ส่วนหนึ่งของสงครามในประวัติศาสตร์

กำแพงแอตแลนติก (The Atlantic Wall ) 


เป็นระบบป้องกันชายฝั่ง ของกองทัพนาซี ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เพื่อใช้ป้องกันบุกยกพลขึ้นบนของฝ่ายสัมพันธมิตร สร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1942-1944 ประกอบด้วยป้อมคอนกรีต แผงเหล็กขวางเรือขนส่ง ทุ่นระเบิด และป้องปืนใหญ่ประจำการ แต่ละจุดจะมีกองกำลังเยอรมันเฝ้าตรวจแนวชายฝั่งจุดละอย่างน้อย 1,000 นาย
ภายหลังจากพิชิตฝรั่งเศส และพักการโจมตีทางอากาศต่ออังกฤษ ที่ไม่ประสบความสำเร็จ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เล็งเห็นว่าการชนะสงครามไม่ใช่เปิดเกมบุกอย่างเดียว แต่จะต้องป้องกันไม่ให้ศัตรูกลับมาโจมตีดินแดนที่เยอรมันยึดครองมาได้ ทำให้วันที่ 23 มีนาคม 1942 ได้มีคำสั่งผู้นำสูงสุดฉบับที่ 40 เพื่อดำเนินการสร้างกำแพงแอตเแลนติกขึ้น โดยมอบหมายให้ Organisation Todt ซึ่งเป็นหน่วยงานวิศวกรรมสงครามของเยอรมัน ซึ่งเคยออกแบบแนวรบป้องกันซิกฟรีด ในช่วงท้ายขิงสงครามโลก ครั้งที่ 1 รวมทั้งยังเกณฑ์แรงงานฝรั่งเศสมาช่วยก่อสร้าง นาซีโฆษณาชวนเชื่อว่ากำแพงดังกล่าวทอดตัวยาวตั้งแต่ชายฝั่งนอร์เวย์ไปจนถึงสุดชายฝั่งทะเลฝรั่งเศสด้านที่ติดกับสเปน

ก่อนจะมีการยกพลขึ้นบก ดี-เดย์ กำแพงแอตแลนติกเคยถูกทดสอบโดยการโจมตีของอังกฤษ 2 ครั้ง ซึ่งเยอรมันสามารถชนะได้ง่ายดาย แต่ในการยกพลขึ้นบกดี-เดย์ นั้น ทางสัมพันธมิตรได้พยายามสร้างข่าวให้เยอรมันเชื่อว่า พวกเขาจะยกพลขึ้นบกทางกาเล่ส์ ซึ่งเป็นเมืองของฝรั่งเศสที่อยู่ใกล้กับชายฝั่งทะเลของอังกฤษที่สุด ทำกระทั่ง ส่งรหัสข่าวปลอมให้เยอรมันดักจับ เอาหุ่นไล่กาจำนวนมากไปวางหลอกไว้ตรงชายฝั่งทะเลฝั่งอังกฤษ จนทำให้เยอรมันตายใจ
(ฮิตเลอร์สั่งการให้สร้างป้อมปราการ 15,000 ป้อม เพื่อป้องกันการบุกขึ้นฝั่งของฝ่ายสัมพันธมิตร ตลอดแนวชายฝั่งยาวตะวันออกของมหาสมุทรแอตแลนติกยาว 4,800 กม. ซึ่งนาซีใช้งบประมาณไปหลายล้านไรช์มาร์ค กับคอนกรีตอีก 40 ล้านตัน เพื่อสร้างให้เสร็จภายใน 4 ปี
แต่ความเป็นจริงนาซีสร้างมันได้เพียงครึ่งเดียว และถูกทหารฝ่ายสัมพันธมิตรบุกขึ้นฝั่งในวันดีเดย์ เสียก่อน การก่อสร้างที่ดำเนินไปได้ 3 ปี ถูกตีแตกภายในไม่กี่ชั่วโมง)
Cr.ประวัติศาสตร์-สงครามในอดีต / thaipbs.or.th/

การปักธงที่อิโวจิม่า Raising the Flag on Iwo Jima


ภาพนี้ชื่อว่า Raising the Flag on Iwo Jimaถ่ายเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 1945 โดย โจ โรเซนธัล ช่างภาพจากสำนักข่าวเอพี ภาพนี้เป็นภาพเหตุการณ์ที่ทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา 5 นาย และทหารเรือเสนารักษ์ 1 นาย กำลังช่วยกันปักธงชาติสหรัฐอเมริกาเหนือยอดเขาสุริบาชิ ซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของเกาะอิโวจิมา 
ภาพดังกล่าวนี้ได้รับการกล่าวขวัญอย่างมากในสหรัฐอเมริกาและมีการตีพิมพ์ซ้ำหลายครั้ง ทั้งยังได้รับรางวัลพูลิตเซอร์ในปีเดียวกันอีกด้วย ซึ่งต่อมาภาพนี้ก็ได้กลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งที่ทำให้คนนึกถึงสงครามโลกครั้งที่ 2 และอาจเป็นภาพที่ถูกตีพิมพ์ซ้ำมากที่สุดตลอดกาลอีกด้วย

ทหารทั้ง 6 คนที่ช่วยกันปักธงในภาพนี้ มี 3 คน (แฟรงคลิน เซาส์เลย์, ฮาร์ลอน บล็อก, และ ไมเคิล สแตรง) ได้เสียชีวิตในการรบที่อิโวจิมาในช่วงต่อมา ส่วนอีก 3 คนที่เหลือ (จอห์น แบรดลีย์, เรเน่ แก็กนอน, และ ไอรา เฮยส์) ก็กลายเป็นผู้มีชื่อเสียงขึ้นมาจากภาพดังกล่าว ซึ่งต่อมาภาพนี้ได้ถูกนำมาใช้เป็นต้นแบบของอนุสาวรีย์ทหารนาวิกโยธินสหรัฐอเมริกาที่สุสานแห่งชาติอาร์ลิงตัน มลรัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยโจนส์ โรเซนทัลขณะนั้นเป็น ช่างถ่ายภาพสงคราม ในสังกัดกองทัพเรือ ซึ่งได้เดินทางไปกับกองพลนาวิกโยธินที่ 5 เป็นผู้ที่สามารถบันทึกภาพ ขณะทหารสหรัฐปักธงลงบนยอดซูริบาชิไว้ได้
Cr.ประวัติศาสตร์-สงครามในอดีต

สุสานหิ่งห้อย - Grave of the Fireflies


ภาพนี้ถูกถ่ายโดยช่างภาพชาวอเมริกันที่ชื่อ Joe O'Donnell ในเมืองนางาซากิ เมื่อปี 1945 ภาพเดิมนั้นเป็นภาพถ่ายจากฟิล์มขาวดำ เป็นภาพเก่าจากหนังสืออัตชีวประวัติ อะคิยูกิ โนซากะ กับร่างน้องสาวของเขา  ภาพนี้ได้ถูกตีพิมพ์ไปทั่วโลกและได้มีการส่งมอบภาพนี้แก่อะคิยูกะภายหลัง..

เขาให้สัมภาษณ์กับสือ ว่า "ผมเห็นเด็กชายคนหนึ่งอายุ ประมาณ 10ขวบ แบกเด็กน้อยไว้ที่หลังของเขาตลอดเวลา  แต่เด็กคนนี้ เห็นได้ชัดว่า มีอะไรบางอย่างที่แตกต่างจากเด็กคนอื่นๆ เหมือนเค้ามายืนอยู่ตรงนี้ด้วยเหตุผลที่ซีเรียสมีสีหน้าเคร่งเครียด และไม่ได้สวมรองเท้า ส่วนเด็กน้อยที่อยู่บนหลัง หงายศีรษะขึ้น ราวกับคนที่เพิ่งจะหงายหลับไปด้วยความเร็ว"
"เด็กชายคนนี้ยืนอยู่ตรงนั้น นานประมาณ 5-10นาทีเห็นจะได้ ก็มีชายสวมหน้ากากปิดปากสีขาว เขาไม่พูดจาอะไร เดินอ้อมไปที่เด็กแล้วอุ้มเด็กทารกที่หลังเด็กชายออกมา นั่นแหละผมถึงรู้ว่า เด็กทารกที่เห็นนั้นได้ตายไปแล้ว จากนั้นผู้ชายก็เอาร่างของเด็กทารกวางบนกองไฟ"

"เด็กชายก็ยังคงยืนดูเปลงไฟอยู่ตรงนั้น ไม่ไปไหน ผมดูที่หน้าเขาเห็นเขากัดริมฝีปากล่างอย่างแรงจนเลือดไหล จนกระทั่วเปลวไฟมอดลงดวงอาทิตย์ก็กำลังจะตกดินแล้วเช่นกัน เด็กชายมองหันไปรอบๆตัว แล้วก็เดินออกไปอย่างเงียบๆ"
 

เป็นเรื่องราวที่ได้นำมาสร้างเป็นภาพยนต์การ์ตูนแอนิเมชันเรื่อง"สุสานหิ่งห้อย - Grave of the Fireflies"
โดยสตูดิโอจิบลิ ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพยนตร์การ์ตูนแอนิเมชันชื่อดังในประเทศญี่ปุ่น หนังดัดแปลงมาจากหนังสืออัตชีวประวัติของ อะคิยูกิ โนซากะ ผู้สูญเสียน้องสาวตัวน้อยๆ ด้วยสาเหตุจากการขาดอาหารระหว่างสงคราม สุสานหิ่งห้อยออกฉายในปี ค.ศ. 1988 กำกับโดยอิซะโอะ ทะคะฮะตะ

นักประพันธ์เรื่องนี้เปรียบหิ่งห้อยเป็นชีวิตของเด็กๆ ในช่วงสงครามเป็นดั่งแสงของหิ่งห้อย หิ่งห้อยเป็นสัตว์ที่ตายง่าย เมื่อใดที่หิ่งห้อยตาย แสงของหิ่งห้อยก็จะหมดลง เสมือนชีวิตและความหวังอันริบหรี่ของเด็กๆ ในช่วงสงครามนั่นเอง.....
Cr.ประวัติศาสตร์-สงครามในอดีต

ว่าวในสายลมของสงคราม


- ประเทศจีนในช่วง 202 ปีก่อนคริสตกาล B. Laufer ได้บันทึกลงไปในหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า The Pre-History of Aviation ซึ่งเป็นหนังสือว่าด้วยการบินในช่วงก่อนประวัติศาสตร์ในช่วงราชวงศ์ฮั่น มีกองทหารของนายพลท่านหนึ่งได้ถูกต้อนจนจนมุม ทำได้เขาลองติดเชือก Aeolian ไว้กับว่าว ซึ่งเชือกนี้จะทำให้เกิดเสียงประหลาดขึ้นยามว่าวลอยขึ้นไปบนฟ้า ราวกับเป็นเสียงเตือนจากเทพเจ้า ทำให้ข้าศึกเกิดความหวาดกลัวและหนีไป

- ประเทศอินเดียในช่วงปี ค.ศ.1659 จากการพรรณาของ Bill Thomas ในหนังสือที่มีชื่อว่า The Complete World Of Kites ว่าวมีบทบาทสำคัญในสงครามดินแดนระหว่างฮินดูและมุสลิม กษัตริย์ที่มีพระนามว่า Shivaji ใช้ว่าวเพื่อต่อแถวข้ามเหวใกล้ ๆ กับ Poona และจากนั้นภายใต้ความมืดยามค่ำคืน สายป่านได้ถูกเปลี่ยนเป็นเชือกเพื่อให้คนของกษัตริย์ Shivaji สามารถปีนขึ้นไปบนป้อมปราการของศัตรูและจัดการกับพวกทหารที่เฝ้ายามได้

- กองทัพของประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อิตาลีและรัสเซีย ต่างก็ใช้ว่าวเพื่อสอดแนมศัตรูฝ่ายตรงข้ามและทำการส่งสัญญาณให้พวกเดียวกันก่อนยุคที่เทคโนโลยีเครื่องบินจะมาทำให้ว่าวนั้นล้าสมัยไป กองทัพเรือเยอรมันก็ยังคงใช้ว่าวแบบกล่องในการยกทหารขึ้นไปเพื่อเพิ่มความสามารถในการมองเห็นระหว่างที่เดินเรือดำน้ำเหนือน้ำ

- หน่วยงานด้านกองทัพเรือของรัฐบาลอังกฤษได้ริเริ่มการใช้ว่าวในการป้องกันแนวฝั่งจากการโจมตีฝั่งน่านน้ำ โดยว่าวที่ใช้จะเป็นว่าวกล่องคู่แบบ Hargrave ที่มีระเบิดผูกเอาไว้สำหรับช่วยขัดขวางการโจมตีของศัตรูทางอากาศ

- ทางฝั่งอเมริกาก็มีการเปิดโรงเรียนที่มีการเรียนการสอนหลักสูตรสร้างแนวป้องกันศัตรูจากบอลลูนและว่าวในเมืองนิวยอร์ก หนึ่งในรูปแบบของว่าวที่มีชื่อเสียงในการทำลายลายศัตรูก็คือว่าวแบบ Saul’s barrage kites โดยว่าวนี้จะผูกกับสายป่านว่าวที่แข็งแรงมากและคมกริบ และสามารถจัดการกับเครื่องบินทิ้งระเบิดได้อย่างดีเยี่ยม

- ประเทศเยอรมัน Dr. Henrich Focke ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านเครื่องบิน ได้คิดค้นเครื่องบิน Focke-Achegelis F.A. 330 ซึ่งมีลักษณะเป็นว่าวที่มีปีกหมุนได้ หรือ ว่าว gyroplane มีความสามารถในการหลบหลีกสูงและลอยสูงขึ้นไปได้ด้วยการแรงลากของเรือดำน้ำ ว่าวนี้มีใบมีดหมุนได้ที่ช่วยในการสังเกตการณ์สูงขึ้นไปได้ถึง 50 ฟุตเหนือน้ำทะเล

ถึงแม้ว่าว่าวจะเคยมีบทบาทสำคัญในการทำสงครามทั่วโลก แต่ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าว่าวก็ยังเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างบันเทิงให้เราโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันเมื่อสงครามสงบลง ว่าวกลับเข้ามาช่วยในการเสริมสร้างพัฒนาการของเด็ก ๆ และเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้ความสัมพันธ์ในทั้งครอบครัวและระหว่างผองเพื่อนให้แน่นแฟ้นขึ้นอีกด้วย
Cr.kite-plans.com/

“สะพานเบลีย์”ยุทธปัจจัยสมัยสงคราม ที่กลายเป็นตัวช่วยสำคัญในเวลาเกิดอุทกภัย


(รถบรรทุกของกองทัพที่ 8 ของอังกฤษ กำลังข้ามแม่น้ำซานโกรในอิตาลี ใช้สะพานเบลีย์ที่วางพาดบนเรือท้องแบนที่จอดเรียงกัน) (ภาพจาก 101 สิ่งของสำคัญในสงครามโลกครั้งที่ 2)

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 ทั้งเยอรมนีและฝ่ายสัมพันธมิตร มีความจําเป็นต้องสร้างสะพานข้ามแม่น้ำหรือ หุบเขาลึกอยู่บ่อย ๆ อาจจะเป็นเพราะสะพานที่มีอยู่เดิมถูกทําลาย ด้วยการข้ามไปยังสถานที่ที่ไม่มีสะพาน ยิ่งมีการสร้างสะพานในบริเวณที่มีการสู้รบเร็วเท่าไหร่ยิ่งดี และทหารช่างหรือวิศวกรมักพยายามอย่างหนักที่จะบรรลุการออกแบบสะพานที่ทั้งสร้างได้เร็ว และสามารถรองรับยานพาหนะที่หนักที่สุดให้ขับข้ามไปได้ ทั้งนี้ มีความคืบหน้าอย่างมากในการออกแบบเพื่อให้ บรรลุความต้องการทั้ง 2 ประการดังกล่าวในช่วงสงคราม ปี 1939-1945

ที่โดดเด่น และถือว่าเป็นความก้าวหน้าครั้งใหญ่ทางวิศวกรรม ก็คือการสร้างสะพานเบลีย์ (Bailey Bridge) โดยโดนัลด์ เบลีย์ แห่งสถาบันทดลองวิศวกรรมทางทหารของอังกฤษ ที่ไครสต์เชิร์ช ในดอร์เส็ต เมื่อต้นปี 1942
คานของสะพานเบลีย์ สร้างจากแผ่นเหล็กที่เหมือนกันนํามาขัดกันเป็นตารางและยึดไว้ด้วยหมุดโลหะ คานสะพานแต่ละชิ้นสามารถเสริมเข้าไปอีก 2 เท่าหรือ 3 เท่า เพื่อเพิ่มความยาวและความแข็งแรงเป็นพิเศษ อีกทั้งสามารถเพิ่มขึ้นไปอีก 2 ชั้นเพื่อยืดขยายพื้นที่ของสะพานให้ใหญ่ขึ้น
คานด้านล่างจะทําหน้าที่ รับน้ำหนักบนสะพาน โครงสร้างที่เสร็จสมบูรณ์แล้วสามารถ ปล่อยลงโดยการใช้รอกเหนือช่องว่างเพื่อเชื่อมสะพาน เข้าด้วยกันโดยใช้หลักการถ่วงน้ำหนัก

สะพานเบลีย์ถูกนําไปใช้ในปฏิบัติการทางทหารครั้งแรกเพื่อข้ามแม่น้ำเม็ดเจอร์ดา ใกล้กับเม็ดเจซในตูนิเซีย ในคืนวันที่ 26 พฤศจิกายน 1942 ทั้งนี้ ระหว่างการสู้รบในแอฟริกาเหนือ มันกลายเป็นอุปกรณ์หลักสําหรับข้ามแม่น้ำของกองทัพสหรัฐและอังกฤษ และต่อมากองทัพโซเวียตก็ใช้สะพานนี้ด้วย ในการข้ามแม่น้ำที่มีความกว้าง  สะพานเบลีย์จะถูกขนส่งมาด้วยรถบรรทุกในลักษณะเป็นชิ้นๆ เมื่อเกิดอุปสรรค ชิ้นส่วนต่างๆ จะถูกส่งไปล่วงหน้าและประกอบเป็นสะพาน 

ปฏิบัติการสะพานเบลีย์ครั้งใหญ่ที่สุดดำเนินการโดยอเมริกา  (เกิดขึ้นระหว่างการข้ามแม่น้ำไรน์ในเดือนมีนาคม 1945)   ที่จริงสะพานเบลีย์ถูกนำไปใช้ในทุกสนามรบในช่วงสงคราม บางครั้งก็ใช้เป็นเรือขนส่งสินค้าข้ามฟาก  โดยวางส่วนต่างๆ ของสะพานลงบนทุ่นลอยน้ำ สิ่งนี้มีประโยชน์เป็นพิเศษในการนำรถหุ่มเกราะข้ามแม่น้ำ

อังกฤษและอเมริกาสร้างสะพานเบลีย์กว่า 3,000 แห่งในอิตาลีและซิซิลี ที่ยาวที่สุดก็คือสะพานข้ามแม่น้ำซานโกร มีความยาว 343 เตร (1,126 ฟุต) อีกหลายแห่งสร้างข้ามแม่น้ำชินด์วินระหว่างกองทัพที่ 14 รุกคืบไปยังแม่น้ำอิรวดีและมัณฑะเลย์ในพม่ามีความยาว 352 เมตร (1,154 ฟุต)

ปัจจุบัน “สะพานเบลีย์”ที่กลายเป็นตัวช่วยสำคัญในเวลาเกิดอุทกภัยรวมทั้งในประเทศไทย
Cr.silpa-mag.com/

ขอขอบคุณที่มาข้อมูลทั้งหมด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่