นอกจากภาษาไทย และภาษาเขมรแล้ว ในภาษามลายู เชื่อหรือไม่ว่า มีการใช้ราชาศัพท์อีกด้วย
ราชาศัพท์ มลายูเรียกว่า บาฮาซา อิสตานา (Bahasa Istana) หรือแปลตรงตัวว่า ภาษาวัง
ราชาศัพท์ของมลายู จะแตกต่างกับภาษาไทยและเขมร ที่อาจจะรับวัฒนธรรมอาหรับมากกว่า แต่ก็มีแบบสันสกฤตเข้ามาด้วย
การใช้ราชาศัพท์ของมลายูนั้น จะใช้กับทั้งยังดีเปร์ตูวันอากง สุลต่าน และพระราชวงศ์ทั้งหลายในรัฐต่างๆ
นี้คือตัวอย่าง 20 คำศัพท์ ที่ขอยกมาพร้อมเปรียบเทียบและแปลเป็นภาษาไทยทั่วไปและราชาศัพท์ของไทย พร้อมหมายเหตุในบางข้อ
1.Ayah (พ่อ) = Ayahanda (พระบิดา)
2.Ibu (แม่) = Bonda (พระมารดา)
3.Anak Lelaki (ลูกชาย) = Putera (พระโอรส) มาจากคำว่า ปุตร หรือ บุตร
4.Anak Perempuan (ลูกสาว) = Puteri (พระธิดา) มาจากคำว่า ปุตรี หรือ บุตรี
5.Hari Jadi (วันเกิด) = Hari Keputeraan (วันประสูติ)
6.Isteri (ภรรยา) = Permaisuri (มเหสี) ประไหมสุหรี มีที่มาจากคำว่า ปรเมศวรี ในภาษาสันสกฤ๖
7.Makan (กิน) = Santap (เสวย)
8.Tempat Tidur (เตียง) = Peraduan (พระแท่นบรรทม)
9.Mati (ตาย) = Mangkat (สวรรคต/สิ้นพระชนม์)
10.Berjalan (เดิน) = Mencemar Duli (เสด็จพระราชดำเนิน)
11.Mandi (อาบน้ำ) = Bersiram (สรงน้ำ)
12.Sakit (เจ็บป่วย) = Gering (ทรงพระประชวร)
13.Kerusi (เก้าอี้) = Singgahsana (พระที่นั่ง) สังเกตว่าจะมาจากคำว่า สิงหสานะ หรือ สีหสาสนะ
14.Payung (ร่ม) = Iram-Iram (ฉัตร/สัปทน)
15.Saya (ฉัน) = Beta (ข้าพเจ้า) คำนี้พระมหากษัตริย์ใช้กับผู้อื่น
16.Dia (เขา) = Baginda (พระองค์) คำนี้ใช้เมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์
17.Saya (ผม/ดิฉัน) = Patik (ข้าพระพุทธเจ้า) คำนี้สามัญชนกล่าวกับพระมหากษัตริย์
18.Marah (โกรธ) = Murka (กริ้ว/พิโรธ)
19.Kepala (หัว/ศีรษะ) = Hulu (พระเศียร)
20.Beri/Hadiah (ให้/มอบให้) = Kurnia (พระราชทาน)
ราชาศัพท์ในภาษามลายู
ราชาศัพท์ มลายูเรียกว่า บาฮาซา อิสตานา (Bahasa Istana) หรือแปลตรงตัวว่า ภาษาวัง
ราชาศัพท์ของมลายู จะแตกต่างกับภาษาไทยและเขมร ที่อาจจะรับวัฒนธรรมอาหรับมากกว่า แต่ก็มีแบบสันสกฤตเข้ามาด้วย
การใช้ราชาศัพท์ของมลายูนั้น จะใช้กับทั้งยังดีเปร์ตูวันอากง สุลต่าน และพระราชวงศ์ทั้งหลายในรัฐต่างๆ
นี้คือตัวอย่าง 20 คำศัพท์ ที่ขอยกมาพร้อมเปรียบเทียบและแปลเป็นภาษาไทยทั่วไปและราชาศัพท์ของไทย พร้อมหมายเหตุในบางข้อ
1.Ayah (พ่อ) = Ayahanda (พระบิดา)
2.Ibu (แม่) = Bonda (พระมารดา)
3.Anak Lelaki (ลูกชาย) = Putera (พระโอรส) มาจากคำว่า ปุตร หรือ บุตร
4.Anak Perempuan (ลูกสาว) = Puteri (พระธิดา) มาจากคำว่า ปุตรี หรือ บุตรี
5.Hari Jadi (วันเกิด) = Hari Keputeraan (วันประสูติ)
6.Isteri (ภรรยา) = Permaisuri (มเหสี) ประไหมสุหรี มีที่มาจากคำว่า ปรเมศวรี ในภาษาสันสกฤ๖
7.Makan (กิน) = Santap (เสวย)
8.Tempat Tidur (เตียง) = Peraduan (พระแท่นบรรทม)
9.Mati (ตาย) = Mangkat (สวรรคต/สิ้นพระชนม์)
10.Berjalan (เดิน) = Mencemar Duli (เสด็จพระราชดำเนิน)
11.Mandi (อาบน้ำ) = Bersiram (สรงน้ำ)
12.Sakit (เจ็บป่วย) = Gering (ทรงพระประชวร)
13.Kerusi (เก้าอี้) = Singgahsana (พระที่นั่ง) สังเกตว่าจะมาจากคำว่า สิงหสานะ หรือ สีหสาสนะ
14.Payung (ร่ม) = Iram-Iram (ฉัตร/สัปทน)
15.Saya (ฉัน) = Beta (ข้าพเจ้า) คำนี้พระมหากษัตริย์ใช้กับผู้อื่น
16.Dia (เขา) = Baginda (พระองค์) คำนี้ใช้เมื่อกล่าวถึงพระมหากษัตริย์
17.Saya (ผม/ดิฉัน) = Patik (ข้าพระพุทธเจ้า) คำนี้สามัญชนกล่าวกับพระมหากษัตริย์
18.Marah (โกรธ) = Murka (กริ้ว/พิโรธ)
19.Kepala (หัว/ศีรษะ) = Hulu (พระเศียร)
20.Beri/Hadiah (ให้/มอบให้) = Kurnia (พระราชทาน)