สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ถ้าเป็นในมุมมองต่างชาติ น่าจะยากที่
1.ตัวอักษร มีเยอะ ทั้งพยัญชนะและสระ ค่อนข้างมีตัวคล้ายกันเยอะ แถมตัวที่คล้ายกันบางครั้งก็ออกเสียงไม่เหมือนกัน เช่น บ-ป-ข-ช ท-ฑ ล-ส ฯลฯ
2.มีเสียงวรรณยุกต์ แถมวรรณยุกต์ก็ไม่ตรงเสียงอีกในกรณีอักษรต่ำ
3.สระมีเสียงสั้น-ยาว แถมเขียนไม่เป็นที่ บางตัวอยู่หน้า(เอ แอ โอ ไอ) บางตัวอยู่ล่าง(อุ อู) บางตัวอยู่บน(อิ อี) บางตัวอยู่รอบ(เอีย เอือ เอา เอะ แอะ) เวลามีตัวสะกดก็เปลี่ยนรูป ซึ่งบางตัวเช่นสระ โอะ ก็หายไปเลย(กะ-กับ โกะ-กบ เปะ-เป็น)
4.เขียนติดกันเป็นพืด บางครั้งไม่มีรูปสระโผล่ออกมาเลยแต่ยังอ่านได้ เช่น กรกนกคนตลกชอบสกปรก ถ้าถอดเป็นภาษาอังกฤษคงเป็น grgngkhndtlkchobsgbprg อ่านไม่รู้เรื่อง 5555
5.แบ่งคำไม่ถูก ต้องดูบริบทรอบข้างเอา เช่น ตากลม เขียนโดดๆ ก็จะไม่รู้ว่าอ่านว่าอะไร แต่ถ้าบอกว่า เอาผ้าไปตากลม ก็จะรู้ว่าอ่านว่า ตาก-ลม, เขมร =ขะ-เหมน เข-มอน
6.คำยืมโดยเฉพาะจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เขียนยาก แปลยาก และมีตัวการันต์ เช่น ทรัพย์สินศฤงคาร
7.มีข้อยกเว้นในการอ่านไม่ตรงเสียงเยอะ เช่น ตัวอักษร 3 ตัวติดกัน ปรง อ่านว่า ปรง, ทรง แต่ดันอ่าน ซง, รชต(ชื่อคน) ดันอ่าน ระ-ชะ-ตะ, กมล ดันอ่าน กะ-มน, ถนน อ่านว่า ถะ-หนน, บรร ดันอ่าน บัน, สมร ดันอ่าน สะ-หมอน, เพชร ดันอ่าน เพ็ด, ก็ อ่านว่า ก้อ และอีกมากมายมหาศาล
8.ถ้าเป็นพวกวัยรุ่นหน่อย ก็มีคำหรือวลีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย หรือเปลี่ยนความหมาย ซึ่งผมชอบมาก 5555 เช่น ไอ้ต้าว คือ ไอ้เจ้า, อ้วงงงง คือ อ้วน, นั้ลร้าก คือ น่ารัก, คูม คือ คุณ, เค้บซี คือ เคเอฟซี, สู่ขิต คือ สู่สุคติ(ตาย), ตรุย คือ ตาย, ช้ะ คือ ใช่มะ ใช่ไหม, ชรุม = จุง = จัง, ขิง คือ อวด, ตลาดล่าง แต่ก่อนคือกลุ่มที่มีกำลังซื้อต่ำ ตอนนี้คือคำใช้ด่าพวกทำกิริยาต่ำ ไม่ว่าจะฐานะใดๆ ก็ตาม
9. อันนี้ advance คือ พวก คำประพันธ์ร้อยกรองต่างๆ ไม่ว่าจะโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต คงเป็นภาษาเดียวเลยมั้งที่บังคับสัมผัส บังคับจำนวนคำ บังคับเสียงวรรณยุกต์ บังคับครุ ลหุ ต้องมีสัมผัสในให้แต่ละวรรคไพเราะอีก ทำให้กวีต้องสรรหาคำมายัดใส่ให้รู้เรื่องให้ได้ (ซึ่งคำก็วิจิตรพิสดารและเรียงผิดหลักภาษาทำให้ต้องมาตีความอีก) แต่ก็ทำให้มันเป็นเอกลักษณ์ที่จะหาภาษาไหนมาทำแบบนี้ได้เหมือนกัน 55555
10.อันนี้ก็ advance สุดๆ คือ ราชาศัพท์ นั่นเอง
11.เพิ่มเติมคือ ภาษาไทยไม่มีหลักในการถอดเสียงเป็นภาษาอังกฤษที่แน่นอนเป็นระบบ หรืออาจจะมี แต่ก็ไม่มีการสอนทั่วไป ทำให้แต่ละคนถอดเสียงภาษาไทยออกมาไม่เหมือนกัน คำง่ายๆ เช่น สวัสดี = sawasdee swasdee sawaddee sawadee ขอบคุณค่ะ = khobkhunka khopkhunkha kopkunka kobkunka ฯลฯ แถมยังไม่มีรูปวรรณยุกต์โชว์ให้เห็นเหมือนพินอินของภาษาจีนด้วย
สรุปคือ ภาษาพูดไม่ยากมาก แกรมมาร์ง่าย ยากแค่วรรณยุกต์ ระดับของภาษา และการต้องมานั่งทายคำใหม่ๆ แต่ภาษาเขียน ยากมากกกกกก
1.ตัวอักษร มีเยอะ ทั้งพยัญชนะและสระ ค่อนข้างมีตัวคล้ายกันเยอะ แถมตัวที่คล้ายกันบางครั้งก็ออกเสียงไม่เหมือนกัน เช่น บ-ป-ข-ช ท-ฑ ล-ส ฯลฯ
2.มีเสียงวรรณยุกต์ แถมวรรณยุกต์ก็ไม่ตรงเสียงอีกในกรณีอักษรต่ำ
3.สระมีเสียงสั้น-ยาว แถมเขียนไม่เป็นที่ บางตัวอยู่หน้า(เอ แอ โอ ไอ) บางตัวอยู่ล่าง(อุ อู) บางตัวอยู่บน(อิ อี) บางตัวอยู่รอบ(เอีย เอือ เอา เอะ แอะ) เวลามีตัวสะกดก็เปลี่ยนรูป ซึ่งบางตัวเช่นสระ โอะ ก็หายไปเลย(กะ-กับ โกะ-กบ เปะ-เป็น)
4.เขียนติดกันเป็นพืด บางครั้งไม่มีรูปสระโผล่ออกมาเลยแต่ยังอ่านได้ เช่น กรกนกคนตลกชอบสกปรก ถ้าถอดเป็นภาษาอังกฤษคงเป็น grgngkhndtlkchobsgbprg อ่านไม่รู้เรื่อง 5555
5.แบ่งคำไม่ถูก ต้องดูบริบทรอบข้างเอา เช่น ตากลม เขียนโดดๆ ก็จะไม่รู้ว่าอ่านว่าอะไร แต่ถ้าบอกว่า เอาผ้าไปตากลม ก็จะรู้ว่าอ่านว่า ตาก-ลม, เขมร =ขะ-เหมน เข-มอน
6.คำยืมโดยเฉพาะจากภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร เขียนยาก แปลยาก และมีตัวการันต์ เช่น ทรัพย์สินศฤงคาร
7.มีข้อยกเว้นในการอ่านไม่ตรงเสียงเยอะ เช่น ตัวอักษร 3 ตัวติดกัน ปรง อ่านว่า ปรง, ทรง แต่ดันอ่าน ซง, รชต(ชื่อคน) ดันอ่าน ระ-ชะ-ตะ, กมล ดันอ่าน กะ-มน, ถนน อ่านว่า ถะ-หนน, บรร ดันอ่าน บัน, สมร ดันอ่าน สะ-หมอน, เพชร ดันอ่าน เพ็ด, ก็ อ่านว่า ก้อ และอีกมากมายมหาศาล
8.ถ้าเป็นพวกวัยรุ่นหน่อย ก็มีคำหรือวลีใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย หรือเปลี่ยนความหมาย ซึ่งผมชอบมาก 5555 เช่น ไอ้ต้าว คือ ไอ้เจ้า, อ้วงงงง คือ อ้วน, นั้ลร้าก คือ น่ารัก, คูม คือ คุณ, เค้บซี คือ เคเอฟซี, สู่ขิต คือ สู่สุคติ(ตาย), ตรุย คือ ตาย, ช้ะ คือ ใช่มะ ใช่ไหม, ชรุม = จุง = จัง, ขิง คือ อวด, ตลาดล่าง แต่ก่อนคือกลุ่มที่มีกำลังซื้อต่ำ ตอนนี้คือคำใช้ด่าพวกทำกิริยาต่ำ ไม่ว่าจะฐานะใดๆ ก็ตาม
9. อันนี้ advance คือ พวก คำประพันธ์ร้อยกรองต่างๆ ไม่ว่าจะโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ลิลิต คงเป็นภาษาเดียวเลยมั้งที่บังคับสัมผัส บังคับจำนวนคำ บังคับเสียงวรรณยุกต์ บังคับครุ ลหุ ต้องมีสัมผัสในให้แต่ละวรรคไพเราะอีก ทำให้กวีต้องสรรหาคำมายัดใส่ให้รู้เรื่องให้ได้ (ซึ่งคำก็วิจิตรพิสดารและเรียงผิดหลักภาษาทำให้ต้องมาตีความอีก) แต่ก็ทำให้มันเป็นเอกลักษณ์ที่จะหาภาษาไหนมาทำแบบนี้ได้เหมือนกัน 55555
10.อันนี้ก็ advance สุดๆ คือ ราชาศัพท์ นั่นเอง
11.เพิ่มเติมคือ ภาษาไทยไม่มีหลักในการถอดเสียงเป็นภาษาอังกฤษที่แน่นอนเป็นระบบ หรืออาจจะมี แต่ก็ไม่มีการสอนทั่วไป ทำให้แต่ละคนถอดเสียงภาษาไทยออกมาไม่เหมือนกัน คำง่ายๆ เช่น สวัสดี = sawasdee swasdee sawaddee sawadee ขอบคุณค่ะ = khobkhunka khopkhunkha kopkunka kobkunka ฯลฯ แถมยังไม่มีรูปวรรณยุกต์โชว์ให้เห็นเหมือนพินอินของภาษาจีนด้วย
สรุปคือ ภาษาพูดไม่ยากมาก แกรมมาร์ง่าย ยากแค่วรรณยุกต์ ระดับของภาษา และการต้องมานั่งทายคำใหม่ๆ แต่ภาษาเขียน ยากมากกกกกก
แสดงความคิดเห็น
ความยากของภาษาไทยอยู่ตรงไหนครับ
แต่พอมาคิดๆดู ภาษาไทยเราไม่มี tense เหมือนภาษาอังกฤษ ไม่มีการผันกริยาตามประธานตามเพศเหมือนภาษายุโรปอื่นๆ ไม่มีข้อยกเว้นมากเหมือนภาษาเยอรมัน ไม่มีตัวอักษรต้องจำเป็นพันๆตัวเหมือนภาษาจีน ไม่มีคำช่วยเหมือนภาษาญี่ปุ่น และการออกเสียงค่อนข้างชัดถ้อยชัดคำไม่มีเสียงหลบไม่มีการกลืนเสียงเนื่องเสียงเหมือนภาษาฝรั่งเศสหรือภาษาเกาหลี
สรุปคือภาษาไทยนอกจากการสะกดคำแล้วเสมือนไม่มีไวยากรณ์เลย รู้เเค่ศัพท์และสะกดถูกเอาศัพท์มาต่อๆๆๆๆๆๆๆกันก็พูดเป็นประโยคได้ ไม่ต้องคำนึงถึง grammarในการสร้างประโยคใดๆ
คำถามคือเเล้วที่บอกว่าภาษาไทยยาก มันยากตรงจุดไหนครับ