สี่แผ่นดิน เป็นนวนิยายเรื่องยาวที่เล่าเรื่องราวผ่านชีวิตของตัวละครที่ชื่อ "พลอย" ตลอดระยะเวลาทั้งชีวิตของเธอ ผ่าน 4 รัชสมัย ตั้งแต่รัชกาลที่ 5 ถึง รัชกาลที่ 8
เรื่องราวชีวิตของแม่พลอยนั้น ผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย นวนิยายเรื่องนี้ แฝงไปด้วยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนั้น สอดแทรกด้วยคติธรรมต่างๆ ให้ขบคิด และตั้งคำถาม รวมถึงแนวคิดทางการเมืองที่ถ่ายทอดออกมาผ่านทางตัวละครลูกๆ ของแม่พลอย
ผมได้อ่านหนังสือ สี่แผ่นดิน เมื่อ 3 ปีก่อน ตอนที่รู้ว่าค่ายซีเนริโอ จะนำนวนิยายเรื่องนี้มาถ่ายทอดเป็นละครเวทีแบบละครเพลงซึ่งถือเป็นละครเรื่องยิ่งใหญ่ในปีนั้น
นวนิยายเรื่องนี้... ได้ให้ข้อคิด สัจธรรมในชีวิตต่างๆ มากมาย อ่านได้เรื่อยๆ โดยที่ผมไม่ได้ตะขิดตะขวงใจ ในความต่างกันสุดขั้วของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกษัตริย์เป็นใหญ่ และระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนเป็นใหญ่แม้แต่น้อยในเหตุการณ์ช่วงกลางๆ ของเรื่อง อาจจะด้วยความที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เป็นทั้งราชนิกูลและนักการเมือง จึงถ่ายทอดเรื่องราวแนวคิดทางการเมืองทั้ง 2 แนวนี้ออกมาได้อย่างกลมกลืน และเป็นกลาง หรืออาจจะด้วยประสบการณ์ในชีวิตของผมในขณะนั้นยังน้อยอยู่ จึงไม่สามารถจับข้อความที่ผู้แต่งต้องการสื่อเพื่อสนับสนุนระบอบเก่าอย่างที่มีหลายคนตั้งข้อสังเกต ผมสรุปว่า นวนิยายเรื่องนี้ เป็นนวนิยายที่ดีเรื่องหนึ่ง ถ่ายทอดความดีงามของทั้ง 2 ระบอบการปกครองของประเทศไทยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อได้อย่างงดงามน่าชื่นชม จึงตั้งหน้าตั้งตารอละครเวทีสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เมื่อปี 2554 อย่างใจจดจ่อ
การรับชมสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัลเมื่อ 3 ปีก่อนนั้น ผมได้รับความอิ่มเอมใจในความรักต่อพระมหากษัตริย์ที่ทำพระราชกรณียกิจต่างๆ ให้ประเทศชาติ รับรู้ถึงความรักของคุณเปรมที่มีต่อแม่พลอย ความรักของแม่พลอยที่มีต่อลูกๆ ความเปลี่ยนแปลงในชีวิต การมองทุกๆ วันที่ผ่านไปอย่างเข้าใจ การมองความงามในแต่ละวันที่มันเป็น เรียนรู้ที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับรู้ถึงความเอนเอียงในการสื่อสารมายังผู้ชมที่ละครหยิบยกมานำเสนอ ซึ่งในขณะนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ทำให้แต่ละตัวละครที่มีมิติจากที่ผมสัมผัสได้ในบทประพันธ์ กลับกลายเป็นตัวละครที่ไร้มิติ แยกดี-ชั่วกันอย่างเด่นชัด และนำเสนอประเด็นทางการเมืองที่ผิดแผกไปจากบทประพันธ์ ใส่ทัศนคติทางการเมืองของผู้จัด ผู้เขียนบทเข้าไปอย่างชัดแจ้ง ทำลายชั้นเชิงการนำเสนอที่กลมกลืนกันจากบทประพันธ์ไปอย่างสิ้นเชิง... นั่นเป็นเหตุผลที่สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัลเมื่อปี 2554 สร้างความเพลิดเพลิน สร้างรอยยิ้ม ความสะเทือนใจ ได้เพียงในโรงละครเท่านั้น แต่เมื่อออกมาจากโรงละครและถกเถียงประเด็นต่างๆ ที่ละครนำเสนอกับคนรอบข้าง กลับทำให้เรื่องสี่แผ่นดินนี้ไม่ติดตรึงอยู่ในหัวใจเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับเรื่อง ข้างหลังภาพ หรือ มิสไซง่อน ที่ผมเคยได้ดู มีเพียงเพลงประกอบละครเวทีเรื่องนี้ที่มีความไพเราะเท่านั้นที่ผมยังเปิดฟังอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อฟังไป... บางครั้งก็จะต้องเกิดการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาของเพลงที่ค่อนข้างเอนเอียงบ่อยครั้ง
การกลับมาของสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัลปี 2557 นี้ ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่ผมไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าใดนัก ทั้งเรื่องระยะห่างจากครั้งที่แล้วถึงครั้งนี้ค่อนข้างน้อย และความไม่ตรึงใจของละครเวทีเรื่องนี้ในครั้งที่ผ่านมา แต่ด้วยความเป็นคนชอบดูละครเวที และเห็นถึงข้อดีในอีกหลายๆ ด้านของละครเรื่องนี้ ทั้งเรื่องของเพลงที่มีความไพเราะ และข้อคิดต่างๆ ที่แฝงอยู่ จึงซื้อบัตรเข้าไปชม และต้องการรับรู้ว่า การดูละครเวทีแต่ละครั้ง มันให้ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากการกลับมาของสี่แผ่นดินในครั้งนี้... พี่บอยพูดประมาณว่า "บางทีละครมันไม่ได้เปลี่ยนไปหรอก แต่ประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของนักแสดง ของคนดูต่างหากที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้ได้รับความรู้สึกที่ต่างกัน"
ผ่านมา 3 ปี... ประสบการณ์ชีวิตของผมก็เพิ่มขึ้น และต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นของผมต่อละครเวทีสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล พ.ศ. 2557
สี่แผ่นดินพ.ศ. นี้ยังคงดำเนินเรื่องราวทั้งหลายเหมือนกับครั้งก่อน หากแต่ปรับให้กระชับขึ้น โดยการให้นักแสดงพูดเร็วขึ้น ซึ่งการปรับในครั้งนี้ โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าเสน่ห์ ความลุ่มลึกในแต่ละประโยคหายไปมาก แม้แต่เพื่อนของผมซึ่งเพิ่งมาดูครั้งแรกยังรู้สึกได้
มีหลายฉากที่ผมตั้งหน้าตั้งตารอที่จะรับชมอีกครั้ง เนื่องจากครั้งที่แล้ว เรื่องราวในฉากเหล่านี้ได้สร้างความประทับใจให้กับผม แต่มาในเวอร์ชั่นนี้กลับถูกเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นทั้งการนำเสนอ หรือ เนื้อหา เช่น
ฉากเปลี่ยนจากแม่พลอยวัยเด็กสู่วัยสาว เวอร์ชั่นนี้ผมรู้สึกว่าการเปลี่ยนนั้นไม่สร้างความต่อเนื่องและประทับใจเท่าใดนัก
ฉากขนมจีนแห่งบางปะอิน (อันนี้ผมค่อนข้างไม่แน่ใจว่าจำถูกหรือไม่ แต่รู้สึกว่าฉากนี้ในครั้งก่อน แม่พลอยได้รับจานขนมจีนที่คุณเปรมยื่นให้ ในขณะที่คุณเปรมร้องว่า "เธอรับจานที่เค้าส่งมา ไม่พูดอะไร" ซึ่งส่วนตัวสร้างความน่ารัก และเข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี แต่เวอร์ชั่นนี้ แม่พลอยไม่ได้จับจานขนมจีนบางปะอินที่คุณเปรมถือเลย)
ฉากที่แม่พลอยจะต้องลาเสด็จออกไปแต่งงาน เวอร์ชั่นก่อนเสด็จสั่งสอนแม่พลอยด้วยคำพูด ต่อด้วยการที่แม่พลอยร้องเพลงสายธารชีวิต รำพันกับตัวเอง อยากจะหยุดเวลาที่ดีๆ เหล่านี้ไว้ ถือเป็นเพลงที่ไพเราะ และเป็นเพลงโซโล่เดี่ยวของแม่พลอย ที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในชีวิตต่อจากนี้ หากแต่เวอร์ชั่นนี้ ช่วงท่อนแรกของเพลงถูกแปลงเนื้อไปให้เสด็จร้อง เพื่อบอกแม่พลอยถึงความห่วงและหวง แม่พลอยเหลือเพียงท่อนสุดท้ายสั้นๆ ให้ร้องเท่านั้น ซึ่งส่วนตัวก็โอเคกับเพลงของเสด็จ แต่หลังจากเพลงของเสด็จ ถ้าแม่พลอยร้องเพลงสายธารชีวิตตั้งแต่คำว่า "หยุด หวังจะหยุด" แบบเวอร์ชั่นก่อนคงจะดีไม่น้อย
ฉากแสดงความยินดีกับตาอั้นที่ได้เลื่อนตำแหน่งตอนเปิดองก์ 2 ถูกเปลี่ยนเพลงใหม่ จากเพลง Congratulations เป็นเพลง มากมาย ฉากนี้ได้ความรู้สึกแปลกใหม่ขึ้นมา แต่เนื้อเพลงผมรู้สึกว่าฟังไม่ค่อยออกเท่าไหร่ ทำให้ผมยังคงชอบฉากนี้ในเวอร์ชั่นก่อนมากกว่า
ฉากบทสรุป การเปลี่ยนเนื้อหาเพลงก่อนการตายของแม่พลอยทำได้ค่อนข้างดี แสดงให้เห็นว่าแม่พลอยได้จากโลกนี้ไป เข้าสู่โลกของความตาย ได้เข้าใจง่ายและชัดเจนกว่าเวอร์ชั่นก่อน แต่ตอนที่แม่พลอยพบกับคนที่ตายไปแล้ว ทั้งแม่ของตัวเอง ทั้งเสด็จ คุณเปรม ตาอ๊อด ผมชอบเนื้อเพลงของเวอร์ชั่นก่อนมากกว่า "ชีวิตเจ้าผ่านมา น่าชื่นชมและน่าภูมิใจ ผ่านเรื่องราวเช่นใด ทำหน้าที่ได้อย่างดี" ทำให้ฉากบทสรุปในพ.ศ. 2557 ขาดความตราตรึงใจลงไปค่อนข้างมากทีเดียว
และยังมีอีกหลายๆ ฉากที่มีการปรับเปลี่ยน ซึ่งสร้างความแปลกใหม่ แต่ขาดเสน่ห์ไปอย่างน่าเสียดาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ มุมมองทางการเมืองของเจ้าของกระทู้ เผื่อบางคนอยากข้าม
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้อย่างที่เกริ่นในตอนต้น... สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เวอร์ชั่น 2554 ผมได้รับรู้ถึงความไม่เป็นกลาง ความเอนเอียงในแนวคิดทางการเมืองที่ผู้สร้างพยายามสอดแทรกลงไป ซึ่งค่อนข้างแตกต่างจากบทประพันธ์ที่ผมเคยอ่าน ผมได้อ่านความเห็นจากหลากหลายกระทู้ว่า เราคิดมากเกินไป ผู้สร้างไม่ได้พยายามจะทำให้ตาอั้น คณะราษฎรเป็นคนเลวร้ายถึงขนาดนั้น ไม่ได้พยายามบอกว่าระบอบเดิม ดีกว่า ระบอบใหม่ขนาดนั้น ซึ่งมาครั้งนี้ ผมดูสี่แผ่นดินไป ผมก็พยายามมองในมุมมองที่เป็นกลาง สิ่งที่ผมเคยคิดว่าผู้สร้างพยายามทำให้ตาอั้นหรือคณะราษฎรดูเลวร้ายจากครั้งที่แล้ว มาครั้งนี้ผมเข้าใจมากขึ้น ดูเหตุผลของการที่ละครแสดงภาพออกมาแบบนั้นมากขึ้น ที่ตาอ้นบอกว่า พวกที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองถือเป็น “กบฏ” ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้องเพราะอำนาจสูงสุดในขณะนั้นอยู่ที่พระมหากษัตริย์ การที่บอกว่า “ที่ทำไปก็เพื่อตัวเอง ต้องการอำนาจก็เท่านั้น” อันนี้แม้ผมจะไม่ค่อยเห็นด้วยเท่าใดนัก เพราะการเปลี่ยนแปลงในครั้งนั้น ผมคิดว่าไม่ได้เป็นการเปลี่ยนแปลงไปเพื่อตัวเองเท่านั้น แต่ยังทำให้เป็นจุดเริ่มต้นของการให้ประชาชนทุกคนมีอำนาจเป็นของตัวเอง แต่เมื่อประโยคนั้นออกมาจากปากของตาอ้นซึ่งถูกสั่งสอนมาแบบนั้น ย่อมเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ การถกเถียงกันถึงความพร้อมในการเปลี่ยนแปลงมาเป็นประชาธิปไตยระหว่าง แม่พลอย ตาอั้น ตาอ๊อดนั้น แม้ในหนังสือตาอ๊อดจะเป็นคนอธิบายเรื่องการเมืองให้แม่พลอยเข้าใจ และแม่พลอยก็เป็นผู้รับฟัง แต่ในละครเวทีกลับเป็นการถกเถียงกันอย่างชัดเจน ฝ่ายหนึ่งคิดว่าพร้อม ฝ่ายหนึ่งว่ายังไม่พร้อม เวอร์ชั่นก่อนฉากนี้ผมรู้สึกว่าเป็นความชัดแจ้งที่ผู้สร้างเลือกที่จะบอกว่า ประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย ไม่ใช่แค่เหตุการณ์ในช่วงนั้น แต่ความคิดผมเหมือนกับบอกถึงปัจจุบันด้วย แต่มาเวอร์ชั่นนี้ ด้วยการปรับดนตรีใหม่ ไม่หนักแน่น รุนแรงเหมือนครั้งก่อน ทำให้การถกเถียงในประเด็นนี้ดูซอฟต์ลงไป และผมจึงไม่รู้สึกถึงความเอนเอียงเท่ากับครั้งก่อน มาถึงตอนนี้... ผมเริ่มโอเคกับการนำเสนอในครั้งใหม่ของผู้สร้าง เข้าใจสิ่งที่ละครต้องการสื่อมากขึ้น ความเอนเอียงที่ผมเคยรู้สึก ถูกประสบการณ์ที่ผ่านมาและการยอมรับเข้าใจในผู้สร้าง ทำให้ดูว่าเอนเอียงน้อยลงไป และดูละครอย่างสบายใจขึ้นมาก แต่พอถึงฉากที่เสวีบอกกับตาอั้นว่าเป็นคนเนรคุณ ทำตามอุดมการณ์ที่สูงส่ง ยอมเป็นคนโง่ที่ถูกหลอกใช้ให้ล้มล้างระบอบกษัตริย์ เพื่อให้คนที่ฉลาดกว่าขึ้นไปเสวยสุขบนอำนาจ และลงท้ายด้วยการสำนึกผิดของตาอั้น ก็ทำให้ชัดเจนในความไม่เป็นกลางของละครเรื่องนี้ เนื่องจากได้นำเสนอความเลวร้ายของระบอบหนึ่งเพียงอย่างเดียว นำเสนอความดีงามของระบอบหนึ่งเพียงอย่างเดียว แม้อาจจะด้วยข้อจำกัดทางวัฒนธรรมไทย แต่ไม่ควรเลยที่จะเลือกเสนอแต่เพียงด้านลบของสิ่งสิ่งหนึ่ง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง
โดยสรุป สี่แผ่นดินเวอร์ชั่นนี้เน้นความกระชับ และดำเนินเรื่องรวดเร็ว พูดเร็ว ทำให้ความละเมียดละไม ความซาบซึ้งจากเวอร์ชั่นก่อนหายไปเยอะพอสมควร ทั้งเรื่องราวในครอบครัว พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่สำคัญ อาจมีหลายคนที่ชื่นชอบในจังหวะการเดินเรื่องแบบนี้ที่ไม่น่าเบื่อ แต่คนที่เคยประทับใจในความละเมียดละไมของเวอร์ชั่นก่อนอาจจะต้องผิดหวัง เพราะจะไม่ได้เห็นในเวอร์ชั่นนี้ ซึ่งผมชอบแบบเดิมมากกว่า
นี่เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวของผมต่อละครเวทีเรื่องนี้เท่านั้น ความคิดของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันตามพื้นหลังความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ประสบการณ์ และประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ผมมองละครเวทีเรื่องนี้ในมุมข้างต้น แต่ประสบการณ์ของคุณที่ผ่านมา อาจจะทำให้มองละครเวทีเรื่องนี้ในอีกแบบหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงในเวอร์ชั่นปัจจุบันอาจทำให้คุณประทับใจเหมือนเก่า เฉยๆ เหมือนเก่า หรือผิดหวังเหมือนเก่า หรือ มันอาจจะทำให้คุณ ประทับใจมากกว่าเดิม หรือ ผิดหวังมากกว่าเดิมก็ได้ และนี่เอง... คือเสน่ห์ของละครเวที
มุมมองต่อ สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เสน่ห์ของละครเวที ประสบการณ์สร้างความแตกต่างที่เปลี่ยนไป
เรื่องราวชีวิตของแม่พลอยนั้น ผ่านการเปลี่ยนแปลงมากมาย นวนิยายเรื่องนี้ แฝงไปด้วยวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้ชีวิตของผู้คนในยุคสมัยนั้น สอดแทรกด้วยคติธรรมต่างๆ ให้ขบคิด และตั้งคำถาม รวมถึงแนวคิดทางการเมืองที่ถ่ายทอดออกมาผ่านทางตัวละครลูกๆ ของแม่พลอย
ผมได้อ่านหนังสือ สี่แผ่นดิน เมื่อ 3 ปีก่อน ตอนที่รู้ว่าค่ายซีเนริโอ จะนำนวนิยายเรื่องนี้มาถ่ายทอดเป็นละครเวทีแบบละครเพลงซึ่งถือเป็นละครเรื่องยิ่งใหญ่ในปีนั้น
นวนิยายเรื่องนี้... ได้ให้ข้อคิด สัจธรรมในชีวิตต่างๆ มากมาย อ่านได้เรื่อยๆ โดยที่ผมไม่ได้ตะขิดตะขวงใจ ในความต่างกันสุดขั้วของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งกษัตริย์เป็นใหญ่ และระบอบประชาธิปไตย ซึ่งประชาชนเป็นใหญ่แม้แต่น้อยในเหตุการณ์ช่วงกลางๆ ของเรื่อง อาจจะด้วยความที่หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ เป็นทั้งราชนิกูลและนักการเมือง จึงถ่ายทอดเรื่องราวแนวคิดทางการเมืองทั้ง 2 แนวนี้ออกมาได้อย่างกลมกลืน และเป็นกลาง หรืออาจจะด้วยประสบการณ์ในชีวิตของผมในขณะนั้นยังน้อยอยู่ จึงไม่สามารถจับข้อความที่ผู้แต่งต้องการสื่อเพื่อสนับสนุนระบอบเก่าอย่างที่มีหลายคนตั้งข้อสังเกต ผมสรุปว่า นวนิยายเรื่องนี้ เป็นนวนิยายที่ดีเรื่องหนึ่ง ถ่ายทอดความดีงามของทั้ง 2 ระบอบการปกครองของประเทศไทยช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อได้อย่างงดงามน่าชื่นชม จึงตั้งหน้าตั้งตารอละครเวทีสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล เมื่อปี 2554 อย่างใจจดจ่อ
การรับชมสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัลเมื่อ 3 ปีก่อนนั้น ผมได้รับความอิ่มเอมใจในความรักต่อพระมหากษัตริย์ที่ทำพระราชกรณียกิจต่างๆ ให้ประเทศชาติ รับรู้ถึงความรักของคุณเปรมที่มีต่อแม่พลอย ความรักของแม่พลอยที่มีต่อลูกๆ ความเปลี่ยนแปลงในชีวิต การมองทุกๆ วันที่ผ่านไปอย่างเข้าใจ การมองความงามในแต่ละวันที่มันเป็น เรียนรู้ที่จะยอมรับความเปลี่ยนแปลง แต่ในขณะเดียวกันก็ได้รับรู้ถึงความเอนเอียงในการสื่อสารมายังผู้ชมที่ละครหยิบยกมานำเสนอ ซึ่งในขณะนั้นผมคิดว่าเป็นเรื่องน่าเสียดาย ที่ทำให้แต่ละตัวละครที่มีมิติจากที่ผมสัมผัสได้ในบทประพันธ์ กลับกลายเป็นตัวละครที่ไร้มิติ แยกดี-ชั่วกันอย่างเด่นชัด และนำเสนอประเด็นทางการเมืองที่ผิดแผกไปจากบทประพันธ์ ใส่ทัศนคติทางการเมืองของผู้จัด ผู้เขียนบทเข้าไปอย่างชัดแจ้ง ทำลายชั้นเชิงการนำเสนอที่กลมกลืนกันจากบทประพันธ์ไปอย่างสิ้นเชิง... นั่นเป็นเหตุผลที่สี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัลเมื่อปี 2554 สร้างความเพลิดเพลิน สร้างรอยยิ้ม ความสะเทือนใจ ได้เพียงในโรงละครเท่านั้น แต่เมื่อออกมาจากโรงละครและถกเถียงประเด็นต่างๆ ที่ละครนำเสนอกับคนรอบข้าง กลับทำให้เรื่องสี่แผ่นดินนี้ไม่ติดตรึงอยู่ในหัวใจเท่าใดนัก เมื่อเทียบกับเรื่อง ข้างหลังภาพ หรือ มิสไซง่อน ที่ผมเคยได้ดู มีเพียงเพลงประกอบละครเวทีเรื่องนี้ที่มีความไพเราะเท่านั้นที่ผมยังเปิดฟังอยู่บ่อยๆ แต่เมื่อฟังไป... บางครั้งก็จะต้องเกิดการวิพากษ์วิจารณ์เนื้อหาของเพลงที่ค่อนข้างเอนเอียงบ่อยครั้ง
การกลับมาของสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัลปี 2557 นี้ ค่อนข้างจะเป็นเรื่องที่ผมไม่ค่อยตื่นเต้นเท่าใดนัก ทั้งเรื่องระยะห่างจากครั้งที่แล้วถึงครั้งนี้ค่อนข้างน้อย และความไม่ตรึงใจของละครเวทีเรื่องนี้ในครั้งที่ผ่านมา แต่ด้วยความเป็นคนชอบดูละครเวที และเห็นถึงข้อดีในอีกหลายๆ ด้านของละครเรื่องนี้ ทั้งเรื่องของเพลงที่มีความไพเราะ และข้อคิดต่างๆ ที่แฝงอยู่ จึงซื้อบัตรเข้าไปชม และต้องการรับรู้ว่า การดูละครเวทีแต่ละครั้ง มันให้ความรู้สึกแตกต่างกันอย่างไร เนื่องจากการกลับมาของสี่แผ่นดินในครั้งนี้... พี่บอยพูดประมาณว่า "บางทีละครมันไม่ได้เปลี่ยนไปหรอก แต่ประสบการณ์ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของนักแสดง ของคนดูต่างหากที่เปลี่ยนไป ซึ่งจะทำให้ได้รับความรู้สึกที่ต่างกัน"
ผ่านมา 3 ปี... ประสบการณ์ชีวิตของผมก็เพิ่มขึ้น และต่อไปนี้เป็นความคิดเห็นของผมต่อละครเวทีสี่แผ่นดิน เดอะมิวสิคัล พ.ศ. 2557
สี่แผ่นดินพ.ศ. นี้ยังคงดำเนินเรื่องราวทั้งหลายเหมือนกับครั้งก่อน หากแต่ปรับให้กระชับขึ้น โดยการให้นักแสดงพูดเร็วขึ้น ซึ่งการปรับในครั้งนี้ โดยส่วนตัวผมรู้สึกว่าเสน่ห์ ความลุ่มลึกในแต่ละประโยคหายไปมาก แม้แต่เพื่อนของผมซึ่งเพิ่งมาดูครั้งแรกยังรู้สึกได้
มีหลายฉากที่ผมตั้งหน้าตั้งตารอที่จะรับชมอีกครั้ง เนื่องจากครั้งที่แล้ว เรื่องราวในฉากเหล่านี้ได้สร้างความประทับใจให้กับผม แต่มาในเวอร์ชั่นนี้กลับถูกเปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็นทั้งการนำเสนอ หรือ เนื้อหา เช่น
ฉากเปลี่ยนจากแม่พลอยวัยเด็กสู่วัยสาว เวอร์ชั่นนี้ผมรู้สึกว่าการเปลี่ยนนั้นไม่สร้างความต่อเนื่องและประทับใจเท่าใดนัก
ฉากขนมจีนแห่งบางปะอิน (อันนี้ผมค่อนข้างไม่แน่ใจว่าจำถูกหรือไม่ แต่รู้สึกว่าฉากนี้ในครั้งก่อน แม่พลอยได้รับจานขนมจีนที่คุณเปรมยื่นให้ ในขณะที่คุณเปรมร้องว่า "เธอรับจานที่เค้าส่งมา ไม่พูดอะไร" ซึ่งส่วนตัวสร้างความน่ารัก และเข้ากับสถานการณ์ได้เป็นอย่างดี แต่เวอร์ชั่นนี้ แม่พลอยไม่ได้จับจานขนมจีนบางปะอินที่คุณเปรมถือเลย)
ฉากที่แม่พลอยจะต้องลาเสด็จออกไปแต่งงาน เวอร์ชั่นก่อนเสด็จสั่งสอนแม่พลอยด้วยคำพูด ต่อด้วยการที่แม่พลอยร้องเพลงสายธารชีวิต รำพันกับตัวเอง อยากจะหยุดเวลาที่ดีๆ เหล่านี้ไว้ ถือเป็นเพลงที่ไพเราะ และเป็นเพลงโซโล่เดี่ยวของแม่พลอย ที่แสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่จะเกิดขึ้นในชีวิตต่อจากนี้ หากแต่เวอร์ชั่นนี้ ช่วงท่อนแรกของเพลงถูกแปลงเนื้อไปให้เสด็จร้อง เพื่อบอกแม่พลอยถึงความห่วงและหวง แม่พลอยเหลือเพียงท่อนสุดท้ายสั้นๆ ให้ร้องเท่านั้น ซึ่งส่วนตัวก็โอเคกับเพลงของเสด็จ แต่หลังจากเพลงของเสด็จ ถ้าแม่พลอยร้องเพลงสายธารชีวิตตั้งแต่คำว่า "หยุด หวังจะหยุด" แบบเวอร์ชั่นก่อนคงจะดีไม่น้อย
ฉากแสดงความยินดีกับตาอั้นที่ได้เลื่อนตำแหน่งตอนเปิดองก์ 2 ถูกเปลี่ยนเพลงใหม่ จากเพลง Congratulations เป็นเพลง มากมาย ฉากนี้ได้ความรู้สึกแปลกใหม่ขึ้นมา แต่เนื้อเพลงผมรู้สึกว่าฟังไม่ค่อยออกเท่าไหร่ ทำให้ผมยังคงชอบฉากนี้ในเวอร์ชั่นก่อนมากกว่า
ฉากบทสรุป การเปลี่ยนเนื้อหาเพลงก่อนการตายของแม่พลอยทำได้ค่อนข้างดี แสดงให้เห็นว่าแม่พลอยได้จากโลกนี้ไป เข้าสู่โลกของความตาย ได้เข้าใจง่ายและชัดเจนกว่าเวอร์ชั่นก่อน แต่ตอนที่แม่พลอยพบกับคนที่ตายไปแล้ว ทั้งแม่ของตัวเอง ทั้งเสด็จ คุณเปรม ตาอ๊อด ผมชอบเนื้อเพลงของเวอร์ชั่นก่อนมากกว่า "ชีวิตเจ้าผ่านมา น่าชื่นชมและน่าภูมิใจ ผ่านเรื่องราวเช่นใด ทำหน้าที่ได้อย่างดี" ทำให้ฉากบทสรุปในพ.ศ. 2557 ขาดความตราตรึงใจลงไปค่อนข้างมากทีเดียว
และยังมีอีกหลายๆ ฉากที่มีการปรับเปลี่ยน ซึ่งสร้างความแปลกใหม่ แต่ขาดเสน่ห์ไปอย่างน่าเสียดาย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
โดยสรุป สี่แผ่นดินเวอร์ชั่นนี้เน้นความกระชับ และดำเนินเรื่องรวดเร็ว พูดเร็ว ทำให้ความละเมียดละไม ความซาบซึ้งจากเวอร์ชั่นก่อนหายไปเยอะพอสมควร ทั้งเรื่องราวในครอบครัว พระราชกรณียกิจต่างๆ ที่สำคัญ อาจมีหลายคนที่ชื่นชอบในจังหวะการเดินเรื่องแบบนี้ที่ไม่น่าเบื่อ แต่คนที่เคยประทับใจในความละเมียดละไมของเวอร์ชั่นก่อนอาจจะต้องผิดหวัง เพราะจะไม่ได้เห็นในเวอร์ชั่นนี้ ซึ่งผมชอบแบบเดิมมากกว่า
นี่เป็นแค่ความเห็นส่วนตัวของผมต่อละครเวทีเรื่องนี้เท่านั้น ความคิดของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันตามพื้นหลังความรู้ ความเข้าใจ ทัศนคติ ประสบการณ์ และประสบการณ์ที่ผ่านมา ทำให้ผมมองละครเวทีเรื่องนี้ในมุมข้างต้น แต่ประสบการณ์ของคุณที่ผ่านมา อาจจะทำให้มองละครเวทีเรื่องนี้ในอีกแบบหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงในเวอร์ชั่นปัจจุบันอาจทำให้คุณประทับใจเหมือนเก่า เฉยๆ เหมือนเก่า หรือผิดหวังเหมือนเก่า หรือ มันอาจจะทำให้คุณ ประทับใจมากกว่าเดิม หรือ ผิดหวังมากกว่าเดิมก็ได้ และนี่เอง... คือเสน่ห์ของละครเวที