3/1/2563 11.35 น. จขกท.ยังรอความชัดเจนก่อนค่ะ
กฎหมายลูกภาษีที่ดินทั้งหมดใกล้คลอดแล้ว
คลังเผย กฎหมายลูกการใช้ประโยชน์ประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมดใกล้คลอดแล้ว มั่นใจจากนี้ไปประชาชนไม่สับสน พร้อมระบุเอกสารประเมินการชำระภาษีจะถึงมือประชาชนอีกครั้งมิถุนายน ก่อนจ่ายจริงสิงหาคม
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยถึงกรณีที่ประชาชนได้รับเอกสารแบบแจ้งข้อมูลรายการห้องชุด หรือสิ่งปลูกสร้าง ว่า ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ในมาตรา 31 ได้ระบุไว้ว่าในกรณีที่ปรากฏว่าบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดทำขึ้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้เอง โดยที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องไปชี้แจงที่สำนักงานเขตหรือท้องถิ่น ขณะที่มาตรา 32 ระบุว่าหากผู้เสียภาษีเห็นว่าบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดทำขึ้น ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ให้ผู้เสียภาษียื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายใน 30 วัน ดังนั้นประชาชนที่ได้รับเอกสารแบบแจ้งข้อมูลรายการห้องชุด หรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว เห็นว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง จะไปชี้แจงที่สำนักงานเขตหรือไม่ก็ได้ ไม่ถือว่ามีปัญหาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายลูกเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะประกาศบังคับใช้ได้ในเร็วๆ นี้ โดยกฎหมายลูกดังกล่าว จะครอบคลุมความหมายของการใช้ที่อยู่อาศัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการอยู่อาศัยเอง การให้เช่าในลักษณะต่างๆ หรือแม้แต่การให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้ปัญหาเรื่องความสับสนเกี่ยวกับการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่หมดลงได้
“ถ้ากฎหมายลูกนี้ออกมา ทุกอย่างจะชัดเจน ว่าไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรต่อ เพราะดูตามกฎหมายก็จะครบว่าหากถ้าตัวทรัพย์สินเป็นที่อยู่อาศัย ก็จะถูกตีว่าการเสียภาษีตามประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมดอยู่แล้ว ฉะนั้นหากในใบสำรวจพบว่าไม่ถูกต้อง ทางท้องถิ่นก็จะแก้ไขเอง แต่ที่ผ่านมามีความสับสน เพราะกระทรวงการคลังพูดในแง่ของกฎหมายมาตรา 31 กระทรวงมหาดไทยพูดในแง่ของกฎหมายมาตรา 32 ก็ไม่มีใครผิด ฉะนั้นหากประชาชนคนไทยไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรง จะไปทำเรื่องชี้แจงที่สำนักงานเขตก็ทำได้ แต่ถ้าไม่ไปทำอะไรก็ไม่มีปัญหา”นายลวรณ กล่าว
กระทรวงการคลังอยากทำความเข้าใจกับประชาชนว่า ไม่ต้องกังวลกับการได้รับเอกสารดังกล่าว เพราะเป็นเพียงเอกสารการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เท่านั้น ยังไม่ได้มีการเรียกเก็บภาษีจริง ซึ่งทางท้องถิ่นหรือสำนักงานเขตจะส่งเอกสารการประเมินภาษีให้ทราบถึงภาระภาษีดังกล่าวอีกครั้งในเดือนมิ.ย.2563 เพื่อให้ประชาชนชำระภาษีในเดือน ส.ค.2563 ซึ่งยังเหลือเวลาในการสำรวจและแก้ไขข้อมูลของเจ้าหน้าที่อีกหลายเดือน
อย่างไรก็ตามหากประชาชนได้รับเอกสารการประเมินภาษีแล้ว และพบว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง ในพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาตรา 53 ระบุไว้ว่าหากมีการประเมินภาษีผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจทบทวนการประเมินภาษีให้ถูกต้อง และผู้เสียภาษีสามารถทำเรื่องอุทธรณ์ แต่หากพบว่าเกิดการชำระภาษีแล้ว และมีการชำระเกินไว้จากจำนวนที่ต้องเสียจริง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบพบว่ามีการประเมินภาษีผิดพลาดเพื่อให้ มารับเงินที่ชำระเกินคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
นอกจากนี้นายลวรณยังกล่าวว่า ในเร็วๆ นี้ กระทรวงมหาดไทย จะออกกฎหมายลูกเกี่ยวกับการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย โดยกฎหมายดังกล่าวจะระบุชัดเจนถึงการใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชแต่ละชนิดกำหนดต่อไร่ ต้องมีจำนวนกี่ต้น ซึ่งจะแยกประเภทของพืชแต่ละชนิดออกเป็นกว่า 100 ชนิด เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกพืชบนที่ดินที่มีมูลค่าสูงตามที่เคยมีกระแสมาก่อนหน้านี้ให้หมดไปได้
ขอบคุณที่มา
http://www.thansettakij.com/content/money_market/417958
31/12/2562 16.30 น. ยังต้องรอกม.ลูกก่อนค่ะ เพื่อจะได้ความชัดเจนค่ะ
ภาษีที่ดิน คอนโดให้เช่าเฮ Airbnb ไม่รอด
ยังสับสนวุ่นวายกันถ้วนหน้า กับพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีผลบังคับใช้ในปีนี้ หลังก่อนหน้านั้นเจ้าของบ้าน -ห้องชุดคอนโดมิเนียมแตกตื่นกันทั่วกรุง เมื่อได้รับเอกสารใบแจ้งข้อมูลบัญชี (ภ.ส.ด.4) จาก กทม. เพื่อเสียภาษี ที่แบ่งลักษณะที่อยู่อาศัยไว้ 3 ประเภทคือ อยู่อาศัยจริงเป็นบ้านหลัก (มีชื่อในทะเบียนบ้าน-ห้องชุด) อยู่อาศัยจริงเป็นบ้านรอง (แต่ ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน-ห้องชุด) และประเภทอื่น ๆ คือให้เช่าหรือเชิงพาณิชย์ ซึ่งทั้ง 3 แบบจะเสียภาษีต่างกัน ดังนั้นหากในใบแจ้งของกทม.ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เจ้าของกรรมสิทธิ์ บ้าน-ห้องชุดต้องรีบไปแสดงตัวแก้ไขที่สำนักงานเขตภายใน 15 วัน
ก่อนหน้านั้นจึงเกิดความสับสนอลหม่านไปทั่ว บางคนเร่งโอนย้ายทะเบียนเพื่อให้ทันสิ้นปีก่อนที่กม.จะมีผลบังคับเพื่อได้รับยกเว้นการเสียภาษี แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือเรื่องการปล่อยเช่า การซื้อเพื่อลงทุน ซี่งจะต้องเสียภาษีในอัตราล้านละ 0.3 % หรือราว 3,000 บาท ที่เป็นข้อถกเถียงกันหนัก บางคนจึงเร่งรีบโอนย้ายทะเบียน หรือไม่ก็ใส่ชื่อญาติพี่น้องเป็นเจ้าของเพื่อเลี่ยงภาษี ทำเอาวุ่นวายไปทั้งสำนักงานเขต
แต่ในที่สุดเรื่องนี้กระจ่างขึ้นเมื่อปลัดกระทรวงการคลัง “ประสงค์ พูนธเนศ “ ออกมาสยบข่าว โดยระบุว่า ผู้ที่ได้รับเอกสารจากกทม.ไม่ต้องไปยืนยันที่สำนักงานเขต และการปล่อยเช่าไม่ต้องเสียภาษีในเชิงพาณิชย์ เพราะถือว่าเป็นการอยู่อาศัย ซึ่งหากเป็นบ้านหลักรองจ่ายแค่ล้านละ 200 บาทเท่านั้น หากให้เช่าเป็นรายวันแก่นักท่องเที่ยวในลักษณะของ Airbnb โฮลเทล โฮมสเตย์ อันนี้ต้องจ่ายภาษีในอัตราเชิงพาณิชย์ หรือล้านละ 3,000 บาท โดยระบุว่าได้มีการหารือกับกระทรวงมหาดไทย และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้ว
ด้านกทม.ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่นก็ออกมาระบุเช่นกันว่า การแจ้งเอกสารข้อมูลบัญชีห้องชุด (ภ.ด.ส. 4) ที่จัดส่งไปนั้น เป็นการทำตามขั้นตอนของกม. ซึ่งหากเจ้าของมีการถือครองสิทธิ์ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บ้านหลัก บ้านรอง หรือเชิงพาณิชย์ ขนาดพื้นที่ ไม่ตรงกับโฉนดที่ดิน สามารถมาแจ้งแก้ไขให้ถูกต้องที่เขตหรือสแกน QR code ได้ แต่ข้ามเขตไม่สามารถทำทางออนไลน์ได้
เรื่องนี้จึงยังเท่ากับเป็นการสกัด และจัดระเบียบห้องเช่าแบบรายวัน ผิดก.ม.เข้าข่ายโรงแรมเถื่อนที่ยังไม่ได้แจ้งจดทะเบียนไว้กับนายทะเบียน ให้ไปดำเนินการถูกต้องตามกฏหมายอีกทางหนึ่งด้วย
ที่ดินรกร้างยังสับสน แต่ปัญหาที่ยังสับสนหนักก็คือ ซี่งต้องรอกฏหมายลูกอีก 8 ฉบับ ที่กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลังกำลังทำคลอด สร้างความปั่นป่วนให้กับคนไทยทั้งแผ่นดินที่ขณะนี้เจ้าของที่ดินยังมีปัญหาว่าจะประเมินกันอย่างไร บางคนเอาตัวรอดไปก่อน อย่างเจ้าของที่ดินกลางกรุง 24 ไร่ ย่านรัชดาฯ มูลค่าเป็นหมื่นล้าน นำไปปลูกมะนาวเพื่อเลี่ยงการเสียภาษี พลิกที่ดินเปล่าย่านธุรกิจ ให้เป็นเกษตรกรรม เพื่อจะได้จ่ายภาษีถูกลง ส่วนบรรดาเจ้าสัว ทั้งหลายก็ใช้ “แทคติก” โอนย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อเลี่ยงภาษีให้จ่ายน้อยลงไปก่อนหน้านั้นหมดแล้ว ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า ต้องปลูกกล้วยไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อไร่ถึงจัดเป็นพื้นที่เกษตร บางกระแสก็ว่าต้องปลูกต้นไม้ พืชสวนเกษตรไม่ต่ำกว่า 15 ต้น ต่อไร่ถึงจะเข้าข่ายพื้นที่เกษตรกรรม แต่ทั้งหมดทั้งหลายยังไม่มีความชัดเจน เป็นเพียงการอนุมานเอาเท่านั้น โดยตามวัตถุประสงค์ของทำคลอดพ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมา ก็เพื่อ ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน บีบให้เจ้าของแลนด์แบงก์นำที่ดินออกมาพัฒนา แต่ในความเป็นจริงบรรดาเจ้าสัวทั้งหลาย ต่างเลี่ยงภาษีไปล่วงหน้าแล้วเหลือแต่ชาวบ้านตาดำ ๆ คนชั้นกลางที่ “รับกรรม” คิดง่าย ๆ อย่างคนมีบ้าน 1 หลังราคาไม่ถึง 50 ล้านบาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษี แต่สำหรับคนชั้นกลาง ที่พอเก็บหอมรอบลิบไว้ได้บ้างก็เจียดเงินไปลงทุน ซื้อคอนโดไว้ปล่อยเช่า หวังรายได้ที่งอกเงยกว่าเงินฝากดอกเบี้ยในแบงก์สัก 2-3 ห้องแต่ต้องจ่ายภาษี ในอัตราเชิงพาณิชย์ 0.3 % หรือล้านละ 3,000 บาทเป็นภาระที่คนชั้นกลางต้องรับผิดชอบ ซึ่งจริงอยู่ที่คนมีรายได้ต้องจ่ายภาษี แต่คนรวยจริง ๆ กลับลอยลำ ความชอบธรรมอยู่ตรงไหน!!
คอลัมภ์ : ตื้น-ลึก-หนา-บาง
โดย : เรดไลออน
ขอบคุณที่มา
https://www.thansettakij.com/content/columnist/417870
ข่าวล่าสุด ส่วนตัวจขกท.คงรอรายละเอียดที่ชัดเจนก่อนค่ะ
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2563 ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 โดยได้ขยายเวลาเพื่อที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจะได้เรื่องแจ้งไปยังประชาชนว่า มีที่ดินที่ใดบ้าง มีสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้าง จนถึงเดือนมีนาคม หากผู้ที่ได้รับแจ้งมีข้อมูลไม่ตรงกัน สามารถแจ้งแก้ไขได้ โดยมีเวลาประมาณหนึ่งเดือนในการแจ้งแก้ไขกลับ ซึ่งสามารถแจ้งได้หลายช่องทาง เช่น ไปรษณีย์ เว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาแจ้งด้วยตนเอง
เมื่อถามถึงกรณีที่มีข้อวิพากษ์วิจารณ์เรื่องหลักเกณฑ์ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีที่ดินอย่างไรนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ยังอยู่ในขั้นตอนที่กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยกำลังปรึกษาเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ จึงได้เลื่อนเวลาออกไป ขอประชาชนอย่าเพิ่งกังวลใจ
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวอีกว่า การเก็บภาษีที่ดินไม่ได้มีเจตนาที่จะเก็บภาษีจากคนจน แต่ต้องการเก็บจากประชาชนที่มีรายได้มาก หากเปรียบเทียบกับภาษีบำรุงท้องที่ซึ่งเก็บอยู่เดิมแล้วนั้น อัตราการจัดเก็บภาษีที่ใช้อยู่เป็นอัตราจัดเก็บบนการคำนวนราคาประเมินที่ดินสิ่งปลูกสร้างปี 2521-2524 เป็นฐาน โดยไม่ได้ปรับมา 40 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้กฎหมายใหม่ จะยังไม่ได้ใช้อัตราการจัดเก็บใหม่ โดยจะยังใช้ฐานของรอบปี 2559-2562 อยู่ อาจจะมีเสียมากขึ้นบ้าง แต่เจตนาคือต้องการจัดเก็บจากประชาชนที่มีฐานะ หากมีที่ดินไม่ใช้จะโดนเก็บภาษีมากขึ้น หรือมีที่ดินที่ใช้อยู่ก็จะโดนน้อยลง ซึ่งจุดประสงค์ก็เพื่อต้องการให้ใช้ที่ดิน โดยจะเห็นได้ว่าคนที่มีทรัพย์สินไม่ถึง 50 ล้าน ไม่ต้องเสียภาษี
ขอบคุณที่มา
https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_260397
ส่วนตัวจขกท.ไปยื่นเสียภาษีที่ดินของปี 2563 เมื่อกลางเดือนธันวาคมมาซึ่งเทศบาลนครรังสิตเคยเสียภาษีก่อนได้ล่วงหน้า 1 เดือน เจ้าหน้าที่บอกให้รอจดหมายก่อนปีนี้ไม่เก็บล่วงหน้าค่ะ
มท.1 ขอ ปชช. อย่ากังวลใจปมจัดเก็บภาษีที่ดิน ย้ำ ต้องการเก็บคนรวย
กฎหมายลูกภาษีที่ดินทั้งหมดใกล้คลอดแล้ว
คลังเผย กฎหมายลูกการใช้ประโยชน์ประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมดใกล้คลอดแล้ว มั่นใจจากนี้ไปประชาชนไม่สับสน พร้อมระบุเอกสารประเมินการชำระภาษีจะถึงมือประชาชนอีกครั้งมิถุนายน ก่อนจ่ายจริงสิงหาคม
นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) เปิดเผยถึงกรณีที่ประชาชนได้รับเอกสารแบบแจ้งข้อมูลรายการห้องชุด หรือสิ่งปลูกสร้าง ว่า ตาม พ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ในมาตรา 31 ได้ระบุไว้ว่าในกรณีที่ปรากฏว่าบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดทำขึ้นไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง สามารถให้ผู้บริหารท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้แก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างได้เอง โดยที่ประชาชนไม่จำเป็นต้องไปชี้แจงที่สำนักงานเขตหรือท้องถิ่น ขณะที่มาตรา 32 ระบุว่าหากผู้เสียภาษีเห็นว่าบัญชีรายการที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ได้จัดทำขึ้น ไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง ให้ผู้เสียภาษียื่นคำร้องต่อผู้บริหารท้องถิ่นเพื่อขอแก้ไขให้ถูกต้องได้ภายใน 30 วัน ดังนั้นประชาชนที่ได้รับเอกสารแบบแจ้งข้อมูลรายการห้องชุด หรือสิ่งปลูกสร้างแล้ว เห็นว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง จะไปชี้แจงที่สำนักงานเขตหรือไม่ก็ได้ ไม่ถือว่ามีปัญหาแต่อย่างใด
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงมหาดไทยอยู่ระหว่างการจัดทำกฎหมายลูกเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะประกาศบังคับใช้ได้ในเร็วๆ นี้ โดยกฎหมายลูกดังกล่าว จะครอบคลุมความหมายของการใช้ที่อยู่อาศัยทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเพื่อการอยู่อาศัยเอง การให้เช่าในลักษณะต่างๆ หรือแม้แต่การให้เช่าเพื่ออยู่อาศัยและเพื่อการพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้ปัญหาเรื่องความสับสนเกี่ยวกับการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างใหม่หมดลงได้
“ถ้ากฎหมายลูกนี้ออกมา ทุกอย่างจะชัดเจน ว่าไม่จำเป็นต้องไปทำอะไรต่อ เพราะดูตามกฎหมายก็จะครบว่าหากถ้าตัวทรัพย์สินเป็นที่อยู่อาศัย ก็จะถูกตีว่าการเสียภาษีตามประเภทที่อยู่อาศัยทั้งหมดอยู่แล้ว ฉะนั้นหากในใบสำรวจพบว่าไม่ถูกต้อง ทางท้องถิ่นก็จะแก้ไขเอง แต่ที่ผ่านมามีความสับสน เพราะกระทรวงการคลังพูดในแง่ของกฎหมายมาตรา 31 กระทรวงมหาดไทยพูดในแง่ของกฎหมายมาตรา 32 ก็ไม่มีใครผิด ฉะนั้นหากประชาชนคนไทยไม่ได้เหนือบ่ากว่าแรง จะไปทำเรื่องชี้แจงที่สำนักงานเขตก็ทำได้ แต่ถ้าไม่ไปทำอะไรก็ไม่มีปัญหา”นายลวรณ กล่าว
กระทรวงการคลังอยากทำความเข้าใจกับประชาชนว่า ไม่ต้องกังวลกับการได้รับเอกสารดังกล่าว เพราะเป็นเพียงเอกสารการสำรวจที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่เท่านั้น ยังไม่ได้มีการเรียกเก็บภาษีจริง ซึ่งทางท้องถิ่นหรือสำนักงานเขตจะส่งเอกสารการประเมินภาษีให้ทราบถึงภาระภาษีดังกล่าวอีกครั้งในเดือนมิ.ย.2563 เพื่อให้ประชาชนชำระภาษีในเดือน ส.ค.2563 ซึ่งยังเหลือเวลาในการสำรวจและแก้ไขข้อมูลของเจ้าหน้าที่อีกหลายเดือน
อย่างไรก็ตามหากประชาชนได้รับเอกสารการประเมินภาษีแล้ว และพบว่าไม่ตรงกับความเป็นจริง ในพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง มาตรา 53 ระบุไว้ว่าหากมีการประเมินภาษีผิดพลาดหรือไม่ครบถ้วน ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีอำนาจทบทวนการประเมินภาษีให้ถูกต้อง และผู้เสียภาษีสามารถทำเรื่องอุทธรณ์ แต่หากพบว่าเกิดการชำระภาษีแล้ว และมีการชำระเกินไว้จากจำนวนที่ต้องเสียจริง ให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหนังสือแจ้งให้ผู้เสียภาษีทราบภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ตรวจสอบพบว่ามีการประเมินภาษีผิดพลาดเพื่อให้ มารับเงินที่ชำระเกินคืนภายใน 1 ปีนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
นอกจากนี้นายลวรณยังกล่าวว่า ในเร็วๆ นี้ กระทรวงมหาดไทย จะออกกฎหมายลูกเกี่ยวกับการใช้ที่ดินเพื่อเกษตรกรรมด้วย โดยกฎหมายดังกล่าวจะระบุชัดเจนถึงการใช้ที่ดินเพื่อปลูกพืชแต่ละชนิดกำหนดต่อไร่ ต้องมีจำนวนกี่ต้น ซึ่งจะแยกประเภทของพืชแต่ละชนิดออกเป็นกว่า 100 ชนิด เพื่อแก้ไขปัญหาการปลูกพืชบนที่ดินที่มีมูลค่าสูงตามที่เคยมีกระแสมาก่อนหน้านี้ให้หมดไปได้
ขอบคุณที่มา http://www.thansettakij.com/content/money_market/417958
31/12/2562 16.30 น. ยังต้องรอกม.ลูกก่อนค่ะ เพื่อจะได้ความชัดเจนค่ะ
ภาษีที่ดิน คอนโดให้เช่าเฮ Airbnb ไม่รอด
ยังสับสนวุ่นวายกันถ้วนหน้า กับพ.ร.บ.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่มีผลบังคับใช้ในปีนี้ หลังก่อนหน้านั้นเจ้าของบ้าน -ห้องชุดคอนโดมิเนียมแตกตื่นกันทั่วกรุง เมื่อได้รับเอกสารใบแจ้งข้อมูลบัญชี (ภ.ส.ด.4) จาก กทม. เพื่อเสียภาษี ที่แบ่งลักษณะที่อยู่อาศัยไว้ 3 ประเภทคือ อยู่อาศัยจริงเป็นบ้านหลัก (มีชื่อในทะเบียนบ้าน-ห้องชุด) อยู่อาศัยจริงเป็นบ้านรอง (แต่ ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน-ห้องชุด) และประเภทอื่น ๆ คือให้เช่าหรือเชิงพาณิชย์ ซึ่งทั้ง 3 แบบจะเสียภาษีต่างกัน ดังนั้นหากในใบแจ้งของกทม.ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง เจ้าของกรรมสิทธิ์ บ้าน-ห้องชุดต้องรีบไปแสดงตัวแก้ไขที่สำนักงานเขตภายใน 15 วัน
ก่อนหน้านั้นจึงเกิดความสับสนอลหม่านไปทั่ว บางคนเร่งโอนย้ายทะเบียนเพื่อให้ทันสิ้นปีก่อนที่กม.จะมีผลบังคับเพื่อได้รับยกเว้นการเสียภาษี แต่ประเด็นที่เป็นปัญหาคือเรื่องการปล่อยเช่า การซื้อเพื่อลงทุน ซี่งจะต้องเสียภาษีในอัตราล้านละ 0.3 % หรือราว 3,000 บาท ที่เป็นข้อถกเถียงกันหนัก บางคนจึงเร่งรีบโอนย้ายทะเบียน หรือไม่ก็ใส่ชื่อญาติพี่น้องเป็นเจ้าของเพื่อเลี่ยงภาษี ทำเอาวุ่นวายไปทั้งสำนักงานเขต
แต่ในที่สุดเรื่องนี้กระจ่างขึ้นเมื่อปลัดกระทรวงการคลัง “ประสงค์ พูนธเนศ “ ออกมาสยบข่าว โดยระบุว่า ผู้ที่ได้รับเอกสารจากกทม.ไม่ต้องไปยืนยันที่สำนักงานเขต และการปล่อยเช่าไม่ต้องเสียภาษีในเชิงพาณิชย์ เพราะถือว่าเป็นการอยู่อาศัย ซึ่งหากเป็นบ้านหลักรองจ่ายแค่ล้านละ 200 บาทเท่านั้น หากให้เช่าเป็นรายวันแก่นักท่องเที่ยวในลักษณะของ Airbnb โฮลเทล โฮมสเตย์ อันนี้ต้องจ่ายภาษีในอัตราเชิงพาณิชย์ หรือล้านละ 3,000 บาท โดยระบุว่าได้มีการหารือกับกระทรวงมหาดไทย และองค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่นไปแล้ว
ด้านกทม.ในฐานะหน่วยงานท้องถิ่นก็ออกมาระบุเช่นกันว่า การแจ้งเอกสารข้อมูลบัญชีห้องชุด (ภ.ด.ส. 4) ที่จัดส่งไปนั้น เป็นการทำตามขั้นตอนของกม. ซึ่งหากเจ้าของมีการถือครองสิทธิ์ไม่ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็น บ้านหลัก บ้านรอง หรือเชิงพาณิชย์ ขนาดพื้นที่ ไม่ตรงกับโฉนดที่ดิน สามารถมาแจ้งแก้ไขให้ถูกต้องที่เขตหรือสแกน QR code ได้ แต่ข้ามเขตไม่สามารถทำทางออนไลน์ได้
เรื่องนี้จึงยังเท่ากับเป็นการสกัด และจัดระเบียบห้องเช่าแบบรายวัน ผิดก.ม.เข้าข่ายโรงแรมเถื่อนที่ยังไม่ได้แจ้งจดทะเบียนไว้กับนายทะเบียน ให้ไปดำเนินการถูกต้องตามกฏหมายอีกทางหนึ่งด้วย
ที่ดินรกร้างยังสับสน แต่ปัญหาที่ยังสับสนหนักก็คือ ซี่งต้องรอกฏหมายลูกอีก 8 ฉบับ ที่กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงการคลังกำลังทำคลอด สร้างความปั่นป่วนให้กับคนไทยทั้งแผ่นดินที่ขณะนี้เจ้าของที่ดินยังมีปัญหาว่าจะประเมินกันอย่างไร บางคนเอาตัวรอดไปก่อน อย่างเจ้าของที่ดินกลางกรุง 24 ไร่ ย่านรัชดาฯ มูลค่าเป็นหมื่นล้าน นำไปปลูกมะนาวเพื่อเลี่ยงการเสียภาษี พลิกที่ดินเปล่าย่านธุรกิจ ให้เป็นเกษตรกรรม เพื่อจะได้จ่ายภาษีถูกลง ส่วนบรรดาเจ้าสัว ทั้งหลายก็ใช้ “แทคติก” โอนย้ายถ่ายเททรัพย์สินเพื่อเลี่ยงภาษีให้จ่ายน้อยลงไปก่อนหน้านั้นหมดแล้ว ล่าสุดมีกระแสข่าวว่า ต้องปลูกกล้วยไม่ต่ำกว่า 200 ต้นต่อไร่ถึงจัดเป็นพื้นที่เกษตร บางกระแสก็ว่าต้องปลูกต้นไม้ พืชสวนเกษตรไม่ต่ำกว่า 15 ต้น ต่อไร่ถึงจะเข้าข่ายพื้นที่เกษตรกรรม แต่ทั้งหมดทั้งหลายยังไม่มีความชัดเจน เป็นเพียงการอนุมานเอาเท่านั้น โดยตามวัตถุประสงค์ของทำคลอดพ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมา ก็เพื่อ ลดความเหลื่อมล้ำของประชาชน บีบให้เจ้าของแลนด์แบงก์นำที่ดินออกมาพัฒนา แต่ในความเป็นจริงบรรดาเจ้าสัวทั้งหลาย ต่างเลี่ยงภาษีไปล่วงหน้าแล้วเหลือแต่ชาวบ้านตาดำ ๆ คนชั้นกลางที่ “รับกรรม” คิดง่าย ๆ อย่างคนมีบ้าน 1 หลังราคาไม่ถึง 50 ล้านบาท ได้รับยกเว้นไม่ต้องจ่ายภาษี แต่สำหรับคนชั้นกลาง ที่พอเก็บหอมรอบลิบไว้ได้บ้างก็เจียดเงินไปลงทุน ซื้อคอนโดไว้ปล่อยเช่า หวังรายได้ที่งอกเงยกว่าเงินฝากดอกเบี้ยในแบงก์สัก 2-3 ห้องแต่ต้องจ่ายภาษี ในอัตราเชิงพาณิชย์ 0.3 % หรือล้านละ 3,000 บาทเป็นภาระที่คนชั้นกลางต้องรับผิดชอบ ซึ่งจริงอยู่ที่คนมีรายได้ต้องจ่ายภาษี แต่คนรวยจริง ๆ กลับลอยลำ ความชอบธรรมอยู่ตรงไหน!!
คอลัมภ์ : ตื้น-ลึก-หนา-บาง
โดย : เรดไลออน
ขอบคุณที่มา https://www.thansettakij.com/content/columnist/417870
ข่าวล่าสุด ส่วนตัวจขกท.คงรอรายละเอียดที่ชัดเจนก่อนค่ะ
เมื่อวันที่ 30 ธันวาคม พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงกฎหมายที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ.2562 ที่จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ.2563 ว่า ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการตามพ.ร.บ.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งมีผลบังคับใช้ในวันที่ 1 มกราคม 2563 โดยได้ขยายเวลาเพื่อที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งจะได้เรื่องแจ้งไปยังประชาชนว่า มีที่ดินที่ใดบ้าง มีสิ่งปลูกสร้างอะไรบ้าง จนถึงเดือนมีนาคม หากผู้ที่ได้รับแจ้งมีข้อมูลไม่ตรงกัน สามารถแจ้งแก้ไขได้ โดยมีเวลาประมาณหนึ่งเดือนในการแจ้งแก้ไขกลับ ซึ่งสามารถแจ้งได้หลายช่องทาง เช่น ไปรษณีย์ เว็บไซต์ โดยไม่จำเป็นต้องเดินทางมาแจ้งด้วยตนเอง
เมื่อถามถึงกรณีที่มีข้อวิพากษ์วิจารณ์เรื่องหลักเกณฑ์ว่าจะมีการจัดเก็บภาษีที่ดินอย่างไรนั้น พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวว่า ยังอยู่ในขั้นตอนที่กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยกำลังปรึกษาเพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์ดังกล่าวอยู่ จึงได้เลื่อนเวลาออกไป ขอประชาชนอย่าเพิ่งกังวลใจ
พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวอีกว่า การเก็บภาษีที่ดินไม่ได้มีเจตนาที่จะเก็บภาษีจากคนจน แต่ต้องการเก็บจากประชาชนที่มีรายได้มาก หากเปรียบเทียบกับภาษีบำรุงท้องที่ซึ่งเก็บอยู่เดิมแล้วนั้น อัตราการจัดเก็บภาษีที่ใช้อยู่เป็นอัตราจัดเก็บบนการคำนวนราคาประเมินที่ดินสิ่งปลูกสร้างปี 2521-2524 เป็นฐาน โดยไม่ได้ปรับมา 40 ปีแล้ว อย่างไรก็ตาม การใช้กฎหมายใหม่ จะยังไม่ได้ใช้อัตราการจัดเก็บใหม่ โดยจะยังใช้ฐานของรอบปี 2559-2562 อยู่ อาจจะมีเสียมากขึ้นบ้าง แต่เจตนาคือต้องการจัดเก็บจากประชาชนที่มีฐานะ หากมีที่ดินไม่ใช้จะโดนเก็บภาษีมากขึ้น หรือมีที่ดินที่ใช้อยู่ก็จะโดนน้อยลง ซึ่งจุดประสงค์ก็เพื่อต้องการให้ใช้ที่ดิน โดยจะเห็นได้ว่าคนที่มีทรัพย์สินไม่ถึง 50 ล้าน ไม่ต้องเสียภาษี
ขอบคุณที่มา https://www.matichonweekly.com/hot-news/article_260397
ส่วนตัวจขกท.ไปยื่นเสียภาษีที่ดินของปี 2563 เมื่อกลางเดือนธันวาคมมาซึ่งเทศบาลนครรังสิตเคยเสียภาษีก่อนได้ล่วงหน้า 1 เดือน เจ้าหน้าที่บอกให้รอจดหมายก่อนปีนี้ไม่เก็บล่วงหน้าค่ะ