มะเขือเทศสีดำต้นแรกในอังกฤษ
มะเขือเทศสีดำนี้ได้ชื่อว่าเป็นมะเขือเทศสีดำต้นแรกในประเทศอังกฤษ
ปลูกโดย MR.Ray Brown เจ้าของศูนย์เพาะพันธุ์พืชในประเทศอังกฤษ เขาได้รับพันธุ์มาจากลูกค้าคนหนึ่งจึงได้ทดลองปลูก ลักษณะของมะเขือเทศข้างนอกจะเป็นสีดำ ส่วนเนื้อข้างในยังเป็นสีแดงเหมือนมะเขือเทศทั่วไป
ในมะเขือนี้มีสารแอนโธไซยานินและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ ซึ่งเขาได้ทำการเพาะปลูกเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
สำหรับมะเขือเทศสีดำนั้นเชื่อว่าได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ
ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี
กล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือก
กล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือกโดยฟาร์มในประเทศญี่ปุ่น D & T Farm ในจังหวัดโอะกะยะมะ ตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนากล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือก โดยถูกตั้งชื่อว่า The Mongee Banana เป็นกล้วยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก DNA กล้วยโบราณ
ทาง D & T Farm ได้ใช้เทคนิคพิเศษ “Freeze Thaw Awakening” ที่เหมือนย้อนไปยุคน้ำแข็งประมาณ 20,000 ปีก่อน เมื่อพืชเติบโตมาจากอุณหภูมิที่หนาวจัด พืชก็จะเติบโตเร็วกว่าปกติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกล้วยจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงสามารถออกลูกทานได้ แต่วิธีนี้ทำให้กล้วยโตและออกผลได้ภายในเวลา 4 เดือน
อย่างไรก็ตาม The Mongee Banana สามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้เพียงสัปดาห์ละ 10 ลูก ทำให้เป็นกล้วยที่มีราคาแพง
โดยราคาตกลูกละ 648 เยน หรือราว 6 ดอลลาร์สหรัฐ
ลักษณะของกล้วยเมื่อทานพร้อมกับเปลือกจะหวานกว่ากล้วยปกติ
Hollow heart เป็นชื่อเรียกของรอยร้าวที่เกิดขึ้นในเนื้อแตงโม
Hollow heart เป็นชื่อเรียกของรอยร้าวที่เกิดขึ้นในแตงโม ที่มีลักษณะคล้ายกับหัวใจ โดย Gordon Johnson ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ รัฐเดลาแวร์ สหรัฐอเมริกา เผยว่ารอยแตกนี้เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของแตงโม
โดยเปลือกจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการผสมเกสร และสภาพอากาศในระหว่างการผสมเกสร โดยแตกร้าวนี้ไม่มีผลกระทบต่อรสชาติของแตงโมสามารถบริโภคได้
แตงโมเป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่
แตงโมเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น จะช่วยลดอาการปวด ไข้ คอแห้ง บรรเทาแผลในปาก เปลือกแตงโมนำไปต้มเดือด แล้วเติมน้ำตาลทราย ดื่มเพื่อป้องกันเจ็บคอ กินเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำอาหาร เช่น แกงส้ม ในเวียดนาม นิยมรับประทานเมล็ดแตงโมในเทศกาลปีใหม่
Ackee ผลไม้มีพิษ แต่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร
Ackee ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอาหารที่อันตรายแต่ยังเป็นที่นิยมอยู่ Ackee มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Blighia sapida เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกของแอฟริกา และเป็นผลไม้ประจำชาติประเทศจาเมกา
หากใครที่ไม่รู้ถึงวิธีการรับประทานที่ถูกต้องนั้นอาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต การรับประทานที่ปลอดภัยนั้นต้องรอให้ผลสุกจนกลายเป็นสีแดง และผลิออกจนเห็นเม็ดในสีดำ แล้วค่อยนำส่วนที่เป็นสีขาวมาปรุงเป็นอาหาร
ackee เป็นวัตถุดิบสำคัญในเมนู ackee and saltfish ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติจาเมกา แม้จะเป็นพืชที่สามารถทานได้ แต่ในเมล็ดของ ackee มีสารเคมีที่มีชื่อว่า Hypoglycin A และ Hypoglycin ฺB หากกินไป จะทำให้เกิดอาการทางการแพทย์ที่เรียกว่า Jamaican vomiting sickness ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ยูคาลิปตัสสีรุ้ง
ยูคาลิปตัสสีรุ้ง (Rainbow Eucalyptus) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “มินดาเนากัม” คือ ต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งที่พบได้ใน เกาะนิวกินี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก,พื้นที่เกาะนิวบริเทน, รวมไปถึงพื้นที่เกาะเซรัม เกาะซูลาเวซี เกาะในประเทศอินโดนีเซีย และ เกาะมินดาเนาเกาะในประเทศฟิลิปปินส์
ยูคาลิปตัสสีรุ้ง เป็นพืชขนาดใหญ่ที่มีความสูงมากกว่า 70 เมตร เดิมทีต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งแรกเริ่มจะมีลำต้นสีเขียว และเนื่องจากต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งมีเปลือกหลายชั้นและหลากสี โดยเรียงสีจาก สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีม่วง สีม่วงเข้มแกมน้ำตาล ตามลำดับ และเมื่อเปลือกนอกเริ่มถลอกสีที่อยู่ตามชั้นต่างๆ ก็จะเผยออกมาจนก่อให้เกิดต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในที่สุด
Bloodwood ต้นไม้ลึกลับที่มีความหวาดกลัว และหลั่งเลือดได้
จริงหรือที่ต้นไม้ไร้ความรู้สึก พบกับต้นไม้ที่มีความหวาดกลัว และหลั่งเลือดได้ มันคือต้น Bloodwood
อาจเป็นความเชื่อของคนจำนวนมากที่เชื่อว่าต้นไม้และพืชใบเขียวทั้งหลายนั้นไร้ความรู้สึก และเผลอๆ อาจจะไม่เจ็บปวดเหมือนสิ่งมีชีวิตที่มีเลือดทั่วไป
แต่ถ้าได้รู้จักกับต้นไม้ท้องถิ่นของแอฟริกาที่ชื่อว่า Bloodwood คงต้องทบทวนความคิดนี้กันใหม่ เพราะนอกจากมันจะเป็นต้นไม้ที่หลั่งเลือดได้แล้ว ยังแสดงความเจ็บปวดออกมาได้เหมือนสิ่งมีชีวิตอีกต่างหาก จริงๆแล้วที่บอกว่าเป็นการหลั่งเลือดนั้น ก็เป็นแค่ยางไม้ที่ต้นไม้ขับออกมาเท่านั้น
แต่จากข้อมูลของ Institute for Applied Physics at the University of Bonn ในเยอรมนีพบว่าการปล่อยยางของต้น Bloodwood นั้นจากจะแปรผันตามขนาดของรอยตัดแล้ว ทุกครั้งที่ตัดจะมีเสียงเบาๆออกมาจากต้นไม้ได้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Georgia ที่ทำการตรวจสอบสารเคมีต่างๆ จากลำตัน ใบ และรากของต้นไม้ที่มักเปลี่ยนไปเมื่อถูกคุกคาม และจากการตรวจสอบเจ้าต้น Bloodwood นี้ พบว่ามันมีปฏิกริยาเคมีที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรงมาก ราวกับว่ากำลังแสดงความกลัวต่อสิ่งที่มันกำลังจะเผชิญ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณยางที่หลั่งออกมาด้วย
Jigsaw puzzles in the sky
พืชที่มีลำต้นสูงใหญ่นี้ชื่อว่า Dryobalanops aromatica Gaertn. เป็นพืชในตระกูล Dipterocarpaceae ตัวต้นไม้เข้าใจว่าไม่ได้ถูกบัญญัติชื่อไทยไว้ (มาเลเซีย เรียก Kapur) ในตำรายาแผนโบราณส่วนใหญ่จะเอ่ยถึงแต่สิ่งที่สกัดได้จากเจ้าพืชต้นใหญ่นี้ว่า พิมเสน
เพราะหากเรียกว่าต้นพิมเสนอาจเกิดความสับสน ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้นพิมเสน นั้นยังหมายถึงพืชอีกชนิด เป็นไม้เนื้ออ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ตระกูล Labiatae ซึ่งเจ้าต้นนี้ สกัดได้น้ำมันหอมระเหย ที่ฝรั่งเรียกว่า Patchouli
คนไทยเรารู้จักพิมเสนกันมานาน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับพิมเสนกลับไม่มีให้ค้นคว้ามากนัก เพราะต้นไม้ที่ให้พิมเสนนี้ เป็นพืชเฉพาะถิ่นที่ขึ้นอยู่แต่เฉพาะในเขตป่าของเกาะสุมาตรา บอร์เนียว และคาบสมุทรมาเลเซีย ในอดีตยางและน้ำมันจากเปลือกพืชที่ให้พิมเสนนี้ จะถูกส่งไปที่ประเทศญี่ปุ่นและจีน เพื่อใช้ทำยา
มีเรื่องราวน่ารักและน่าทึ่งเกี่ยวกับเจ้าต้นไม้ที่ให้พิมเสน ก็คือ พืชชนิดนี้ได้สมญาว่าเป็น Jigsaw puzzles in the sky ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่น่าแปลก ว่ากิ่งก้านของที่แม้จะแน่นหนาอย่างไร ก็ไม่มีวันที่จะทับซ้อนกันเลย และทุกๆ ส่วนของต้นไม้นี้ ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ หรือแม้กระทั่งดอกกระจิ๋วหลิ๋ว สีขาว ก็จะหอมอวลไปด้วย Camphor oil
ดอกเดซี่กลายพันธุ์
นี่คือภาพ “ดอกเดซี่” กลายพันธุ์ซึ่งอ้างว่าถูกพบใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะซึ่งถูกทำลายจากภัยสึนามิเมื่อปี 2011
ดอกไม้ด้านขวาเติบโตขึ้นก่อนแยกออกเป็น 2 ลำต้น ซึ่งแต่ละดอกได้ผูกติดกันจนมีรูปร่างคล้ายกับหัวเข็มขัด ขณะที่ทางด้านซ้ายมี 4 ลำต้นผูกติดกันโดยดอกไม้มีลักษณะคล้ายกับแหวน โดยวัดค่าปริมาณรังสีเหนือพื้นดิน 1 เมตรได้ที่ระดับ 0.5 μSv/h
Romanesco broccoli
ค้นพบครั้งแรกที่อิตาลีในศตวรรษที่ 16 มีลักษณะคล้ายๆ ดอกกะหล่ำ สีเขียวอ่อนมีตาที่ช่อดอก เนื้อนุ่มหวานอร่อยกว่าดอกกะหล่ำทั่วไป ในเมืองไทยจะเรียกว่า กะหล่ำเจดีย์ เนื่องจากส่วยยอดเป็นปลายแหลมขึ้นไป ถือเป็นผักที่สวยมากชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
ดอกจะมียอดคล้ายทรงเจดีย์จีนโบราณ เป็นยอดแหลมซ้อนกันในดอกเดียวกัน และมีลักษณะ อัดตัวกันแน่น ดอกมีสีเขียวอ่อน สวยงาม สะดุดตา
นอกจากนี้ยังมากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี วิตามินซี โพเลท ธาตุเหล็ก โพแทสเซียมและกรดอะมิโน พืชในวงศ์นี้ยังรวมไปถึง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่าง ๆ
กะหล่ำดอกเจดีย์ เป็นผักที่มีสารพิเศษสามารถดึงสารก่อมะเร็งซัลโฟราเฟนออกจากเซลล์ได้ ทำให้มีการผลิตเอนไซม์-phase II มากขึ้น ซึ่งเอมไซม์ตัวนี้สามารถไปลดการผลิตเอนไซม์-phase I ที่เป็นอันตราย เนื่องจากเอนไซม์ชนิดนี้สามารถไปทำอันตรายต่อสารพันธุกรรมภายในเซลล์ได้
ข้าวโพดอัญมณีแก้ว (Glass Gem Corn)
ต้นกำเนิดของ ข้าวโพดอัญมณีแก้ว นั้นเริ่มขึ้นเมื่อ นายคาร์ล บาร์นส์ เกษตรกรชาวเชอโรคี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอเมริกัน จากรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐฯ เริ่มสังเกตเห็นว่าบางครั้งข้าวโพดในไร่ของเขาจะมีสีของเมล็ดที่ดูต่างไปจากปกติ เขาจึงได้เริ่มอุทิศชีวิตเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดขึ้น จนในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จและสามารถเพาะพันธุ์ ข้าวโพดอัญมณีแก้ว ที่ไม่ว่าใครได้เห็นเป็นต้องชื่นชมในความงดงามราวกับงานศิลป์มากกว่าจะเป็นเพียงธัญพืชของมัน จนได้รับชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ข้าวโพดสายรุ้ง
จากนั้น ในปี 2553 ก่อนที่นายคาร์ลจะสิ้นใจ เขาได้ฝากข้าวโพดอัญมณีแก้วที่เขาเคยเก็บไว้แก่ นายเกรก สโคน นักเพาะพันธุ์ข้าวโพดเพื่อฝากภารกิจในการปกป้องสายพันธุ์ข้าวโพดอันงดงามที่เขาค้นพบไม่ให้สูญหายไป ซึ่งความหวังของนายคาร์ลก็เป็นจริง อีกทั้งข้าวโพดอัญมณีแก้วก็ยังได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนมีสีสันที่ตางจากสายพันธุ์ดั้งเดิมออกมาหลากหลายสีด้วยกัน
จนกระทั่งในที่สุด เมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอัญมณีแก้วก็ถูกขายต่อให้แก่ นายบิล แม็คดอร์แมน เจ้าของบริษัทเมล็ดพันธุ์ ซีด ทรัส ในรัฐแอริโซนา นายบิลที่รู้สึกประหลาดใจกับชื่อแปลก ๆ ของข้าวโพดสายพันธุ์นี้จึงได้ลองนำเมล็ดบางส่วนมาปลูกดูและต้องทึ่งกับข้าวโพดที่สวยงามไม่ซ้ำใคร เขาจึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เหลือออกมาขายผ่านเว็บไซต์ของบริษัท พร้อมลงรูปของข้าวโพดที่สวยที่สุดสายพันธุ์นี้ไว้ด้วย ไม่ต้องสงสัยว่ามันก่อให้เกิดกระแสฮือฮาอย่างยิ่งในอินเทอร์เน็ต และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือก็ถูกขายหมดอย่างรวดเร็ว ในทุกฤดูที่วางขาย
ข้าวโพดอัญมณีแก้วนี้เป็นข้าวโพดที่เป็น ข้าวโพดหัวแข็ง (flint corn) จึงมักจะนำมาทำเป็นป๊อปคอร์นและแป้ง ไม่นำมาต้มทานกัน
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
Cr.
https://hilight.kapook.com/view/91864
Cr.
https://lovetreeman.blogspot.com/2018_04_08_archive.html
Cr.
https://myvarisa.com/borneol-camphor/
Cr.
https://lovetreeman.blogspot.com/2016/11/blog-post.html
ลักษณะแปลกของพืชที่น่าทึ่ง
มะเขือเทศสีดำนี้ได้ชื่อว่าเป็นมะเขือเทศสีดำต้นแรกในประเทศอังกฤษ
ปลูกโดย MR.Ray Brown เจ้าของศูนย์เพาะพันธุ์พืชในประเทศอังกฤษ เขาได้รับพันธุ์มาจากลูกค้าคนหนึ่งจึงได้ทดลองปลูก ลักษณะของมะเขือเทศข้างนอกจะเป็นสีดำ ส่วนเนื้อข้างในยังเป็นสีแดงเหมือนมะเขือเทศทั่วไป
ในมะเขือนี้มีสารแอนโธไซยานินและสารต้านอนุมูลอิสระ ที่สามารถป้องกันโรคมะเร็งได้ ซึ่งเขาได้ทำการเพาะปลูกเพื่อขยายพันธุ์ต่อไป
สำหรับมะเขือเทศสีดำนั้นเชื่อว่าได้รับการพัฒนาขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกา
มะเขือเทศเป็นพืชล้มลุกอายุเพียง 1 ปี ลำต้นตั้งตรง มีลักษณะเป็นพุ่ม ออกดอกเป็นช่อหรือดอกเดี่ยว บริเวณซอกใบ ดอกมีสีเหลือง มีกลีบเลี้ยงสีเขียวประมาณ 5-6 กลีบ
ผลเป็นผลเดี่ยว มีขนาดรูปร่างและสีต่างกัน ซึ่งมีขนาดเล็กประมาณ 3 เซนติเมตร จนถึงใหญ่ประมาณ 10 เซนติเมตร รูปร่างมีทั้งกลม กลมแบน หรือกลมรี
กล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือก
กล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือกโดยฟาร์มในประเทศญี่ปุ่น D & T Farm ในจังหวัดโอะกะยะมะ ตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ได้พัฒนากล้วยที่สามารถทานได้ทั้งเปลือก โดยถูกตั้งชื่อว่า The Mongee Banana เป็นกล้วยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจาก DNA กล้วยโบราณ
ทาง D & T Farm ได้ใช้เทคนิคพิเศษ “Freeze Thaw Awakening” ที่เหมือนย้อนไปยุคน้ำแข็งประมาณ 20,000 ปีก่อน เมื่อพืชเติบโตมาจากอุณหภูมิที่หนาวจัด พืชก็จะเติบโตเร็วกว่าปกติ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วกล้วยจะใช้เวลาประมาณ 1 ปี จึงสามารถออกลูกทานได้ แต่วิธีนี้ทำให้กล้วยโตและออกผลได้ภายในเวลา 4 เดือน
อย่างไรก็ตาม The Mongee Banana สามารถวางจำหน่ายในท้องตลาดได้เพียงสัปดาห์ละ 10 ลูก ทำให้เป็นกล้วยที่มีราคาแพง
โดยราคาตกลูกละ 648 เยน หรือราว 6 ดอลลาร์สหรัฐ
ลักษณะของกล้วยเมื่อทานพร้อมกับเปลือกจะหวานกว่ากล้วยปกติ
Hollow heart เป็นชื่อเรียกของรอยร้าวที่เกิดขึ้นในเนื้อแตงโม
Hollow heart เป็นชื่อเรียกของรอยร้าวที่เกิดขึ้นในแตงโม ที่มีลักษณะคล้ายกับหัวใจ โดย Gordon Johnson ผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยเดลาแวร์ รัฐเดลาแวร์ สหรัฐอเมริกา เผยว่ารอยแตกนี้เกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของแตงโม
โดยเปลือกจะมีขนาดใหญ่กว่าเนื้อ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการผสมเกสร และสภาพอากาศในระหว่างการผสมเกสร โดยแตกร้าวนี้ไม่มีผลกระทบต่อรสชาติของแตงโมสามารถบริโภคได้
แตงโมเป็นพืชในวงศ์เดียวกับแคนตาลูปและฟัก เป็นพืชล้มลุกเป็นเถา อายุสั้น เถาจะเลื้อยไปตามพื้นดิน มีขนอ่อนปกคลุม ผลมีทั้งทรงกลมและทรงกระบอก เปลือกแข็ง มีทั้งสีเขียวและสีเหลือง บางพันธุ์มีลวดลายบนเปลือก ในเนื้อมีเมล็ดสีดำแทรกอยู่
แตงโมเป็นผลไม้ที่มีคุณสมบัติเย็น จะช่วยลดอาการปวด ไข้ คอแห้ง บรรเทาแผลในปาก เปลือกแตงโมนำไปต้มเดือด แล้วเติมน้ำตาลทราย ดื่มเพื่อป้องกันเจ็บคอ กินเป็นผลไม้สด ทำเป็นน้ำผลไม้ เปลือกหรือผลอ่อนใช้ทำอาหาร เช่น แกงส้ม ในเวียดนาม นิยมรับประทานเมล็ดแตงโมในเทศกาลปีใหม่
Ackee ผลไม้มีพิษ แต่นิยมนำมาปรุงเป็นอาหาร
Ackee ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในอาหารที่อันตรายแต่ยังเป็นที่นิยมอยู่ Ackee มีชื่อวิทยาศาตร์ว่า Blighia sapida เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดทางตะวันตกของแอฟริกา และเป็นผลไม้ประจำชาติประเทศจาเมกา
หากใครที่ไม่รู้ถึงวิธีการรับประทานที่ถูกต้องนั้นอาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต การรับประทานที่ปลอดภัยนั้นต้องรอให้ผลสุกจนกลายเป็นสีแดง และผลิออกจนเห็นเม็ดในสีดำ แล้วค่อยนำส่วนที่เป็นสีขาวมาปรุงเป็นอาหาร
ackee เป็นวัตถุดิบสำคัญในเมนู ackee and saltfish ซึ่งเป็นอาหารประจำชาติจาเมกา แม้จะเป็นพืชที่สามารถทานได้ แต่ในเมล็ดของ ackee มีสารเคมีที่มีชื่อว่า Hypoglycin A และ Hypoglycin ฺB หากกินไป จะทำให้เกิดอาการทางการแพทย์ที่เรียกว่า Jamaican vomiting sickness ทำให้ร่างกายขาดพลังงาน และเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ทำให้ วิงเวียนศีรษะ อาเจียน และอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต
ยูคาลิปตัสสีรุ้ง
ยูคาลิปตัสสีรุ้ง (Rainbow Eucalyptus) มีชื่อเรียกอีกชื่อว่า “มินดาเนากัม” คือ ต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งที่พบได้ใน เกาะนิวกินี ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของประเทศออสเตรเลีย เป็นเกาะที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 2 ของโลก,พื้นที่เกาะนิวบริเทน, รวมไปถึงพื้นที่เกาะเซรัม เกาะซูลาเวซี เกาะในประเทศอินโดนีเซีย และ เกาะมินดาเนาเกาะในประเทศฟิลิปปินส์
ยูคาลิปตัสสีรุ้ง เป็นพืชขนาดใหญ่ที่มีความสูงมากกว่า 70 เมตร เดิมทีต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งแรกเริ่มจะมีลำต้นสีเขียว และเนื่องจากต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งมีเปลือกหลายชั้นและหลากสี โดยเรียงสีจาก สีเขียว สีน้ำเงิน สีส้ม สีม่วง สีม่วงเข้มแกมน้ำตาล ตามลำดับ และเมื่อเปลือกนอกเริ่มถลอกสีที่อยู่ตามชั้นต่างๆ ก็จะเผยออกมาจนก่อให้เกิดต้นยูคาลิปตัสสีรุ้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในที่สุด
Bloodwood ต้นไม้ลึกลับที่มีความหวาดกลัว และหลั่งเลือดได้
จริงหรือที่ต้นไม้ไร้ความรู้สึก พบกับต้นไม้ที่มีความหวาดกลัว และหลั่งเลือดได้ มันคือต้น Bloodwood
อาจเป็นความเชื่อของคนจำนวนมากที่เชื่อว่าต้นไม้และพืชใบเขียวทั้งหลายนั้นไร้ความรู้สึก และเผลอๆ อาจจะไม่เจ็บปวดเหมือนสิ่งมีชีวิตที่มีเลือดทั่วไป
แต่ถ้าได้รู้จักกับต้นไม้ท้องถิ่นของแอฟริกาที่ชื่อว่า Bloodwood คงต้องทบทวนความคิดนี้กันใหม่ เพราะนอกจากมันจะเป็นต้นไม้ที่หลั่งเลือดได้แล้ว ยังแสดงความเจ็บปวดออกมาได้เหมือนสิ่งมีชีวิตอีกต่างหาก จริงๆแล้วที่บอกว่าเป็นการหลั่งเลือดนั้น ก็เป็นแค่ยางไม้ที่ต้นไม้ขับออกมาเท่านั้น
แต่จากข้อมูลของ Institute for Applied Physics at the University of Bonn ในเยอรมนีพบว่าการปล่อยยางของต้น Bloodwood นั้นจากจะแปรผันตามขนาดของรอยตัดแล้ว ทุกครั้งที่ตัดจะมีเสียงเบาๆออกมาจากต้นไม้ได้ด้วย
นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัย University of Georgia ที่ทำการตรวจสอบสารเคมีต่างๆ จากลำตัน ใบ และรากของต้นไม้ที่มักเปลี่ยนไปเมื่อถูกคุกคาม และจากการตรวจสอบเจ้าต้น Bloodwood นี้ พบว่ามันมีปฏิกริยาเคมีที่เปลี่ยนไปอย่างรุนแรงมาก ราวกับว่ากำลังแสดงความกลัวต่อสิ่งที่มันกำลังจะเผชิญ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณยางที่หลั่งออกมาด้วย
Jigsaw puzzles in the sky
พืชที่มีลำต้นสูงใหญ่นี้ชื่อว่า Dryobalanops aromatica Gaertn. เป็นพืชในตระกูล Dipterocarpaceae ตัวต้นไม้เข้าใจว่าไม่ได้ถูกบัญญัติชื่อไทยไว้ (มาเลเซีย เรียก Kapur) ในตำรายาแผนโบราณส่วนใหญ่จะเอ่ยถึงแต่สิ่งที่สกัดได้จากเจ้าพืชต้นใหญ่นี้ว่า พิมเสน
เพราะหากเรียกว่าต้นพิมเสนอาจเกิดความสับสน ด้วยเหตุผลที่ว่า ต้นพิมเสน นั้นยังหมายถึงพืชอีกชนิด เป็นไม้เนื้ออ่อน มีชื่อวิทยาศาสตร์ Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ตระกูล Labiatae ซึ่งเจ้าต้นนี้ สกัดได้น้ำมันหอมระเหย ที่ฝรั่งเรียกว่า Patchouli
คนไทยเรารู้จักพิมเสนกันมานาน แต่ข้อมูลเกี่ยวกับพิมเสนกลับไม่มีให้ค้นคว้ามากนัก เพราะต้นไม้ที่ให้พิมเสนนี้ เป็นพืชเฉพาะถิ่นที่ขึ้นอยู่แต่เฉพาะในเขตป่าของเกาะสุมาตรา บอร์เนียว และคาบสมุทรมาเลเซีย ในอดีตยางและน้ำมันจากเปลือกพืชที่ให้พิมเสนนี้ จะถูกส่งไปที่ประเทศญี่ปุ่นและจีน เพื่อใช้ทำยา
มีเรื่องราวน่ารักและน่าทึ่งเกี่ยวกับเจ้าต้นไม้ที่ให้พิมเสน ก็คือ พืชชนิดนี้ได้สมญาว่าเป็น Jigsaw puzzles in the sky ซึ่งเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่น่าแปลก ว่ากิ่งก้านของที่แม้จะแน่นหนาอย่างไร ก็ไม่มีวันที่จะทับซ้อนกันเลย และทุกๆ ส่วนของต้นไม้นี้ ทั้งกิ่ง ก้าน ใบ หรือแม้กระทั่งดอกกระจิ๋วหลิ๋ว สีขาว ก็จะหอมอวลไปด้วย Camphor oil
ดอกเดซี่กลายพันธุ์
นี่คือภาพ “ดอกเดซี่” กลายพันธุ์ซึ่งอ้างว่าถูกพบใกล้กับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะซึ่งถูกทำลายจากภัยสึนามิเมื่อปี 2011
ดอกไม้ด้านขวาเติบโตขึ้นก่อนแยกออกเป็น 2 ลำต้น ซึ่งแต่ละดอกได้ผูกติดกันจนมีรูปร่างคล้ายกับหัวเข็มขัด ขณะที่ทางด้านซ้ายมี 4 ลำต้นผูกติดกันโดยดอกไม้มีลักษณะคล้ายกับแหวน โดยวัดค่าปริมาณรังสีเหนือพื้นดิน 1 เมตรได้ที่ระดับ 0.5 μSv/h
Romanesco broccoli
ค้นพบครั้งแรกที่อิตาลีในศตวรรษที่ 16 มีลักษณะคล้ายๆ ดอกกะหล่ำ สีเขียวอ่อนมีตาที่ช่อดอก เนื้อนุ่มหวานอร่อยกว่าดอกกะหล่ำทั่วไป ในเมืองไทยจะเรียกว่า กะหล่ำเจดีย์ เนื่องจากส่วยยอดเป็นปลายแหลมขึ้นไป ถือเป็นผักที่สวยมากชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
ดอกจะมียอดคล้ายทรงเจดีย์จีนโบราณ เป็นยอดแหลมซ้อนกันในดอกเดียวกัน และมีลักษณะ อัดตัวกันแน่น ดอกมีสีเขียวอ่อน สวยงาม สะดุดตา
นอกจากนี้ยังมากไปด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี วิตามินซี โพเลท ธาตุเหล็ก โพแทสเซียมและกรดอะมิโน พืชในวงศ์นี้ยังรวมไปถึง บร็อคโคลี คะน้า และกะหล่ำต่าง ๆ
กะหล่ำดอกเจดีย์ เป็นผักที่มีสารพิเศษสามารถดึงสารก่อมะเร็งซัลโฟราเฟนออกจากเซลล์ได้ ทำให้มีการผลิตเอนไซม์-phase II มากขึ้น ซึ่งเอมไซม์ตัวนี้สามารถไปลดการผลิตเอนไซม์-phase I ที่เป็นอันตราย เนื่องจากเอนไซม์ชนิดนี้สามารถไปทำอันตรายต่อสารพันธุกรรมภายในเซลล์ได้
ข้าวโพดอัญมณีแก้ว (Glass Gem Corn)
ต้นกำเนิดของ ข้าวโพดอัญมณีแก้ว นั้นเริ่มขึ้นเมื่อ นายคาร์ล บาร์นส์ เกษตรกรชาวเชอโรคี ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองอเมริกัน จากรัฐโอคลาโฮมา สหรัฐฯ เริ่มสังเกตเห็นว่าบางครั้งข้าวโพดในไร่ของเขาจะมีสีของเมล็ดที่ดูต่างไปจากปกติ เขาจึงได้เริ่มอุทิศชีวิตเพื่อการพัฒนาสายพันธุ์ข้าวโพดขึ้น จนในที่สุดเขาก็ประสบความสำเร็จและสามารถเพาะพันธุ์ ข้าวโพดอัญมณีแก้ว ที่ไม่ว่าใครได้เห็นเป็นต้องชื่นชมในความงดงามราวกับงานศิลป์มากกว่าจะเป็นเพียงธัญพืชของมัน จนได้รับชื่ออีกอย่างหนึ่งว่าเป็น ข้าวโพดสายรุ้ง
จากนั้น ในปี 2553 ก่อนที่นายคาร์ลจะสิ้นใจ เขาได้ฝากข้าวโพดอัญมณีแก้วที่เขาเคยเก็บไว้แก่ นายเกรก สโคน นักเพาะพันธุ์ข้าวโพดเพื่อฝากภารกิจในการปกป้องสายพันธุ์ข้าวโพดอันงดงามที่เขาค้นพบไม่ให้สูญหายไป ซึ่งความหวังของนายคาร์ลก็เป็นจริง อีกทั้งข้าวโพดอัญมณีแก้วก็ยังได้รับการปรับปรุงสายพันธุ์จนมีสีสันที่ตางจากสายพันธุ์ดั้งเดิมออกมาหลากหลายสีด้วยกัน
จนกระทั่งในที่สุด เมล็ดพันธุ์ของข้าวโพดอัญมณีแก้วก็ถูกขายต่อให้แก่ นายบิล แม็คดอร์แมน เจ้าของบริษัทเมล็ดพันธุ์ ซีด ทรัส ในรัฐแอริโซนา นายบิลที่รู้สึกประหลาดใจกับชื่อแปลก ๆ ของข้าวโพดสายพันธุ์นี้จึงได้ลองนำเมล็ดบางส่วนมาปลูกดูและต้องทึ่งกับข้าวโพดที่สวยงามไม่ซ้ำใคร เขาจึงนำเมล็ดพันธุ์ที่เหลือออกมาขายผ่านเว็บไซต์ของบริษัท พร้อมลงรูปของข้าวโพดที่สวยที่สุดสายพันธุ์นี้ไว้ด้วย ไม่ต้องสงสัยว่ามันก่อให้เกิดกระแสฮือฮาอย่างยิ่งในอินเทอร์เน็ต และเมล็ดพันธุ์ที่เหลือก็ถูกขายหมดอย่างรวดเร็ว ในทุกฤดูที่วางขาย
ข้าวโพดอัญมณีแก้วนี้เป็นข้าวโพดที่เป็น ข้าวโพดหัวแข็ง (flint corn) จึงมักจะนำมาทำเป็นป๊อปคอร์นและแป้ง ไม่นำมาต้มทานกัน
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด
Cr. https://hilight.kapook.com/view/91864
Cr.https://lovetreeman.blogspot.com/2018_04_08_archive.html
Cr.https://myvarisa.com/borneol-camphor/
Cr.https://lovetreeman.blogspot.com/2016/11/blog-post.html