เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่า เรื่องการแพทย์ของไทยนั้นค่อนข้างเป็นหัวแถวในระดับภูมิภาคเอเชียอยู่แล้ว
และยังมีการวิจัยพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์กันอย่างต่อเนื่อง และนำมาใช้จริง ต่อไปเมื่อแพร่หลายแล้วก็ส่งออกต่างประเทศได้ด้วย
กรมการแพทย์เผยโฉม ‘หุ่นยนต์ผ่าตัดสมอง’ เครื่องแรกในประเทศไทย ที่จะช่วยผู้ป่วยโรคลมชักและอื่นๆ สามารถระบุตำแหน่งในสมองได้แม่นยำ และยังลดเวลาในการผ่าตัดจากปกติ 8-10 ชั่วโมง ให้เหลือเพียง 6 ชั่วโมง
วันที่ 13 ธ.ค. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วานนี้ (12 ธ.ค. 62) กรมการแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขไทย เผยโฉมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมองในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักเครื่องแรกของประเทศ โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้การทำงานของสมองผิดปกติ จึงเกิดอาการชักหรือมีพฤติกรรมและความรู้สึกผิดปกติเป็นบางช่วง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดนี้ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันประสาทวิทยาซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกรมฯ สามารถระบุตำแหน่งในสมองได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังลดระยะเวลาในการผ่าตัดจากปกติที่ 8-10 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 6 ชั่วโมง หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถช่วยผ่าตัดโรคความผิดปกติทางสมองอื่นๆ อาทิ โรคพาร์กินสัน เราได้ใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดผู้ป่วยโรคลมชักที่มีความซับซ้อนแล้วจำนวน 4 ราย ไทยมีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 500,000 ราย โดยผู้ป่วยเกือบ 150,000 รายดื้อยาต้านอาการชัก ขณะที่ครึ่งหนึ่งสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบมาตรฐาน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดสมอง กล่าวว่าการผ่าตัดสมองนั้นค่อนข้างมีความสลักซับซ้อน จึงจำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุจุดกำเนิดความผิดปกติในสมอง
เมื่อปี 2017 ไทยคือประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ผ่าตัดสมองในผู้ป่วยและประสบความสำเร็จ โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี
เป็นไปได้การวิจัยพัฒนาเพื่อใช้งานจริง “หุ่นยนต์ผ่าตัดสมอง” ช่วยผู้ป่วยลมชักเครื่องแรกในประเทศไทย
และยังมีการวิจัยพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์กันอย่างต่อเนื่อง และนำมาใช้จริง ต่อไปเมื่อแพร่หลายแล้วก็ส่งออกต่างประเทศได้ด้วย
กรมการแพทย์เผยโฉม ‘หุ่นยนต์ผ่าตัดสมอง’ เครื่องแรกในประเทศไทย ที่จะช่วยผู้ป่วยโรคลมชักและอื่นๆ สามารถระบุตำแหน่งในสมองได้แม่นยำ และยังลดเวลาในการผ่าตัดจากปกติ 8-10 ชั่วโมง ให้เหลือเพียง 6 ชั่วโมง
วันที่ 13 ธ.ค. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า วานนี้ (12 ธ.ค. 62) กรมการแพทย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุขไทย เผยโฉมหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดสมองในผู้ป่วยที่เป็นโรคลมชักเครื่องแรกของประเทศ โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ส่งผลให้การทำงานของสมองผิดปกติ จึงเกิดอาการชักหรือมีพฤติกรรมและความรู้สึกผิดปกติเป็นบางช่วง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ระบุว่า หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดนี้ได้รับการพัฒนาโดยสถาบันประสาทวิทยาซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดกรมฯ สามารถระบุตำแหน่งในสมองได้อย่างแม่นยำ ทั้งยังลดระยะเวลาในการผ่าตัดจากปกติที่ 8-10 ชั่วโมงให้เหลือเพียง 6 ชั่วโมง หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถช่วยผ่าตัดโรคความผิดปกติทางสมองอื่นๆ อาทิ โรคพาร์กินสัน เราได้ใช้หุ่นยนต์ผ่าตัดผู้ป่วยโรคลมชักที่มีความซับซ้อนแล้วจำนวน 4 ราย ไทยมีผู้ป่วยโรคลมชักประมาณ 500,000 ราย โดยผู้ป่วยเกือบ 150,000 รายดื้อยาต้านอาการชัก ขณะที่ครึ่งหนึ่งสามารถเข้ารับการรักษาด้วยการผ่าตัดแบบมาตรฐาน ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญการผ่าตัดสมอง กล่าวว่าการผ่าตัดสมองนั้นค่อนข้างมีความสลักซับซ้อน จึงจำเป็นต้องใช้หุ่นยนต์เข้าช่วยเพื่อเพิ่มความแม่นยำในการระบุจุดกำเนิดความผิดปกติในสมอง
เมื่อปี 2017 ไทยคือประเทศแรกในทวีปเอเชียที่ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ผ่าตัดสมองในผู้ป่วยและประสบความสำเร็จ โดยโรงพยาบาลรามาธิบดี