สี่แผ่นดิน THE LEGEND MUSICAL at LHONG1919
- หากเราจับมือกันไว้, ไม่ว่าจะกี่แผ่นดิน จะกี่วิกฤต เราก็จะผ่านไปได้ –
---------
สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เวอร์ชั่นแรกสุด (ปี 2554) คือสี่แผ่นดินในความทรงจำของเรา ด้วยเป็นละครเวทีเรื่องแรกในชีวิตที่ได้ดู ด้วยเป็นผลงานของรัชดาลัยที่สมบูรณ์แบบที่สุดเรื่องหนึ่ง พอกลับมารีสเตจอีกครั้งในช่วง 2557 และ 2560 ก็มีโอกาสได้ดูอีก แต่ฉบับปี 2554 ก็ยังเป็นเวอร์ชั่นที่เราประทับใจที่สุด
---------
พอมาคราวนี้ สี่แผ่นดินกลับมาอีกครั้งในรูปแบบละครเวที ตอนแรกเรารู้ข่าวก็รู้สึก...อ้าว มาอีกแล้วเรอะ มาไวไปมั้ย เบื่อออ เพิ่มเติมคือเปลี่ยนสถานที่เล่นเป็นโรงละครกลางแจ้งอย่าง ล้ง1919 ไอ้เราที่มาดูละครเวทีแต่ละที ก็สนใจไปที่บท+นักแสดง มากกว่าโปรดักชั่น การมาเล่นกลางแจ้งเลยไม่ได้ดึงดูดเราสักเท่าไหร่ แต่พอเจอกระแสรีวิวที่มีแต่เสียงชม...เอาวะ! ดูมันมาทั้ง 3 รอบแล้ว ขอดูอีกครั้งก็แล้วกัน!
---------
การนำสี่แผ่นดินมารีสเตจอีกครั้งภายใต้ชื่อ “สี่แผ่นดิน THE LEGEND MUSICAL at LHONG1919” ในแง่บท ตอนแรกเราคิดว่าก็คงปรับอะไรนิด ปรับอะไรหน่อย อย่างครั้งที่ 2-3 ที่ผ่านมา แต่พอได้มาดูจริง เราพบว่าเราชอบการใส่รายละเอียดของทีมเขียนบทมาก ชอบการปรับบทให้กระชับมากขึ้น เหมาะสมกับคนทุกวัยในปัจจุบันมากขึ้น และทำให้สารนั้นชัดเจนมากขึ้น เป็นการปรับบทที่เราว้าว พอๆ กับบัลลังก์เมฆ เมื่อกลางปีที่ผ่านมาเลย
---------
เอาจริง ตอนแรกเราก็คิดนะว่าทำไมรัชดาลัยถึงเรื่องนำสี่แผ่นดินมาเล่าเป็นละครเวทีอีกครั้ง อย่างที่คุณบอยบอกในสูจิบัตรเลย ว่าเราอยู่ในอยู่สมัยที่มี Gap มากมายในสังคม ทั้งความคิด การรับรู้ หรือเรื่องของเจนเนเรชั่น แต่สี่แผ่นดินฉบับนี้ทำให้เราเห็นว่าทีมเขียนบทให้ความสำคัญกับคนดูทุกช่วงวัย ทุกรุ่น ทุกความคิดจริงๆ
---------
ถ้าคุณรักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ เสาหลักของสังคมไทย แน่นอน คุณมาดูเรื่องนี้ ยังไงก็อิน
---------
แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ หรือบางคนที่อาจไม่ได้อินกับสถาบันฯ มากนัก --- เราชอบมาก ที่สี่แผ่นดินฉบับนี้เลือกที่จะไม่มองข้ามคนเหล่านั้น พวกเขายังดูได้สนุก ได้อรรถรส และได้รับสารที่ละครต้องการสื่อครบถ้วนแน่นอน
---------
หรือหากใครที่ชอบดูละครแนวครอบครัว ก็ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งกับละครเวทีเรื่องนี้ เพราะด้วยสถานการณ์ทางการเมือง ด้วยอุดมการณ์ ความคิดที่ต่างกัน ก็นำมาซึ่งความแตกแยกในครอบครัวของแม่พลอย การเล่าเรื่องพาร์ตครอบครัวในครั้งนี้บีบคั้น และหน่วงหัวใจยิ่งกว่าเดิม ขนาดเราดูมาแล้วก็ยังร้องไห้ (ร้องหนักกว่าครั้งที่ผ่านๆ มาอีก)
---------
สี่แผ่นดินเวอร์ชั่นนี้จึงถ่ายทอดเรื่องราว เล่าเรื่องให้เหมาะสมกับทั้งผู้ชมที่เป็นคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ จะมีอุดมการณ์ฝั่งฝ่ายไหนก็ยังดูได้ จะสายการเมืองหรือสายการบ้าน ก็ดูได้เช่นกัน --- จากใจเราที่ดูมาทั้ง 4 เวอร์ชั่นของรัชดาลัย เรากล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่าสี่แผ่นดิน ฉบับล้ง1919 นี้ คือสี่แผ่นดินฉบับละครเวทีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
---------
การตัดทอนเพลงที่ไม่จำเป็น ตัวละครที่ไม่จำเป็น เหตุการณ์ที่ไม่จำเป็นออกไป ดูแล้วเรารู้เลยว่าไม่ได้ตัดทอนเพื่อให้ละครจบไวหรือสั้นลง แต่มันทำให้เรื่องราวกลมกล่อมและสมูทมากๆ เช่นเดียวกับการแก้รายละเอียด บทสนทนาทั้งบทพูดและเนื้อเพลง เห็นได้ชัดว่าทีมงานรื้อดูบทต่อบท เพลงต่อเพลง เพื่อให้การสื่อสารครั้งนี้ชัดเจนมากขึ้น --- และในความทุ่มเทของทีมบทครั้งนี้ บอกเลยว่าคุณทำสำเร็จ การปรับแก้บทต่อบทแบบนี้ เราว่ามันยากกว่าเขียนใหม่อีกนะ และมันคุ้มมากกับความเหนื่อยในครั้งนี้
---------
พูดถึงสี่แผ่นดิน จะไม่พูดถึงตัวละครก็คงไม่ได้ โดยเฉพาะตัวเอกของเรื่องอย่าง “แม่พลอย” ที่จะอยู่กับคนดูไปตั้งแต่ต้นจนจบ แม่พลอยเวอร์ชั่นนี้มีการปรับให้เหมาะกับบริบทในปัจจุบันมากขึ้น กล้าคิดกล้าทำกล้าพูดกล้าตัดสินใจมากขึ้น จะไม่ใช่ช้างเท้าหลัง หรือผู้ตามที่ดีตามแบบฉบับนิยายหรือเวอร์ชั่นก่อนๆ แฟนนิยายสี่แผ่นดินมาชมจะรู้เลยว่าแทบเป็นคนละคนกับแม่พลอยในนิยาย แต่เราชอบการตีความใหม่ของแม่พลอยในฉบับนี้นะ อย่างที่บอกว่ามันเข้ากับบริบทปัจจุบันจริงๆ
---------
ลักษณะท่วงที ท่าทาง การพูด น้ำเสียงของแม่พลอยฉบับสินจัยต่างไปจากที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง แม่พลอยคราวก่อนจะสง่างามพร้อมกับความเป็นกุลสตรี ลีลาการพูดจะเนิบช้า ลงน้ำหนักทุกคำ คงความอ่อนหวาน อ่อนโยน แต่แม่พลอยฉบับนี้ การพูดจะฉับไวมากขึ้น พูดเร็วแต่ไม่รัว มีความหนักแน่นในน้ำเสียง อารมณ์ และอุดมการณ์
---------
พาร์ตวัยเด็กคือดี ให้ตายเถอะ น้องเสียงเพราะ เสียงใสมาก และเสียงคล้ายพินต้าที่เป็นออริจินอลแม่พลอยวัยเด็ก (นึกว่าพินต้ากลับมาเล่นอีกครั้ง ฮาาา) ส่วนพาร์ตวัยสาวก็ต่างจากที่ผ่านมาชัดเจน แม่พลอยฉบับจิ๊บ กุลธิดาฐ์ ค่อนข้างชัดเจนต่อความรู้สึก โดยเฉพาะที่นางมีใจให้คุณเปรม มีการเล่นตัวนิดหน่อยให้พองาม แต่ด้วยท่าทางและสายตา ชั้นดูชั้นก็รู้ว่าหล่อนชอบผู้ชายคนเน้!!! ก็จะมีเสน่ห์ไปอีกแบบหนึ่ง ประกอบกับคุณเปรมฉบับรอน ภัทรภณ ที่ก็ให้ความรู้สึกคนละแบบกับที่กัน นภัทรถ่ายทอดไว้ คุณเปรมกับแม่พลอยวัยหนุ่มสาวในเวอร์ชั่นนี้ก็เลยมีความน่ารัก กุ๊กกิ๊ก ตรงๆ ไม่อ้อมค้อม รักก็คือรัก ชอบก็คือชอบ
---------
สำหรับการตีความบทใหม่ในสี่แผ่นดินครั้งนี้ ตัวละครที่เราชอบที่สุดคือ “คุณเปรม” --- คุณเปรมฉบับนี้คือผู้ชายที่เข้าใจโลก เข้าใจสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลง เป็นเสาหลักให้ครอบครัว โดยเฉพาะภรรยาอย่างแม่พลอยได้อย่างเข้มแข็ง แต่คุณเปรมก็ยังคงไม่ประมาทในชีวิต คุณเปรมเวอร์ชั่นนี้ สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่แค่เป็นสามีที่ดี เป็นสามีที่ปกป้องภรรยาได้ หากแต่เป็นสามีที่พร้อมสอนภรรยาให้ไม่ประมาทในทุกช่วงชีวิต เพื่อที่หากวันหนึ่งตนลาลับหรือจากไป แม่พลอยจะได้ยืนหยัดได้อยู่ โดยไม่ล้มลงจนลุกไม่ไหวเพียงเพราะสูญเสียเสาหลักอย่างตนไป
---------
พาร์ตวัยผู้ใหญ่คืออบอุ่นมาก คุณเปรมนี่แหละคือผู้ใหญ่ที่เราๆ ต่างต้องการ ผู้ใหญ่ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง เข้าใจคนรุ่นใหม่ ยอมรับทุกการเปลี่ยนแปลง ยิ่งการแสดงของคุณอุ้ย เกรียงไกร ยิ่งไม่ต้องพูดถึง มาแสดงในครั้งนี้คืออบอุ่น อ่อนโยน และทรงพลังมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา พอถึงตอนที่คุณเปรมเสียชีวิต เลยเข้าใจพลอยมาก หากสถาบันกษัตริย์คือเสาหลักของคนไทยทั้งประเทศ คุณเปรมก็คือเสาหลักของคนในครอบครัวทั้งพลอยและลูกๆ (แต่ที่เสียดายคืออุตส่าห์ทำให้คุณเปรมเป็นผู้ใหญ่ที่เข้าใจทุกอย่างได้ดีขนาดนี้ เราว่าไม่จำเป็นเลยที่คุณเปรมจะไม่ชอบลูซิลล์ตอนที่นางเพิ่งกลับมา ให้พลอยเป็นฝ่ายไม่พอใจแล้วคุณเปรมเป็นคนให้เหตุผล เราว่าจะเข้ากับบทที่ปูมามากกว่า)
---------
ส่วนลูกๆ ตั้งแต่ลูกชายคนโตอย่าง “อ้น” กับการแสดงของอาร์ อาณัตพล แคสรุ่นลูกเพียงคนเดียวที่ได้เล่นบทเดิมมาทั้ง 4 เวอร์ชั่น! ถ้าจะไม่ดีก็ให้มันรู้ไปสิ --- อาร์เป็นอีกคนถ่ายทอดบทเดิมได้ดียิ่งกว่าเดิม อ้นในเวอร์ชั่นนี้ทั้งเข้มแข็ง แข็งแกร่งในความเป็นชายชาติทหาร รักสถาบันเหนือสิ่งใด และคอยปราม คอยห้าม เวลาเกิดความวุ่นวายในครอบครัว, แต่ในขณะเดียวกันอ้นก็ยังมีความเปราะบางเท่าๆ กับความเข้มแข็งนั้นเลย ความเจ็บปวดที่น้องชายต่างมารดาไม่ยอมรับตนเป็นพี่ ความเจ็บปวดที่น้องชายที่ตนรักเข้าร่วมทำลายสถาบันที่ตนศรัทธา และความเจ็บปวดที่คนไทยต้องลุกขึ้นมาฆ่ากันเอง --- อาร์ถ่ายทอดได้ดีมาก และไม่ยากเลยที่คนดูจะเสียน้ำตาให้ตัวละครตัวนี้
---------
ส่วนอัศรัญ มะ ในบท “อั้น” หนึ่งในทีมคณะราษฎร บทนี้เราตั้งใจมาดูเป็นพิเศษ เพราะอั้นเป็นตัวละครที่เราชอบที่สุด แถมไอซ์ ศรัณยูยังถ่ายทอดไว้ดีมาก ทำให้อั้นฉบับไอซ์เป็นอั้นในความทรงจำของเราเลย ซึ่งอัศรัญก็ทำได้ดี อั้นยังคงเป็นคนที่มั่นใจในตัวเอง ยึดมั่นในความคิด ในอุดมการณ์ของตนอย่างแรงกล้า ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เขามองข้ามความเห็นที่ต่างไป แต่ด้วยการแสดงของเขา ด้วยการปรับแก้บทในครั้งนี้ ทำให้คนดูอย่างเราเข้าใจชัดเจนว่าในความร้ายๆ ของอั้น แต่ทุกการกระทำ อุดมการณ์ของเขาก็คือทำไปเพราะรักชาติ รักประเทศไทย และอยากพัฒนา อยากเปลี่ยนแปลงมันให้ดียิ่งขึ้น ตามประสาคนรุ่นใหม่ที่เห็นอะไรมามาก (บทที่เพิ่มมาให้อั้นทะเลาะกับลูซิลล์ อันนี้ดีมาก ปรบมือให้เลย มันเห็นเลยว่าอั้นเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ชังชาติ)
---------
อัศรัญถ่ายทอดบทอั้นได้ดี ทำให้เราทั้งรัก ทั้งชื่นชม และหมั่นไส้ในตัวละครตัวนี้ สุดท้ายแล้วในความเข้มแข็ง ในความทะนง ความมั่นใจของผู้ชายคนหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วอั้นก็มีมุมอ่อนแอเมื่ออุดมการณ์ที่ตนวาดหวัง เมื่อความฝันไม่เป็นดังใจ เมื่อทุกอย่างมันพังทลายก็คล้ายว่าชีวิตอั้นกำลังล้มเหลว (น่าเสียดายเพลงแสงที่เธอศรัทธา เราว่าพาร์ตนี้อัศรัญใช้มือเยอะไป มือมันเลยบังหน้า แล้วก็เคลื่อนไหวขึ้นลงเร็วมากจนความเศร้า ความน่าเห็นใจมันไม่มากเท่าตอนไอซ์เล่น) แต่ในภาพรวมคือเป็นอั้นที่ดีมาก น่าจะตรงใจคนรุ่นใหม่หลายคน
---------
และสุดท้ายคือมี “อ๊อด” ที่เวอร์ชั่นนี้เป็นปอ อรรณพ คนนี้ก็เล่นดี เป็นอ๊อดที่น่ารัก ทะเล้น แต่การถ่ายทอดของปอ อรรณพ ก็ทำให้คนดูรู้ว่าผู้ชายคนนี้มีความคิด เขาไม่ใช่แค่หนุ่มน้อยอ้อนแม่อย่างที่แสดงออกมา อ๊อดในเวอร์ชั่นนี้ก็ยังเป็นพลังใจหนึ่งเดียวในยามที่หัวใจแม่พลอยแหลกสลาย การจากไปของอ๊อดผ่านการเขียนจดหมายและมาหาแม่พลอยในฝันจึงจับใจคนดูอย่างเรา ครั้นเมื่อแม่พลอยได้สติ ก็ไม่ยากเลยที่คนดูจะเสียน้ำตาและใจสลายไปพร้อมกับแม่พลอย
---------
(มีต่อคอมเม้นที่ 1)
[CR] ::: สี่แผ่นดิน THE LEGEND MUSICAL at LHONG1919 --- การกลับมาอีกครั้งกลับเวอร์ชั่นที่สมบูรณ์แบบที่สุด ---
- หากเราจับมือกันไว้, ไม่ว่าจะกี่แผ่นดิน จะกี่วิกฤต เราก็จะผ่านไปได้ –
สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เวอร์ชั่นแรกสุด (ปี 2554) คือสี่แผ่นดินในความทรงจำของเรา ด้วยเป็นละครเวทีเรื่องแรกในชีวิตที่ได้ดู ด้วยเป็นผลงานของรัชดาลัยที่สมบูรณ์แบบที่สุดเรื่องหนึ่ง พอกลับมารีสเตจอีกครั้งในช่วง 2557 และ 2560 ก็มีโอกาสได้ดูอีก แต่ฉบับปี 2554 ก็ยังเป็นเวอร์ชั่นที่เราประทับใจที่สุด
---------
พอมาคราวนี้ สี่แผ่นดินกลับมาอีกครั้งในรูปแบบละครเวที ตอนแรกเรารู้ข่าวก็รู้สึก...อ้าว มาอีกแล้วเรอะ มาไวไปมั้ย เบื่อออ เพิ่มเติมคือเปลี่ยนสถานที่เล่นเป็นโรงละครกลางแจ้งอย่าง ล้ง1919 ไอ้เราที่มาดูละครเวทีแต่ละที ก็สนใจไปที่บท+นักแสดง มากกว่าโปรดักชั่น การมาเล่นกลางแจ้งเลยไม่ได้ดึงดูดเราสักเท่าไหร่ แต่พอเจอกระแสรีวิวที่มีแต่เสียงชม...เอาวะ! ดูมันมาทั้ง 3 รอบแล้ว ขอดูอีกครั้งก็แล้วกัน!
---------
การนำสี่แผ่นดินมารีสเตจอีกครั้งภายใต้ชื่อ “สี่แผ่นดิน THE LEGEND MUSICAL at LHONG1919” ในแง่บท ตอนแรกเราคิดว่าก็คงปรับอะไรนิด ปรับอะไรหน่อย อย่างครั้งที่ 2-3 ที่ผ่านมา แต่พอได้มาดูจริง เราพบว่าเราชอบการใส่รายละเอียดของทีมเขียนบทมาก ชอบการปรับบทให้กระชับมากขึ้น เหมาะสมกับคนทุกวัยในปัจจุบันมากขึ้น และทำให้สารนั้นชัดเจนมากขึ้น เป็นการปรับบทที่เราว้าว พอๆ กับบัลลังก์เมฆ เมื่อกลางปีที่ผ่านมาเลย
---------
เอาจริง ตอนแรกเราก็คิดนะว่าทำไมรัชดาลัยถึงเรื่องนำสี่แผ่นดินมาเล่าเป็นละครเวทีอีกครั้ง อย่างที่คุณบอยบอกในสูจิบัตรเลย ว่าเราอยู่ในอยู่สมัยที่มี Gap มากมายในสังคม ทั้งความคิด การรับรู้ หรือเรื่องของเจนเนเรชั่น แต่สี่แผ่นดินฉบับนี้ทำให้เราเห็นว่าทีมเขียนบทให้ความสำคัญกับคนดูทุกช่วงวัย ทุกรุ่น ทุกความคิดจริงๆ
---------
ถ้าคุณรักและศรัทธาในสถาบันพระมหากษัตริย์ เสาหลักของสังคมไทย แน่นอน คุณมาดูเรื่องนี้ ยังไงก็อิน
---------
แต่สำหรับคนรุ่นใหม่ หรือบางคนที่อาจไม่ได้อินกับสถาบันฯ มากนัก --- เราชอบมาก ที่สี่แผ่นดินฉบับนี้เลือกที่จะไม่มองข้ามคนเหล่านั้น พวกเขายังดูได้สนุก ได้อรรถรส และได้รับสารที่ละครต้องการสื่อครบถ้วนแน่นอน
---------
หรือหากใครที่ชอบดูละครแนวครอบครัว ก็ไม่ควรพลาดอย่างยิ่งกับละครเวทีเรื่องนี้ เพราะด้วยสถานการณ์ทางการเมือง ด้วยอุดมการณ์ ความคิดที่ต่างกัน ก็นำมาซึ่งความแตกแยกในครอบครัวของแม่พลอย การเล่าเรื่องพาร์ตครอบครัวในครั้งนี้บีบคั้น และหน่วงหัวใจยิ่งกว่าเดิม ขนาดเราดูมาแล้วก็ยังร้องไห้ (ร้องหนักกว่าครั้งที่ผ่านๆ มาอีก)
---------
สี่แผ่นดินเวอร์ชั่นนี้จึงถ่ายทอดเรื่องราว เล่าเรื่องให้เหมาะสมกับทั้งผู้ชมที่เป็นคนรุ่นเก่า คนรุ่นใหม่ จะมีอุดมการณ์ฝั่งฝ่ายไหนก็ยังดูได้ จะสายการเมืองหรือสายการบ้าน ก็ดูได้เช่นกัน --- จากใจเราที่ดูมาทั้ง 4 เวอร์ชั่นของรัชดาลัย เรากล้าพูดอย่างเต็มปากเต็มคำว่าสี่แผ่นดิน ฉบับล้ง1919 นี้ คือสี่แผ่นดินฉบับละครเวทีที่สมบูรณ์แบบที่สุด
---------
การตัดทอนเพลงที่ไม่จำเป็น ตัวละครที่ไม่จำเป็น เหตุการณ์ที่ไม่จำเป็นออกไป ดูแล้วเรารู้เลยว่าไม่ได้ตัดทอนเพื่อให้ละครจบไวหรือสั้นลง แต่มันทำให้เรื่องราวกลมกล่อมและสมูทมากๆ เช่นเดียวกับการแก้รายละเอียด บทสนทนาทั้งบทพูดและเนื้อเพลง เห็นได้ชัดว่าทีมงานรื้อดูบทต่อบท เพลงต่อเพลง เพื่อให้การสื่อสารครั้งนี้ชัดเจนมากขึ้น --- และในความทุ่มเทของทีมบทครั้งนี้ บอกเลยว่าคุณทำสำเร็จ การปรับแก้บทต่อบทแบบนี้ เราว่ามันยากกว่าเขียนใหม่อีกนะ และมันคุ้มมากกับความเหนื่อยในครั้งนี้
---------
พูดถึงสี่แผ่นดิน จะไม่พูดถึงตัวละครก็คงไม่ได้ โดยเฉพาะตัวเอกของเรื่องอย่าง “แม่พลอย” ที่จะอยู่กับคนดูไปตั้งแต่ต้นจนจบ แม่พลอยเวอร์ชั่นนี้มีการปรับให้เหมาะกับบริบทในปัจจุบันมากขึ้น กล้าคิดกล้าทำกล้าพูดกล้าตัดสินใจมากขึ้น จะไม่ใช่ช้างเท้าหลัง หรือผู้ตามที่ดีตามแบบฉบับนิยายหรือเวอร์ชั่นก่อนๆ แฟนนิยายสี่แผ่นดินมาชมจะรู้เลยว่าแทบเป็นคนละคนกับแม่พลอยในนิยาย แต่เราชอบการตีความใหม่ของแม่พลอยในฉบับนี้นะ อย่างที่บอกว่ามันเข้ากับบริบทปัจจุบันจริงๆ
---------
ลักษณะท่วงที ท่าทาง การพูด น้ำเสียงของแม่พลอยฉบับสินจัยต่างไปจากที่ผ่านมาอย่างสิ้นเชิง แม่พลอยคราวก่อนจะสง่างามพร้อมกับความเป็นกุลสตรี ลีลาการพูดจะเนิบช้า ลงน้ำหนักทุกคำ คงความอ่อนหวาน อ่อนโยน แต่แม่พลอยฉบับนี้ การพูดจะฉับไวมากขึ้น พูดเร็วแต่ไม่รัว มีความหนักแน่นในน้ำเสียง อารมณ์ และอุดมการณ์
---------
พาร์ตวัยเด็กคือดี ให้ตายเถอะ น้องเสียงเพราะ เสียงใสมาก และเสียงคล้ายพินต้าที่เป็นออริจินอลแม่พลอยวัยเด็ก (นึกว่าพินต้ากลับมาเล่นอีกครั้ง ฮาาา) ส่วนพาร์ตวัยสาวก็ต่างจากที่ผ่านมาชัดเจน แม่พลอยฉบับจิ๊บ กุลธิดาฐ์ ค่อนข้างชัดเจนต่อความรู้สึก โดยเฉพาะที่นางมีใจให้คุณเปรม มีการเล่นตัวนิดหน่อยให้พองาม แต่ด้วยท่าทางและสายตา ชั้นดูชั้นก็รู้ว่าหล่อนชอบผู้ชายคนเน้!!! ก็จะมีเสน่ห์ไปอีกแบบหนึ่ง ประกอบกับคุณเปรมฉบับรอน ภัทรภณ ที่ก็ให้ความรู้สึกคนละแบบกับที่กัน นภัทรถ่ายทอดไว้ คุณเปรมกับแม่พลอยวัยหนุ่มสาวในเวอร์ชั่นนี้ก็เลยมีความน่ารัก กุ๊กกิ๊ก ตรงๆ ไม่อ้อมค้อม รักก็คือรัก ชอบก็คือชอบ
---------
สำหรับการตีความบทใหม่ในสี่แผ่นดินครั้งนี้ ตัวละครที่เราชอบที่สุดคือ “คุณเปรม” --- คุณเปรมฉบับนี้คือผู้ชายที่เข้าใจโลก เข้าใจสัจธรรมของการเปลี่ยนแปลง เป็นเสาหลักให้ครอบครัว โดยเฉพาะภรรยาอย่างแม่พลอยได้อย่างเข้มแข็ง แต่คุณเปรมก็ยังคงไม่ประมาทในชีวิต คุณเปรมเวอร์ชั่นนี้ สิ่งสำคัญจึงไม่ใช่แค่เป็นสามีที่ดี เป็นสามีที่ปกป้องภรรยาได้ หากแต่เป็นสามีที่พร้อมสอนภรรยาให้ไม่ประมาทในทุกช่วงชีวิต เพื่อที่หากวันหนึ่งตนลาลับหรือจากไป แม่พลอยจะได้ยืนหยัดได้อยู่ โดยไม่ล้มลงจนลุกไม่ไหวเพียงเพราะสูญเสียเสาหลักอย่างตนไป
---------
พาร์ตวัยผู้ใหญ่คืออบอุ่นมาก คุณเปรมนี่แหละคือผู้ใหญ่ที่เราๆ ต่างต้องการ ผู้ใหญ่ที่เข้าใจการเปลี่ยนแปลง เข้าใจคนรุ่นใหม่ ยอมรับทุกการเปลี่ยนแปลง ยิ่งการแสดงของคุณอุ้ย เกรียงไกร ยิ่งไม่ต้องพูดถึง มาแสดงในครั้งนี้คืออบอุ่น อ่อนโยน และทรงพลังมากกว่าทุกครั้งที่ผ่านมา พอถึงตอนที่คุณเปรมเสียชีวิต เลยเข้าใจพลอยมาก หากสถาบันกษัตริย์คือเสาหลักของคนไทยทั้งประเทศ คุณเปรมก็คือเสาหลักของคนในครอบครัวทั้งพลอยและลูกๆ (แต่ที่เสียดายคืออุตส่าห์ทำให้คุณเปรมเป็นผู้ใหญ่ที่เข้าใจทุกอย่างได้ดีขนาดนี้ เราว่าไม่จำเป็นเลยที่คุณเปรมจะไม่ชอบลูซิลล์ตอนที่นางเพิ่งกลับมา ให้พลอยเป็นฝ่ายไม่พอใจแล้วคุณเปรมเป็นคนให้เหตุผล เราว่าจะเข้ากับบทที่ปูมามากกว่า)
---------
ส่วนลูกๆ ตั้งแต่ลูกชายคนโตอย่าง “อ้น” กับการแสดงของอาร์ อาณัตพล แคสรุ่นลูกเพียงคนเดียวที่ได้เล่นบทเดิมมาทั้ง 4 เวอร์ชั่น! ถ้าจะไม่ดีก็ให้มันรู้ไปสิ --- อาร์เป็นอีกคนถ่ายทอดบทเดิมได้ดียิ่งกว่าเดิม อ้นในเวอร์ชั่นนี้ทั้งเข้มแข็ง แข็งแกร่งในความเป็นชายชาติทหาร รักสถาบันเหนือสิ่งใด และคอยปราม คอยห้าม เวลาเกิดความวุ่นวายในครอบครัว, แต่ในขณะเดียวกันอ้นก็ยังมีความเปราะบางเท่าๆ กับความเข้มแข็งนั้นเลย ความเจ็บปวดที่น้องชายต่างมารดาไม่ยอมรับตนเป็นพี่ ความเจ็บปวดที่น้องชายที่ตนรักเข้าร่วมทำลายสถาบันที่ตนศรัทธา และความเจ็บปวดที่คนไทยต้องลุกขึ้นมาฆ่ากันเอง --- อาร์ถ่ายทอดได้ดีมาก และไม่ยากเลยที่คนดูจะเสียน้ำตาให้ตัวละครตัวนี้
---------
ส่วนอัศรัญ มะ ในบท “อั้น” หนึ่งในทีมคณะราษฎร บทนี้เราตั้งใจมาดูเป็นพิเศษ เพราะอั้นเป็นตัวละครที่เราชอบที่สุด แถมไอซ์ ศรัณยูยังถ่ายทอดไว้ดีมาก ทำให้อั้นฉบับไอซ์เป็นอั้นในความทรงจำของเราเลย ซึ่งอัศรัญก็ทำได้ดี อั้นยังคงเป็นคนที่มั่นใจในตัวเอง ยึดมั่นในความคิด ในอุดมการณ์ของตนอย่างแรงกล้า ซึ่งบางครั้งอาจทำให้เขามองข้ามความเห็นที่ต่างไป แต่ด้วยการแสดงของเขา ด้วยการปรับแก้บทในครั้งนี้ ทำให้คนดูอย่างเราเข้าใจชัดเจนว่าในความร้ายๆ ของอั้น แต่ทุกการกระทำ อุดมการณ์ของเขาก็คือทำไปเพราะรักชาติ รักประเทศไทย และอยากพัฒนา อยากเปลี่ยนแปลงมันให้ดียิ่งขึ้น ตามประสาคนรุ่นใหม่ที่เห็นอะไรมามาก (บทที่เพิ่มมาให้อั้นทะเลาะกับลูซิลล์ อันนี้ดีมาก ปรบมือให้เลย มันเห็นเลยว่าอั้นเป็นคนรุ่นใหม่ที่ไม่ได้ชังชาติ)
---------
อัศรัญถ่ายทอดบทอั้นได้ดี ทำให้เราทั้งรัก ทั้งชื่นชม และหมั่นไส้ในตัวละครตัวนี้ สุดท้ายแล้วในความเข้มแข็ง ในความทะนง ความมั่นใจของผู้ชายคนหนึ่ง แต่แท้จริงแล้วอั้นก็มีมุมอ่อนแอเมื่ออุดมการณ์ที่ตนวาดหวัง เมื่อความฝันไม่เป็นดังใจ เมื่อทุกอย่างมันพังทลายก็คล้ายว่าชีวิตอั้นกำลังล้มเหลว (น่าเสียดายเพลงแสงที่เธอศรัทธา เราว่าพาร์ตนี้อัศรัญใช้มือเยอะไป มือมันเลยบังหน้า แล้วก็เคลื่อนไหวขึ้นลงเร็วมากจนความเศร้า ความน่าเห็นใจมันไม่มากเท่าตอนไอซ์เล่น) แต่ในภาพรวมคือเป็นอั้นที่ดีมาก น่าจะตรงใจคนรุ่นใหม่หลายคน
---------
และสุดท้ายคือมี “อ๊อด” ที่เวอร์ชั่นนี้เป็นปอ อรรณพ คนนี้ก็เล่นดี เป็นอ๊อดที่น่ารัก ทะเล้น แต่การถ่ายทอดของปอ อรรณพ ก็ทำให้คนดูรู้ว่าผู้ชายคนนี้มีความคิด เขาไม่ใช่แค่หนุ่มน้อยอ้อนแม่อย่างที่แสดงออกมา อ๊อดในเวอร์ชั่นนี้ก็ยังเป็นพลังใจหนึ่งเดียวในยามที่หัวใจแม่พลอยแหลกสลาย การจากไปของอ๊อดผ่านการเขียนจดหมายและมาหาแม่พลอยในฝันจึงจับใจคนดูอย่างเรา ครั้นเมื่อแม่พลอยได้สติ ก็ไม่ยากเลยที่คนดูจะเสียน้ำตาและใจสลายไปพร้อมกับแม่พลอย
---------
(มีต่อคอมเม้นที่ 1)
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้