ผู้คุมหญิงสุดโหดแห่งนาซีเยอรมันช่วงสงครามโลก

Ilsa Koch - (22 กันยายน 1906-1 กันยายน 1967)



ถ้าหากพูดถึงผู้หญิงที่โหดร้ายที่สุดในเยอรมัน เชื่อว่าคงมีหลายๆ คนนึกถึงเธอขึ้นมาเป็นคนแรก Ilse นั้นเดิมทีแล้วเป็นผู้หญิงธรรมดา ที่ได้มาเป็นผู้คุมหญิงของค่ายกักกัน Buchenwald จากการแต่งงานกับผู้บังคับบัญชาของค่ายกักกันในปี 1937 เธอมีชื่อเล่นว่า “แม่มดแห่ง Buchenwald ” จากความโหดร้ายที่เธอก่อในค่าย
เธอทั้งโหดร้ายและซาดิสม์ เธอขี่ม้าไล่เฆี่ยนนักโทษทุกคนที่เธอเห็น แถมยังเก็บ “หนัง” ของนักโทษที่มีรอยสักเอาไว้โชว์ในบ้านและทำเป็นเครื่องใช้อีกด้วย
ว่ากันว่า Ilse นั้นเลวร้ายถึงขั้นที่ว่าเธอต้องเข้าออกคุกอยู่หลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการจับโดยฝ่ายพันธมิตรในปี 1945 โดยชาวเยอรมันหลังจบสงครามในปี 1949 หรือแม้กระทั่งโดยนาซีด้วยกันเองในปี 1943 โดยในท้ายที่สุดหญิงสาวก็จบชีวิตตัวเองด้วยการฆ่าตัวตายไปในปี 1967 นั่นเอง
(อย่างไรก็ตามไม่มีหลักฐานที่เชื่อถือได้ถูกนำเสนอในการพิจารณาคดีหลังสงครามของอิลส์โคช์ส)

Irma Grese - (7 ตุลาคม 2466-13 ธันวาคม 2488)


ผู้ดูแลค่ายสังหารนาซีRavensbrück, Auschwitz และ Bergen-Belsen ชื่อเล่นของ Irma คือ“ Devil Blonde”,“ Angel of Death”,“ Beautiful Monster”

เธอเป็นหญิงสาวสายเลือดนาซีแท้ๆ ผู้เข้าสู่  Bund Deutscher Mädel สหพันธ์สำหรับผู้หญิงที่จัดขึ้นโดยนาซีตั้งแต่ยังเด็ก Grese ถูกสั่งให้ไปประจำการในค่ายกักกันเอาช์วิทซ์เมื่อปี 1943 และมีชื่อเสียงในฐานะคนที่สวยเหมือน “นางฟ้า” แต่กลับใส่รองเท้าหนักสำหรับกระทืบนักโทษ พกแส้ และปืนสั้นตลอดเวลา ผิดกับหน้าตาสุดๆ
เธอมักทำร้ายร่างกายนักโทษอยู่เสมอๆ แถมยังชอบเดินไปรอบๆ ค่ายพร้อมกับสุนัขหิวโซที่ถูกฝึกมาให้สังหารคนที่เจ้านายสั่งอีก ไม่แปลกใจเลยที่หลังจบสงคราม Grese จะกลายเป็นอาชญากรนาซีที่อายุน้อยที่สุดที่ถูกประหารชีวิตไป
เธอถูกจับโดยอังกฤษ กระบวนการไต่สวน Belsen ซึ่งริเริ่มโดยศาลทหารอังกฤษดำเนินการตั้งแต่วันที่ 17 กันยายนถึง 17 พฤศจิกายน 2488

Hertha Gertrude Bothe (8 มกราคม 1921 - 16 มีนาคม 2000) 


ในปี 1942 เธอได้รับคำเชิญให้ทำงานเป็นผู้คุมที่ค่ายกักกันRavensbrück หลังจากสี่สัปดาห์ของการฝึกอบรมเบื้องต้น Bothe ถูกส่งไปยัง Stutthof ค่ายกักกันที่ตั้งอยู่ใกล้เมือง Gdansk ในนั้น Bothe ได้รับชื่อเล่น "Stutthof Sadistic" เนื่องจากการกระทำผิดของนักโทษหญิง

เธอคือนางพยาบาลที่กลายเป็นผู้คุมแห่งค่ายกักกันที่ Stutthof และได้ชื่อเป็นผู้คุมที่ซาดิสม์ที่สุด เธอมักจะทุบตีนักโทษจนตายด้วยไม้กระบอง และไร้เหตุผลถึงขั้นที่เคยทุบตีนักโทษรุนแรงเพียงเพราะเขากินเปลือกผลไม้ในห้องครัวเลยด้วย

อย่างไรก็ตามในการตัดสินโทษของเธอ Bothe อ้างว่าเธอนั้นไม่เคยพกปืนเลยและจะลงโทษนักโทษด้วยมือเท่านั้น นอกจากนี้ยังช่วยทหารสหรัฐฯ จัดการกับศพนักโทษที่เสียชีวิตอีกด้วย แม้ว่าจะมีคนมองว่าสิ่งที่เธอทำเป็นเพียงการทำดีเอาหน้าเท่านั้นก็ตาม
ท้ายที่สุดหญิงสาวก็ถูกลงโทษจำคุกไปเป็นเวลา 10 ปี แต่ก็ได้รับการปล่อยตัวในปี 1951 หลังจากจำคุกไปเพียง 6 ปีเท่านั้น ทำให้หลายๆ คนเชื่อในความเป็นไปได้ว่าผู้คุมแห่งค่ายกักกันคนนี้ ทำงานลงไปด้วยความจำเป็นเท่านั้น

Juana Bormann (1893-1945)


ยูอันนา บอร์แมนได้รับฉายาว่า วีเซล และ ผู้หญิงกับสุนัข เธอเป็นผู้คุมแห่งค่ายนรกเยอรมัน ในปี 1939 เธอได้เข้าร่วมเอสเอส (Auxiliary SS) ด้วยเหตุผลว่าได้เงินดี จากนั้นเธอก็ถูกส่งไปยังค่ายกักกันนาซีตามที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ค่ายกักกันค่ายกักกันราเฟนสบรึค, เอาชวิตซ์ และ แบรกเกิล-เบลเซน ทั้งหมดเป็นค่ายมรณะสังหารหมู่ชาวยิวทั้งสิ้น

ซึ่งเธอขึ้นชื่อในเรื่องความทารุณโหดร้ายและความซาดิสม์ ซึ่งหลายคนมักพบเห็นเธอปรากฏตัวพร้อมกับสุนัขเยอรมันเชฟเฟิร์ดอยู่เสมอ (และใช้สุนัขขย้ำนักโทษด้วย) ภายหลังนาซีล่มสลายและเยอรมันพ่ายแพ้สงคราม จวนน่า บอร์มันน์ก็ถูกนำตัวมาพิจารณาคดีในปี 1945 ในฮาเมล์น สภาพของเธอในตอนนั้นซูบผอมอย่างหนัก เดินกะโผลกกะเผลกไปมา ผลสุดท้ายเธอถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการแขวนคอในฐานะอาชญากรสงคราม เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 1945 ขณะอายุ 52 ปี (พร้อมกับอาชญากรสงครามหญิงสองคนคือเกรเซอและโวลเคนเนธ)

Maria Mandel (1912-1948)


ครอบครองตำแหน่งหัวหน้าค่ายกักกันหญิงของค่ายกักกันเอาชวิทซ์ - เบียร์เคเนาระหว่างปี พ.ศ. 2485-2487 มีหน้าที่โดยตรงต่อการเสียชีวิตของนักโทษหญิงราว 50,000 คน
มาเรีย มานเดล เป็นสมาชิกเอสเอส ชาวออสเตรีย เธอดำรงตำแหน่งหลากหลายในค่ายก่อนที่จะถูกเสนอชื่อให้เป็นผู้บัญชาการหญิงในค่ายเอาส์ชวิตซ์ เบียร์เคเนาเนื่องจากมีความทักษะเฉียบคมและความเด็ดขาดในการลงโทษ ซึ่งเธอมีส่วนร่วมในการประชุมออกกฎลงโทษให้ค่ายๆอื่นๆ ซึ่งเชื่อกันว่าเธอมีส่วนรับผิดชอบการสังหารนักโทษถึง 50,000 คนระหว่างที่เธอออกมาตรการในค่ายกักกันเอาส์ชวิตซ์

เธอเป็นที่รู้จักกันดีกว่าเป็นคนชอบเลือกชาวยิวเพื่อทำหน้าที่ เป็นสัตว์เลี้ยง และเมื่อเธอเบื่อหน่าย เธอจะส่งพวกเขาเข้าไปยังเตาแก๊ส เธอยังเป็นที่รู้จักในฐานะผู้ริเริ่มออเคสตร้าหญิง (Women’s Orchestra of Auschwitz) ซึ่งเป็นวงบรรเลงส่งเหยื่อเข้าห้องรมแก๊สระหว่างการขนส่ง อีกทั้งเป็นคนเซ็นสัญญารายชื่อนักโทษที่ส่งไปยังเตาแก๊สประมาณครึ่งหน้าล้านที่มีทั้งผู้หญิงและเด็ก หลังจากสงครามสิ้นสุดลง เธอพยายามหนีไปยังบ้านเกิดเธอและถูกฝ่ายพันธมิตรจับมาได้ หลังจากพิจารณาดีเธอก็ถูกประหารชีวิตในข้อหาก่ออาชญากรรมของเธอด้วยการแขวนคอเมื่อวันที่ 24 มกราคม 1948

Hildegard Neumann (4 พฤษภาคม 2462) 


ตุลาคม 2487 เป็นผู้ดูแลในค่ายกักกันRavensbrück เนื่องจากการทำงานที่ดีของเธอ เธอถูกย้ายไปยังค่ายกักกัน Theresienstadt ในฐานะหัวหน้าของผู้ดูแลค่ายทั้งหมด 
เธอควบคุมเจ้าหน้าที่ตำรวจหญิง 10 ถึง 30 คนและนักโทษหญิงชาวยิวมากกว่า 20,000 คน นอยมันน์ยังอำนวยความสะดวกในการเนรเทศผู้หญิงและเด็กกว่า 40,000 คนจาก Theresienstadt ไปยังค่ายมรณะ Auschwitz (Auschwitz) และ Bergen-Belsen ที่พวกเขาส่วนใหญ่ถูกฆ่าตาย นักวิจัยประเมินว่ามีชาวยิวมากกว่า 100,000 คนถูกเนรเทศออกจากค่าย Theresienstadt และถูกสังหารหรือเสียชีวิตใน Auschwitz และ Bergen-Belsen ในขณะที่อีก 55,000 คนตายใน Theresienstadt
ฟอนนอยมันน์ออกจากค่ายในเดือนพฤษภาคม 2488 และไม่ต้องรับผิดทางอาญาในข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม  ชะตากรรมของ Hildegard Neumann ไม่ต่อมาไม่ทราบแน่ชัด

Hermine Braunsteiner (1942-1944) 


เธอทำงานในค่ายกักกันใน Majdanek ในช่วงปี 1942-1944 และได้ฉายาว่า “เดอะเมีย” ที่แปลว่า “ม้าตัวเมีย” จากการที่เธอมักกระทืบนักโทษจนตายเสมอ นอกจากนี้เธอยังเป็นหนึ่งในผู้คุมเพียงไม่กี่คนที่หนีไปกบดานอยู่ที่เมืองนิวยอร์กได้สำเร็จ (ถึงจะถูกส่งกลับมาในปี 1973 ก็ตาม)
เธอถูกตัดสินโทษจำคุกตลอดชีวิตในปี 1981 จากการสังหารนักโทษ 80 คน ให้การสนับสนุนในการสังหารเด็ก 102 คน และร่วมมือในการสังหารนักโทษอีก 1,000 คนนั่นเอง

Ruth Neudeck (1920 1948)


รูธ นอยเดคเป็นผู้บังคับบัญชาเอสเอสในค่ายกักกันระหว่างปี 1944 จนถึงมีนาคม 1945 ซึ่งระหว่างฝึกอบรมในค่ายกักกัน เธอได้สร้างความประทับใจกับเจ้านายของเธอถึงความโหดร้ายไร้ความปราณีต่อนักโทษหญิงเธอจึงได้รับเลื่อนยศเป็นหัวหน้าค่ายและถูกไปประจำการที่ค่ายย่อยในค่ายกักกันราเฟนสบรึค ซึ่งเธอเป็นที่รู้จักว่าเป็นยามหญิงที่เลวร้ายที่สุด

จากปากของนักโทษที่รอดชีวิตในค่ายได้ให้การว่าเคยเห็นเธอตัดลำคอนักโทษด้วยขอบคมของพลั่วเธอเองและเธอส่วนส่วนเกี่ยวข้องการฆ่าเด็กและผู้หญิงกว่า 5000 คน จนกระทั่งในปี 1945 เธอก็ถูกจับกุมและถูกกกตัวในคุกโดยกองทัพอังกฤษและถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอวันที่ 29 กรกฎาคม 1948 ในขณะอายุ 28 ปีเท่านั้น

ขอบคุณข้อมูลทั้งหมด 
Crhttps://www.catdumb.com/5-infamous-nazi-women-378/
Cr.https://tempore.ru/th/pytki-nemcev-vo-vremya-voiny-nad-zhenshchinami-chto-delali-fashisty-s-plennymi/
Cr.https://teen.mthai.com/variety/72481.html

เรื่องราวของทนายความหนุ่มที่เข้าไปฟังการตัดสินคดีหลังสงครามโลกครั้งที่สองแล้วเจอหญิงสาวที่เคยเป็นรักครั้งแรกของเขาในฐานะจำเลยคดีนักโทษอาชญากรรมสงคราม  ยิ่งเขาฟังความเลวร้ายของสิ่งที่ฮานาก่อในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ทำให้ไมเคิลแยกไม่ออกระหว่างความรักที่เขายังติดตรึงในอดีตกับความชิงชังที่ฮานาก่อกับเหยื่อของสงคราม
The Reader เป็นภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายชื่อเรื่องเดียวกัน แต่งโดยเบิร์นฮาร์ด ชลิงก์ (Bernhard Schlink) ภาพยนตร์นอกจากได้เคตส์แล้วยังมี ราล์ฟ ไฟน์ มาร่วมแสดงด้วย โดยมี สตีเฟ่น เดลดรี้เป็นผู้กำกับ 

Cr.http://oknation.nationtv.tv/blog/rukpong/2009/10/01/entry-1
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่