Namaste Nepal สวัสดีเนปาล (ตอนที่ 6 ...ลาก่อน Everest...เดินทางกลับ...Bangkok..)

กระทู้สนทนา
Namaste Nepal สวัสดีเนปาล (ตอนที่ 6 ...ลาก่อน Everest...เดินทางกลับ...Bangkok..)
      ปาฏันหรือละลิตะปูร์ ( Kirtipur ) เมืองแห่งศิลปะที่มีช่างและศิลปินที่บันดาลสร้างสรรค์งานศิลป์ชั้นครูมากมาย จนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของงานวิจิตรศิลป์และหัตถศิลป์ที่โดดเด่น ทั้งงานแกะสลักไม้ จำหลักหิน และประติมากรรมสำริดมากมาย (...แต่ความงดงามของศิลปะการแกะสลักไม้ที่มากมายจนล้น นั้น เมื่อมารวมกัน เรามองว่ามากเกินสวย เหมือนคนที่แต่งกายที่สวมใส่มากจนเกินงาม..ความเห็นส่วนตัว...)
    การได้เดินทอดน่องชมผลงานศิลปะสถาปัตยกรรม ที่เทวสถานฮินดูที่สร้างถวายพระศิวะ พระนารายณ์ และพระกฤษณะที่ตั้งเรียงรายรอบจัตุรัสพระราชวัง ที่เรียกว่า Durbar Square แล้ว ถึงเวลาอาหารกลางวัน เดินทางไปรับประทานอาหารกลางวันที่ร้านอาหารไทย ชื่อ Him Thai Restaurant

  รับประทานกลางวันที่ร้านอาหารไทยชื่อ Him Thai Restaurant ( Him: Himalaya) แล้วกลับมาชมความงามของกาฐมาณฑุดูร์บาสแควร์ 
     จัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์ (อังกฤษ: Kathmandu Durbar Square) หรือชื่อสันสกฤตว่า วสันตปุรทรวารเกษตร (สันสกฤต: वसन्तपुर दरवार क्षेत्र) พระราชวังเก่าของอดีตราชอาณาจักรกาฐมาณฑุ เป็นหนึ่งในสามจัตุรัสดูร์บาร์ ( ภัคตะปูร์  ลลิตะปูร์ และ กานติปูร์ ) ในหุบเขากาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล ทั้งหมดเป็นแหล่งมรดกโลกของยูเนสโก ( กานติปูร์ คือกาฐมาณฑุ )
     กาฐมาณฑุ ดูบาร์ สแควร์ (Kathmandu Durbar Square) มีสถาปัตยกรรมที่งดงามจากงานฝีมือของช่างชาวเนวาร์อายุหลายร้อยปี เป็นโบราณสถานที่สำคัญ สร้างด้วยอาคารไม้เก่าที่สุดในโลก และเป็นต้นกำเนิดของชื่อเมืองกาฏมาณฑุ ตั้งอยู่ใกล้ๆกับวัดกุมารี 
   จัตุรัสกาฐมาณฑุดูร์บาร์เคยเป็นที่ตั้งวังมัลละกษัตริย์และศาหะกษัตริย์ซึ่งครองอำนาจ ทั้งยังมีลานซึ่งประกอบด้วยชานชาลาและวัดมากมาย ลานนั้นชื่อว่า หนุมานโดกา (Hanuman Dhoka; हनुमान ध्वखा หนุมานธฺวคา) ตั้งชื่อตามรูปปั้นหนุมานที่อยู่ตรงทางเข้าวัง
      รูปปั้นหนุมานศักดิ์สิทธิ์หนุมานโดกา ที่พระราชวังหนุมานโดก้า บริเวณกาฐมาณฑุ ดูร์บาร์สแควร์ (Kathmandu Durbar Square) ประเทศเนปาล รูปหนุมานขนาดใหญ่สีแดง ห่มผ้าสีแดง นั่งอยู่บนแท่นสูง มีร่มสีแดงกางกั้น
     ด้วยพลังศรัทธาและสมานฉันท์ที่ทำให้ชาวเนปาลได้รังสรรค์งานศิลปะประดับโลกไว้มากมาย จนหุบเขากาฐมาณฑุถูกว่าเป็น “ชุมชนมรดกโลกแออัด” เพราะเป็นหุบเขาเดียวในโลก ที่มีโบราณสถานขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกโดยองค์การยูเนสโก หนาแน่นที่สุด ถึง 6 แห่ง คือ 1.จัตุรัสพระราชวังกาฐมาณฑุ 2.จัตุรัสพระราชวังภักตะปูร์ 3.จัตุรัสพระราชวังลลิตปูร์ (ปาตัน) 4.เจดีย์พุทธนาถ 5.เจดีย์สวยัมภูนาถ 6.วัดปศุปตินาถ แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อวันที่ 25  เมษายน ปี 2015  เกิดแผ่นไหวอย่างรุนแรง ทำเกิดมรดกโลกทั้ง 6 เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง แต่เท่าที่มองเห็นขณะนี้ ( 4 ปีผ่านมา ) ทุกอย่างได้รับการบูรณะ ผ่านการช่วยเหลือของหลายองค์กร และหลายประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา  จีน ญี่ปุ่น ฯ   แต่การบูรณะต้องใช้ความสามรถอย่างสูงให้คงมีสภาพเดิมเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากถึงยากที่สุดเพราะสถาปัตกรรมเกือบทั้งหมดทำด้วยไม้ แต่ถือว่าโชคดีที่เนปาลเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีประชากรทั่วโลกมาเยี่ยมเยือน ดังนั้นหลักฐานจากรูปถ่ายได้ช่วยในการบูรณะคงความถูกต้องและสมบูรณ์ เพื่อให้เพชรเม็ดเอกของโลกที่ประชาคมโลกต้องช่วยกันปกปักรักษาให้คงอยู่คู่กับมงกุฏโลก everest ตราบนานเท่านาน

ชัยศิ เทวัล (Jaishi Dewal)
 
   ห่างจากกาฏมาณฑปเล็กน้อย วัดชัยศิ เทวัลแห่งองค์พระศิวะ (Shiva Temple of Jaishi Dewal) เป็นเทวาลัย 3 ชั้น ชั้นที่ 2 มีพระแกล 7 บาน มีรูปของพระศิวะกับพระนางปารวตี หรือพระอุมาชะโงกหน้าออกมาตรงช่องพระแกลช่องกลาง  เทวาลัยแห่งนี้มีชื่อเสียงในด้านภาพแกะสลักแนวอีโรติก “เรทเอ็กซ์” บนคันทวย และเป็นเส้นทางผ่านของขบวนแห่ราชรถในเทศกาลอินทรา ยาตรา และเทศกาลอื่นๆ
    แนวคิดในการรังสรรค์ภาพเชิงสังวาส (Erotic Art) ที่คันทวยเทวสถานของชาวเนปาลนั้น มีบุคคลอธิบายด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันออกไป มีทั้งที่สอดคล้องกัน และขัดแย้งกัน แต่พอจะสรุปได้ว่า วัตถุประสงค์เพื่อป้องกันฟ้าผ่า เพื่อเป็นเครื่องมือวัดระดับศีลธรรมของพลเมืองในยุคสมัยหนึ่ง รวมถึงเป็นเครื่องมือในการกระตุ้นให้เกิดพลเมืองเพิ่มขึ้น...


    ในบริเวณ กาฐมาณฑุ ดูบาร์ สแควร์ มีพระราชวังของกุมารีหลวง กุมารีจะออกมาทางช่องหน้าตาให้คนเฝ้าวันละ 1 ครั้ง ( วันนี้ ไปไม่พบเพราะเวลาไม่ตรงกัน 4.30  pm )  พวกเราไม่รอ ต้องไปวัดโพธนาถ
วังของกุมารีหลวง
  ในขณะนั่งรอให้ครบคนเพื่อไปวัดโพธินารถเห็นกลุ่มผู้ประท้วงชาวเนปาลประท้วงอินเดียเรื่องการรุกเข้าชายแดน แต่เป็นการประท้วงที่สงบมาก
     มหาเจดีย์โพธินาถ Boudhanath
     มหาเจดีย์โพธินาถ : หมายถึง “พระพทธเจ้าผู้เป็นที่พึ่ง” เป็นสถูปที่ตั้งอยู่ห่างจากกรุงกาฐมัณฑุไปทางทิศตะวันออกประมาณ 8 กิโลเมตร โดยเป็นเจดีย์ที่ใหญ่ที่สุดในเนปาล (สูง 38 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 32 เมตร) ชาวทิเบตเรียกกันในชื่อ “จารุง กาโซว์ โชร์เตน (Jarung Kashor Chorten) บนเจดีย์มีดวงตาเห็นธรรมของพระพุทธเจ้า (Wisdom Eyes) ทั้งสี่ทิศ บริเวณรอบวัดเป็นแหล่งชุมชนของชาวพุทธมหายานจากทิเบตที่อพยพเข้ามาเมื่อปี 1959 จึงจะเห็นพระทิเบตและคนทั่วไปยืนแกว่งล้อมนต์พร้อมกับสวดมนต์อยู่ทั่วไป องค์การยูเนสโกขึ้นได้ทะเบียนสถานที่แห่งนี้เป็นมรดกโลกในปี1979

      มหาเจดีย์โพธินาถ เป็นเจดีย์ทรงโอคว่ำ รอบๆองค์เจดีย์ประดับประดาด้วย “ธงมนตรา” ที่ชาวทิเบตและชาวเนปาลนิยมนำมาแขวนเอาไว้อย่างสง่างามเป็นเอกลักษณ์ … ธงนี้จารึกบทสวดมนตร์แล้วนำไปปลุกเสก ก่อนจะนำมาประดับที่องค์พระเจดีย์ หรือประดับตามหลังคาอาคารบ้านเรือน ทางเดิน ช่องเขา ฯลฯ นัยว่าเพื่อให้ลมช่วยสวดมนต์ แล้วพัดพาเอามนตราไปคุ้มครองผู้ผ่านทาง
     รอบๆเจดีย์มี “กงล้อมนตรา” ที่หมุนอยู่ตลอดเวลาด้วยน้ำมือของผู้คนที่เปี่ยมศรัทธาเดินขวาหมุนกงล้อ จึงดูเหมือนเป็นกงล้อภาวนาที่มีชีวิต …
ชาวทิเบตเชื่อว่าทุกครั้งที่กงล้อนี้หมุนหนึ่งรอบ เท่ากับเป็นการสวดมนต์ได้หนึ่งจบ ดังนั้นผู้ที่ทำการสวดมนต์และหมุนกงล้ออธิษฐานไปพร้อม ๆ กัน จะเป็นตัวช่วยเพิ่มพูนบุญกุศล ชำระบาปกรรม ด้วยกรรมดี กงล้ออธิษฐานนี้มีอยู่ด้วยกันหลายขนาด ทั้งขนาดใหญ่ที่ต้องออกแรงหมุน หรือ กงล้อเล็กๆ ที่สามารถถือไว้ในมือได้
      กลับจากเจดีย์โพธนาถ แวะรับประทานอาหารเย็น วันนี้ ต๊อก surprise ด้วยเมนูพิเศษ ก๋วยเตี๋ยวต้มยำ แต่เสริฟมาที่ละอย่างทำให้ทุกคนฮา...มาก  หลังจากนั้นกลับมานอนที่โรงแรม The Fern Desidency Hotel  พรุ่งนี้ตื่น  5.00  am เดินทางไปชม everest  ด้วยเที่ยวบิน Mountain Flight  ชมยอดเขา everest  
    เวลา  5.30 am  เดินทางไปสนามบิน Tribhuvan International Airport เพื่อขึ้นเครื่องบินชม everest  ตื่นเต้นมากจะได้เข้าใกล้ดินแดนแห่งสรวงสวรรค์ที่สถิตย์ขององค์ทวยเทพ พวกเราไปทั้งหมด  12  คน จาก  17   คน  มาโนชไปส่งที่สนามบิน เที่ยวบิน 500  เลขที่นั่ง  12 A
  มาโนช นำตั๋วบินมาให้ทุกคน และ ให้ทุกคนจับเลือกตั๋วที่นั่งเอง เราโชคดีได้ที่นั่ง 12 A  ในเที่ยวบิน แต่ละแถวแต่ละข้าง มี  2  ที่นั่ง ทุกที่นั่งจะชิด หน้าต่างเป็นที่นั่ง A  และ  D เมื่อเรียบร้อยเดินเข้า gate  นั่งรอเวลาขี้นเครื่อง  
  ในขณะนั่งรอ broading pass เรามองเห็น monitor TV  ขึ้นเที่ยวบิน mountain flight  หลายเที่ยวบิน  และแล้ว ภา กับ ต้า ก็มาบอกว่าเขาเรียกแล้ว เราทุกคนเดินออกไปขึ้นเครื่อง ก่อนอื่นถ่ายรูป
และแล้วทุกคนก็ขึ้นเครื่องประจำที่นั่ง
พนักงานแจก แผ่นพับข้อมูลการดู ยอดเขาต่าง ๆ ของเทือกเขาหิมาลับ

ขณะกำลังบิน แอร์ได้มาแนะนำว่าขณะนี้กำลังผ่านยอดเขาอะไร ...
พอถึงระยะใกล้ everest แอร์มาพาไปที่ห้องกัปตัน เพื่อให้ถ่ายรูป
มีความสุข จบแล้ว  everest
ขึ้นรถกลับสู่ Terminal รอมาโนช มารับ
   
                 มาโนชมารับกลับโรงแรม รับประทานอาหารเช้าด้วยความสุข เก็บสัมภาระ เตรียมตัวกลับบ้านที่รักยิ่งของเราทุกคนคือ ประเทศไทย เนื่องด้วยสนามบินอยู่ใกล้ที่พักมาก จึงออกจากโรงแรม ถึงสนามบินเพียง 30 นาที เดินทางกลับด้วยเที่ยวบิน  SL 22  
       ขอบคุณ ผู้ร่วมเดินทางทุกท่าน  ขอบคุณ  ช่างภาพทุกท่านที่ถ่ายภาพแล้วนำภาพมาใส่ไว้ในกลุ่มทำให้ได้ภาพที่สวยงามหลายแง่มุม
Namaste Nepal ....สวัสดีเนปาล....พบกันใหม่
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่