Navajo รหัสลับอินเดียนแดงที่ช่วยสหรัฐมีชัยชนะใน WWII


Pfc. Preston Toledo กับ Pfc. Frank Toledo พี่น้องชนเผ่าอินเดียนแดง Navajo
กำลังใช้วิทยุสนามส่งข้อความและคำสั่งจากกองทัพเรือสหรัฐที่มหาสมุทรแปซิฟิคทางตอนใต้


ในช่วงสงครามขั้นสู้รบกันอย่างดุเดือด
เรื่องลับสุดยอดและสำคัญมากที่สุด คือ
การส่งและรับข้อความอย่างรวดเร็วที่สุด
และข้อความเหล่านั้นจะต้องถูกเข้ารหัส
เพื่อให้ศัตรูไม่ทราบแผนการล่วงหน้า/แกะรหัสข้อความได้

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
นาวิกโยธินสหรัฐได้เลือกหนึ่งในพันกว่าภาษาของชาวโลก
ซึ่งภาษาที่ถูกคัดเลือกเป็นภาษาของชนพื้นเมืองอเมริกา
เพื่อสร้างรหัสลับที่สายลับญี่ปุ่นไม่สามารถถอดรหัสได้ คือ
รหัสลับภาษานาวาโฮ่ Navajo



สงครามโลกครั้งที่ 2 ไม่ใช่ครั้งแรก
ที่มีการใช้ภาษาอเมริกันพื้นเมืองเพื่อสร้างรหัส
เพราะในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1
ภาษาอินเดียนแดง Choctaw
ก็ถูกนำมาใช้ในการส่งข้อความลับทางยุทธวิธี
ทำให้การจู่โจมเยอรมันประสบความสำเร็จ
หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 1
เยอรมนีและญี่ปุ่นจึงได้ส่งนักเรียนไปเรียนที่สหรัฐอเมริกา
เพื่อศึกษาภาษาและวัฒนธรรมของชนเผ่าพื้นเมืองอินเดียนแดง

Cherokee  Choctaw และ Comanche


ด้วยสาเหตุนี้ จึงทำให้นายทหารในกองทัพสหรัฐจำนวนมาก
ไม่สบายใจในการใช้รหัสลับของชนเผ่าอินเดียนแดงอีกต่อไปในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
เพราะเกรงว่าฝ่ายศัตรูโดยเฉพาะคนที่เคยมาเรียนภาษาพื้นเมืองที่สหรัฐจะถอดรหัสลับได้
ก่อนที่จะรู้ว่ามีภาษาชนเผ่าอินเดียนแดง Navajo ที่สลับซับซ้อนกว่า
ยังไม่มีใครบันทึกตัวหนังสือ/ภาษาพูดและมีคนพูดได้น้อยมาก







ความคิดริเริ่มของ Philip Johnston

ในปี 1942 ขณะที่ Philip Johnston กำลังอ่านเอกสารของกองทัพเรือใน Louisiana
เรื่องที่กำลังพยายามหาภาษาชนเผ่าอินเดียนแดงในสหรัฐเพื่อนำมาใช้เข้ารหัสลับ
ซึ่ง Philip Johnston รู้จักภาษาพื้นเมืองชนเผ่าอินเดียนแดง Navajo เป็นอย่างดี
สามารถนำมาใช้เป็นภาษารหัสลับใหม่แทนภาษารหัสลับเดิมได้
เพราะตอนวัยเด็ก ท่านใช้ชีวิตส่วนใหญ่ภายในเขตสงวนของชนเผ่า Navajo
เพราะพ่อแม่ของท่านทำงานเป็นผู้สอนศาสนาอยู่ที่นั่น
ทำให้ท่านเติบโตขึ้นมาโดยเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรม Navajo เป็นอย่างดี

ตอนวัย 9 ขวบ Philip Johnston ก็พูดภาษา Navajo ได้อย่างคล่องแคล่วแล้ว
และได้ไปทำหน้าที่เป็นล่ามให้กับผู้แทนชนเผ่า Navajo
ที่เดินทางไป Washington, D.C. เพื่อเรียกร้องสิทธิของชนเผ่าอินเดียนแดง

Philip Johnston วัย 50 ปีมีอาชีพเป็นวิศวกรโยธา
เคยเป็นทหารผ่านศึกสงครามโลกครั้งที่ 1
ได้เดินทางขอเข้าพบนายพล  Clayton B. Vogel
ผู้บัญชาการหน่วยรบพิเศษ Amphibious Corps ของ Pacific Fleet
เพื่อโน้มน้าวและเสนอแนะให้ใช้ภาษา Navajo เป็นรหัสลับ
มีการจำลองสถานะการณ์สู้รบ
โดยให้ชาวอินเดียนแดง Navajos  4 คน
ที่พูดจาโต้ตอบได้ทั้ง 2 ภาษาและเขียนภาษาอังกฤษได้
ซึ่ง Philip Johnston ได้ซักซ้อมทบทวนการทำงานทั้ง 4 คนมาก่อน
ทั้ง 4 คนจึงสามารถแปลจากภาษาอังกฤษเป็นภาษา Navajo
และแปลจากภาษา Navajo เป็นภาษาอังกฤษ
แล้วส่งข้อความด้วยภาษาอังกฤษ/Navajo
จำนวน 3 บรรทัดภายในเวลาเพียง  20 วินาที
ขณะที่งานแบบเดียวกันในเวลานั้นต้องใช้เวลาถึง 30 นาที
ในการถอดรหัสจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาอังกฤษพร้อมกับดูคู่มือ
นายพล  Clayton B. Vogel จึงบัญชาให้หน่วยนาวิกโยธินกองทัพเรือ
เปิดรับสมัครทหารเฉพาะชนเผ่า Navajo ถึง 200 อัตรา


แม้ว่าทางกองทัพเรือสหรัฐยังมีความกังวลเกี่ยวกับ
ความปลอดภัยของรหัสลับที่อิงกับภาษาอเมริกันพื้นเมือง
แต่นายพล  Clayton B. Vogel และทีมนาวิกโยธินสหรัฐ
ได้ตัดสินใจทดลองตามแนวคิด Philip Johnston
ด้วยการอนุมัติโครงการนำร่องในการใช้ภาษา Navajo
โดยชนเผ่าดินเดียนแดง Navajos 30 นายและ Philip Johnston
เข้าร่วมโครงการครั้งนี้ในการสร้างรหัสลับอีกชั้นหนึ่ง


คำสั่งให้สรรหาชนพื้นเมือง Navajo บรรจุ 200 อัตรา


29 คนชุดแรกที่เดินทางมาเพื่อคิดค้นรหัส บางคนมาจากเขตพื้นที่สงวน
ไม่เคยเดินทางออกนอกพื้นที่ ไม่เคยนั่งรถประจำทางหรือเครื่องบินมาก่อน



การเริ่มต้น


ชาวอินเดียนแดง Navajo  29 คนได้รับการคัดเลือก (มีคนหนึ่งสละสิทธ์)
ทุกคนต่างเดินทางมาที่ Camp Elliott ใกล้กับ San Diego ในเดือนพฤษภาคม 1942
ภาระกิจแรกสุดคือ การพัฒนารหัสลับ  Navajo
ภาษา Navajo ดูเหมือนจะเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการสร้างรหัสลับ
เพราะยังไม่มีตัวเขียนและมีคนน้อยมากที่สามารถพูดภาษานี้ได้

อย่างไรก็ตาม ทีมงานกองทัพเรือได้สร้างรหัสลับขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง
ซึ่งทำให้ถอดรหัสลับไม่ได้เลยถ้าไม่รู้วิธีแทนคำภาษานี้ในรหัสลับ
ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  
ชาวอินเดียนแดง Navajo ได้สมัครเป็นทหารเรือ
ตำแหน่งทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo ถึงจำนวน  420 นาย


รหัสลับและการแปลงคำ


ชาวอินเดียนแดงชนเผ่า Navajo ได้เริ่มพัฒนารหัสลับ
ด้วยการใช้คำพูดจากภาษาของตนเอง
ซึ่งนำมาใช้ในการสื่อสารข้อความลับในครั้งนี้
ตัวอย่างเช่น ชื่อของนกชนิดที่แตกต่างกัน
ถูกนำมาใช้เพื่อบอกถึงเครื่องบินประเภทใด

รหัสลับเริ่มต้นด้วยคำศัพท์ 211 คำ
ซึ่งต่อมาได้ขยายไปถึง 411 คำในช่วงสงคราม

A แทนคำว่า Apple ...

ระบบรหัสลับได้รับการพัฒนาขึ้นโดย
ทหารสื่อสารที่ส่งข่าวผ่านรหัสลับ Code Talkers
ซึ่งคำบางคำจะไม่พบในคำศัพท์ของ  Navajo
ตัวอักษรตัวแรกของ Navajo
จะสอดคล้องกับตัวอักษร 26 ตัวในภาษาอังกฤษ
แต่ก็ยังมีคำที่แตกต่างกันหลายคำ
ที่ได้รับการเลือกให้แสดงตัวอักษรที่ใช้กันบ่อย
เพื่อให้รหัสลับมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

* พจนานุกรม Navajo Code Talker ในหน้าประวัติกองทัพเรือสหรัฐฯ


ช่วงเวลารบ


แต่ทีมงานทหารเรือที่ดูแลเรื่องรหัสลับนี้ยังไม่ค่อยเชื่อมั่นกับรหัสลับชุดนี้
จึงได้ตัดสินใจที่จะทดสอบทักษะและรหัสลับดังกล่าว
ก่อนที่จะนำไปใช้สื่อสารข้อความในสถานะการณ์สู้รบที่เกิดขึ้นจริง
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo สามารถแปลข้อความทดสอบผ่านได้
แบบแปลกลับไปกลับมาทั้ง 2 ภาษาภายในเวลา 2 นาทีเศษ
ซึ่งหากไม่ใช้รหัสลับ Navajo ในการนี้แล้ว
กองทัพเรือสหรัฐอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมง
เพื่อถอดรหัสอย่างเดิมจากอังกฤษเป็นอังกฤษ
ผ่านกุญแจถอดรหัสให้ได้ความหมายแบบเดียวกัน

นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
ก็ต่างเดินทางไปร่วมรบในยุทธการครั้งสำคัญ ๆ
ที่เกี่ยวข้องกับนาวิกโยธิน/กองทัพเรือในมหาสมุทรแปซิฟิก
งานหลักของทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
คือ การรับส่งข้อมูลทางยุทธวิธีผ่านทางโทรศัพท์และวิทยุ







ในช่วงบุกยึด Iwo Jima
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จำนวน 6 นาย
ปฏิบัติภาระกิจสื่อสารอย่างต่อเนื่อง
มีการรับส่งข้อความมากกว่า 800 ข้อความ
ข้อความทั้งหมดถูกรับและส่งให้ระหว่างกันโดยไม่มีข้อผิดพลาดเลย
ทำให้ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
ได้รับการยอมรับอย่างแรงจากพวกทหารนาวิกโยธิน
พันตรี Howard Connor ผู้บังคับบัญชากองเรือที่ 5
ที่กำกับดูแลด้านทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo กล่าวว่า
" หากไม่ใช่ทหารสื่อสารรหัสลับ  Navajo
กองทัพเรือก็บุกยึด Iwo Jima ไม่ได้ "

ทหารญี่ปุ่นที่ชำนาญในการถอดรหัสลับ
ยังคงงุนงงและไปไม่ถูกเลยกับภาษาอินเดียนแดง Navajo
นายพล Seizo Arisue หัวหน้าฝ่ายข่าวกรองญี่ปุ่น ยังยอมรับเองว่า
ที่ผ่านมาสามารถถอดรหัสลับกองทัพบกสหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐ
แต่ไม่สามาถถอดรหัสลับของกองทัพเรือสหรัฐได้เลยสักครั้ง

ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จึงสร้างความลำบากให้กับเชลยศึกทหารชนเผ่า Navajo
ที่ถูกจับกุมและคุมขังที่  Bataan (มีทหารชนเผ่า Navajo 20 รายรบอยู่ใน Philippines)
ทหารสหรัฐชนเผ่า Navajo ถูกทหารญี่ปุ่นจับซ้อมเพื่อบังคับ
ให้ฟังการรับส่งข้อความและถอดรหัสลับ Navajo ให้ได้  
แต่เชลยศึกชาว Navajo ทำไม่ได้เลยสักข้อความ
เพราะไม่รู้วิธีแทนคำในรหัส/คำเฉพาะกิจ ก็เลยถอดรหัสไม่ได้
ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง  จึงได้เล่าเรื่องนี้ให้เพื่อนทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo ว่า
" ผมไม่เคยคิดเลยว่าพวกคุณจะสร้างความเดือดร้อนให้กับผม
ในเรื่องที่พวกคุณพูดคุยสื่อสารรหัสลับกันในช่วงเวลานั้น "


ในปี 1942 มีชาวอินเดียนแดง  Navajo ราว 50,000 คน
ในปี 1945 ชาวอินเดียนแดง Navajo 540 คนสมัครเป็นทหารเรือ
ราว 375 ถึง 420 คนได้รับการฝึกอบรมให้เป็นทหารสื่อสารรหัสลับ
ส่วนที่ไม่ได้รับการคัดเลือกก็ไปทำหน้าที่อื่นในกองทัพเรือ

คุณค่าและความสามารถในการใช้รหัสลับ Navajo
ได้รับการยกย่องและช่วยชีวิตชาวอเมริกันจำนวนมาก
ทำให้เป็นที่จดจำและรำลึกถึงจากรัฐบาลสหรัฐและชาวสอเมริกัน



Cpl Henry Bake, Jr. กับ Pfc George H. Kirk ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo
ปฏิบัติหน้าที่เดือนธันวาคมปี 1943 โดยวิทยุสื่อสารเคลื่อนที่ของหน่วยนาวิกโยธิน อยู่ในป่าลึก
โดยอยู่แนวหลังทหารนาวิกโยธินที่บุกยึดเกาะ Iwo Jima




รางวัลเกียรติยศ


ผลการปฏิบัติหน้าที่อย่างทุ่มเทของ
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talkers
ในช่วงแรกยังไม่มีคนรับรู้และจดจำมากนัก
ในปี 1968 รัฐบาลสหรัฐยอมเปิดเผยยุทธการเรื่องนี้

ในปี 1982 ประธานาธิบดี Ronald Reagan
ได้มอบ Certificate of Recognition
ให้กับทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talkers
และประกาศให้ทุกวันที่ 14 สิงหาคมของทุกปี
เป็นวัน Navajo Code Talkers Day

ในปี 2000 ประธานาธิบดี Bill Clinton
ได้ลงนามในกฎหมายเพื่อมอบเหรียญรางวัล
Congressional Gold Medal ให้กับ
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talkers จำนวน 29 นาย
และ Congressional Silver Medal ให้กับ
ทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo Code Talkers อีกจำนวนมากกว่า 300 นาย
ที่เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ในภายหลังจากชุดแรก

ในปี 2001 ประธานาธิบดี  George W. Bush
ได้มอบเหรียญทองให้กับครอบครัวทหารสื่อสารรหัสลับ Navajo จำนวน 4 นายที่เสียชีวิตไปแล้ว
ที่อนุสรณ์สถาน Capitol Rotunda ใน Washington (กรกฏาคม 2001)




นายพล Douglas MacArthur ถ่ายรูปร่วมกับทหารชนเผ่า Navajo Pima Pawnee และทหารชนพื้นเมืองอเมริกัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่