จากทฤษฎีหนึ่งที่บอกว่า คนเผ่าไทอพยพจากจีนตอนใต้ลงไปจนถึงแหลมมลายู
และผสมปนเปกับคนพื้นเมืองจนแตกเป็นภาษาไทถิ่นต่างๆ
คำในภาษาใต้หลายๆคำ ยังพอจับเค้าได้ว่าเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในภาษาตระกูลไท-ไต เช่น
หมัน = แม่น(ตรงกับภาษาเหนือ อีสาน)
ไซ = ไส(ตรงกับภาษาเหนือ อีสานเช่นกัน)
ไอไหร,ไหร = อะไร
โหม๋สู = หมู่สู
แต่มีอยู่คำหนึ่งที่ไม่พบในภาษาไทเผ่าอื่นๆ คือคำว่า
พันพรือ ที่แปลว่า
อย่างไร ยังไง (หรือ พรือ ตัวเดียวก็แปลว่า อะไร ได้ในบางบริบท)
เป็นไปได้ไหมว่า
พัน มาจากคำบาลีสันสกฤต
พันธ์ุ ที่แปลว่า รูปแบบ,ลักษณะ
แต่คำว่า
พรือ ไม่พบในภาษาอื่นๆเลย มอญ-เขมร หรือแม้แต่มลายูที่มีศัพท์ร่วมกับภาษาใต้ ก็ไม่มี
จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่คนพื้นเมืองในแหลมมลายูตอนบน(ก่อนที่จะหันมารับภาษาไท หรือผสมปนเปกับคนเผ่าไท)
จะไม่ใช่ทั้งชนชาวมอญ เขมร มลายู แต่เป็นอีกชนเผ่านึงที่ปัจจุบันถูกกลืนไปกับคนไทหมดแล้ว
หรือจริงๆแล้ว คำว่า
พันพรือ นั้นเป็นคำไทปักษ์ใต้แท้ๆดั้งเดิมอยู่แล้ว ไม่ได้มาจากอิทธิพลภาษาไหน
มาวิเคราะห์กันเล่นๆดูค่ะ
*แก้คำผิด*
ภาษาไทลงไปถึงแหลมมลายูอย่างไร? จนคำว่าอะไร,หยัง กลายเป็น พันพรือ
และผสมปนเปกับคนพื้นเมืองจนแตกเป็นภาษาไทถิ่นต่างๆ
คำในภาษาใต้หลายๆคำ ยังพอจับเค้าได้ว่าเป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในภาษาตระกูลไท-ไต เช่น
หมัน = แม่น(ตรงกับภาษาเหนือ อีสาน)
ไซ = ไส(ตรงกับภาษาเหนือ อีสานเช่นกัน)
ไอไหร,ไหร = อะไร
โหม๋สู = หมู่สู
แต่มีอยู่คำหนึ่งที่ไม่พบในภาษาไทเผ่าอื่นๆ คือคำว่า พันพรือ ที่แปลว่า อย่างไร ยังไง (หรือ พรือ ตัวเดียวก็แปลว่า อะไร ได้ในบางบริบท)
เป็นไปได้ไหมว่า พัน มาจากคำบาลีสันสกฤต พันธ์ุ ที่แปลว่า รูปแบบ,ลักษณะ
แต่คำว่า พรือ ไม่พบในภาษาอื่นๆเลย มอญ-เขมร หรือแม้แต่มลายูที่มีศัพท์ร่วมกับภาษาใต้ ก็ไม่มี
จะเป็นไปได้หรือไม่ ที่คนพื้นเมืองในแหลมมลายูตอนบน(ก่อนที่จะหันมารับภาษาไท หรือผสมปนเปกับคนเผ่าไท)
จะไม่ใช่ทั้งชนชาวมอญ เขมร มลายู แต่เป็นอีกชนเผ่านึงที่ปัจจุบันถูกกลืนไปกับคนไทหมดแล้ว
หรือจริงๆแล้ว คำว่า พันพรือ นั้นเป็นคำไทปักษ์ใต้แท้ๆดั้งเดิมอยู่แล้ว ไม่ได้มาจากอิทธิพลภาษาไหน
มาวิเคราะห์กันเล่นๆดูค่ะ
*แก้คำผิด*