั้งๆ ที่ผู้แพร่เชื้อยังไม่แสดงอาการ ซึ่งอาจเกิดจาก 2 กรณี :-
1) เชื้อไวรัสเข้าสู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย 1 ไปแล้ว และส่งผ่านออกมาจากภายในของผู้ป่วย 1 แพร่ไปยังผู้ป่วย 3 และ 4 ถ้าเป็นจริง แสดงว่าเชื้อใช้เวลาอยู่ในร่างกายของผู้ป่วย 1 เพียง 1-2 วัน ก็สามารถแพร่พันธุ์ ย้อนกลับออกมานอกร่างกายผู้ป่วย 1 เพื่อแพร่ไปยังผู้อื่นได้แล้ว แต่จะแพร่ออกไปได้อย่างไรยังไม่ทราบ เพราะผู้ป่วย 1 ยังไม่มีอาการไอจามใดๆ
2) มีเชื้อไวรัสเดิมๆ ที่รับมาจากผู้ป่วยดรรชนี (หญิงจีน) บางส่วน ที่ยังคงติดอยู่กับตัว ภายนอกของผู้ป่วย 1 (เช่นที่มือ, เสื้อผ้า ฯลฯ) ซึ่งได้แพร่เชื้อไปยังผู้ป่วย 3 และ 4 อาจโดยผ่านการสัมผัส (เช่นการจับมือ โอบกอด ฯลฯ) หรือผ่านน้ำลายที่กระเด็นออกจากปาก จากนั้นเชื้อก็สามารถเข้าสู่ภายในร่างกายของผู้ป่วย 3 และ 4 ได้ต่อไป (เช่นจากการเอามือแคะจมูก ขยี้ตา ฯลฯ)
ผมเชื่อว่า ในแง่ความน่าจะเป็น กรณีที่ 2 เป็นไปได้มากกว่า มากๆ ครับ
สรุปบทเรียน คาดว่า เชื้อไวรัสอู่ฮั่น อาจทนทานอยู่ในสภาพแวดล้อมภายนอกได้นาน หลายชั่วโมง หรือแม้กระทั่ง 1-2 วัน และนานพอที่จะเกาะติดตัวกับผู้ป่วย 1 อยู่ภายนอก จนไปแพร่เชื้อให้ผู้ป่วยอื่นๆ ได้ ในขณะที่เชื้อที่รับมาบางส่วน ก็หลุดเข้าไปฟักตัวภายในผู้ป่วย 1 เอง
อนึ่ง สภาพอากาศของไทย ร้อนกว่าเยอรมันมาก เชื้ออาจจะทนอยู่ในอากาศภายนอกได้ไม่นานเท่า ซึ่งยังรอดูข้อมูลอยู่ครับ แต่ก่อนจะทราบได้ ก็คงต้องรอให้มีกรณี มีผู้ติดเชื้อต่อจากพี่แท้กซี่ ให้ศึกษากันว่าติดเชื้อกันได้อย่างไรนะครับ
ข้อสรุปเพื่อเฝ้าระวัง ควรอยู่ห่างๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้อื่น แต่พูดง่ายทำยาก ถ้าไปตลาดสด ก็ต้องสัมผัสผ่านธนบัตร/เหรียญ หรือมือ หรือการพูดคุยกัน อยู่ในรถไฟฟ้าเบียดเสียด ก็ยากที่จะไม่สัมผัสใคร ฯลฯ ถ้าสามารถเลี่ยงที่คนเยอะๆ ได้มากเท่าไหร่ ก็จะเสี่ยงน้อยลงเท่านั้นครับ
แต่หากสัมผัสไปแล้ว ต้องพยายามล้างมือทุกครั้ง หรือพกเจลแอลกอฮอล์ เช็ดก่อนที่จะเผลอนำมือไปขยี้ตาหรือแคะจมูก เรื่องนี้ การสวมถุงมือและแว่นตา เสริมจากเพียงหน้ากากอนามัย น่าจะช่วยได้ครับ
นี่เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวเท่านั้นนะครับ ไม่รับประกันความถูกต้องแม่นยำใดๆ ทั้งสิ้น ขอให้ทุกท่านโชคดีไม่ติดเชื้อครับ
เอกสารงานวิจัยของเยอรมัน https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMc2001468