สืบเนื่องจากมีกระทู้หนึ่ง ตั้งคำถามว่า
กาละมสูตรอยู่ในตำรา กาลมสูตรบอกห้ามเชื่อโดยอ้างตำรา นั้นก็ห้ามเชื่อกาลมสูตรด้วยใช่ไหม แล้วก็มีสมาชิกหลายท่านเข้ามาแสดงความเห็น
ซึ่งผมมีความรู้สึกว่า ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด ไม่เข้าใจจุดประสงค์จริงๆ ของกาลามสูตรเลย เป็นที่น่าแปลกใจมาก ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า กาลามสูตร หมายถึง อย่าเพิ่งเชื่ออะไรจนกว่าจะะพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ จึงค่อยเชื่อ ประมาณนี้
ตอนแรกผมตั้งใจจะแสดงความเห็นที่กระทู้ดังกล่าว แต่คิดว่าถ้าตั้งเป็นกระทู้ใหม่เลยน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า เพราะบางท่านอาจจะไม่ได้เข้าไปอ่านกระทู้นั้น
ก่อนอื่น สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างแรก เพราะมีเด็กจำนวนมากนำไปใช้ นั่นคือ กาลามสูตร ไม่ได้สอนให้คน "ห้ามเชื่อ"
ยิ่งถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรา เราจำเป็น "
ต้องเชื่อ" ด้วยซ้ำ
ดังนั้น ใครที่บอกว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่า(เพิ่ง)เชื่ออะไร ไม่ว่าจะเป็นครูบาอาจารย์ จะเป็นตำรา หรือเป็นสิ่งที่คนเล่าขานกันมา ฯลฯ ต้องพิสูจน์ให้เห็นความจริงก่อน ถือว่าเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า
เรื่องเชื่อใครไม่เชื่อใคร เราไม่จำเป็นต้องให้พระพุทธเจ้ามาบอกเรา แม้แต่เด็กอนุบาล บางเรื่องก็พอจะรู้ว่าควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ ยิ่งโตขึ้นมาก็ยิ่งมีวิจารณญาณมากขึ้น ใช้ดุลยพินิจมากขึ้น เป็นสิ่งปกติของมนุษย์ทุกคนบนโลกอยู่แล้ว
หรืออย่างเรื่องพระเจ้า หรือการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพระพุทธเจ้าไปสอนคนอื่นว่าอย่าเชื่ออะไรจนกว่าจะพิสูจน์ให้ได้ก่อน ก็เท่ากับว่าอย่าเชื่อเรื่องพวกนี้เลย เพราะไม่มีทางพิสูจน์ได้แน่
แต่สิ่งสำคัญของกาลามสูตร อยู่ตรงคำว่า "อย่าปลงใจเชื่อ" ผมขอไม่พูดถึงภาษาบาลีว่าใช้คำว่าอะไร แต่เมื่อมีการแปลเป็นภาษาไทยก็ใช้คำนี้ ซึ่งคิดคำขึ้นโดยครูบาอาจารย์ ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิด หลวงพ่อประยุทธ์ ปยุตโตก็เป็นหนึ่งในนั้น และมีการเปลี่ยนมาหลายครั้งแล้ว หรือหลวงพ่อปยุตโตท่านยังบอกด้วยว่า ยังมีคำอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า
แล้วคำว่า "อย่าปลงใจเชื่อ" หมายความว่าอย่างไร?
ยกตัวอย่าง มีสมาชิกท่านหนึ่ง ผมขอไม่เอ่ยนามก็แล้วกัน มีความเลื่อมใสศรัทธาในตัวครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งอย่างหมดหัวใจ ไม่ยอมฟังใครเลย ใครพูดอะไรก็ไม่สนใจ ไม่ฟัง ไม่อะไรทั้งสิ้น ใครมาว่าครูบาอาจารย์ของตนจะด่าหมด
แบบนี้เรียกว่า "ปลงใจเชื่อ" ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามไว้
ถามว่า แล้วการที่สมาชิกท่านนั้นเชื่อถือครูบาอาจารย์อย่างเต็มเปี่ยม อย่างสุดหัวใจ ถูกต้องหรือไม่?
คำตอบคือ ถูกต้อง และไม่ใช่เพียงถูกต้องเท่านั้น เป็นสิ่งที่เราทุกคนก็ต้องเป็นแบบนั้นด้วยเช่นกัน เมื่อเราเรียนหนังสือกับครูบาอาจารย์คนใด เราก็ต้องตั้งใจ ต้องเชื่อฟัง แม้จะไม่ถึงกับหมดหัวใจ แต่ต้องเชื่อฟัง เพราะเราเลือกมาเรียนโรงเรียนนี้แล้ว และถึงอย่างไร กว่าที่พวกเขาจะมาเป็นครูบาอาจารย์เรา ก็ต้องผ่านการคัดเลือก ถ้าเป็นการศึกษาก็จากทางโรงเรียน รวมถึงจากตัวเราที่เลือกเองด้วย
แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรา หรือในกาลามสูตร นั่นก็คือ "อย่าปิดโอกาสที่จะรับฟังผู้อื่น" ยกตัวอย่างสมาชิกท่านดังกล่าวที่ผมยกมาพูดถึงก่อนหน้านี้ เชื่อครูบาอาจารย์ของตนเพียงอย่างเดียว ไม่เปิดใจ ไม่เปิดโอกาส ไม่รับฟังสิ่งใดเลย (หากสิ่งนั้นไม่ตรงกับที่อาจารย์ของงตนสอน) นี่คือสิ่งที่พระองค์ห้าม
หรืออีกตัวอย่าง มีชาวบ้านซึ่งอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทุกคนบอกว่า อย่าขึ้นไปบนภูเขาเพราะมีสิ่งที่เป็นอันตราย ถามว่า เราควรเชื่อหรือไม่?
แน่นอนว่า เมื่อชาวบ้านทุกคน ไม่ใช่แค่คนเดียว บอกอย่างนั้น เราก็ต้องเชื่อไว้ก่อน
แต่เมื่อมีคนที่เราอาจจะมีความเชื่อถือ เช่น พ่อของเราเอง มาบอกเราว่า "พ่อเคยแอบขึ้นไปแล้ว ไม่มีอะไรหรอกลูก" เราจะยืนยันว่า มันต้องมีอะไรสิ เพราะชาวบ้านเขาบอกกัน ถ้าแบบนี้เรียกว่า เราปลงใจเชื่อชาวบ้าน ไม่ฟังใครแล้ว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว พระพุทธเจ้าให้เราเน้นที่การทำสิ่งที่เป็นกุศล และละสิ่งที่เป็นอกุศล หากสิ่งที่เป็นความเชื่อนั้น สามารถพิสูจน์ได้ ก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นความจริง แต่หากสิ่งนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ เช่น เรื่องหลังความตาย ก็ให้พิจารณาว่าสิ่งที่ทำ(ตามความเชื่อ)นั้นเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นอกุศล (เช่น การฆ่าคนบูชายันต์) แบบนี้ไม่ควรทำ แต่ถ้าเป็นกุศลก็ทำไป เป็นต้น
ก็หวังว่าพวกเราจะเข้าใจจุดประสงค์ของกาลามสูตรกันมากขึ้น
ทำความเข้าในหลักกาลามสูตรให้ถูกต้อง
ซึ่งผมมีความรู้สึกว่า ส่วนใหญ่หรือแทบทั้งหมด ไม่เข้าใจจุดประสงค์จริงๆ ของกาลามสูตรเลย เป็นที่น่าแปลกใจมาก ส่วนใหญ่จะเข้าใจว่า กาลามสูตร หมายถึง อย่าเพิ่งเชื่ออะไรจนกว่าจะะพิสูจน์ให้เห็นความจริงได้ จึงค่อยเชื่อ ประมาณนี้
ตอนแรกผมตั้งใจจะแสดงความเห็นที่กระทู้ดังกล่าว แต่คิดว่าถ้าตั้งเป็นกระทู้ใหม่เลยน่าจะเกิดประโยชน์มากกว่า เพราะบางท่านอาจจะไม่ได้เข้าไปอ่านกระทู้นั้น
ก่อนอื่น สิ่งที่ต้องทำความเข้าใจเป็นอย่างแรก เพราะมีเด็กจำนวนมากนำไปใช้ นั่นคือ กาลามสูตร ไม่ได้สอนให้คน "ห้ามเชื่อ"
ยิ่งถ้าเป็นครูบาอาจารย์ของเรา เราจำเป็น "ต้องเชื่อ" ด้วยซ้ำ
ดังนั้น ใครที่บอกว่า พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่า(เพิ่ง)เชื่ออะไร ไม่ว่าจะเป็นครูบาอาจารย์ จะเป็นตำรา หรือเป็นสิ่งที่คนเล่าขานกันมา ฯลฯ ต้องพิสูจน์ให้เห็นความจริงก่อน ถือว่าเป็นการกล่าวตู่พระพุทธเจ้า
เรื่องเชื่อใครไม่เชื่อใคร เราไม่จำเป็นต้องให้พระพุทธเจ้ามาบอกเรา แม้แต่เด็กอนุบาล บางเรื่องก็พอจะรู้ว่าควรเชื่อหรือไม่ควรเชื่อ ยิ่งโตขึ้นมาก็ยิ่งมีวิจารณญาณมากขึ้น ใช้ดุลยพินิจมากขึ้น เป็นสิ่งปกติของมนุษย์ทุกคนบนโลกอยู่แล้ว
หรืออย่างเรื่องพระเจ้า หรือการเวียนว่ายตายเกิด ถ้าพระพุทธเจ้าไปสอนคนอื่นว่าอย่าเชื่ออะไรจนกว่าจะพิสูจน์ให้ได้ก่อน ก็เท่ากับว่าอย่าเชื่อเรื่องพวกนี้เลย เพราะไม่มีทางพิสูจน์ได้แน่
แต่สิ่งสำคัญของกาลามสูตร อยู่ตรงคำว่า "อย่าปลงใจเชื่อ" ผมขอไม่พูดถึงภาษาบาลีว่าใช้คำว่าอะไร แต่เมื่อมีการแปลเป็นภาษาไทยก็ใช้คำนี้ ซึ่งคิดคำขึ้นโดยครูบาอาจารย์ ซึ่งถ้าผมเข้าใจไม่ผิด หลวงพ่อประยุทธ์ ปยุตโตก็เป็นหนึ่งในนั้น และมีการเปลี่ยนมาหลายครั้งแล้ว หรือหลวงพ่อปยุตโตท่านยังบอกด้วยว่า ยังมีคำอื่นที่อาจจะเหมาะสมกว่า
แล้วคำว่า "อย่าปลงใจเชื่อ" หมายความว่าอย่างไร?
ยกตัวอย่าง มีสมาชิกท่านหนึ่ง ผมขอไม่เอ่ยนามก็แล้วกัน มีความเลื่อมใสศรัทธาในตัวครูบาอาจารย์ท่านหนึ่งอย่างหมดหัวใจ ไม่ยอมฟังใครเลย ใครพูดอะไรก็ไม่สนใจ ไม่ฟัง ไม่อะไรทั้งสิ้น ใครมาว่าครูบาอาจารย์ของตนจะด่าหมด
แบบนี้เรียกว่า "ปลงใจเชื่อ" ซึ่งเป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสห้ามไว้
ถามว่า แล้วการที่สมาชิกท่านนั้นเชื่อถือครูบาอาจารย์อย่างเต็มเปี่ยม อย่างสุดหัวใจ ถูกต้องหรือไม่?
คำตอบคือ ถูกต้อง และไม่ใช่เพียงถูกต้องเท่านั้น เป็นสิ่งที่เราทุกคนก็ต้องเป็นแบบนั้นด้วยเช่นกัน เมื่อเราเรียนหนังสือกับครูบาอาจารย์คนใด เราก็ต้องตั้งใจ ต้องเชื่อฟัง แม้จะไม่ถึงกับหมดหัวใจ แต่ต้องเชื่อฟัง เพราะเราเลือกมาเรียนโรงเรียนนี้แล้ว และถึงอย่างไร กว่าที่พวกเขาจะมาเป็นครูบาอาจารย์เรา ก็ต้องผ่านการคัดเลือก ถ้าเป็นการศึกษาก็จากทางโรงเรียน รวมถึงจากตัวเราที่เลือกเองด้วย
แต่สิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงสอนเรา หรือในกาลามสูตร นั่นก็คือ "อย่าปิดโอกาสที่จะรับฟังผู้อื่น" ยกตัวอย่างสมาชิกท่านดังกล่าวที่ผมยกมาพูดถึงก่อนหน้านี้ เชื่อครูบาอาจารย์ของตนเพียงอย่างเดียว ไม่เปิดใจ ไม่เปิดโอกาส ไม่รับฟังสิ่งใดเลย (หากสิ่งนั้นไม่ตรงกับที่อาจารย์ของงตนสอน) นี่คือสิ่งที่พระองค์ห้าม
หรืออีกตัวอย่าง มีชาวบ้านซึ่งอยู่ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ทุกคนบอกว่า อย่าขึ้นไปบนภูเขาเพราะมีสิ่งที่เป็นอันตราย ถามว่า เราควรเชื่อหรือไม่?
แน่นอนว่า เมื่อชาวบ้านทุกคน ไม่ใช่แค่คนเดียว บอกอย่างนั้น เราก็ต้องเชื่อไว้ก่อน
แต่เมื่อมีคนที่เราอาจจะมีความเชื่อถือ เช่น พ่อของเราเอง มาบอกเราว่า "พ่อเคยแอบขึ้นไปแล้ว ไม่มีอะไรหรอกลูก" เราจะยืนยันว่า มันต้องมีอะไรสิ เพราะชาวบ้านเขาบอกกัน ถ้าแบบนี้เรียกว่า เราปลงใจเชื่อชาวบ้าน ไม่ฟังใครแล้ว เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม สุดท้ายแล้ว พระพุทธเจ้าให้เราเน้นที่การทำสิ่งที่เป็นกุศล และละสิ่งที่เป็นอกุศล หากสิ่งที่เป็นความเชื่อนั้น สามารถพิสูจน์ได้ ก็ต้องพิสูจน์ให้เห็นความจริง แต่หากสิ่งนั้นไม่สามารถพิสูจน์ได้ เช่น เรื่องหลังความตาย ก็ให้พิจารณาว่าสิ่งที่ทำ(ตามความเชื่อ)นั้นเป็นกุศลหรืออกุศล ถ้าเป็นอกุศล (เช่น การฆ่าคนบูชายันต์) แบบนี้ไม่ควรทำ แต่ถ้าเป็นกุศลก็ทำไป เป็นต้น
ก็หวังว่าพวกเราจะเข้าใจจุดประสงค์ของกาลามสูตรกันมากขึ้น