วันนี้อาจารย์แก้วสรร อติโพธิ เผยแพร่บทความเรื่อง "ฟังไม่ได้ศัพท์..แล้วอย่าจับไปกระเดียด" ในไทยโพสต์ เนื้อหามี 3 เรื่อง โดยสองเรื่องแรกเกี่ยวกับการเมือง แปะไว้ให้ในสปอยเพราะไม่ถนัดเรื่องการเมือง แต่อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับการประมูลพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งติดตามอยู่ จึงนำมาแปะไว้ข้างนอกให้อ่านง่าย ๆ มีประเด็นน่าสนใจในเรื่องคดี ที่ดูมีเหตุมีผลไม่น้อย เรื่องเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ เพราะทางเจ้าหน้าที่ที่รับเอกสาร ก็ไม่ได้ทำตามเวลาที่กำหนดไว้แต่แรก และไม่ได้เขียนบอกเป็นลายลักษณ์อักษรอย่างชัดเจน ทำให้ตีความได้หลายอย่าง
ทุกวันนี้มีโจทย์ทางกฎหมายที่ต้องฟังให้ละเอียด ต้องทำความเข้าใจกันให้มากกว่าที่ได้คิดเห็นในเบื้องแรกหลายคดีด้วยกัน ซึ่งถ้าฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด ก็จะผิดพลาดไปได้ง่ายๆ ดังจะขอชี้บ่งให้เห็นเป็นตัวอย่าง ๓ คดีด้วยกัน คือ
ตัวอย่างที่ ๑ : การบังคับการตามคำสั่งทางปกครอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้“ดิฉันสูญเสียบ้านที่ถูกยึด และขณะนี้ทรัพย์สินของดิฉันก็กำลังถูกกรมบังคับคดีประมูลชิ้นต่อชิ้น ดิฉันใช้ข้อต่อสู้ทางกฎหมายทุกรูปแบบแล้ว แต่ก็ไม่สามารถจะหยุดยั้งได้ เพราะนายกรัฐมนตรีชื่อประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 คุ้มครองเจ้าหน้าที่อยู่ จริงๆ แล้วคดีต้องรอคำพิพากษาศาลปกครองที่ถึงที่สุดว่าดิฉันแพ้คดีก่อน จึงจะสามารถนำทรัพย์เหล่านั้นมาขายทอดตลาดได้ เป็นการถูกกระทำที่ไม่เหมือนใครในประวัติศาสตร์ เป็นการนำเอาข้ออ้างของมาตรา 44 มาอยู่เหนือคำพิพากษาของศาล" ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ธันวาคม ๒๕๖๒
ถาม คุณปู..ฟังไม่ได้ศัพท์ที่ตรงไหน?
ตอบ ผมว่าคงเป็นทนายของเขาเสียมากกว่า ที่ยังไม่คุ้นชินกับการบังคับทางปกครองที่ว่า ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ปฏิบัติราชการให้รัฐเสียหายนี้ กฎหมายปกครองได้สร้างระบบไว้ ให้ต้นสังกัดออกคำสั่งบังคับให้ชดใช้ความเสียหายได้เลย โดยไม่ต้องไปขอคำพิพากษาและคำบังคับจากศาล ซึ่งในเรื่องความเสียหายจากโครงการรับจำนำข้าวกว่า ๕ แสนล้านบาทนี้ นายกฯ ประยุทธ์เขาก็ดำเนินการตามหน้าที่และขั้นตอนในกฎหมาย สั่งให้กระทรวงการคลังตรวจสอบความเสียหายและความรับผิดของเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องแล้ว จนในที่สุดคำสั่งทางปกครองก็บังคับออกมาสำหรับตัวนายกฯ ยิ่งลักษณ์ว่า ให้ชดใช้ความเสียหายกว่า ๓ หมื่นล้านบาท
ถาม ทำไมโดนคนเดียวอย่างนี้
ตอบ กฎหมายระบุไว้ให้แต่ละคนรับผิดเฉพาะส่วนที่ตนรับผิดชอบ และระบุไม่ให้ใช้หลักลูกหนี้ร่วมด้วย ใครผิดตรงไหนก็รับผิดตรงนั้นไป กรณีนายกฯ ปูนี่ เป็นเจ้าหน้าที่เป็นประธานคุมนโยบายข้าวโดยตรง ต้องรับผิดตรงที่เห็นความเสียหายยับเยินแล้วยังไม่ยอมหยุด คณะกรรมการผู้ประเมินเขาเลยเอาผิดเฉพาะตรงนี้เท่านั้น ส่วนความรับผิดเรื่องข้าวผี ข้าวเน่า ข้าวโกงนั้น ใครดูแลเลินเล่อก็รับผิดในส่วนของตนไป เราจะมาเหมาให้นายกฯ ปูรับผิดคนเดียวไม่ได้
นี่ก็เป็นระบบการกำหนดความรับผิดที่กฎหมายปกครอง แยกมาจัดตั้งไว้โดยเฉพาะ คนที่ไม่คุ้นเคยก็จะเข้าใจผิดได้ง่าย
ถาม สั่งออกมาให้ชดใช้ ๓ หมื่นล้าน แล้วก็บังคับยึดทรัพย์เขาได้เอง โดยไม่ต้องใช้คำสั่งศาลเลยหรือ
ตอบ เป็นเช่นนั้นครับ เจ้าหน้าที่ที่ถูกบังคับตามคำสั่งให้ชดใช้นั้น ได้แต่รีบนำคำสั่งไปโต้แย้งที่ศาลปกครองและขอให้ศาลสั่งทุเลาการบังคับตามคำสั่งไว้ก่อน คดีนายกฯ ปูนี่ ร้องศาลแล้วขอทุเลาแล้ว ศาลไม่ทุเลาให้ ฝ่ายปกครองก็ต้องบังคับยึดทรัพย์ตามอำนาจของตนต่อไป ทั้งหมดนี้ก็ถูกต้องตามกฎหมายแล้ว
ถาม แล้วนายกฯ ประยุทธ์มาออกคำสั่งตามมาตรา ๔๔ ทำไม
ตอบ คำสั่งนั้นออกมาเพื่อให้กรมบังคับคดีเข้ามามีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบบังคับตามคำสั่งให้ชดใช้เหล่านี้ ถ้าไม่มีคำสั่งนี้อำนาจบังคับไล่ตรวจยึดทรัพย์สินคุณยิ่งลักษณ์และนำมาขายทอดตลาดจะอยู่กับกระทรวงการคลัง ซึ่งไม่มีบุคลากรและความสันทัดใดๆ เลย นายกฯ ประยุทธ์จึงจำต้องออกกฎหมายให้กรมบังคับคดีมารับหน้าที่นี้แทน ซึ่งก็สมเหตุผลด้วยประการทั้งปวงแล้ว
ถาม ไม่ใช่เรื่องเอามาตรา ๔๔ มาอยู่เหนือคำพิพากษาหรือ
ตอบ ไม่ใช่ครับ อำนาจบังคับยึดทรัพย์ตามคำสั่งทางปกครองนั้น ฝ่ายปกครองมีอยู่แล้วตามพระราชบัญญัติความรับผิดของเจ้าหน้าที่ มาตรา ๔๔ เพียงแต่กำหนดว่าหน่วยงานที่จะรับภาระใช้อำนาจนั้นเป็นหน่วยไหนเท่านั้น ไม่เกี่ยวกับเรื่องทำลายอำนาจศาลแต่อย่างใด ศาลปกครองได้แต่ตรวจสอบคำสั่งว่าถูกต้องหรือไม่ และจะสั่งให้ทุเลาไว้ก่อนก็ได้ แต่เมื่อศาลไม่สั่งทุเลา การบังคับคดีก็ต้องเดินหน้าต่อไป แม้ไม่มีคำสั่งตามมาตรา ๔๔ ก็เดินหน้าไปอยู่ดีแต่เดินไปโดยกระทรวงการคลังที่ไม่สันทัดในการนี้เท่านั้นเอง
ถาม สรุปแล้วข้อคร่ำครวญของนายกฯ ปู ก็คลาดเคลื่อนจากกฎหมายใช่ไหมครับ
ตอบ เป็นตัวอย่างของการฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียดอย่างชัดเจน
ตัวอย่างที่ ๒ : คำสั่งยุบพรรคการเมืองที่รับเงินอันได้มาโดยมิชอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ถาม เรื่องพรรคอนาคตใหม่กู้เงินคุณธนาธรเศรษฐีหัวหน้าพรรคจำนวนถึง ๑๙๑ ล้านบาทนี่ มันถึงยุบพรรคได้อย่างไร?
ตอบ กกต.เขาเห็นว่ากรณีต้องด้วยมาตรา ๗๒ แห่งกฎหมายพรรคการเมืองครับ กล่าวคือ
“มาตรา ๗๒ ห้ามมิให้พรรคการเมืองและผู้ดำรงตำแหน่งในพรรคการเมืองรับบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดโดยรู้หรือควรจะรู้ว่าได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือมีเหตุอันควรสงสัยว่ามีแหล่งที่มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย"
ถาม คุณธนาธรเอาเงินค้ายาเสพติดมาให้พรรคกู้หรือ
ตอบ ไม่ใช่ครับ กกต.เขาบอกว่า มาตรา ๖๖ ห้ามมิให้พรรครับบริจาคเป็นเงินหรือประโยชน์อื่นใด มูลค่าเกิน ๑๐ ล้านบาท ดังนั้น เมื่อมีการให้กู้ถึง ๑๙๑ ล้านครั้งนี้ ไม่มีหลักประกันและดอกเบี้ยต่ำแค่ ๒% จึงเป็นการให้ประโยชน์ที่เกิน ๑๐ ล้าน เงินกู้นี้จึงผิดกฎหมายรับไว้ไม่ได้
ถาม นี่ฟังไม่ได้ศัพท์อีกแล้วหรือเปล่าครับนี่..มาตรา ๗๒ ยุบพรรคเมื่อคนบริจาคได้เงินมาโดยมิชอบ ไม่ใช่พรรครับบริจาคโดยมิชอบนะครับ เรื่องรับเงินหรือประโยชน์เกิน ๑๐ ล้านนี่ มีมาตรา ๖๖ ลงโทษติดคุกและเพิกถอนสิทธิบุคคลอยู่ต่างหากแล้ว กกต.ต้องให้เลขาฯ ไปแจ้งความ ส่งธนาธรขึ้นศาลอาญา ไม่ใช่ส่งอนาคตใหม่ขึ้นศาลรัฐธรรมนูญให้สั่งยุบอย่างนี้ ผมว่ามันไม่ถูกต้อง
ตอบ นี่จะเป็นคดีตัวอย่างอีกคดีหนึ่งที่เราต้องรอดูกันต่อไป ถ้าคุณเป็นฝ่ายถูก ศาลรัฐธรรมนูญก็ต้องสั่งยกคำร้องและ กกต.ก็ต้องกลับลำไปแจ้งความในคดีอาญาต่อไป
ตัวอย่างที่ ๓ : คดี CP ขนซองประมูลมาถึงล่วงเวลา
ถาม ในการเปิดรับซองประกวดข้อเสนอพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาของกองทัพเรือนั้น ทางการระบุว่าให้มายื่นซอง ๐๙.๐๐–๑๕.๐๐ น. กลุ่ม CP และพันธมิตรขนหีบข้อเสนอมาถึง และลงนามแสดงตัวตนเมื่อ ๑๒.๒๐ น. โดยฝ่ายทางการก็ไม่ได้ตรวจนับหีบข้อเสนออะไร พอเวลา ๑๕.๐๙ น. เขาก็ขนหีบอีก ๒ รายการมาสมทบอีก ซึ่งต่อมากระบวนการเรียกให้นำหีบไปตรวจนับ ก็เริ่มตั้งแต่ ๑๕.๐๐ น. จนของ CP ก็ตรวจนับแล้วเสร็จรับใบรับจากเจ้าหน้าที่ไปเมื่อ ๑๘.๐๐ น.
หลังจากนั้นกว่า ๑ เดือนให้หลัง คณะกรรมการจึงมีมติสั่งไม่รับข้อเสนอของ CP โดยอธิบายว่ามีหีบข้อเสนอ ๒ รายการมาถึงหอประชุมกองทัพเรือช้าไป ๙ นาที
กรณีอย่างนี้ผมไม่เข้าใจ ทำไมศาลปกครองสูงสุดจึงวินิจฉัยให้กองทัพเรือเปิดซองข้อเสนอของกลุ่ม CP ขืนทำอย่างนี้ได้ อีกหน่อยก็ยื่นซองเกินเวลากันได้ทั้งประเทศเลยสิครับ
ตอบ เข้าใจก่อนนะครับว่า เรื่องนี้ยังเป็นแค่คำสั่งชั่วคราวให้เปิดซองไปก่อนเท่านั้น ในที่สุดแล้วศาลจะวินิจฉัยให้รับซอง CP หรือไม่ เราต้องรอดูต่อไป
ถาม ถ้าเปิดมาแล้ว ประโยชน์ที่ CP ให้ต่ำกว่ารายอื่น เขาก็คงถอนฟ้องไปใช่ไหม
ตอบ ก็ต้องเป็นอย่างนั้นครับ แต่ถ้าสูงกว่าก็ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลว่า ในที่สุดศาลจะพิพากษาให้คณะกรรมการรับพิจารณาราคาของ CP หรือไม่ วันนี้ศาลยังไม่วินิจฉัยในประเด็นนี้
ถาม คดีต่างๆ ก่อนหน้านี้ศาลปกครองสูงสุดก็ตัดสินเป็นบรรทัดฐานไปแล้วว่า เวลารับซองถือเป็นสาระสำคัญ ที่ใครจะล่วงเวลาไม่ได้ ไม่ใช่หรือครับ แล้วมาสั่งชั่วคราวในคดีนี้ให้เปิดดูก่อนได้ทำไม ทำเป็นเปิดถ้วยไฮโลขอดูแต้มลูกเต๋าไปได้
ตอบ ถ้าศาลไม่สั่งชั่วคราวจนคณะกรรมการคืนหีบให้ CP ไปแล้ว แล้วต่อมาเกิดเห็นว่ารับราคา CP ได้มันก็ช่วยอะไรไม่ได้สิครับ เพราะคืนซองไปแล้ว จะให้ยื่นใหม่ก็ไม่ได้ ผมว่าเรารอดูคำวินิจฉัยในที่สุดจะดีกว่าครับ ตรงนั้นจึงจะวิพากษ์กันได้
ถาม มันมีมูลคดีอะไร ให้เห็นว่า CP อาจจะชนะคดีก็ได้หรือครับ
ตอบ
คดีตัวอย่างต่างๆ ก่อนหน้านั้น มันเป็นการประมูลทางอินเทอร์เน็ต ใส่ราคาชนกันสดๆ เลย เราจึงรับซองราคาล่วงเวลาไม่ได้เป็นอันขาด ส่วนคดีนี้ต้องใช้เวลาเปิดซองคุณสมบัติและตรวจสอบข้อเสนอทางเทคนิคจนเรียบร้อยก่อน จึงจะเปิดซองราคา ดังนั้น เวลารับซองในคดีนี้จึงไม่ใช่สาระสำคัญเหมือนคดีอื่น
ยิ่งไปกว่านั้น CP เขาสู้ไว้น่าคิดเหมือนกันว่า เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ น.นั้น แท้ที่จริงที่ปฏิบัติกันไปนั้น ก็เป็นแค่เวลานัดพร้อมแสดงตัวลงนามเท่านั้น มาตรวจนับหีบทีหลังทั้งสิ้น เลย ๑๕.๐๐ น.ไปแล้วก็ยังตรวจนับ เปิดหีบเติมเอกสารต่างๆ กันอยู่เลย แล้วจะมาซีเรียสกับหีบสองรายการที่ CP เขาขนมาช้า ๙ นาทีทำไม
ถาม เหตุผลอย่างนี้ในทางกฎหมายฟังได้หรือ
ตอบ
ถ้าเป็นภาษากฎหมาย ผมว่าเขาพยายามอ้างว่า การขนหีบมาให้ครบและตรงเวลานัดหมายในคดีนี้นั้น พบว่าเป็นแค่ขั้นตอนที่ไม่ถือเป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติจริง เพราะการส่งมอบจริง เกิดขึ้นหลังเวลานัดหมายทั้งสิ้น และก็ไม่ได้ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันแต่อย่างใดเลย ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการจึงจับฟาวล์ไม่ได้
ถาม แล้วทำไมคณะกรมการมาออกคำสั่งไม่รับซองเขาในภายหลัง
ตอบ
ในชั้นนี้..เห็นชัดว่าวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการเป็นปัญหาอยู่มากจริงๆ รอดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดต่อไปดีกว่าครับ
โดยสรุปแล้ว คดี CP ขนซองประมูลล่วงเวลานี้ ต้องฟังกันให้ได้ศัพท์ ต้องค้นข้อมูลและแง่มุมกันให้ละเอียดกว่าการประกวดราคาโดยทั่วไปไม่น้อยเลย.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ที่มา: 'แก้วสรร' ปล่อยบทความยก 3 คดีดัง เตือนสังคม'ฟังไม่ได้ศัพท์ แล้วอย่าจับไปกระเดียด'
แก้วสรรชี้คดีประมูลอู่ตะเภามีช่องโหว่
ทุกวันนี้มีโจทย์ทางกฎหมายที่ต้องฟังให้ละเอียด ต้องทำความเข้าใจกันให้มากกว่าที่ได้คิดเห็นในเบื้องแรกหลายคดีด้วยกัน ซึ่งถ้าฟังไม่ได้ศัพท์แล้วจับไปกระเดียด ก็จะผิดพลาดไปได้ง่ายๆ ดังจะขอชี้บ่งให้เห็นเป็นตัวอย่าง ๓ คดีด้วยกัน คือ
ตัวอย่างที่ ๑ : การบังคับการตามคำสั่งทางปกครอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตัวอย่างที่ ๒ : คำสั่งยุบพรรคการเมืองที่รับเงินอันได้มาโดยมิชอบ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ตัวอย่างที่ ๓ : คดี CP ขนซองประมูลมาถึงล่วงเวลา
ถาม ในการเปิดรับซองประกวดข้อเสนอพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาของกองทัพเรือนั้น ทางการระบุว่าให้มายื่นซอง ๐๙.๐๐–๑๕.๐๐ น. กลุ่ม CP และพันธมิตรขนหีบข้อเสนอมาถึง และลงนามแสดงตัวตนเมื่อ ๑๒.๒๐ น. โดยฝ่ายทางการก็ไม่ได้ตรวจนับหีบข้อเสนออะไร พอเวลา ๑๕.๐๙ น. เขาก็ขนหีบอีก ๒ รายการมาสมทบอีก ซึ่งต่อมากระบวนการเรียกให้นำหีบไปตรวจนับ ก็เริ่มตั้งแต่ ๑๕.๐๐ น. จนของ CP ก็ตรวจนับแล้วเสร็จรับใบรับจากเจ้าหน้าที่ไปเมื่อ ๑๘.๐๐ น.
หลังจากนั้นกว่า ๑ เดือนให้หลัง คณะกรรมการจึงมีมติสั่งไม่รับข้อเสนอของ CP โดยอธิบายว่ามีหีบข้อเสนอ ๒ รายการมาถึงหอประชุมกองทัพเรือช้าไป ๙ นาที
กรณีอย่างนี้ผมไม่เข้าใจ ทำไมศาลปกครองสูงสุดจึงวินิจฉัยให้กองทัพเรือเปิดซองข้อเสนอของกลุ่ม CP ขืนทำอย่างนี้ได้ อีกหน่อยก็ยื่นซองเกินเวลากันได้ทั้งประเทศเลยสิครับ
ตอบ เข้าใจก่อนนะครับว่า เรื่องนี้ยังเป็นแค่คำสั่งชั่วคราวให้เปิดซองไปก่อนเท่านั้น ในที่สุดแล้วศาลจะวินิจฉัยให้รับซอง CP หรือไม่ เราต้องรอดูต่อไป
ถาม ถ้าเปิดมาแล้ว ประโยชน์ที่ CP ให้ต่ำกว่ารายอื่น เขาก็คงถอนฟ้องไปใช่ไหม
ตอบ ก็ต้องเป็นอย่างนั้นครับ แต่ถ้าสูงกว่าก็ต้องรอคำวินิจฉัยของศาลว่า ในที่สุดศาลจะพิพากษาให้คณะกรรมการรับพิจารณาราคาของ CP หรือไม่ วันนี้ศาลยังไม่วินิจฉัยในประเด็นนี้
ถาม คดีต่างๆ ก่อนหน้านี้ศาลปกครองสูงสุดก็ตัดสินเป็นบรรทัดฐานไปแล้วว่า เวลารับซองถือเป็นสาระสำคัญ ที่ใครจะล่วงเวลาไม่ได้ ไม่ใช่หรือครับ แล้วมาสั่งชั่วคราวในคดีนี้ให้เปิดดูก่อนได้ทำไม ทำเป็นเปิดถ้วยไฮโลขอดูแต้มลูกเต๋าไปได้
ตอบ ถ้าศาลไม่สั่งชั่วคราวจนคณะกรรมการคืนหีบให้ CP ไปแล้ว แล้วต่อมาเกิดเห็นว่ารับราคา CP ได้มันก็ช่วยอะไรไม่ได้สิครับ เพราะคืนซองไปแล้ว จะให้ยื่นใหม่ก็ไม่ได้ ผมว่าเรารอดูคำวินิจฉัยในที่สุดจะดีกว่าครับ ตรงนั้นจึงจะวิพากษ์กันได้
ถาม มันมีมูลคดีอะไร ให้เห็นว่า CP อาจจะชนะคดีก็ได้หรือครับ
ตอบ คดีตัวอย่างต่างๆ ก่อนหน้านั้น มันเป็นการประมูลทางอินเทอร์เน็ต ใส่ราคาชนกันสดๆ เลย เราจึงรับซองราคาล่วงเวลาไม่ได้เป็นอันขาด ส่วนคดีนี้ต้องใช้เวลาเปิดซองคุณสมบัติและตรวจสอบข้อเสนอทางเทคนิคจนเรียบร้อยก่อน จึงจะเปิดซองราคา ดังนั้น เวลารับซองในคดีนี้จึงไม่ใช่สาระสำคัญเหมือนคดีอื่น
ยิ่งไปกว่านั้น CP เขาสู้ไว้น่าคิดเหมือนกันว่า เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๐๐ น.นั้น แท้ที่จริงที่ปฏิบัติกันไปนั้น ก็เป็นแค่เวลานัดพร้อมแสดงตัวลงนามเท่านั้น มาตรวจนับหีบทีหลังทั้งสิ้น เลย ๑๕.๐๐ น.ไปแล้วก็ยังตรวจนับ เปิดหีบเติมเอกสารต่างๆ กันอยู่เลย แล้วจะมาซีเรียสกับหีบสองรายการที่ CP เขาขนมาช้า ๙ นาทีทำไม
ถาม เหตุผลอย่างนี้ในทางกฎหมายฟังได้หรือ
ตอบ ถ้าเป็นภาษากฎหมาย ผมว่าเขาพยายามอ้างว่า การขนหีบมาให้ครบและตรงเวลานัดหมายในคดีนี้นั้น พบว่าเป็นแค่ขั้นตอนที่ไม่ถือเป็นสาระสำคัญในการปฏิบัติจริง เพราะการส่งมอบจริง เกิดขึ้นหลังเวลานัดหมายทั้งสิ้น และก็ไม่ได้ทำให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบกันแต่อย่างใดเลย ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการจึงจับฟาวล์ไม่ได้
ถาม แล้วทำไมคณะกรมการมาออกคำสั่งไม่รับซองเขาในภายหลัง
ตอบ ในชั้นนี้..เห็นชัดว่าวิธีปฏิบัติของคณะกรรมการเป็นปัญหาอยู่มากจริงๆ รอดูคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดต่อไปดีกว่าครับ
โดยสรุปแล้ว คดี CP ขนซองประมูลล่วงเวลานี้ ต้องฟังกันให้ได้ศัพท์ ต้องค้นข้อมูลและแง่มุมกันให้ละเอียดกว่าการประกวดราคาโดยทั่วไปไม่น้อยเลย.
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้