หลังจากที่คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ได้เปิดซอง 3 (ข้อเสนอทางการเงิน) ของกิจการร่วมค้าบริษัทธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) เมื่อวันที่ 17 ม.ค. 2563 ที่ Navy Club วังนันทอุทยาน กองบัญชาการกองทัพเรือ ที่ผ่านมา
ส่วนกิจการร่วมค้าบีบีเอส และกลุ่ม Grand Consortium ได้เปิดซอง 3 (ข้อเสนอทางการเงิน) ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.2562
โดยเบื้องต้นคณะกรรมการฯ จะประกาศผู้เสนอผลตอบแทนทางการเงินสูงสุดใน 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเข้าสู่การเจรจากับผู้ให้ผลตอบแทนรัฐสูงสุด ซึ่งการเจรจาจะดูข้อเสนอทางเทคนิคประกอบกับข้อเสนอทางการเงินถึงความเป็นไปได้
สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย
• การก่อสร้างความพร้อมในการให้บริการและบำรุงรักษา อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3)
• ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)
• ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2
• ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2
• ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินระยะที่ 2 และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และพื้นที่โดยรอบประมาณ 6,500 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง ประกอบด้วย
• ทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร และมี 52 หลุมจอด ซึ่งหากใช้ทางวิ่งนี้เต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี
• อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี
• อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 จะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้จากแหล่งข่าวจากคณะกรรมการคัดเลือกโครงการระบุว่า
• กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส เป็นผู้ยื่นผลตอบแทนรัฐสูงที่สุด ในราคา 3.05 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
1. บริษัทการบินกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ถือหุ้น 45% โดยเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมการบิน และผู้พัฒนาสนามบินในไทยอยู่แล้ว โดยปัจจุบันบริษัทการบินกรุงเทพ เป็นผู้บริหารสายการบินบางกอกแอร์เวย์ส มีจำนวนฝูงบินรวม 38 ลำ 25 เส้นทางบินทั้งในและต่างประเทศ อีกทั้งยังเป็นผู้บริหารสนามบิน3 แห่งคือสุโขทัย ตราด และสมุย จึงเป็นอีกหนึ่งเอกชนที่มีความถนัดในการทำธุรกิจด้านการบินอยู่แล้ว
2. บริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 35% โดยมีประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงสร้างพื้นฐานมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นผู้รับสัมปทานบริหารโครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว เปิดให้บริการตั้งแต่ปี 2542 ขณะเดียวกันยังมีประสบการณ์เกี่ยวกับธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ภายใต้การบริหารงานของ บริษัทยู ซิตี้จำกัด (มหาชน)
3. บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ถือหุ้น 20% โดยเป็นพันธมิตรที่มีประสบการณ์เกี่ยวเนื่องกับงานโครงสร้างพื้นฐานมากนาน เป็นบริษัทรับเหมารายใหญ่ของประเทศ ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างตั้งแต่โครงการขนาดกลางไปจนถึงโครงการขนาดใหญ่ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยแบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่ งานโยธาและงานเครื่องกล ทั้งงานก่อสร้างด้านสาธารณูปโภคงานด้านอาคาร งานด้านพลังงาน งานด้านอุตสาหกรรม และงานด้านสิ่งแวดล้อม
โดยกลุ่มนี้มีพันธมิตรที่จะบริหารสนาม คือ สนามบินนานาชาตินาริตะ ซึ่งเป็นผู้บริหารสนามบินอันดับใหญ่ 1 ใน 3 ของโลก
ที่มา : กรุงเทพธุรกิจ
• กิจการร่วมค้าบริษัทธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี) ให้ผลตอบแทนมูลค่า 1.1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
1. บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ CP
2. บริษัท บี.กริม จอยน์ เว็นเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด เชี่ยวชาญด้านพลังงาน งานระบบอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ อีคอมเมิร์ซ และ การขนส่ง
3. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
4. บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน)
5. บริษัท โอเรียนท์ ซัคเซส อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
กลุ่มนี้ใช้ทีมบริหารสนามบินจาก Fraport AG Frankfurt Airport Services Worldwide (ฟราพอร์ท) ซึ่งดำเนินกิจการบริหารท่าอากาศยานแฟรงค์เฟิร์ตในกรุงแฟรงค์เฟิร์ต เยอรมนี เป็นท่าอากาศยานที่ใหญ่ที่สุดของเยอรมนี และใหญ่เป็นอันดับ 3 ของยุโรป
• กลุ่ม Grand Consortium เสนออยู่ที่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย
1. บมจ.แกรนด์ แอสเสท โอเทลส์ แอนด์ พรอพเพอร์ตี้ (GRAND) อยู่ในกลุ่ม บมจ.พร็อพเพอร์ซี่ เพอร์เฟค(PF) สัดส่วน80%
2. บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด (บ.ย่อยของ บมจ.เอเชียเอวิเอชั่น(AAV)) ถือ10%
3. บมจ.คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย) (CNT)ถือ 10%
มี GMR Airport Limited จากอินเดีย มาบริหารสนามบิน ปัจจุบันดำเนินการสนามบินนานาชาตินิวเดลี และท่าอากาศยานนานาชาติไฮเดอราบาด
ที่มา : iBussiness
แล้วจะเกิดอะไรขึ้น หากเอกชนผู้ชนะการประมูลโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกทิ้งงาน
ดังนั้น การเป็นผู้ชนะการประมูล อาจจะยังไม่ใช่คำตอบสุดท้ายว่า โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก จะเสร็จสมบูรณ์ 100% ตามที่รัฐบาล และคณะกรรมการคัดเลือก หรือทหารเรือคาดหวังไว้ก็ได้ เพราะจะต้องดูถึงจุดมุ่งหมายของโครงการฯ ด้วยว่าจะไปให้ถึง "ผู้โดยสารจำนวน 60 ล้านคน/ปี" เหมือนสนามบินสุวรรณภูมิตามเป้าหมายที่คาดหวังไว้ด้วย
EEC - "อู่ตะเภา" ยังไม่จบ อย่าพึ่งนับศพทหาร
ส่วนกิจการร่วมค้าบีบีเอส และกลุ่ม Grand Consortium ได้เปิดซอง 3 (ข้อเสนอทางการเงิน) ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 11 ต.ค.2562
โดยเบื้องต้นคณะกรรมการฯ จะประกาศผู้เสนอผลตอบแทนทางการเงินสูงสุดใน 1-2 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะเข้าสู่การเจรจากับผู้ให้ผลตอบแทนรัฐสูงสุด ซึ่งการเจรจาจะดูข้อเสนอทางเทคนิคประกอบกับข้อเสนอทางการเงินถึงความเป็นไปได้
สำหรับโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก (Eastern Airport City) เป็นโครงการที่เปิดให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน เพื่อพัฒนาสนามบินและกิจกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ ประกอบด้วย
• การก่อสร้างความพร้อมในการให้บริการและบำรุงรักษา อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 (Terminal 3)
• ศูนย์ธุรกิจการค้า (Commercial Gateway)
• ธุรกิจขนส่งสินค้าทางอากาศและโลจิสติกส์ (Air Cargo) ระยะที่ 2
• ธุรกิจซ่อมเครื่องบิน (Maintenance Repair and Overhaul, MRO) ระยะที่ 2
• ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรการบินระยะที่ 2 และกลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรมอากาศยาน (Free Trade Zone)
ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ตั้งอยู่ในพื้นที่ ตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง และพื้นที่โดยรอบประมาณ 6,500 ไร่ ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอบ้านฉาง และอำเภอสัตหีบ จังหวัดระยอง ประกอบด้วย
• ทางวิ่ง 1 ทางวิ่ง ขนาดมาตรฐานยาว 3,500 เมตร กว้าง 60 เมตร และมี 52 หลุมจอด ซึ่งหากใช้ทางวิ่งนี้เต็มศักยภาพ จะสามารถรองรับปริมาณผู้โดยสารได้ 20 ล้านคนต่อปี
• อาคารผู้โดยสารหลังที่ 1 รองรับผู้โดยสารทั้งในและระหว่างประเทศประมาณ 700,000 คนต่อปี
• อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 จะมีขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 3 ล้านคนต่อปี
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้