'โภคิน' ชี้ ศาลรธน.เคยวินิจฉัยไว้แล้ว กระบวนการตรากม.ไม่ชอบ ต้องตกทั้งฉบับ
“โภคิน”ชี้ ศาลรธน.เคยวางแนวแล้ว กระบวนการตรากม.ไม่ชอบต้องตกทั้งฉบับ ระบุกฎหมายปิดช่องงบแผ่นดินตราเป็นพรก.อาจขัดรธน.
เมื่อวันที่ 24 ม.ค.เวลา 09.00 น. ที่รัฐสภา นายโภคิน พลกุล อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงกรณีที่มีการส่งศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของร่างพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.)งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ.2563 ว่า
เมื่อประธานสภาฯได้ส่งศาลรัฐธรรมนูญจะต้องรอดูว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยออกมาอย่างไร แต่สำหรับส่วนตัวแล้วมีความเห็นว่าหากเป็นกรณีที่กระบวนการตราไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญแล้ว ร่างพ.ร.บ.จะต้องตกไปทั้งฉบับ เพราะถือว่าเป็นการขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญในสาระสำคัญตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 178
นายโภคิน กล่าวว่า ศาลรัฐธรรมนูญเคยมีแนวคำวินิจฉัยเมื่อปี 2557 มาแล้วว่าเมื่อกระบวนการตรากฎหมายไม่ชอบย่อมจะต้องตกไปทั้งฉบับ ไม่ได้ตกไปเฉพาะบางมาตรา ซึ่งการให้บุคคลลงคะแนนแทนตนเองไม่ว่าจะอ้างด้วยเหตุผลใดย่อมฟังไม่ขึ้น แม้ผู้นั้นจะอยู่ในห้องประชุมขณะที่มีการลงคะแนนก็ตาม
นายโภคิน กล่าวต่อว่า หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างพ.ร.บ.ตกไปทั้งฉบับจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการหาทางออกสำหรับกรณีนี้ อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวคิดว่าไม่สามารถนำมาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญมาปรับใช้ได้ เนื่องจาก มาตรา 143 ของรัฐธรรมนูญเป็นเรื่องที่กำหนดให้สภาฯพิจารณาร่างกฎหมายงบประมาณให้เสร็จภายใน 105 วัน หากไม่ทันตามกรอบเวลาจะให้ถือว่าสภาฯได้ให้ความเห็นชอบและตามที่คณะรัฐมนตรีเสนอและส่งให้วุฒิสภาต่อไป แต่สำหรับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นนั้นเป็นกรณีที่เรื่องกระบวนการตราที่มิชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ดังนั้น จะมาอ้างไม่ได้ว่าหากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ร่างกฎหมายงบประมาณที่สภาฯแก้ไขตกไปทั้งฉบับจะนำร่างกฎหมายงบประมาณฉบับของคณะรัฐมนตรี(ครม.)มาบังคับใช้ เพราะเป็นคนละกรณีกัน
เมื่อถามว่า รัฐบาลสามารถตราพระราชกำหนด(พรก.)เพื่อบังคับใช้ร่างพ.ร.บ.งบประมาณฯได้หรือไม่ นายโภคิน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญบัญญัติเป็นการเฉพาะว่าการจ่ายเงินแผ่นดินและการจัดทำงบประมาณจะต้องกระทำเป็นพ.ร.บ.เท่านั้น อีกทั้งรัฐธรรมนูญยังได้บัญญัติเป็นการเฉพาะด้วยว่ากรณีใดบ้างที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)สามารถตราพรก.ได้บ้าง จึงเห็นว่าการตราพรก.ในกรณีนี้ย่อมไม่สามารถกระทำได้ เพราะหากทำเช่นนั้นจะเป็นการกระทำที่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
'ชำนาญ' ชี้ช่องให้รัฐบาล 'ลาออก-ยุบสภา' รับผิดชอบ 'ส.ส.เสียบบัตรแทน'
https://www.matichon.co.th/politics/news_1915028
‘ชำนาญ’ ชี้ช่องให้รัฐบาล ‘ลาออก-ยุบสภา’ รับผิดชอบ ‘ส.ส.เสียบบัตรแทน’ มีเวลาอีกเฮือก ก่อนฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เมื่อวันที่ 24 มกราคม นาย
ชำนาญ จันทร์เรือง รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แสดงความเห็นวิเคราะห์ผลกระทบ จากกรณีที่ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล เสียบบัตรแทนกันเพื่อโหวตร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ว่า เป็นไปได้ 3 แนวทางคือ
1. ร่างพ.ร.บ.เป็นโมฆะ เพราะเป็นส่วนในสาระสำคัญ ต้องตราขึ้นมาใหม่
2. รัฐบาลไม่สามารถจะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาใช้ก่อนได้ เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 141 กำหนดให้งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินต้องทำเป็น พ.ร.บ. เท่านั้น เพราะจะต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ
และ 3. ไม่สามารถใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 143 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลา 105 วัน แต่พิจารณาเสร็จแล้วกลับมาโมฆะในภายหลัง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่าร่างกฎหมายงบประมาณเป็นโมฆะ เพราะไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ ตามหลักนิติประเพณีแล้ว ทางรัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร นาย
ชำนาญแสดงความเห็นว่า ตามนิติประเพณี คือ ลาออกหรือยุบสภา แต่ในเมื่อผู้ที่เสียบบัตรแทนกันเป็นส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ก็ควรจะลาออก โดยในสัปดาห์หน้า ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากยื่นแล้วรัฐบาลก็ไม่สามารถยุบสภาหนีได้ ตอนนี้ก็คงเหลือทางเดียวคือ ลาออกเท่านั้นเอง
JJNY : โภคินชี้ศาลรธน.เคยวินิจฉัยไว้แล้ว/ชำนาญชี้ช่องให้รบ./หวั่นตรุษจีนราคายางดิ่งซ้ำ/ผ่อนLTVปลุกอสังหาฯไม่ฟื้น
'ชำนาญ' ชี้ช่องให้รัฐบาล 'ลาออก-ยุบสภา' รับผิดชอบ 'ส.ส.เสียบบัตรแทน'
https://www.matichon.co.th/politics/news_1915028
‘ชำนาญ’ ชี้ช่องให้รัฐบาล ‘ลาออก-ยุบสภา’ รับผิดชอบ ‘ส.ส.เสียบบัตรแทน’ มีเวลาอีกเฮือก ก่อนฝ่ายค้านยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เมื่อวันที่ 24 มกราคม นายชำนาญ จันทร์เรือง รองหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ แสดงความเห็นวิเคราะห์ผลกระทบ จากกรณีที่ส.ส.ฝ่ายรัฐบาล เสียบบัตรแทนกันเพื่อโหวตร่าง พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ว่า เป็นไปได้ 3 แนวทางคือ
1. ร่างพ.ร.บ.เป็นโมฆะ เพราะเป็นส่วนในสาระสำคัญ ต้องตราขึ้นมาใหม่
2. รัฐบาลไม่สามารถจะออกพระราชกำหนด (พ.ร.ก.) มาใช้ก่อนได้ เพราะตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 141 กำหนดให้งบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินต้องทำเป็น พ.ร.บ. เท่านั้น เพราะจะต้องมีขั้นตอนและรายละเอียดการใช้จ่ายงบประมาณให้รัฐสภาให้ความเห็นชอบ
และ 3. ไม่สามารถใช้รัฐธรรมนูญ มาตรา 143 ได้ เพราะมิใช่กรณีที่สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาไม่เสร็จภายในระยะเวลา 105 วัน แต่พิจารณาเสร็จแล้วกลับมาโมฆะในภายหลัง
เมื่อผู้สื่อข่าวถามย้ำว่า หากศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดว่าร่างกฎหมายงบประมาณเป็นโมฆะ เพราะไม่ชอบตามรัฐธรรมนูญ ตามหลักนิติประเพณีแล้ว ทางรัฐบาลจะรับผิดชอบอย่างไร นายชำนาญแสดงความเห็นว่า ตามนิติประเพณี คือ ลาออกหรือยุบสภา แต่ในเมื่อผู้ที่เสียบบัตรแทนกันเป็นส.ส.ฝ่ายรัฐบาล ก็ควรจะลาออก โดยในสัปดาห์หน้า ฝ่ายค้านจะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งหากยื่นแล้วรัฐบาลก็ไม่สามารถยุบสภาหนีได้ ตอนนี้ก็คงเหลือทางเดียวคือ ลาออกเท่านั้นเอง