องค์การนักศึกษาม.ธรรมศาสตร์ ประณามรัฐบาลเพิกเฉยปัญหา PM2.5
https://www.matichon.co.th/local/news_1896369
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงการณ์ โจมตีรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 มกราคม ระบุว่า
รัฐบาลเพิกเฉยต่อสถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ของรัฐบาล
โดยแถลงการณ์ระบุว่า เนื่องด้วยในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้เกิดสถานการณ์ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 เริ่มต้นในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร และขยายผลเป็นวงกว้างสู่หลายจังหวัดในประเทศไทยเป็นผลทำให้ประชาชนเผชิญผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพ แต่ไร้ซึ่งท่าที่โต้ตอบของรัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหานี้ แม้จะมีการประกาศว่าปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติในปื พ.ศ. 2562 แต่ก็ไม่มีการแจ้งเตือนเรื่องดังกล่าวต่อประชาชนแต่อย่างได
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในนามตัวแทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และผู้ใช้อากาศเพื่อการดำรงชีวิต ขอประณามการเพิกเฉยของรัฐบาลที่มีต่อสถานการณ์ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในประเทศไทยทั้งด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว โดยออกมาตรการทั้งในด้านการรับมือสถานการณ์ระยะเร่งด่วนเนื่องจากสถานการณ์อาจแย่ลง ด้านการรับมือในระยะสั้นเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ และด้านการรับมือในระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวอีกในอนาคต ซึ่งปัญหานี้มีแนวโน้มจะรุนแรงยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์เคยกล่าวว่า
“ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำดื่มบริสุทธิ์สำหรับดื่ม เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายแบบโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามการเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำ หรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ”
ซึ่งสะท้อนว่าอากาศบริสุทธิ์เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่พึงมีเพื่อการดำรงชีวิต ดังนั้น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนที่สุด ปัญหาดังกล่วเป็นปัญหาระดับชาติ และเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงมี รัฐบาลไม่ควรเพิกเฉยหรือผลักภาระให้ประชาชนรับมือด้วยตนเอง หากรัฐบาลมีมาตรการรับมือสถานการณ์ที่สมเหตุสมผล ประชาชนย่อมพร้อมปฏิบัติตาม เพื่ออากาศหายใจที่บริสุทธิในการดำเนินชีวิตต่อไป
“สุขภาพที่ดีเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงมื”
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16 มกราคม พ.ศ. 2563
https://www.facebook.com/thammasatsu/photos/a.569680896402051/2668709066499213/
เวิลด์แบงก์คาดศก.ไทยปีนี้ 2.7%
https://www.dailynews.co.th/economic/752352
เวิลด์แบงก์คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ 2.7% มองการเมืองไทยยังเสี่ยง จี้รัฐเพิ่มภาคการผลิตเร่งด่วน ลดยากจน-สู่เป้าหมายประเทศรายได้สูงในปี 2580
นาง
เบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกหรือเวิลด์แบงก์ได้ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 63 ว่าจะขยายตัวได้ 2.7% เติบโตกว่าปี 62 ที่คาดว่าขยายตัว 2.5% โดยมีแรงสนับสนุนจากความต้องการส่งออกสินค้าดีขึ้น การบริโภคเอกชนฟื้นตัว และการดำเนินการโครงการลงทุนภาครัฐมีความจริงจังมากขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากความตึงเครียดการค้าระหว่างประเทศสหรัฐกับจีน และความเสี่ยงระยะสั้นในประเทศด้านการเมือง ความสมานฉันท์พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
นอกจากนี้เวิลด์แบงก์ยังมองว่าหากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวเหมือนเดิมต่อไป โดยการลงทุนและผลิตภาพไม่มีท่าทีจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยต่ำกว่า 3% ซึ่งหากไทยต้องการตามเป้าหมายเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2580 ส่งผลให้ไทยต้องมีเศรษฐกิจเติบโตสูงกว่า 5% อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยผลิตภาพที่เติบโตในอัตรา 3% ต่อปี และเพิ่มการลงทุนเป็น 40% ของจีดีพี เพราะมีผลต่อการลดความยากจน และยังเห็นแนวโน้มชะลอตัวผลิตผลในไทย ซึ่งภาครัฐมีความจำเป็นเพิ่มผลิตผลอย่างเร่งด่วน ถ้าหากต้องการจะไปสู่ประเทศรายได้สูง
นาย
เกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า การกระตุ้นผลิตภาพให้เติบโตขึ้นเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยระยะยาว โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ไทยจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยตรงมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงทักษะของแรงงาน แต่ต้องระมัดระวังเพราะหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง
ขณะเดียวกันมองไทยยังมีพื้นที่การคลัง เพราะหนี้สาธารณะยังไม่สูง สามารถขยายนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนผ่านโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน( พีพีพี) รวมทั้งใช้กลไกระบบประกันสังคมดูแลคนจน ผู้สูงอายุ คนป่วย คนตกงาน ซึ่งที่สำคัญหากจะให้ยั่งยืนระยะยาวจะต้องส่งเสริมด้านผลิตภาพเพื่อให้ประเทศก้าวสู่รายได้สูงได้ตามเป้าหมาย
JJNY : องค์การนศ.มธ. ประณามรัฐบาลเพิกเฉยปัญหา PM2.5/เวิลด์แบงก์คาดศก.ไทยปีนี้ 2.7%/โผล่อีก‘ดงกล้วย’กลางสาทร
https://www.matichon.co.th/local/news_1896369
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แถลงการณ์ โจมตีรัฐบาล เมื่อวันที่ 17 มกราคม ระบุว่า
รัฐบาลเพิกเฉยต่อสถานการณ์ฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ของรัฐบาล
โดยแถลงการณ์ระบุว่า เนื่องด้วยในช่วงระยะเวลาหลายเดือนที่ผ่านมา ได้เกิดสถานการณ์ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 เริ่มต้นในบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร และขยายผลเป็นวงกว้างสู่หลายจังหวัดในประเทศไทยเป็นผลทำให้ประชาชนเผชิญผลกระทบทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและปัญหาสุขภาพ แต่ไร้ซึ่งท่าที่โต้ตอบของรัฐบาลหรือผู้เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหานี้ แม้จะมีการประกาศว่าปัญหาดังกล่าวเป็นวาระแห่งชาติในปื พ.ศ. 2562 แต่ก็ไม่มีการแจ้งเตือนเรื่องดังกล่าวต่อประชาชนแต่อย่างได
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ในนามตัวแทนของนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และผู้ใช้อากาศเพื่อการดำรงชีวิต ขอประณามการเพิกเฉยของรัฐบาลที่มีต่อสถานการณ์ปัญหาฝุ่นขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ซึ่งกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในประเทศไทยทั้งด้านสุขภาพ และด้านสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก และองค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอเรียกร้องให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าว โดยออกมาตรการทั้งในด้านการรับมือสถานการณ์ระยะเร่งด่วนเนื่องจากสถานการณ์อาจแย่ลง ด้านการรับมือในระยะสั้นเพื่อลดความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากมลพิษ และด้านการรับมือในระยะยาวเพื่อป้องกันการเกิดปัญหาดังกล่าวอีกในอนาคต ซึ่งปัญหานี้มีแนวโน้มจะรุนแรงยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ อาจารย์ป๋วย อึ้งภากรณ์เคยกล่าวว่า
“ผมต้องการอากาศบริสุทธิ์สำหรับหายใจ น้ำดื่มบริสุทธิ์สำหรับดื่ม เมื่อจะตาย ก็ขออย่าให้ตายแบบโง่ ๆ อย่างบ้า ๆ คือตายในสงครามที่คนอื่นก่อให้เกิดขึ้น ตายในสงครามการเมือง ตายเพราะอุบัติเหตุรถยนต์ ตายเพราะน้ำ หรืออากาศเป็นพิษ หรือตายเพราะการเมืองเป็นพิษ”
ซึ่งสะท้อนว่าอากาศบริสุทธิ์เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนที่พึงมีเพื่อการดำรงชีวิต ดังนั้น องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ขอเรียกร้องให้รัฐบาลแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างเร่งด่วนที่สุด ปัญหาดังกล่วเป็นปัญหาระดับชาติ และเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงมี รัฐบาลไม่ควรเพิกเฉยหรือผลักภาระให้ประชาชนรับมือด้วยตนเอง หากรัฐบาลมีมาตรการรับมือสถานการณ์ที่สมเหตุสมผล ประชาชนย่อมพร้อมปฏิบัติตาม เพื่ออากาศหายใจที่บริสุทธิในการดำเนินชีวิตต่อไป
“สุขภาพที่ดีเป็นสิทธิพื้นฐานที่ประชาชนพึงมื”
องค์การนักศึกษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
16 มกราคม พ.ศ. 2563
https://www.facebook.com/thammasatsu/photos/a.569680896402051/2668709066499213/
เวิลด์แบงก์คาดศก.ไทยปีนี้ 2.7%
https://www.dailynews.co.th/economic/752352
เวิลด์แบงก์คาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ 2.7% มองการเมืองไทยยังเสี่ยง จี้รัฐเพิ่มภาคการผลิตเร่งด่วน ลดยากจน-สู่เป้าหมายประเทศรายได้สูงในปี 2580
นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย เปิดเผยว่า ธนาคารโลกหรือเวิลด์แบงก์ได้ประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 63 ว่าจะขยายตัวได้ 2.7% เติบโตกว่าปี 62 ที่คาดว่าขยายตัว 2.5% โดยมีแรงสนับสนุนจากความต้องการส่งออกสินค้าดีขึ้น การบริโภคเอกชนฟื้นตัว และการดำเนินการโครงการลงทุนภาครัฐมีความจริงจังมากขึ้น แต่ยังมีความเสี่ยงจากความตึงเครียดการค้าระหว่างประเทศสหรัฐกับจีน และความเสี่ยงระยะสั้นในประเทศด้านการเมือง ความสมานฉันท์พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งจะมีผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน
นอกจากนี้เวิลด์แบงก์ยังมองว่าหากแนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังคงขยายตัวเหมือนเดิมต่อไป โดยการลงทุนและผลิตภาพไม่มีท่าทีจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตเฉลี่ยต่ำกว่า 3% ซึ่งหากไทยต้องการตามเป้าหมายเป็นประเทศที่มีรายได้สูงภายในปี 2580 ส่งผลให้ไทยต้องมีเศรษฐกิจเติบโตสูงกว่า 5% อย่างยั่งยืนและต่อเนื่อง ซึ่งต้องอาศัยผลิตภาพที่เติบโตในอัตรา 3% ต่อปี และเพิ่มการลงทุนเป็น 40% ของจีดีพี เพราะมีผลต่อการลดความยากจน และยังเห็นแนวโน้มชะลอตัวผลิตผลในไทย ซึ่งภาครัฐมีความจำเป็นเพิ่มผลิตผลอย่างเร่งด่วน ถ้าหากต้องการจะไปสู่ประเทศรายได้สูง
นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวว่า การกระตุ้นผลิตภาพให้เติบโตขึ้นเป็นส่วนสำคัญของการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยระยะยาว โดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมการผลิตที่ไทยจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนโดยตรงมากขึ้น รวมถึงการปรับปรุงทักษะของแรงงาน แต่ต้องระมัดระวังเพราะหนี้ครัวเรือนยังอยู่ในระดับสูง
ขณะเดียวกันมองไทยยังมีพื้นที่การคลัง เพราะหนี้สาธารณะยังไม่สูง สามารถขยายนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ และส่งเสริมการลงทุนผ่านโครงการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน( พีพีพี) รวมทั้งใช้กลไกระบบประกันสังคมดูแลคนจน ผู้สูงอายุ คนป่วย คนตกงาน ซึ่งที่สำคัญหากจะให้ยั่งยืนระยะยาวจะต้องส่งเสริมด้านผลิตภาพเพื่อให้ประเทศก้าวสู่รายได้สูงได้ตามเป้าหมาย