“รหัสลับ” ว่าด้วยการสื่อสารแบบกลวิธีลับๆ

รหัสลับ Vigenere



Vigenere Cipher ตั้งชื่อตาม Blaise de Vigenere นักการทูตชาวฝรั่งเศส ที่แม้ว่าผู้คิดค้นจะเป็น Giovan Battista Bellaso แต่คนที่พัฒนาให้รหัสลับนี้เป็นที่ยอมรับและแพร่หลาย ก็คือ Vigenere 

หลักการของ Vigenere Cipher มีพื้นฐานมาจากรหัสซีซาร์ นั่นคือ เมื่อเรามีข้อความจริง(Plaintext) เช่น ABC เราจะทำการเลื่อนตัวอักษรให้ต่างจากเดิม เช่น เลื่อนไป 3 อันดับจาก ABC กลายเป็น DEF ทำเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ เป็นข้อความใหม่ที่เป็นรหัสลับ(Ciphertext) แล้วทำการส่งข้อความรหัสลับนั้นออกไป วิธีการสร้างรหัสลับแบบนี้เรามีชื่อเฉพาะว่า รหัสซีซาร์ ซึ่งจะทำการเลื่อนตัวอักษรทุกตัวดังภาพ เมื่อมีคนดักข้อมูลได้ระหว่างทางก็จะไม่สามารถอ่านมันได้(วิธีนี้ใช้มาตั้งแต่สมัยจูเลียส ซีซาร์)
วิธีการสร้างรหัสซีซาร์(ภาษาทางการใช้คำว่า เข้ารหัส) จะเป็นว่าตัวอักษรตัวแรกในแถบรหัสที่อักษรที่แท้จริง “A” เลื่อนไปหาคือ “D” ซึ่งตัวอักษร D ตัวนี้เราจะเรียกมันว่าอักษรนำ

สรุป คือ การนำ Key word แต่ละตัวมาเป็นอักษรนำของแต่ละแถบรหัส นั่นแสดงว่าแถบรหัสจะมีจำนวนแถบตามจำนวนอักษรใน Key word ส่วนการส่งข้อความจริงลำดับตัวอักษรในข้อความจริงจะเป็นตัวระบุว่าอักษรตัวไหนจะใช้แถบรหัสตัวใด นั่นคือ ตัวอักษรตัวแรกใช้แถบที่ 1 ตัวอักษรตัวที่สองใช้แถบที่ 2 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ
ตัวอย่าง Vigenere Cipher
หากเราบอกกลุ่มเพื่อนในห้อง Line ว่า Key word จะใช้ชื่อวันในภาษาอังกฤษ เปลี่ยนไปตามวันที่ส่ง หากวันนี้วันอาทิตย์ ก็แสดงว่า Key word คือ SUNDAY ดังนั้นเราจะได้แถบรหัสลับคือ
STUVWXYZABCDEFGHIJKLMNOPQR
UVWXYZABCDEFGHIJKLMNOPQRST
NOPQRSTUVWXYZABCDEFGHIJKLM
DEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZABC
ABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWXYZ
YZABCDEFGHIJKLMNOPQRSTUVWX

Cr.https://www.appdisqus.com/



รหัสซีซาร์



รหัสซีซาร์ ( Caesar cipher) เป็นที่รู้จักกันในชื่ออื่นว่า shift cipher Caesar's code หรือ Caesar shift เป็นเทคนิคการเข้ารหัสที่ง่ายและแพร่หลายที่สุด โดยใช้หลักการแทนที่ตัวอักษร ซึ่งในแต่ละตัวอักษรที่อยู่ในข้อความจะถูกแทนที่ด้วยตัวอักษรที่อยู่ลำดับถัดไปตามจำนวนตัวอักษรที่แน่นอน อย่างเช่น แปลงตัวอักษรไป 3 ตัว อักษร "A" ก็จะถูกแทนที่ด้วยอักษร "D" การเข้ารหัสแบบดังกล่าวตั้งชื่อตามจูเลียส ซีซาร์ ซึ่งคิดค้นขึ้นเพื่อการติดต่อสื่อสารกับแม่ทัพนายกองของเขา
รูปแบบการเข้ารหัสแบบซีซาร์ใช้หลักการแทนที่ตัวอักษร จากตัวอย่างแสดงให้เห็นถึงการแทนที่ตัวอักษรด้วยตัวอักษรที่อยู่ถัดไป 3 ตัว ดังนั้น ตัวอักษร "A" จะถูกแทนที่ด้วย "D" และ "B" จะถูกแทนที่ด้วย "E" ไปเรื่อย ๆ

ขั้นตอนการเข้ารหัสซีซาร์มักจะใช้ร่วมกับการเข้ารหัสที่มีความซับซ้อนมากกว่า เนื่องจากรหัสซีซาร์ใช้หลักการแทนที่ตัวอักษรเดี่ยวที่มีความตายตัว ดังนั้น รหัสดังกล่าวจึงสามารถถอดออกมาได้ง่าย รวมไปถึงความจริงที่ว่า ในทางปฏิบัติแล้ว มักจะไม่ได้ช่วยในการรักษาความปลอดภัยของข้อความนั้นเลย
Cr.th.wikipedia.org/



รหัสลับ Enigma 



ปลายสมัยสงครามโลกครั้งที่ 1 เครื่อง Enigma ได้ถูกคิดค้นขึ้นโดย Arthur Scherbius (อาร์เธอร์ แชร์บิอุส) มีความสามารถในการเข้ารหัส คือ เมื่อพิมพ์ข้อความใดๆ เข้าไป ข้อความนั้นจะถูกแปลงเป็นคำอื่นๆ และถูกส่งออกไปยังเครื่อง Enigma ปลายทาง

เมื่อเครื่องปลายทาง (ผู้รับสาร) ที่ได้ตั้งค่าการถอดรหัสที่ตรงกับการเข้ารหัสไว้ในเครื่องต้นทาง (ผู้ส่งสาร) จะทำให้ผู้รับสารสามารถอ่านข้อความที่ถูกแปลงได้ในที่สุด (ผู้รับสารเข้าใจสิ่งที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ ดังนั้นถือว่าการสื่อสารประสบความสำเร็จ) แต่ทว่า Enigma กลับไม่ค่อยได้รับความนิยมในหมู่คนทั่วไป จึงได้แต่ใช้งานกันในหน่วยงานทหารเท่านั้น

มาจนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 นาซีเยอรมันซึ่งนำโดย Adolf Hitler ได้มีการนำ Enigma มาใช้ส่งรหัสแผนการรบข้ามจังหวัด ข้ามประเทศ ข้ามทวีป จนฝ่ายสัมพันธมิตรเพลี่ยงพล้ำ พ่ายศึกไปอย่างมากมาย 
จนกระทั่ง วินสตัน เชอร์ชิล (นายกฯ ของอังกฤษในสมัยนั้น) ได้เรียกรวมทีมหัวกะทิ ที่นำทีมโดย อลัน ทูริง ผู้เป็นนักคณิตศาสตร์สุดปราดเปรื่อง เข้ามาช่วยในแผนปฏิบัติการถอดรหัสลับ Enigma ได้ในเวลาอันจำกัด และในที่สุดก็สามารถหาวิธีถอดรหัส Enigma และทำให้อังกฤษเข้าใจแผนการที่ฝ่ายนาซีเยอรมันทั้งหมด และโจมตีกลับจนเยอรมันเป็นฝ่ายแพ้สงครามไปจนได้

หลังจากนั้น วิธีการถอดรหัสของเขายังได้นำมาใช้เป็นต้นแบบของคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลก และอลัน ทูริง ยังได้รับการยกย่องอย่างมากมายว่าเป็นวีรบุรุษสงครามโลก รวมถึงบิดาแห่งคอมพิวเตอร์
(วิธีถอดรหัส Cr. https://www.scimath.org/lesson-mathematics/item/7347-enigma)
Cr.medium.com/



Pig pen 



สาเหตุที่รหัสนี้มีชื่อแบบนี้เพราะมันมีรูปร่างเหมือนเล้าหมู
ต้นกำเนิดไม่แน่ชัด แต่เริ่มพบในศตวรรษที่ 18 ถูกใช้เพื่อบันทึกประวัติศาสตร์และความลับขององค์กรบางองค์กรในยุคนั้น
รหัสเป็นการแทนตัวอักษรด้วยภาพ โดยเป็นรูปตาราง รูปกากบาท และจุดครับ เป็นการแทนค่าได้หลายหลายรูปแบบ และหากดัดแปลงเพิ่ม จะสามารถเพิ่มจำนวนสัญลักษณ์ได้
มีลักษณะรูปร่างที่จำง่าย และเขียนง่าย แต่ปัญหาคือรูปตารางและกากบาทที่สามารถแทนค่าเป็นตัวอักษรได้หลายรูปแบบ เช่นที่พบกันทั่วไปแบบหนึ่ง แบบที่แดน บราวน์ใช้ใน สาส์นลับที่สาบสูญ อีกแบบหนึ่ง และยังเพิ่มสัญลักษณ์เข้าไปเพื่อเพิ่มตัวอักขระได้อีก ถ้ารูปแบบรหัสที่เรานำมาแก้ไม่ตรงกับรูปแบบรหัสตอนสร้าง ก็จะได้ข้อความอื่นมาแทน
และอีกอย่างคือ เราไม่สามารถรู้ได้ว่าประโยคที่แปลมานั้น เว้นวรรคเช่นไร เพราะมักจะเขียนสัญลักษณ์แบบติดๆกัน
Cr.pl-pl.facebook.com/



รหัสลับ Standard Galactic Alphabet


นี่คือตัวอักษรที่ถูกคิดขึ้นโดยนาย ทอม ฮอล เพื่อใช้ในเกมคอมพิวเตอร์ ซีรี่ย์ คอมมานเดอร์ คีน (Commander Keen) โดยเหตุผลของเขาก็คือ อยากให้ตัวอักษรในเกมส์ดูเป็นภาษาในอนาคตหรือภาษาเอเลี่ยน จึงสร้างตัวอักษรนี้ขึ้นมา
สัญลักษณ์แต่ละตัวก็ถูกแทนเป็นภาษาอังกฤษ มีรูปแบบง่ายๆ คือ ขีด จุด และจะมีแค่ตัว A และ O ที่จะเป็นเส้นโค้ง
และในเกมชื่อดังอย่าง Minecraft ก็ใช้อักขระนี่ด้วย โดยอยู่ในหน้า Enchant
ฟอนต์ของ SGA ครับ 
Cr. www.omniglot.com/conscripts/sga.htm
ภาพจาก oldgame
Request จาก Bom putipong



"รหัสมอร์ส" รหัสลับ ไม่มีวันตาย


รหัสมอร์ส คิดค้นขึ้นโดยแซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส (Samuel Finley Breese Morse) แซมมวลได้ประดิษฐ์ขึ้นตั้งแต่ปี 1837 โดยได้คิดค้นประดิษฐ์เครื่องโทรเลข และคิดรหัสมอร์ส เพื่อใช้แทนตัวอักษรหรือตัวเลขในการส่งโทรเลข รหัสมอร์สจะประกอบด้วยขีด (-) และ จุด (.) โดยสัญญาณสั้น จะใช้ "จุด" และสัญญาณยาวจะใช้ "ขีด" มาผสมกันเป็นแปลออกมาตัวหนังสือ ตัวเลข และเครื่องหมายต่างๆ ซึ่งนอกจากรหัสมอร์สภาษาอังกฤษที่ใช้อย่างเป็นสากลแล้ว รหัสมอร์สยังมีอีกหลายภาษา รวมทั้งภาษาไทย

 การใช้รหัสมอร์สไม่ได้หยุดนิ่งเฉพาะแค่สัญญาณเสียงเท่านั้น บางครั้งก็นำมาใช้กับสัญญาณไฟหรือกระพริบตาได้ด้วย ยกตัวอย่างย้อนกลับไปเมื่อสมัยสงครามเวียดนาม Jeremiah Denton ถูกจับติดคุกในเวียดนามเหนือเป็นเวลา 8 ปี จนวันนึงเขาถูกบังคับให้สัมภาษณ์รายการโทรทัศน์รายการหนึ่งที่เผยแพร่ในประเทศสหรัฐอเมริกา ว่าเขาอยู่ในนั้นสุขสบายดี แต่ระหว่างให้สัมภาษณ์ Denton ได้กระพริบตาส่งเป็นรหัสมอร์สว่า "T-O-R-T-U-R-E" ถ้าใครไม่ทันสังเกตก็คงคิดว่าเป็นการกระพริบตาธรรมดาๆ แต่ในครั้งนั้นมีผู้ถอดรหัสเป็นคำดังกล่าวได้ ทำให้รู้ว่าเขาอยู่ในนั้นด้วยความทรมาน แม้ว่าภายหลังจะได้รับการปล่อยตัวออกมา แต่ชาวอเมริกันก็ได้รู้ว่ามีการทรมานเชลยศึกชาวอเมริกันจริงๆ


   สำหรับในปัจจุบัน การสื่อสารเน้นไปทางพูดมากกว่า ไม่มีใครใช้รหัสมอร์สกันแล้ว จะมีก็แต่ในวงการวิทยุสมัครเล่นและทหารเรือที่ยังใช้งานรหัสมอร์สกันอยู่
Cr.dek-d.com/



รหัสลับ “AF” 



(กองทัพเรือสหรัฐที่เสียหายจากการที่ญี่ปุ่นเข้าโจมตีอ่าวเพิร์ล ๗ ธันวาคม ๑๙๔๑) (ภาพจาก https://en.wikipedia.org)

ในสงครามโลกครั้งที่ 2 จุดยุทธศาสตร์สำคัญของอเมริกาในแปซิฟิก ที่ญี่ปุ่นพยายามยึดให้ได้ คือ เกาะมิดเวย์ และในการป้องกันตนเองของมิดเวย์นั้น ทหารอเมริกันไม่สามารถอ่านรหัสลับของญี่ปุ่นที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันได้ บางคำก็ไม่รู้เลย ที่สำคัญคือ อเมริกาไม่รู้ว่าญี่ปุ่นใช้รหัสคำว่า “มิดเวย์” ว่าอะไร 

ในที่สุดฝ่ายโต้จารกรรมของอเมริกาให้ทางเกาะมิดเวย์ส่งข่าวลวงเป็นข้อความไปยังฐานทัพใหญ่ว่า “เครื่องทำน้ำจืดเสีย” ญี่ปุ่นก็ส่งข่าวว่า “เครื่องทำน้ำจืดที่ AF เสีย” จึงรู้กันว่า “AF” คือ “มิดเวย์” ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา บรรดาข่าวต่าง ๆ เกี่ยวแก่เกาะมิดเวย์ที่ทหารญี่ปุ่นส่งให้กันก็กระจ่างแจ้ง ทำความเสียหายแก่จักรพรรดินาวีอย่างมหาศาล และเป็นจุดกลับของ “สงครามมหาอาเซียบูรพา”

ก่อนญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือของสหรัฐฯ นาวีที่อ่าวเพิร์ล สายลับชาวเปรูรายงานว่าญี่ปุ่นจะโจมตีอ่าวเพิร์ล วันที่ 30 พฤศจิกายน 1941 (พ.ศ. 2484) ซึ่งไม่มีใครเชื่อ และเมื่อผ่านวันนั้นไปแล้วก็แน่ใจว่าไม่มีเหตุการณ์ใด ๆ ในขณะที่โอวาทยุทธการของแม่ทัพเรือที่ส่งไปถึง พล.ร.ท. นากูโม แห่งกองเรือเฉพาะกิจ มีความว่า “ปีนเขานิอิตากะ” แปลว่า “เข้าตีอ่าวเพิร์ล 7 ธันวาคม 1941 เวลา 07.55 น.
Cr. silpa-mag.com/



รหัสลับดาวินซี
The Da Vinci Code รหัสลับระทึกโลก Extended Cut (2006)
 
โมนาลิซา สตรีผู้โด่งดังที่สุดในโลกบนภาพวาดผลงานของ เลโอนาร์โด ดา วินชี  ซึ่งใช้เวลารังสรรค์กว่า 4 ปี ตั้งแต่ ค.ศ. 1503-1507 โดยปัจจุบันภาพวาดกลายเป็นมรดกสำคัญของโลกและถูกจัดเก็บอย่างดีในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ของประเทศฝรั่งเศส ความโดดเด่นของโมนาลิซาอยู่ตรงที่รอยยิ้มปริศนาที่เราไม่อาจคาดเดาได้ว่าเธอกำลังยิ้ม เศร้า หรือ ทำหน้านิ่ง และเมื่อมองภาพในต่างมุมก็พบว่าเธอมีรอยยิ้มที่ต่างกันออกไป ซึ่งนั่นคือความงามของภาพนี้ 

ปริศนาอีกประการที่ไม่ได้รับการเปิดเผยคือหญิงสาวในภาพนี้คือใครกันแน่ และโมนาลิซ่าคือใคร เพราะชื่อนี้ถูกตั้ง31ปีหลังจากที่ ดาวินชีเสียชีวิต และเป็นการกล่าวอ้างของ จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลีที่ว่า หญิงสาวในรูปคือ  ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด ชาวเมืองฟลอเรนซ์และเป็นภรรยาของคหบดีผู้มั่งคั่ง 

ต่อมาคาร์ลา กลอรี (Carla Glori) นักประวัติศาสตร์ศิลปะ  อ้างว่า ผู้หญิงในภาพคือ บียงกา จิโอวานนา สฟอร์ซา (Bianca Giovanna Sforza) ลูกสาวของ ลูโดวิโก อิล โมโร คหบดีผู้ปกครองเมืองบ็อบบิโอเมื่อกว่า 500 ปีก่อนและสะพานที่อยู่ด้านหลังรูปคือสะพานข้ามแม่น้ำเทร็บเบียในเมืองบ็อบบิโอ ใกล้กับเมืองปิอาเซ็นซาในประเทศอิตาลี
 
นายซิลวาโน วินเซนติ ประธานคณะกรรมการแห่งชาติด้านมรดกวัฒนธรรม แห่งประเทศอิตาลี อ้างว่าเขาได้พบปริศนาสำคัญ ในดวงตาของภาพวาดโมนาลิซ่า เมื่อมีการส่องเข้าไปอย่างละเอียดข้างขวาปรากฏตัวอักษร “L V” ข้างซ้ายปรากฏตัวอักษรที่ยังอ่านไม่ได้ชัดเจนว่าเป็นตัว “B” หรือ “CE” พร้อมทั้งตัวเลข 72 หรืออักษรคำว่า L2 ซ่อนไว้ที่เส้นโค้งของสะพานเบื้องหลังโมนาลิซา ผู้ตั้งข้อสังเกตว่า สารลับเหล่านี้อาจจะไม่ใช่สารจากดาวินชีเพราะ ภาพวาดเปลี่ยนเจ้าของมาหลายมือและค่อนข้างจะระหกระเหินก่อนจะมาอยู่ที่ลูฟร์

Cr.majorcineplex.com/news/MonaLisa

 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่