ช้างผาด่าน หลังคาเมืองแพร่ วลีนี้คนแพร่คงคุ้นหู หรือนักเที่ยวสายป่าเขาคงพอได้ยินมาบ้าง ยิ่งหากใครเคยไปทางวัดพระธาตุช่อแฮ จะเห็นขุนเขาทอดตัวโดยมียอดเป็นหินปูนสูงเด่นอยู่ไม่ไกล นั่นแหละยอดเขาช้างผาด่าน เป็นยอดสูงสุดในเขตเมืองแพร่แล้วล่ะ
ผมได้ยินชื่อช้างผาด่านมาพักใหญ่ ดูข้อมูลในอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย ยูทูป ก็พอมีคนแพร่ขึ้นไปอยู่บ้าง แต่ข้อมูลการท่องเที่ยวจริงจังยังไม่เยอะ ทำให้ต้องขวนขวายหาคนนำทางขึ้นไป ซึ่งถือเป็นโชคเข้าข้างที่ได้มารู้จักกับเจ้าถิ่นทีมงานเพจแพร่รีวิว จากการทำงานร่วมกันมาสักพัก จึงเกิดเป็นทริป “แพร่รีวิวพานายสองสามก้าว” พิชิตช้างผาด่านสมความตั้งใจ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ช้างผาด่าน อยู่เขตบ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ เป็นชายขอบอำเภอเมืองแหละนะ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร บนยอดเขาเป็นที่พักของพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งจำพรรษาอยู่ที่นี่มานานสิบกว่าปีแล้ว และปัจจุบันป่าบริเวณนี้ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน
เกริ่นสักนิดว่าเราเดินทางไปเที่ยวช่วงที่เขตฯ และชุมชน กำลังร่วมกันวางแผนว่าจะจัดระเบียบการท่องเที่ยวให้เป็นไปทางใด เราจึงเสมือนกลุ่มหนูทดลองก็ว่าได้ หลังกลับลงมาไม่นานเขตฯ ก็กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นการเที่ยวธรรมชาติที่ทั้งศึกษาธรรมชาติ เคารพสถานที่ และสำคัญที่สุดคือไม่เป็นการรบกวนพระอาจารย์ ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านแม่ลัวอย่างมาก
ทริปฟีเจอริ่ง “นายสองสามก้าว” กับ “แพร่รีวิว” รอบนี้กาปฏิทินต้นเดือนตุลาคม จุดนัดพบคือ บขส.แพร่ ทีมผมห้าคน ทีมแพร่สี่คน พอสมาชิกครบถ้วนก็ขับรถมุ่งหน้าสู่บ้านแม่ลัว ตั้งพิกัดไปที่โรงเรียนบ้านแม่ลัวก็สะดวกดี ระหว่างทางต้องขึ้นเขา ผ่านผืนป่าเขียวๆ สดชื่นเลยทีเดียว
บ้านแม่ลัวเป็นชุมชนในอ้อมโอบขุนเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกเมี่ยง (เหมี้ยง) ทำเมี่ยง ผสมปลูกพืชเกษตรอื่นๆ ในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเล็กๆ เราไปกันจนสุดถนนก็หาที่จอดรถหลบไว้ข้างทาง หรือใครจะจอดในโรงเรียน ในวัดก็หาที่เหมาะๆ ช่วงนั้นแล้วกัน
สุดทางตรงนี้เป็นถนนลูกรังขึ้นเขาเข้าสวน ปัจจุบันห้ามไม่ให้รถทุกชนิดจากนอกชุมชนผ่านก่อนได้รับอนุญาต โดยเฉพาะรถของนักท่องเที่ยวต้องจอดไว้ในหมู่บ้านเท่านั้น รบกวนทำตามกฎระเบียบกันด้วย
เส้นทางเดินสักประมาณ 5 กิโลเมตร แบ่งเป็นสามช่วง ช่วงแรกเดินตามทางถนนลูกรัง ผ่านสวนเมี่ยง ป่าชุมชน รอยต่อป่าอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านจนถึงศาลาพักแรก ตรงนี้ราว 4 กิโลเมตร ช่วงที่สองอีก 500 เมตร เป็นศาลาพักแรกไปศาลาเจ้าพ่อช้างผาด่าน และช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นด้านบนอีกประมาณ 500 เมตร ระยะทางทั้งหมดผมกะคร่าวๆ นะครับ ไม่ได้วัดจริงจัง
เอาล่ะ ช่วงแรกเดินตามถนนลูกรังขึ้นๆ ลงๆ เดินไปเดินมาเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน เริ่มเดินสิบเอ็ดโมงกว่าๆ ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่งก็มาถึงศาลาแรก
พักแป๊บนึงแล้วค่อยเดินต่อ จากตรงนี้หมดทางลูกรังแล้ว เราต้องเดินผ่านช่องเขากับทางเล็กๆ ไปจนถึงศาลาเจ้าพ่อช้างผาด่าน ใช้เวลาอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง
ได้เวลาหิวข้าวก็กินซะตรงนี้เลยสะดวกดี และนี่คือทีมงานแพร่รีวิว เจ้าถิ่นผู้นำทางของเรา แต่ละคนเคยขึ้นพิชิตยอดช้างผาด่านมาแล้วทั้งนั้น
ช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นเขาสั้นๆ ไม่เกิน 500 เมตร แต่ถึงจะสั้นก็ชันเอาเรื่องให้เมื่อยขาพอสมควร
ไม่เกิน 20 นาที พวกเราจึงมาถึงด้านบนตรงที่พักสงฆ์ของพระอาจารย์ พื้นที่แถวมีที่พอประมาณสำหรับการพักแรมโดยไม่เป็นการรบกวนท่าน เราช่วยกันหาที่ทางให้เหมาะสมจัดตั้งแคมป์จนเรียบร้อย
จากจุดตั้งแคมป์เห็นยอดช้างผาด่านกับธงไทยปลิวไสวอยู่นิดเดียวเท่านั้น แต่เป็นนิดเดียวในแนวดิ่งนะ (ฮา...)
หลังจากตั้งแคมป์ พักเหนื่อย พูดคุยกับพระอาจารย์และชาวบ้านที่ขึ้นมาเยี่ยมเยียนท่านพอหอมปากหอมคอ ก็ได้เวลาที่พวกเราจะตะกายฟ้าพิชิตยอดช้างผาด่านกันแล้ว บอกเลยว่าหากใครไม่เคยมารับประกันว่าเลือกมุมขึ้นไม่ถูกแน่ หลายครั้งที่พระอาจารย์ต้องเป็นผู้นำคนมาเที่ยวขึ้นยอดด้วยตัวเอง แต่เพราะเรามีเจ้าถิ่นมาด้วยเลยไม่ต้องรบกวนท่านครับ
ทางใกล้ ใกล้มาก ใกล้สุดๆ แต่อย่างที่บอกว่าเป็นระยะใกล้ในแนวตั้ง ปีนป่ายกันสิครับเขาหินปูนชัน 60-80 องศา มีกฎสำคัญอย่างเดียวต้องทำตามคืออย่าพลาด เพราะขั้นต่ำที่สุดคือเจ็บหนักแน่นอน
ด้วยการเป็นเขาหินปูนจึงมีทั้งข้อดีและข้อไม่ดี ข้อไม่ดีคือมันมีเหลี่ยมมุมแหลมคมเยอะนะสิ ระวังมือให้ดีๆ แต่ข้อดีคือมันไม่ค่อยลื่นเท่าไหร่ เกาะรองเท้าค่อนข้างหนึบ ทั้งเสียว ทั้งสนุก ทั้งท้าทายมากมายเกินกว่าจะพรรณนา (ฮา...)
และในที่สุดยอดช้างผาด่านที่ผมใฝ่ฝัน
บนยอดไม่มีที่ราบนะครับ หากขึ้นมาพร้อมกันสักยี่สิบคนคงเบียดกันจนแทบไม่มีที่ยืนที่พิงกันแล้ว
มองไปทิศตะวันออกเฉียงใต้หน่อยๆ จะเห็นยอดเขาอีกยอดคล้ายช้างผาด่าน ตรงนั้นคือยอดผาแดง มีตำนานเรื่องเล่าเข้าคู่กันมากับช้างผาด่านนี่แหละ ลักษณะใกล้เคียงกันมาก ส่วนป่าไกลๆ นั่นคือเขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
ฝั่งตะวันตกไปใต้นิดๆ เห็นอ่างเก็บน้ำแม่มาน ผมเคยไปมาทีนึง มองจากอ่างเก็บน้ำจะเห็นยอดช้างผาด่านชัดมาก
ถ่ายรูปชมวิวให้หนำใจ หมุนรอบตัวชมวิวได้ครบทุกองศา มุมบนนี้อาจมีไม่เยอะแต่รับรองว่าสูง สวย เสียว ทุกมุม ผมอยู่ข้างบนลงเป็นคนสุดท้ายเลยทีเดียว ขึ้นมาแล้วอยากอยู่นานๆ ไม่อยากจะลงเลยสินะ แต่ก็ต้องจำใจลงเพราะฝนไล่มาแล้ว
พอใกล้เย็นย่ำหลังฝนหยุดพรำลงมา ทีมแพร่รีวิวก็กราบลาพระอาจารย์กลับข้างล่าง เหลือเพียงผมกับเพื่อนรวม 5 คน ที่ค้างแรมบนนี้ พวกเราก็เริ่มทำกับข้าวกินกันตามปกติของกิจกรรมชาวแคมป์ พยายามใช้เสียงให้เป็นการรบกวนพระอาจารย์ท่านน้อยที่สุด เรียกว่าเป็นการเที่ยวแบบสำรวมเอามากๆ (ฮา...)
เช้าวันใหม่ ผมตื่นตั้งแต่ฟ้ายังมืดแต่ต้องรอจนฟ้าเริ่มสว่างถึงจะขึ้นไปพิชิตยอดช้างผาด่านเพื่อถ่ายภาพแสงเช้า เพราะสูงชันอันตรายขนาดนี้ ไปตอนมืดๆ คงไม่ดีแน่
ต้นเดือนตุลาคม อากาศเย็นชื้น มีหมอกลอยบางๆ หลายจุดรอยตัว สิ่งที่เรามองเห็นจากบนยอดช้างผาด่านคือความชื่นใจอย่างแท้จริง
บอกได้เลยว่าป่าเมืองแพร่ก็สวยไม่แพ้ที่ไหนในภาคเหนือ ขุนเขาสีเขียวสุดสายตาเหมือนกัน ถือเป็นเวลาที่มีความสุขมากครับ
นอกจากบริเวณยอดเขา ที่นี่ยังมีโถงถ้ำสวยๆ หลายห้องเชียวแหละ บางห้องได้รับการปรับมาใช้ประโยชน์สำหรับปฏิบัติกิจของสงฆ์ เพราะฉะนั้นการขึ้นมาบนนี้เราจึงควรเที่ยวด้วยความเคารพเหมาะสม
ยินดีมากมายที่ได้มาสัมผัสถึงความสวยงาม ยิ่งใหญ่ และความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อภูเขาลูกนี้
พวกเรากินข้าว เก็บแคมป์ กราบลาหลวงพ่อ เริ่มเดินลงเขาประมาณสิบโมง ใช้เวลาไม่มากนักก็กลับถึงตัวเมืองแพร่ ที่ บขส. แพร่ มีห้องอาบน้ำให้ไปใช้บริการกันได้ จากนั้นค่อยแยกย้ายกันเดินทางกลับ ผมมารถทัวร์จากโคราช ก็รอรถกลับโคราชที่นั่นเลย
ย้ำ ย้ำ และย้ำ... ตอนนี้การเที่ยวพิชิตยอดเขาช้างผาด่านมีข้อกำหนดกฎระเบียบชัดเจนขึ้น นอกจากจะต้องทำตามขั้นตอน ยังต้องเที่ยวด้วยความเคารพสถานที่ และไม่รบกวนพระอาจารย์ซึ่งจำพรรษาข้างบนด้วยประการทั้งปวง
การร่วมกันพัฒนาช้างผาด่านให้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สวยงามยั่งยืน ไม่ได้เป็นหน้าที่เฉพาะของทางเขตฯ หรือชุมชนบ้านแม่ลัวเท่านั้น สำคัญมากกว่าคือเป็นหน้าที่ของนักท่องเที่ยวอย่างพวกเราทุกคนนี่แหละนะ
แนะนำสักนิดหากอยากไปเที่ยว
- การท่องเที่ยวทั้งค้างแรมและไม่ค้างแรมให้ติดต่อขออนุญาต เขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน 0843787620 หรือ ผู้ใหญ่บ้านแม่ลัว 0967064730
- ห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นช้างผาด่านด้วยตัวเองโดยไม่ขออนุญาตในทุกกรณี และการพักแรมด้านบนต้องมีชาวบ้านดูแลความเรียบร้อยทุกครั้ง
- ห้ามนำยานพาหนะทุกชนิดผ่านเส้นทางขึ้นช้างผาด่านโดยเด็ดขาด
- ด้านบนมีน้ำดื่มน้ำใช้สำรองสำหรับพระอาจารย์เท่านั้น นักท่องเที่ยวต้องเตรียมน้ำดื่มน้ำใช้ไปเอง
- ต้องจัดการเรื่องขยะอย่างเคร่งครัด ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสังสรรค์
- ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำเที่ยว ติดต่อ ผู้ใหญ่บ้านแม่ลัว โทร. 0967064730
-
หากปฏิบัติตามข้อกำหนดไม่ได้ ไม่ต้องไป อย่าไปสร้างปัญหาให้กับเขตฯ หมู่บ้าน และพระอาจารย์
ติดตามเรื่องราวการท่องเที่ยวเดินทางของผมได้อีกช่องทาง
https://www.facebook.com/alifeatraveller
[CR] ช้างผาด่าน ปีนป่ายตะกายฟ้า พิชิตหลังคา “เมืองแพร่”
ช้างผาด่าน หลังคาเมืองแพร่ วลีนี้คนแพร่คงคุ้นหู หรือนักเที่ยวสายป่าเขาคงพอได้ยินมาบ้าง ยิ่งหากใครเคยไปทางวัดพระธาตุช่อแฮ จะเห็นขุนเขาทอดตัวโดยมียอดเป็นหินปูนสูงเด่นอยู่ไม่ไกล นั่นแหละยอดเขาช้างผาด่าน เป็นยอดสูงสุดในเขตเมืองแพร่แล้วล่ะ
ผมได้ยินชื่อช้างผาด่านมาพักใหญ่ ดูข้อมูลในอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย ยูทูป ก็พอมีคนแพร่ขึ้นไปอยู่บ้าง แต่ข้อมูลการท่องเที่ยวจริงจังยังไม่เยอะ ทำให้ต้องขวนขวายหาคนนำทางขึ้นไป ซึ่งถือเป็นโชคเข้าข้างที่ได้มารู้จักกับเจ้าถิ่นทีมงานเพจแพร่รีวิว จากการทำงานร่วมกันมาสักพัก จึงเกิดเป็นทริป “แพร่รีวิวพานายสองสามก้าว” พิชิตช้างผาด่านสมความตั้งใจ เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา
ช้างผาด่าน อยู่เขตบ้านแม่ลัว ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ เป็นชายขอบอำเภอเมืองแหละนะ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 30 กิโลเมตร บนยอดเขาเป็นที่พักของพระภิกษุรูปหนึ่งซึ่งจำพรรษาอยู่ที่นี่มานานสิบกว่าปีแล้ว และปัจจุบันป่าบริเวณนี้ได้รับการจัดตั้งเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน
เกริ่นสักนิดว่าเราเดินทางไปเที่ยวช่วงที่เขตฯ และชุมชน กำลังร่วมกันวางแผนว่าจะจัดระเบียบการท่องเที่ยวให้เป็นไปทางใด เราจึงเสมือนกลุ่มหนูทดลองก็ว่าได้ หลังกลับลงมาไม่นานเขตฯ ก็กำหนดกฎเกณฑ์ต่างๆ ให้ชัดเจนขึ้น เพื่อที่จะได้เป็นการเที่ยวธรรมชาติที่ทั้งศึกษาธรรมชาติ เคารพสถานที่ และสำคัญที่สุดคือไม่เป็นการรบกวนพระอาจารย์ ท่านเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวบ้านแม่ลัวอย่างมาก
ทริปฟีเจอริ่ง “นายสองสามก้าว” กับ “แพร่รีวิว” รอบนี้กาปฏิทินต้นเดือนตุลาคม จุดนัดพบคือ บขส.แพร่ ทีมผมห้าคน ทีมแพร่สี่คน พอสมาชิกครบถ้วนก็ขับรถมุ่งหน้าสู่บ้านแม่ลัว ตั้งพิกัดไปที่โรงเรียนบ้านแม่ลัวก็สะดวกดี ระหว่างทางต้องขึ้นเขา ผ่านผืนป่าเขียวๆ สดชื่นเลยทีเดียว
บ้านแม่ลัวเป็นชุมชนในอ้อมโอบขุนเขา ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพปลูกเมี่ยง (เหมี้ยง) ทำเมี่ยง ผสมปลูกพืชเกษตรอื่นๆ ในหมู่บ้านเป็นถนนคอนกรีตเล็กๆ เราไปกันจนสุดถนนก็หาที่จอดรถหลบไว้ข้างทาง หรือใครจะจอดในโรงเรียน ในวัดก็หาที่เหมาะๆ ช่วงนั้นแล้วกัน
สุดทางตรงนี้เป็นถนนลูกรังขึ้นเขาเข้าสวน ปัจจุบันห้ามไม่ให้รถทุกชนิดจากนอกชุมชนผ่านก่อนได้รับอนุญาต โดยเฉพาะรถของนักท่องเที่ยวต้องจอดไว้ในหมู่บ้านเท่านั้น รบกวนทำตามกฎระเบียบกันด้วย
เส้นทางเดินสักประมาณ 5 กิโลเมตร แบ่งเป็นสามช่วง ช่วงแรกเดินตามทางถนนลูกรัง ผ่านสวนเมี่ยง ป่าชุมชน รอยต่อป่าอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่านจนถึงศาลาพักแรก ตรงนี้ราว 4 กิโลเมตร ช่วงที่สองอีก 500 เมตร เป็นศาลาพักแรกไปศาลาเจ้าพ่อช้างผาด่าน และช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นด้านบนอีกประมาณ 500 เมตร ระยะทางทั้งหมดผมกะคร่าวๆ นะครับ ไม่ได้วัดจริงจัง
เอาล่ะ ช่วงแรกเดินตามถนนลูกรังขึ้นๆ ลงๆ เดินไปเดินมาเล่นเอาเหนื่อยเหมือนกัน เริ่มเดินสิบเอ็ดโมงกว่าๆ ใช้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่งก็มาถึงศาลาแรก
พักแป๊บนึงแล้วค่อยเดินต่อ จากตรงนี้หมดทางลูกรังแล้ว เราต้องเดินผ่านช่องเขากับทางเล็กๆ ไปจนถึงศาลาเจ้าพ่อช้างผาด่าน ใช้เวลาอีกไม่เกินครึ่งชั่วโมง
ได้เวลาหิวข้าวก็กินซะตรงนี้เลยสะดวกดี และนี่คือทีมงานแพร่รีวิว เจ้าถิ่นผู้นำทางของเรา แต่ละคนเคยขึ้นพิชิตยอดช้างผาด่านมาแล้วทั้งนั้น
ช่วงสุดท้ายเป็นทางขึ้นเขาสั้นๆ ไม่เกิน 500 เมตร แต่ถึงจะสั้นก็ชันเอาเรื่องให้เมื่อยขาพอสมควร
ไม่เกิน 20 นาที พวกเราจึงมาถึงด้านบนตรงที่พักสงฆ์ของพระอาจารย์ พื้นที่แถวมีที่พอประมาณสำหรับการพักแรมโดยไม่เป็นการรบกวนท่าน เราช่วยกันหาที่ทางให้เหมาะสมจัดตั้งแคมป์จนเรียบร้อย
จากจุดตั้งแคมป์เห็นยอดช้างผาด่านกับธงไทยปลิวไสวอยู่นิดเดียวเท่านั้น แต่เป็นนิดเดียวในแนวดิ่งนะ (ฮา...)
หลังจากตั้งแคมป์ พักเหนื่อย พูดคุยกับพระอาจารย์และชาวบ้านที่ขึ้นมาเยี่ยมเยียนท่านพอหอมปากหอมคอ ก็ได้เวลาที่พวกเราจะตะกายฟ้าพิชิตยอดช้างผาด่านกันแล้ว บอกเลยว่าหากใครไม่เคยมารับประกันว่าเลือกมุมขึ้นไม่ถูกแน่ หลายครั้งที่พระอาจารย์ต้องเป็นผู้นำคนมาเที่ยวขึ้นยอดด้วยตัวเอง แต่เพราะเรามีเจ้าถิ่นมาด้วยเลยไม่ต้องรบกวนท่านครับ
ทางใกล้ ใกล้มาก ใกล้สุดๆ แต่อย่างที่บอกว่าเป็นระยะใกล้ในแนวตั้ง ปีนป่ายกันสิครับเขาหินปูนชัน 60-80 องศา มีกฎสำคัญอย่างเดียวต้องทำตามคืออย่าพลาด เพราะขั้นต่ำที่สุดคือเจ็บหนักแน่นอน
ด้วยการเป็นเขาหินปูนจึงมีทั้งข้อดีและข้อไม่ดี ข้อไม่ดีคือมันมีเหลี่ยมมุมแหลมคมเยอะนะสิ ระวังมือให้ดีๆ แต่ข้อดีคือมันไม่ค่อยลื่นเท่าไหร่ เกาะรองเท้าค่อนข้างหนึบ ทั้งเสียว ทั้งสนุก ทั้งท้าทายมากมายเกินกว่าจะพรรณนา (ฮา...)
และในที่สุดยอดช้างผาด่านที่ผมใฝ่ฝัน
บนยอดไม่มีที่ราบนะครับ หากขึ้นมาพร้อมกันสักยี่สิบคนคงเบียดกันจนแทบไม่มีที่ยืนที่พิงกันแล้ว
มองไปทิศตะวันออกเฉียงใต้หน่อยๆ จะเห็นยอดเขาอีกยอดคล้ายช้างผาด่าน ตรงนั้นคือยอดผาแดง มีตำนานเรื่องเล่าเข้าคู่กันมากับช้างผาด่านนี่แหละ ลักษณะใกล้เคียงกันมาก ส่วนป่าไกลๆ นั่นคือเขตอุทยานแห่งชาติลำน้ำน่าน
ฝั่งตะวันตกไปใต้นิดๆ เห็นอ่างเก็บน้ำแม่มาน ผมเคยไปมาทีนึง มองจากอ่างเก็บน้ำจะเห็นยอดช้างผาด่านชัดมาก
ถ่ายรูปชมวิวให้หนำใจ หมุนรอบตัวชมวิวได้ครบทุกองศา มุมบนนี้อาจมีไม่เยอะแต่รับรองว่าสูง สวย เสียว ทุกมุม ผมอยู่ข้างบนลงเป็นคนสุดท้ายเลยทีเดียว ขึ้นมาแล้วอยากอยู่นานๆ ไม่อยากจะลงเลยสินะ แต่ก็ต้องจำใจลงเพราะฝนไล่มาแล้ว
พอใกล้เย็นย่ำหลังฝนหยุดพรำลงมา ทีมแพร่รีวิวก็กราบลาพระอาจารย์กลับข้างล่าง เหลือเพียงผมกับเพื่อนรวม 5 คน ที่ค้างแรมบนนี้ พวกเราก็เริ่มทำกับข้าวกินกันตามปกติของกิจกรรมชาวแคมป์ พยายามใช้เสียงให้เป็นการรบกวนพระอาจารย์ท่านน้อยที่สุด เรียกว่าเป็นการเที่ยวแบบสำรวมเอามากๆ (ฮา...)
เช้าวันใหม่ ผมตื่นตั้งแต่ฟ้ายังมืดแต่ต้องรอจนฟ้าเริ่มสว่างถึงจะขึ้นไปพิชิตยอดช้างผาด่านเพื่อถ่ายภาพแสงเช้า เพราะสูงชันอันตรายขนาดนี้ ไปตอนมืดๆ คงไม่ดีแน่
ต้นเดือนตุลาคม อากาศเย็นชื้น มีหมอกลอยบางๆ หลายจุดรอยตัว สิ่งที่เรามองเห็นจากบนยอดช้างผาด่านคือความชื่นใจอย่างแท้จริง
บอกได้เลยว่าป่าเมืองแพร่ก็สวยไม่แพ้ที่ไหนในภาคเหนือ ขุนเขาสีเขียวสุดสายตาเหมือนกัน ถือเป็นเวลาที่มีความสุขมากครับ
นอกจากบริเวณยอดเขา ที่นี่ยังมีโถงถ้ำสวยๆ หลายห้องเชียวแหละ บางห้องได้รับการปรับมาใช้ประโยชน์สำหรับปฏิบัติกิจของสงฆ์ เพราะฉะนั้นการขึ้นมาบนนี้เราจึงควรเที่ยวด้วยความเคารพเหมาะสม
ยินดีมากมายที่ได้มาสัมผัสถึงความสวยงาม ยิ่งใหญ่ และความศรัทธาของผู้คนที่มีต่อภูเขาลูกนี้
พวกเรากินข้าว เก็บแคมป์ กราบลาหลวงพ่อ เริ่มเดินลงเขาประมาณสิบโมง ใช้เวลาไม่มากนักก็กลับถึงตัวเมืองแพร่ ที่ บขส. แพร่ มีห้องอาบน้ำให้ไปใช้บริการกันได้ จากนั้นค่อยแยกย้ายกันเดินทางกลับ ผมมารถทัวร์จากโคราช ก็รอรถกลับโคราชที่นั่นเลย
ย้ำ ย้ำ และย้ำ... ตอนนี้การเที่ยวพิชิตยอดเขาช้างผาด่านมีข้อกำหนดกฎระเบียบชัดเจนขึ้น นอกจากจะต้องทำตามขั้นตอน ยังต้องเที่ยวด้วยความเคารพสถานที่ และไม่รบกวนพระอาจารย์ซึ่งจำพรรษาข้างบนด้วยประการทั้งปวง
การร่วมกันพัฒนาช้างผาด่านให้เป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติที่สวยงามยั่งยืน ไม่ได้เป็นหน้าที่เฉพาะของทางเขตฯ หรือชุมชนบ้านแม่ลัวเท่านั้น สำคัญมากกว่าคือเป็นหน้าที่ของนักท่องเที่ยวอย่างพวกเราทุกคนนี่แหละนะ
- ห้ามนักท่องเที่ยวขึ้นช้างผาด่านด้วยตัวเองโดยไม่ขออนุญาตในทุกกรณี และการพักแรมด้านบนต้องมีชาวบ้านดูแลความเรียบร้อยทุกครั้ง
- ห้ามนำยานพาหนะทุกชนิดผ่านเส้นทางขึ้นช้างผาด่านโดยเด็ดขาด
- ด้านบนมีน้ำดื่มน้ำใช้สำรองสำหรับพระอาจารย์เท่านั้น นักท่องเที่ยวต้องเตรียมน้ำดื่มน้ำใช้ไปเอง
- ต้องจัดการเรื่องขยะอย่างเคร่งครัด ห้ามดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือทำกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงสังสรรค์
- ค่าใช้จ่ายต่างๆ ในการนำเที่ยว ติดต่อ ผู้ใหญ่บ้านแม่ลัว โทร. 0967064730
- หากปฏิบัติตามข้อกำหนดไม่ได้ ไม่ต้องไป อย่าไปสร้างปัญหาให้กับเขตฯ หมู่บ้าน และพระอาจารย์
ติดตามเรื่องราวการท่องเที่ยวเดินทางของผมได้อีกช่องทาง
https://www.facebook.com/alifeatraveller
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้