TORA TORA TORA (โทรา โทรา โทรา)
นี่คือชื่อของภาพยนต์สงครามสุดคลาสสิกที่บอกเล่าเรื่องเกี่ยวกับการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ หลายท่านอาจเคยชมภาพยนต์เรื่องนี้มาแล้วหรืออาจจะยังไม่เคยเพราะมันค่อนเก่ามากในยุคปัจจุบันนี้
แต่อย่างไรก็ดี ภาพยนต์เรื่องนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาค่อนข้างละเอียดและพิถีพิถันจากการนำข้อมูลและบุคคลจริงในประวัติศาสตร์มาโลดเล่นบนแผ่นฟิมล์ จนมันทำให้ภาพยนต์เรื่องนี้ดูเหมือนสารคดีประวัติศาสตร์มากกว่าจะเป็นภาพยนต์ ชื่อของภาพยนต์เรื่องนี้ TORA TORA TORA (โทรา โทรา โทรา) มันคือชื่อรหัสออกคำสั่งโจมตีจากผู้การมิตซูโอะ ฟูชิดะ ผู้นำฝูงบินในการจู่โจมฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์
คำว่า TORA (トラ ) ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลว่า เสือ แต่คำว่า เสือ ในที่นี้ มันเป็นคำย่อที่มาจากคำว่า โทซูเงคิ ราอิเงคิ (突撃雷撃) แต่นำเสียงคำย่อ โท และ รา มารวมกับ ไปพ้องเสียงกับคำว่า โทรา ที่แปลว่า เสือ นั่นเอง และคำว่า โทซูเงคิ ราอิเงคิ (突撃雷撃) ในคำนี้หากแปลตามความหมายจะเเปลว่า "จู่โจมสายฟ้าแลบ"
ขอบคุณที่มา สงคราม 20+
Cr.
https://th-th.facebook.com/pages/category/Education-Website/สงคราม-20-502091946518622/
“รหัสลับ”
กองทัพเรือสหรัฐที่เสียหายจากการที่ญี่ปุ่นเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ล ๗ ธันวาคม ๑๙๔๑ (ภาพจาก
https://en.wikipedia.org)
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จุดยุทธศาสตร์สำคัญของอเมริกาในแปซิฟิก ที่ญี่ปุ่นพยายามยึดให้ได้ คือ เกาะมิดเวย์ และในการป้องกันตนเองของมิดเวย์นั้น ทหารอเมริกันไม่สามารถอ่านรหัสลับของญี่ปุ่นที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ บางคำก็ไม่รู้เลย ที่สำคัญคือ อเมริกาไม่รู้ว่าญี่ปุ่นใช้รหัสคำว่า “มิดเวย์” ว่าอะไร
ในที่สุดฝ่ายโต้จารกรรมของอเมริกาให้ทางเกาะมิดเวย์ส่งข่าวลวงเป็นข้อความไปยังฐานทัพใหญ่ว่า “เครื่องทำน้ำจืดเสีย” ญี่ปุ่นก็ส่งข่าวว่า “เครื่องทำน้ำจืดที่ AF เสีย” จึงรู้กันว่า “AF” คือ “มิดเวย์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บรรดาข่าวต่าง ๆ เกี่ยวแก่เกาะมิดเวย์ที่ทหารญี่ปุ่นส่งให้กันก็กระจ่างแจ้ง ทำความเสียหายแก่จักรพรรดินาวีอย่างมหาศาล และเป็นจุดกลับของ “สงครามมหาอาเซียบูรพา”
ก่อนญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐฯ นาวีที่อ่าวเพิร์ล สายลับชาวเปรูรายงานว่าญี่ปุ่นจะโจมตีอ่าวเพิร์ล วันที่ 30 พฤศจิกายน 1941 (พ.ศ. 2484) ซึ่งไม่มีใครเชื่อ และเมื่อผ่านวันนั้นไปแล้วก็แน่ใจว่าไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ในขณะที่โอวาทยุทธการของแม่ทัพเรือที่ส่งไปถึง พล.ร.ท. นากูโม แห่งกองเรือเฉพาะกิจ มีความว่า “ปีนเขานิอิตากะ” แปลว่า “เข้าตีอ่าวเพิร์ล 7 ธันวาคม 1941 เวลา 07.55 น.
ขอบคุณที่มา บทความในนิตยสารชื่อ อะไรคือความลับ
Cr.
https://www.silpa-mag.com/history/article_14199
“Roger That”
โดยปรกติแล้วแฟนๆ หนังสงครามหรือหนังที่เกี่ยวกับตำรวจ อาจจะคุ้นเคยกันกับประโยคที่พวกเขามักจะพูดกันบ่อยๆ เวลาวิทยุสื่อสารกัน อย่างคำว่า “Roger That” (รับทราบ, รับปฏิบัติ )
หลังจากที่มีการคิดค้นเครื่องบินเครื่องแรกของโลกขึ้นโดยสองพี่น้องตระกูลไรท์เมื่อปี 1903 จากนั้นการเดินทางในอากาศของมนุษย์ก็ไม่ใช่เรื่องในฝันอีกต่อไป และสิ่งที่ตามมาพร้อมกับการบินนั่นก็คือการสื่อสารกันระหว่างนักบินและศูนย์ควบคุมภาคพื้น ในยุคแรกๆ ที่เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ยังไม่ทันสมัยนั้น การสื่อสารระหว่างการบินนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ดังนั้นการที่จะแทนคำพูดยาวๆ ให้ได้ใจความที่สำคัญนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างรหัสต่างๆ เพื่อมาสื่อสารกัน
ในช่วงแรกๆ ของการติดต่อสื่อสารนั้นจะมีการใช้รหัสมอสในการรับส่งข้อความ และตัว R จะแทนคำว่า Received หรือได้รับข้อความแล้ว และโดยก่อนหน้านี้การออกเสียงแทนตัวอักษรในการวิทยุสื่อสาร หรือ phonetic alphabet จะมีการใช้คำว่า Romeo แทนตัว R
แต่หลังจากนั้นในปี 1927 องค์กรวิทยุแห่งสหประชาชาติได้ใช้คำว่า Roger แทนตัวที่ตัว R และจากนั้นคำว่า Roger และจากนั้นเป็นต้นมาคeว่า Roger จึงหมายความว่าได้รับข้อความแล้วนั่นเอง จากนั้นในช่วงสงครามโลกคำว่า Roger จึงกลายเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสื่อสารวิทยุการบินและไม่ใช่แค่ทหารที่พูดภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่ยังเป็นทหารในหลายๆ เชื้อชาติอีกด้วย
ขอบคุณที่มา thevintagenews
Cr.
https://www.catdumb.com/roger-that-phonetic-alphabet-007/
“ภาษานาวาโฮ”
รหัสภาษานาวาโฮ เป็นรหัสลับที่เรียบง่าย และคล้ายจะไขออกได้ไม่ยาก ทว่ากลับทำให้กองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่สามารถไขรหัสภาษานาวาโฮที่กองทัพสหรัฐฯ นำมาใช้ในสงครามฝั่งแปซิฟิกนี้ได้เลยจวบจนสงครามเสร็จสิ้น
ย้อนกลับไปในอดีต ที่สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามโลกเนื่องจากการถูกญี่ปุ่นโจมตีเพิลฮาเบอร์ได้ไม่นาน นายฟิลิป จอนสตัน ซึ่งเติบโตมาในชุมชนพื้นเมืองอเมริกา ทำให้เขาเป็นหนึ่งในคนที่สามารถพูดภาษานาวาโฮได้อย่างคล่องแคล่ว เขายื่นเรื่องเสนอกับกองทัพเรือสหรัฐฯ ในการสร้างรหัสลับที่ใช้ภาษาท้องถิ่นอย่างภาษานาวาโฮเป็นรากฐาน ให้สามารถประกอบและแก้ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถพูดปากเปล่าได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอักษร
ซึ่งไอเดียนี้เคยถูกใช้มาก่อนแล้วโดยทหารจากเผ่าชิโรคี (Cherokee) และ ชอร์คทอ (Choctaw) ที่ใช้ภาษาถิ่นของตัวเองในการส่งข้อความไปยังแนวหน้าระหว่างช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทัพตกลงตามคำขอของจอนสตัน และทำการเกณฑ์ชาวนาวาโฮกว่า 200 คนมาเพื่อสร้างรหัสลับนี้
กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่คิดค้นแทนที่คำใหม่ ไปจนถึงการฝึกฝนให้สามารถแก้รหัสและจดจำคำต่าง ๆ ต้องใช้เวลากว่า 13 สัปดาห์
หลักการของรหัสภาษานาวาโฮนั้นถือว่าเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเหมือนกับรหัสอื่น ๆ แต่จำเป็นต้องอาศัยการจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ เนื่องจากใช้การแทนที่คำด้วยภาษานาวาโฮ ตั้งแต่ตัวอักษรง่าย ๆ อย่าง A ก็แทนที่ด้วยคำว่า แอปเปิล ไปจนถึงคำอื่น ๆ อย่างเรือดำน้ำก็แทนที่ด้วยคำว่า Metal fish หรือ “ปลาเหล็ก” ซึ่งยังมีอีกมาก ซึ่งทุกคำที่ถูกแทนที่ไปทั้งหมดนั้นจะใช้ภาษานาวาโฮเป็นพื้นฐานในการคิดทั้งหมด
หลังจากที่รหัสภาษานาวาโฮถูกพัฒนาจนสำเร็จ กองทัพเรือสหรัฐฯ ก็เกณชาวนาวาโฮจำนวนมากเข้ากองทัพเพื่อนำมาฝึกเป็นคนพูดรหัสนาวาโฮ หรือ (Navajo Code talker) และรับบทบาทเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในฝั่งแปซิฟิก ตั้งแต่การทัพกัวดัลคะแนล (Guadalcanal Campaign) ในปี 1942 ไปจนถึงยุทธการที่อิโวะจิมะ (Battle of Iwo Jima) ปี 1945 ซึ่งตลอดระยะเวลานั้นได้พิสูจน์ว่า รหัสลับนี้ใช้ได้ผลจริง
การปฏิบัติการของคนพูดรหัสนาวาโฮถือเป็นความลับ จนกระทั่งมีการเปิดเผยโครงการในปี 1968 และเพิ่งจะมีการมอบเหรียญเชิดชูเกียรติให้กับคนพูดรหัสรุ่นแรก 29 คนเมื่อปี 2001 นี้เอง
ขอบคุณที่มาBy ManoshFiz
Cr.
https://www.flagfrog.com/navajo-code-talker/
"Атака แอทตากา"
หนึ่งในภาพอันเป็นตำนานของแนวรบด้านตะวันออก (1941-1945) คือภาพนายทหารโซเวียต ชูปืนพกประจำกายหันหลังไปตะโกนบอกสหายลูกน้องให้รุกรบไปข้างหน้า
นายทหารโซเวียตท่านนี้ เขาคือ อเล็กเซย์ เยโรเมงโก้ นายทหารฝ่ายการเมือง หรือ คอมมิสซาร์ ประจำกรมปืนเล็กยาวที่ 220 กองพลปืนเล็กยาวที่ 4 เขาและสหายลูกน้อง นำกำลังเข้าตีหมู่บ้านโครอสเซเย ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับเมืองโวโลชิโรกราด ซึ่งอยู่ในยูเครน ในวันที่ 12 กรกฎาคม 1942
โดยช่างภาพและนักข่าวสงคราม แม็กซ์ อัลเพิร์ท ที่ต้องหมอบอยู่ในหลุมบุคคลเพื่อถ่ายภาพสำคัญนี้ เขาสามารถถ่ายภาพวินาทีที่เยโรเมงโก้ชูปืนพกแบบโตกาเรฟ 33 พร้อมกับตะโกนอย่างสุดเสียงให้สหายลูกน้องทุกคนได้ยินว่า "Атака แอทตากา" ซึ่งแปลว่า โจมตี
ช่างโชคร้ายที่ไม่กี่นาทีต่อมา เยโรเมงโก้ ถูกยิงเสียชีวิตในการรบ
ขอบคุณที่มา โดย War History with Teacher Panyanat
Cr.
https://th-th.facebook.com/751970104976331/photos/a.751973321642676/1248500305323306/?type=3&theater
รหัสลับที่ใช้ในสงคราม
นี่คือชื่อของภาพยนต์สงครามสุดคลาสสิกที่บอกเล่าเรื่องเกี่ยวกับการโจมตีของกองทัพญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ หลายท่านอาจเคยชมภาพยนต์เรื่องนี้มาแล้วหรืออาจจะยังไม่เคยเพราะมันค่อนเก่ามากในยุคปัจจุบันนี้
แต่อย่างไรก็ดี ภาพยนต์เรื่องนี้ได้ถูกสร้างขึ้นมาค่อนข้างละเอียดและพิถีพิถันจากการนำข้อมูลและบุคคลจริงในประวัติศาสตร์มาโลดเล่นบนแผ่นฟิมล์ จนมันทำให้ภาพยนต์เรื่องนี้ดูเหมือนสารคดีประวัติศาสตร์มากกว่าจะเป็นภาพยนต์ ชื่อของภาพยนต์เรื่องนี้ TORA TORA TORA (โทรา โทรา โทรา) มันคือชื่อรหัสออกคำสั่งโจมตีจากผู้การมิตซูโอะ ฟูชิดะ ผู้นำฝูงบินในการจู่โจมฐานทัพเรือสหรัฐที่เพิร์ลฮาร์เบอร์
คำว่า TORA (トラ ) ในภาษาญี่ปุ่นนั้นแปลว่า เสือ แต่คำว่า เสือ ในที่นี้ มันเป็นคำย่อที่มาจากคำว่า โทซูเงคิ ราอิเงคิ (突撃雷撃) แต่นำเสียงคำย่อ โท และ รา มารวมกับ ไปพ้องเสียงกับคำว่า โทรา ที่แปลว่า เสือ นั่นเอง และคำว่า โทซูเงคิ ราอิเงคิ (突撃雷撃) ในคำนี้หากแปลตามความหมายจะเเปลว่า "จู่โจมสายฟ้าแลบ"
ขอบคุณที่มา สงคราม 20+
Cr.https://th-th.facebook.com/pages/category/Education-Website/สงคราม-20-502091946518622/
“รหัสลับ”
กองทัพเรือสหรัฐที่เสียหายจากการที่ญี่ปุ่นเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ล ๗ ธันวาคม ๑๙๔๑ (ภาพจาก https://en.wikipedia.org)
ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จุดยุทธศาสตร์สำคัญของอเมริกาในแปซิฟิก ที่ญี่ปุ่นพยายามยึดให้ได้ คือ เกาะมิดเวย์ และในการป้องกันตนเองของมิดเวย์นั้น ทหารอเมริกันไม่สามารถอ่านรหัสลับของญี่ปุ่นที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ บางคำก็ไม่รู้เลย ที่สำคัญคือ อเมริกาไม่รู้ว่าญี่ปุ่นใช้รหัสคำว่า “มิดเวย์” ว่าอะไร
ในที่สุดฝ่ายโต้จารกรรมของอเมริกาให้ทางเกาะมิดเวย์ส่งข่าวลวงเป็นข้อความไปยังฐานทัพใหญ่ว่า “เครื่องทำน้ำจืดเสีย” ญี่ปุ่นก็ส่งข่าวว่า “เครื่องทำน้ำจืดที่ AF เสีย” จึงรู้กันว่า “AF” คือ “มิดเวย์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บรรดาข่าวต่าง ๆ เกี่ยวแก่เกาะมิดเวย์ที่ทหารญี่ปุ่นส่งให้กันก็กระจ่างแจ้ง ทำความเสียหายแก่จักรพรรดินาวีอย่างมหาศาล และเป็นจุดกลับของ “สงครามมหาอาเซียบูรพา”
ก่อนญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐฯ นาวีที่อ่าวเพิร์ล สายลับชาวเปรูรายงานว่าญี่ปุ่นจะโจมตีอ่าวเพิร์ล วันที่ 30 พฤศจิกายน 1941 (พ.ศ. 2484) ซึ่งไม่มีใครเชื่อ และเมื่อผ่านวันนั้นไปแล้วก็แน่ใจว่าไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ในขณะที่โอวาทยุทธการของแม่ทัพเรือที่ส่งไปถึง พล.ร.ท. นากูโม แห่งกองเรือเฉพาะกิจ มีความว่า “ปีนเขานิอิตากะ” แปลว่า “เข้าตีอ่าวเพิร์ล 7 ธันวาคม 1941 เวลา 07.55 น.
ขอบคุณที่มา บทความในนิตยสารชื่อ อะไรคือความลับ
Cr.https://www.silpa-mag.com/history/article_14199
“Roger That”
โดยปรกติแล้วแฟนๆ หนังสงครามหรือหนังที่เกี่ยวกับตำรวจ อาจจะคุ้นเคยกันกับประโยคที่พวกเขามักจะพูดกันบ่อยๆ เวลาวิทยุสื่อสารกัน อย่างคำว่า “Roger That” (รับทราบ, รับปฏิบัติ )
หลังจากที่มีการคิดค้นเครื่องบินเครื่องแรกของโลกขึ้นโดยสองพี่น้องตระกูลไรท์เมื่อปี 1903 จากนั้นการเดินทางในอากาศของมนุษย์ก็ไม่ใช่เรื่องในฝันอีกต่อไป และสิ่งที่ตามมาพร้อมกับการบินนั่นก็คือการสื่อสารกันระหว่างนักบินและศูนย์ควบคุมภาคพื้น ในยุคแรกๆ ที่เครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ยังไม่ทันสมัยนั้น การสื่อสารระหว่างการบินนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ค่อนข้างลำบาก ดังนั้นการที่จะแทนคำพูดยาวๆ ให้ได้ใจความที่สำคัญนั้นจึงจำเป็นอย่างมากที่จะต้องสร้างรหัสต่างๆ เพื่อมาสื่อสารกัน
ในช่วงแรกๆ ของการติดต่อสื่อสารนั้นจะมีการใช้รหัสมอสในการรับส่งข้อความ และตัว R จะแทนคำว่า Received หรือได้รับข้อความแล้ว และโดยก่อนหน้านี้การออกเสียงแทนตัวอักษรในการวิทยุสื่อสาร หรือ phonetic alphabet จะมีการใช้คำว่า Romeo แทนตัว R
แต่หลังจากนั้นในปี 1927 องค์กรวิทยุแห่งสหประชาชาติได้ใช้คำว่า Roger แทนตัวที่ตัว R และจากนั้นคำว่า Roger และจากนั้นเป็นต้นมาคeว่า Roger จึงหมายความว่าได้รับข้อความแล้วนั่นเอง จากนั้นในช่วงสงครามโลกคำว่า Roger จึงกลายเป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในการสื่อสารวิทยุการบินและไม่ใช่แค่ทหารที่พูดภาษาอังกฤษเท่านั้นแต่ยังเป็นทหารในหลายๆ เชื้อชาติอีกด้วย
ขอบคุณที่มา thevintagenews
Cr.https://www.catdumb.com/roger-that-phonetic-alphabet-007/
“ภาษานาวาโฮ”
รหัสภาษานาวาโฮ เป็นรหัสลับที่เรียบง่าย และคล้ายจะไขออกได้ไม่ยาก ทว่ากลับทำให้กองทัพญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่ 2 ยังไม่สามารถไขรหัสภาษานาวาโฮที่กองทัพสหรัฐฯ นำมาใช้ในสงครามฝั่งแปซิฟิกนี้ได้เลยจวบจนสงครามเสร็จสิ้น
ย้อนกลับไปในอดีต ที่สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามโลกเนื่องจากการถูกญี่ปุ่นโจมตีเพิลฮาเบอร์ได้ไม่นาน นายฟิลิป จอนสตัน ซึ่งเติบโตมาในชุมชนพื้นเมืองอเมริกา ทำให้เขาเป็นหนึ่งในคนที่สามารถพูดภาษานาวาโฮได้อย่างคล่องแคล่ว เขายื่นเรื่องเสนอกับกองทัพเรือสหรัฐฯ ในการสร้างรหัสลับที่ใช้ภาษาท้องถิ่นอย่างภาษานาวาโฮเป็นรากฐาน ให้สามารถประกอบและแก้ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถพูดปากเปล่าได้โดยไม่จำเป็นต้องใช้ตัวอักษร
ซึ่งไอเดียนี้เคยถูกใช้มาก่อนแล้วโดยทหารจากเผ่าชิโรคี (Cherokee) และ ชอร์คทอ (Choctaw) ที่ใช้ภาษาถิ่นของตัวเองในการส่งข้อความไปยังแนวหน้าระหว่างช่วงท้ายของสงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งกองทัพตกลงตามคำขอของจอนสตัน และทำการเกณฑ์ชาวนาวาโฮกว่า 200 คนมาเพื่อสร้างรหัสลับนี้
กระบวนการทั้งหมดตั้งแต่คิดค้นแทนที่คำใหม่ ไปจนถึงการฝึกฝนให้สามารถแก้รหัสและจดจำคำต่าง ๆ ต้องใช้เวลากว่า 13 สัปดาห์
หลักการของรหัสภาษานาวาโฮนั้นถือว่าเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนเหมือนกับรหัสอื่น ๆ แต่จำเป็นต้องอาศัยการจดจำคำศัพท์ต่าง ๆ เนื่องจากใช้การแทนที่คำด้วยภาษานาวาโฮ ตั้งแต่ตัวอักษรง่าย ๆ อย่าง A ก็แทนที่ด้วยคำว่า แอปเปิล ไปจนถึงคำอื่น ๆ อย่างเรือดำน้ำก็แทนที่ด้วยคำว่า Metal fish หรือ “ปลาเหล็ก” ซึ่งยังมีอีกมาก ซึ่งทุกคำที่ถูกแทนที่ไปทั้งหมดนั้นจะใช้ภาษานาวาโฮเป็นพื้นฐานในการคิดทั้งหมด
หลังจากที่รหัสภาษานาวาโฮถูกพัฒนาจนสำเร็จ กองทัพเรือสหรัฐฯ ก็เกณชาวนาวาโฮจำนวนมากเข้ากองทัพเพื่อนำมาฝึกเป็นคนพูดรหัสนาวาโฮ หรือ (Navajo Code talker) และรับบทบาทเป็นกุญแจสำคัญของกองทัพเรือสหรัฐฯ ในฝั่งแปซิฟิก ตั้งแต่การทัพกัวดัลคะแนล (Guadalcanal Campaign) ในปี 1942 ไปจนถึงยุทธการที่อิโวะจิมะ (Battle of Iwo Jima) ปี 1945 ซึ่งตลอดระยะเวลานั้นได้พิสูจน์ว่า รหัสลับนี้ใช้ได้ผลจริง
การปฏิบัติการของคนพูดรหัสนาวาโฮถือเป็นความลับ จนกระทั่งมีการเปิดเผยโครงการในปี 1968 และเพิ่งจะมีการมอบเหรียญเชิดชูเกียรติให้กับคนพูดรหัสรุ่นแรก 29 คนเมื่อปี 2001 นี้เอง
ขอบคุณที่มาBy ManoshFiz
Cr.https://www.flagfrog.com/navajo-code-talker/
"Атака แอทตากา"
หนึ่งในภาพอันเป็นตำนานของแนวรบด้านตะวันออก (1941-1945) คือภาพนายทหารโซเวียต ชูปืนพกประจำกายหันหลังไปตะโกนบอกสหายลูกน้องให้รุกรบไปข้างหน้า
นายทหารโซเวียตท่านนี้ เขาคือ อเล็กเซย์ เยโรเมงโก้ นายทหารฝ่ายการเมือง หรือ คอมมิสซาร์ ประจำกรมปืนเล็กยาวที่ 220 กองพลปืนเล็กยาวที่ 4 เขาและสหายลูกน้อง นำกำลังเข้าตีหมู่บ้านโครอสเซเย ซึ่งอยู่ใกล้ๆกับเมืองโวโลชิโรกราด ซึ่งอยู่ในยูเครน ในวันที่ 12 กรกฎาคม 1942
โดยช่างภาพและนักข่าวสงคราม แม็กซ์ อัลเพิร์ท ที่ต้องหมอบอยู่ในหลุมบุคคลเพื่อถ่ายภาพสำคัญนี้ เขาสามารถถ่ายภาพวินาทีที่เยโรเมงโก้ชูปืนพกแบบโตกาเรฟ 33 พร้อมกับตะโกนอย่างสุดเสียงให้สหายลูกน้องทุกคนได้ยินว่า "Атака แอทตากา" ซึ่งแปลว่า โจมตี
ช่างโชคร้ายที่ไม่กี่นาทีต่อมา เยโรเมงโก้ ถูกยิงเสียชีวิตในการรบ
ขอบคุณที่มา โดย War History with Teacher Panyanat
Cr.https://th-th.facebook.com/751970104976331/photos/a.751973321642676/1248500305323306/?type=3&theater