เมื่อผมดูภาพยนตร์เรื่องนี้จบลง และเดินออกจากโรงหนัง ผมก็ถามตัวเองในใจว่า ...
“แล้วเรายังจะใช้กระทะเทฟล่อนอีกไหม?”
วันนี้ผมไปดูหนังเรื่อง Dark Waters มาครับ ชื่อไทยของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ “พลิกน้ำเน่า คดีฉาวโลก” ภาพยนตร์เรื่องนี้เขาบอกว่าสร้างมาจากเรื่องจริง แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นงานศิลปะที่นำเสนอผ่านการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์แล้ว ผมเชื่อว่าในความเป็นจริงนั้นอาจจะต้องมีการแต่งเติมเสริมเรื่องเข้าไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ได้จริงแท้ทั้งหมดแต่ก็คงไม่ใช่เรื่องไม่จริงที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกคนดูแน่ ๆ
คำโปรยของหนังเรื่องนี้ที่ผมหาได้จากสื่อออนไลน์คือ
“Dark Waters” ภาพยนตร์ดราม่าเข้มข้นที่สร้างมาจากเรื่องจริง ผ่านการนำแสดงโดยนักแสดงคุณภาพ “มาร์ก รัฟฟาโล” ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 3 รางวัลออสการ์ กับการแปลงโฉมพลิกคาแร็กเตอร์มารับบทเป็น “โรเบิร์ต บิลอตตา” ทนายความดีเดือด ผู้ยกความเสี่ยงต่อทั้งชีวิตตนเองและครอบครัวเพื่อเดินหน้ากัดไม่ปล่อยต่อคดีความของบริษัทยักษ์ใหญ่ “ดูปองท์” ผู้ผลิตสารเคมีในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ที่ซ่อนความลับดำมืดอันเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ภายในเมืองหลายคน เนื่องด้วยสาเหตุการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายร้ายแรงสู่ย่านที่พักอาศัย
อ่านแล้วคุ้น ๆ ใช่ไหมครับ คล้ายกับคดีดังในบ้านเรา เกิดขึ้นที่ลำห้วยคลิตี้ ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ต่างกันที่ในบ้านเราคดีลำห้วยคลิตี้นี้เกิดจากสารตะกั่วที่รั่วไหลลงไปในแหล่งน้ำ แต่เหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดจากสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นรั่วไหลปะปนลงไปในพื้นที่แหล่งธรรมชาติ ไม่เว้นแม้แต่พื้นดินและสายน้ำ โดยตัวหนังเริ่มต้นจากเกษตรกรจากเมืองชนบทแห่งหนึ่งในรัฐเวสต์เวอร์จิเนียเดินเข้ามาพบกับตัวพระเอกที่เป็นทนายความ ขอร้องให้ตัวพระเอกช่วยฟ้องร้องบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ก่อให้เกิดมลพิษขึ้น ตัวพระเอกที่เป็นทนายความที่ชื่อ โรเบิร์ต บิลอตตา ต้องค้นหาความจริงว่ามันเป็นจริงตามคำกล่าวอ้างของชายเกษตรกรหรือไม่? ซึ่งระยะเวลาในการพิสูจน์ความจริงใช้เวลายาวนานกว่า 20 ปี
สำหรับตัวผมแล้วในเนื้อเรื่องมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ 2 ประการคือ หนึ่งการทำเพื่อคนอื่น พระเอกในเรื่องที่เป็นทนายทำเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง ตัวเขาไม่ใช่แค่ทำเพื่อเกษตรกรคนที่เดินเขามาหาเขาเท่านั้น คือเมื่อเขาพิสูจน์ความจริงได้และหาต้นตอของสาเหตุเจอ ตัวพระเอกยังไม่หยุดที่จะกระทำเพื่อคนอื่นต่อ ซึ่งคนอื่นในที่นี่หมายถึงประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบโดยไม่รู้ตัว การกระทำเพื่อผู้อื่นของตัวพระเอกนั้นจำเป็นต้องแลกมาด้วยความสูญเสียอะไรหลาย ๆ อย่างในชีวิต แต่เขาไม่หยุดที่จะทำเพื่อผู้อื่นเลยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ผมชมภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วต้องมานั่งคิดว่า ในความเป็นจริงของสังคมบ้านเราจะมีใครที่ยอมทำเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริงแบบนี้บ้างหรือไม่?
ประการที่สองคือระบบ ในการที่จะพิสูจน์ความจริงว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เป็นคนผิดที่ทำให้สารเคมีรั่วไหลนั้น จำเป็นต้องอาศัยระบบ ซึ่งระบบในที่นี่คือกระบวนการยุติธรรมนั้นเอง แต่ถ้าบริษัทดูปองท์ยักษ์ในวงการสารเคมีมีทั้งอำนาจเงินและอำนาจมืดล่ะ? เราจะเชื่อถือในระบบได้มากน้อยขนาดไหน? สำหรับในประเด็นนี้ดูแล้วกลับต้องหวนคิดถึงระบบในบ้านเรา ว่าถ้ามีทั้งเงินและอำนาจสามารถทำให้ระบบสั่นคลอนและไหวเอียงไม่เที่ยงตรงได้หรือไม่? ประชาชนต้องต่อสู้ขนาดไหนถึงจะสร้างศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมขึ้นมาได้
ส่วนคำถามที่ผมขึ้นต้นไว้ว่า
“แล้วเรายังจะใช้กระทะเทฟล่อนอีกไหม?” ต้องนี้อาจจะเป็นสปอลย์ที่จำเป็นต้องเปิดเผยสาระสำคัญของเรื่อง แต่ผมคิดว่าเปิดสปอยล์ไปก็คงไม่เป็นไรแน่ เพราะภาพยนตร์น่าจะออกตารางฉายในวันนี้แล้วก็เป็นได้ เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังดีที่ดูไม่สนุก ตัวเนื้อเรื่องไม่ได้สร้างความบันเทิงและไม่ได้สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้ชม แต่ตัวเนื้อเรื่องสร้างความรู้สึกให้คนที่ชมแล้วอยากจะพูดถึงหนังเรื่องนี้ เหมือนอย่างที่ผมกำลังนั่งเขียนรีวิวนี้ไงครับ
ส่วนสปอยล์ที่ผมบอกก็คือ ตัวพระเอกที่เป็นทนายไปค้นพบความจริงว่า ตั้งแต่โครงการแมนฮัตตัน (ย้อนไปถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางอเมริกาแอบทำโครงการแมนฮัตตันเพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์) นักวิทยาศาสตร์วิจัยสารสังเคราะห์ขึ้นมาได้ชนิดหนึ่งเป็นสารกั้นน้ำ เอามาใช้ประโยชน์ทางการทหารในการสร้างรถถัง โดยสารตัวนี้เป็นสารเคมีที่มีชื่อย่อว่า PFOA หลังจากนั้นทางบริษัทดูปองท์เอามาพัฒนาต่อโดยใช้ชื่อแทนว่าสาร C-8 แล้วถูกพัฒนาต่อยอดกลายมาเป็นสารเทฟล่อน ที่ใช้เคลือบพื้นผิวกระทะไม่ให้มีอะไรติดก้นกระทะได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ทดลองแล้วทราบว่าสารเทฟล่อนนี้ก่อให้เกิดผลร้ายแก่ร่างกายมนุษย์ 6 โรค แต่ผมจำได้แค่ โรคมะเร็งตับ , โรคมะเร็งอัณฑะ , การตั้งครรภ์บกพร่อง ทารกที่เกิดมาไม่สมประกอบ ฯลฯ แล้วถ้าสารเทฟล่อนนี้ไม่ดีจริง ทำไมในบ้านเรายังมีโฆษณากระทะที่เคลือบสารเทฟล่อนนี้อยู่เลย แล้วที่บ้านผมยังมีกระทะเทฟล่อนอยู่ 2 ใบด้วย
อย่างที่บอกครับ ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะสร้างจากเรื่องจริงแต่ก็คงมีรายละเอียดที่เสริมเติมแต่งเพิ่มเข้าไปด้วยแน่ เพียงแค่พวกเราที่เป็นคนดูชมแล้วคิดตามว่าอะไรจริง อะไรลวง ถึงแม้ว่าตัวภาพยนตร์จะไม่ให้ความบันเทิงเลย แต่ถ้าเราดูแล้วฉุกคิดตามไปด้วยได้ก็คงจะได้รับประโยชน์จากการชมภาพยนตร์มากขึ้นแน่ ๆ ครับ
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Dark Waters นี้อาจจะเป็นหนังดีที่ในบ้านเราพูดถึงน้อยไปหน่อยก็ได้ครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการชมภาพยนตร์ครับ
Dark Waters กับ “ราคาของการพิสูจน์ความจริง”
“แล้วเรายังจะใช้กระทะเทฟล่อนอีกไหม?”
วันนี้ผมไปดูหนังเรื่อง Dark Waters มาครับ ชื่อไทยของภาพยนตร์เรื่องนี้คือ “พลิกน้ำเน่า คดีฉาวโลก” ภาพยนตร์เรื่องนี้เขาบอกว่าสร้างมาจากเรื่องจริง แต่ขึ้นชื่อว่าเป็นงานศิลปะที่นำเสนอผ่านการเล่าเรื่องแบบภาพยนตร์แล้ว ผมเชื่อว่าในความเป็นจริงนั้นอาจจะต้องมีการแต่งเติมเสริมเรื่องเข้าไปบ้าง ซึ่งอาจจะไม่ได้จริงแท้ทั้งหมดแต่ก็คงไม่ใช่เรื่องไม่จริงที่สร้างขึ้นมาเพื่อหลอกคนดูแน่ ๆ
คำโปรยของหนังเรื่องนี้ที่ผมหาได้จากสื่อออนไลน์คือ
“Dark Waters” ภาพยนตร์ดราม่าเข้มข้นที่สร้างมาจากเรื่องจริง ผ่านการนำแสดงโดยนักแสดงคุณภาพ “มาร์ก รัฟฟาโล” ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง 3 รางวัลออสการ์ กับการแปลงโฉมพลิกคาแร็กเตอร์มารับบทเป็น “โรเบิร์ต บิลอตตา” ทนายความดีเดือด ผู้ยกความเสี่ยงต่อทั้งชีวิตตนเองและครอบครัวเพื่อเดินหน้ากัดไม่ปล่อยต่อคดีความของบริษัทยักษ์ใหญ่ “ดูปองท์” ผู้ผลิตสารเคมีในรัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ที่ซ่อนความลับดำมืดอันเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ภายในเมืองหลายคน เนื่องด้วยสาเหตุการรั่วไหลของสารเคมีอันตรายร้ายแรงสู่ย่านที่พักอาศัย
อ่านแล้วคุ้น ๆ ใช่ไหมครับ คล้ายกับคดีดังในบ้านเรา เกิดขึ้นที่ลำห้วยคลิตี้ ในอำเภอทองผาภูมิ จังหวัดกาญจนบุรี ต่างกันที่ในบ้านเราคดีลำห้วยคลิตี้นี้เกิดจากสารตะกั่วที่รั่วไหลลงไปในแหล่งน้ำ แต่เหตุการณ์ในภาพยนตร์เรื่องนี้เกิดจากสารเคมีที่มนุษย์สร้างขึ้นรั่วไหลปะปนลงไปในพื้นที่แหล่งธรรมชาติ ไม่เว้นแม้แต่พื้นดินและสายน้ำ โดยตัวหนังเริ่มต้นจากเกษตรกรจากเมืองชนบทแห่งหนึ่งในรัฐเวสต์เวอร์จิเนียเดินเข้ามาพบกับตัวพระเอกที่เป็นทนายความ ขอร้องให้ตัวพระเอกช่วยฟ้องร้องบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ก่อให้เกิดมลพิษขึ้น ตัวพระเอกที่เป็นทนายความที่ชื่อ โรเบิร์ต บิลอตตา ต้องค้นหาความจริงว่ามันเป็นจริงตามคำกล่าวอ้างของชายเกษตรกรหรือไม่? ซึ่งระยะเวลาในการพิสูจน์ความจริงใช้เวลายาวนานกว่า 20 ปี
สำหรับตัวผมแล้วในเนื้อเรื่องมีประเด็นที่น่าสนใจอยู่ 2 ประการคือ หนึ่งการทำเพื่อคนอื่น พระเอกในเรื่องที่เป็นทนายทำเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริง ตัวเขาไม่ใช่แค่ทำเพื่อเกษตรกรคนที่เดินเขามาหาเขาเท่านั้น คือเมื่อเขาพิสูจน์ความจริงได้และหาต้นตอของสาเหตุเจอ ตัวพระเอกยังไม่หยุดที่จะกระทำเพื่อคนอื่นต่อ ซึ่งคนอื่นในที่นี่หมายถึงประชาชนทั่วไปที่ได้รับผลกระทบโดยไม่รู้ตัว การกระทำเพื่อผู้อื่นของตัวพระเอกนั้นจำเป็นต้องแลกมาด้วยความสูญเสียอะไรหลาย ๆ อย่างในชีวิต แต่เขาไม่หยุดที่จะทำเพื่อผู้อื่นเลยตลอดระยะเวลากว่า 20 ปี ผมชมภาพยนตร์เรื่องนี้แล้วต้องมานั่งคิดว่า ในความเป็นจริงของสังคมบ้านเราจะมีใครที่ยอมทำเพื่อผู้อื่นอย่างแท้จริงแบบนี้บ้างหรือไม่?
ประการที่สองคือระบบ ในการที่จะพิสูจน์ความจริงว่าบริษัทยักษ์ใหญ่เป็นคนผิดที่ทำให้สารเคมีรั่วไหลนั้น จำเป็นต้องอาศัยระบบ ซึ่งระบบในที่นี่คือกระบวนการยุติธรรมนั้นเอง แต่ถ้าบริษัทดูปองท์ยักษ์ในวงการสารเคมีมีทั้งอำนาจเงินและอำนาจมืดล่ะ? เราจะเชื่อถือในระบบได้มากน้อยขนาดไหน? สำหรับในประเด็นนี้ดูแล้วกลับต้องหวนคิดถึงระบบในบ้านเรา ว่าถ้ามีทั้งเงินและอำนาจสามารถทำให้ระบบสั่นคลอนและไหวเอียงไม่เที่ยงตรงได้หรือไม่? ประชาชนต้องต่อสู้ขนาดไหนถึงจะสร้างศรัทธาในกระบวนการยุติธรรมขึ้นมาได้
ส่วนคำถามที่ผมขึ้นต้นไว้ว่า “แล้วเรายังจะใช้กระทะเทฟล่อนอีกไหม?” ต้องนี้อาจจะเป็นสปอลย์ที่จำเป็นต้องเปิดเผยสาระสำคัญของเรื่อง แต่ผมคิดว่าเปิดสปอยล์ไปก็คงไม่เป็นไรแน่ เพราะภาพยนตร์น่าจะออกตารางฉายในวันนี้แล้วก็เป็นได้ เพราะภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นหนังดีที่ดูไม่สนุก ตัวเนื้อเรื่องไม่ได้สร้างความบันเทิงและไม่ได้สร้างความตื่นเต้นให้แก่ผู้ชม แต่ตัวเนื้อเรื่องสร้างความรู้สึกให้คนที่ชมแล้วอยากจะพูดถึงหนังเรื่องนี้ เหมือนอย่างที่ผมกำลังนั่งเขียนรีวิวนี้ไงครับ
ส่วนสปอยล์ที่ผมบอกก็คือ ตัวพระเอกที่เป็นทนายไปค้นพบความจริงว่า ตั้งแต่โครงการแมนฮัตตัน (ย้อนไปถึงช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทางอเมริกาแอบทำโครงการแมนฮัตตันเพื่อพัฒนาอาวุธนิวเคลียร์) นักวิทยาศาสตร์วิจัยสารสังเคราะห์ขึ้นมาได้ชนิดหนึ่งเป็นสารกั้นน้ำ เอามาใช้ประโยชน์ทางการทหารในการสร้างรถถัง โดยสารตัวนี้เป็นสารเคมีที่มีชื่อย่อว่า PFOA หลังจากนั้นทางบริษัทดูปองท์เอามาพัฒนาต่อโดยใช้ชื่อแทนว่าสาร C-8 แล้วถูกพัฒนาต่อยอดกลายมาเป็นสารเทฟล่อน ที่ใช้เคลือบพื้นผิวกระทะไม่ให้มีอะไรติดก้นกระทะได้ แต่นักวิทยาศาสตร์ทดลองแล้วทราบว่าสารเทฟล่อนนี้ก่อให้เกิดผลร้ายแก่ร่างกายมนุษย์ 6 โรค แต่ผมจำได้แค่ โรคมะเร็งตับ , โรคมะเร็งอัณฑะ , การตั้งครรภ์บกพร่อง ทารกที่เกิดมาไม่สมประกอบ ฯลฯ แล้วถ้าสารเทฟล่อนนี้ไม่ดีจริง ทำไมในบ้านเรายังมีโฆษณากระทะที่เคลือบสารเทฟล่อนนี้อยู่เลย แล้วที่บ้านผมยังมีกระทะเทฟล่อนอยู่ 2 ใบด้วย
อย่างที่บอกครับ ถึงแม้ว่าภาพยนตร์จะสร้างจากเรื่องจริงแต่ก็คงมีรายละเอียดที่เสริมเติมแต่งเพิ่มเข้าไปด้วยแน่ เพียงแค่พวกเราที่เป็นคนดูชมแล้วคิดตามว่าอะไรจริง อะไรลวง ถึงแม้ว่าตัวภาพยนตร์จะไม่ให้ความบันเทิงเลย แต่ถ้าเราดูแล้วฉุกคิดตามไปด้วยได้ก็คงจะได้รับประโยชน์จากการชมภาพยนตร์มากขึ้นแน่ ๆ ครับ
สำหรับภาพยนตร์เรื่อง Dark Waters นี้อาจจะเป็นหนังดีที่ในบ้านเราพูดถึงน้อยไปหน่อยก็ได้ครับ
ขอให้ทุกท่านมีความสุขกับการชมภาพยนตร์ครับ