ถามคนที่ชำนาญภาษาไทยและอังกฤษ คุณรู้สึกว่าภาษาไหนยากกว่ากันครับ

อยากทราบในมุมมองของคนที่ชำนาญภาษาอังกฤษ หรือภาษาต่างประเทศอื่นๆก็ได้ เมื่อเอามาเทียบกับภาษาไทยแล้ว คุณมีความรู้สึกว่าภาษาไหนยากกว่ากันครับ
ฟัง พูด อ่าน เขียน ไวยากรณ์

*ถามความรู้สึกส่วนตัวครับ ไม่ต้องอ้างอิงวิชาการใดๆ
แก้ไขข้อความเมื่อ

สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
มันไม่ได้ยากที่ ภาษา

มันยากเพราะ คนใช้ ภาษา

ภาษาไทย แบบยืดเยื้อพร่ำเพ้อพรรณา ไพเราะเพราะพริ้ง ห้าสิบบรรทัด
แต่อ่านจนจบ หาไม่เจอว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน กับใคร ยังไง
(พบได้ทั่วไป ในหนังสือราชการมาตรฐาน)
ยากกว่า ภาษาอังกฤษ ที่มี grammar เป็นรูปแบบชัดเจน แน่นอน

(ความรู้สึกส่วนตัว)
ความคิดเห็นที่ 3
เราว่าไวยากรณ์ภาษาไทยยากกว่า ระบบโครงสร้างประโยคของภาษาอังกฤษมีความยืดหยุ่นน้อยกว่าภาษาไทย โครงสร้างหลักคือ ประธาน + กริยา + (กรรม) ในขณะที่รูปประโยคในภาษาไทยมีความยืดหยุ่นมากกว่า สามารถละประธานได้ บางครั้งการไม่มีการเปลี่ยนรูปกริยาตามกาลก็อาจทำให้สับสนได้ แต่คนที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่จะเข้าใจความหมายของประโยคจากบริบท แต่ชาวต่างชาติที่เริ่มเรียนภาษาไทยอาจสับสนกับโครงสร้างประโยคได้
ความคิดเห็นที่ 29
เราภาษาอังกฤษแค่พอไปวัดไปวาได้ ไม่ได้ถึงกับเก่งมากนะ ยังว่าภาษาไทยยากกว่าเลย คือโชคดีมากๆที่เกิดเป็นคนไทย เลยใช้ได้โดยไม่ต้องเรียน ถ้าไม่ใช่ภาษาแม่นี่คงไม่คิดเรียนแน่ๆ

ในแง่ของการพูดในชีวิตประจำวัน ภาษาไทยอาจจะง่ายกว่า เพราะไม่มี Tense อะไรทั้งนั้น กริยาไม่ต้องผันรูป ไม่ต้องแคร์เอกพจน์พหูพจน์ เอาคำมาต่อๆกันก็รู้เรื่องแล้ว บางทีมาไม่ครบประโยคยังรู้เรื่องเลย

แต่จุดยากคือ
1. การเขียน ตัวอักษรเยอะ สระเยอะ การผันวรรณยุกต์ ซึ่งบางตัวรูปกะเสียงก็ไม่ตรงกัน คำพ้องรูปพ้องเสียงเยอะมาก  ผิดนิดเดียวเปลี่ยนความหมายเลย
2. หลักไวยกรณ์หละหลวม ข้อยกเว้นเยอะมาก ทำให้ยากแก่การจำ บางสถานการณ์ต้องใช้อย่างนึง แต่อีกสถานการณ์ก็ใช้อีกอย่าง แล้วบางทีก็ไม่มีเหตุผลว่าทำไมต้องเป็นแบบนี้ ต้องอาศัยบริบทและประสบการณ์มาช่วย
3. คำลดรูป ละรูปเยอะมากกก และหลายๆคำก็เป็นคำที่ใช้กันปกติด้วย ไม่ใช่ภาษาสก๊อยวัยรุ่นแต่อย่างใด
4. คำศัพท์เยอะมากกกก  เช่น เกี่ยวกับการทำอาหาร ต้ม ตุ๋น ลวก แกง นึ่ง ผัด ทอด รวน คั่ว อุ่น จี่ ย่าง ปิ้ง อบ ยำ คน กวน ปอก หั่น สับ บด เชื่อม ดอง แช่อิ่ม ฯลฯ ซึ่งในภาษาอังกฤษไม่ได้แยกย่อยขนาดนี้ แต่ของไทยในบางกรณีต้องใช้ศัพท์เฉพาะตัวนี้เท่านั้น ก็ต้องมานั่งจำกันอีก
5. ความกำกวม จากข้อ 1.-4. ทำให้ภาษาไทยมันดิ้นได้ บางทีพูด/เขียนไปเข้าใจไม่ตรงกันก็มี คนไทยอาจจะเข้าใจโดยสัญชาตญาณเองว่าหมายถึงอะไร แต่คนต่างชาติน่าจะงงมาก เช่น คนถือดอกไม้ที่สวยๆ (คนสวยหรือดอกไม้สวย?)
6. ระดับภาษา คำนี้ใช้กับพระ คำนี้ใช้กับราชวงศ์ คำนี้ใช้กับผู้ใหญ่ ที่ยากเลยคือราชาศัพท์ คือของภาษาอังกฤษมันก็มีระดับความสุภาพนะ แต่มันไม่ได้ขนาดเปลี่ยน V. เหมือนไทย เช่น จาก "ไป" เป็น "เสด็จ"

จริงๆยังมีข้ออื่นๆอีกนะที่ทำให้ภาษาไทยยาก แต่หลักๆก็เรื่องการเขียนกับความกำกวมนี่แหละ เราว่าภาษาไทยเป็นภาษาที่แค่พูดอาจจะไม่ยากแต่พูดให้ถูกต้องเข้าใจตรงกันยากมาก

Edit: เพิ่มจุดยากอีกจุดของภาษาเขียนคือการที่ไม่เว้นวรรค
ภาษาอังกฤษเว้นวรรคทุกคำ ทำให้เราแบ่งคำได้ บางทีไม่จำเป็นต้องเข้าใจความหมายของทุกคำในประโยค ตัวไหนไม่เข้าใจก็ข้าม ก็ยังพอรู้เรื่อง เช่น I am a student. (ไม่ได้เขียนติดกันเป็น Iamastudent)แต่ของไทยเขียนต่อกันเลย ทำให้คนที่เรียนจำเป็นต้องรู้ความหมายของแต่ละคำในประโยค ถึงจะเข้าใจ เช่น

กนกกรคนสวยวนรถรอบสวน

ถ้าเป็นคนไทย เราชินกะคำ ก็คงจะไม่ยากที่จะแบ่งคำเป็น กนกกร/คน/สวย/วน/รถ/รอบ/สวน ก็เข้าใจ
แต่ถ้าเป็นคนที่เริ่มเรียนเห็นประโยคนี้ก็คงต้องเกาหัว จะแบ่งยังไงดี กน/กก/รคน/สว/ยวน/รถร/อบ/สวน อย่างนี้ได้มั้ย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่