Namaste Nepal สวัสดีเนปาล (ตอนที่ 5)

Namaste Nepal สวัสดีเนปาล (ตอนที่ 5..ภัคตะปูร์ ... เมืองแห่งเทพเจ้า...สู่นากาก๊อต....อรุณสวัสดิ์...หิมาลัย...)
                พระราชวัง 55 พระแกล (ประตูทองคำ) ... เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่และมีความรุ่งเรืองทางการค้ามาก่อน ทำให้มีพระราชวังที่ศิลปะบ่งบอกถึงความสามารถของช่างไม้ชาวเนปาลในศตวรรษที่ 18 …พระราชวังสร้างด้วยอิฐแดง ใต้หลังคามีคันทวยแกะสลักรายรอบ แต่ที่เด่นชัด คือไม้แกะสลักที่ได้ชื่อว่างดงามที่สุดในบรรดาไม้แกะสลักมีชื่อทั่วโลก หน้าต่างของพระราชวังเป็นไม้แกะสลักถึง 55 บาน ตั้งอยู่ในกำแพงอิฐ ซึ่งสร้างโดยกษัตริย์มัลละ เหตุที่ต้องมีหน้าต่าง 55 บานนั้น ด้วยกษัตริย์ที่สร้างพระราชวังนี้มีพระชายาที่ทรงโปรดปราน 55 คน เมื่อถึงพระราชพิธีที่สำคัญ พระชายาจะเผยโฉมตรงพระแกลนี่แหละ … ต้นเหตุของการมี 55 พระแกลก็มีด้วยประการละฉะนี้...(...อะไรจะรักเท่าเทียมกันปานนั้น ...ช่างยุติธรรมเสียจริ้งจริง...)
         

บริเวณนี้เรียกว่าจัตุรัสดูบาร์สแควร์ภักตะปูร์
     เย็นมากแล้วออกจากพระราชวังพวกเรานั่งรอสาวเนปาลีไปช้อปกัน สำหรับพวกเราคงจะมีความสุขที่ได้ดูสถาปัตยกรรมดีกว่า ระหว่างรอก็เลยถ่ายรูปกัน
   เมื่อนั่งรอ จนได้เวลานัดหมายเดินออกไปรอที่หน้าประตูทางเข้า กำลังยืนรอแบบเก้เก้กังกัง  อยู่ก็มีพ่อค้าเนปาล นำมีดพกกุรข่ามาส่งให้เราดู เหมือนจะรู้ใจว่าอยากได้ ทั้งที่ยืนกันอยู่ตั้ง 6 คน  แต่เจาะจงให้เราโดยเฉพาะ เห็นแล้วชอบเลยเล็กพอดีไม่เคยเห็น ( ที่ผ่านมามีแต่ใหญ่ ๆ ว่ากันว่า...เป็นมีดที่ดีที่สุด...แข็งแกร่งทำด้วยเหล็กกล้า.. ) ต่อกันไปมา ซื้อดีกว่า ...เดี๋ยวพลาดอีก..หลายครั้ง....เพราะการตัดสินใจช้า..ลังเล ( แต่เห็นท่าทางอ้อนวอนของพ่อค้า...แล้วใจอ่อนเลย ..ไม่ได้ซื้อทั้งหมดนะ...หรือคนขายนึกว่าเป็นพวกเดียวกัน..ดำ.. ดำ.. มอม มอม...)
        เมื่อทุกคนพร้อมเดินทางไปนากาก๊อต โปรแกรมวันนี้ดูพระอาทิตย์อัสดงที่หิมาลัย แต่ทุกอย่างไม่สมปราถนา เพราะเวลา late ไปมากเส้นทางการขับรถลำบากขึ้นภูเขาแถมมีรถสวนทางมาก็หลบกันยากลำบาก นากาก๊อตห่างจากภัคตะปูร์  14 km ดังนั้นก็เลยผ่านโปรแกรมนี้ไว้ดูพระอาทิตย์ขึ้นที่หิมาลัย 180 อาศาก็ได้ เรามาพักกันที่ Club Himalaya Hotel เป็นโรงแรมที่ตั้งอยู่บนเนินเขาสวยงามมาก
     สุริยะฉายฉานที่เทือกเขาหิมาลัย มองจากระเบียงห้องของโรงแรม

         หลังจากรับประทานอาหารเช้าเดินทางไปเมืองปาฏัน ( ลลิตะปูร์ Kirtipur) เข้าเฝ้ากุมารี แห่งเมืองปาฏัน  
       กุมารี (เนปาล: कुमारी; อังกฤษ: Kumari) คือเทพธิดาผู้มีชีวิตจริงของชาวเนปาล ที่เชื่อว่าเป็นปางหนึ่งของเทวีทาเลจู ซึ่งเป็นปางหนึ่งของเทวีทุรคา ศักติ (ชายา) ของพระศิวะ ซึ่งเป็นหนึ่งในตรีมูรติ (เทพผู้ยิ่งใหญ่ 3 องค์)  กุมารีมาจากการสรรหาเด็กหญิงอายุ 4-5 ปี ในหมู่ชาวเนวารี  จากตระกูลช่างทอง หรือ ช่างเงินวงศ์ศากยะ (Sakya) เท่านั้น การคัดเลือกทำโดยสังฆราช ๕ รูป และโหรหลวง ตรวจดวงชะตาของเด็กหญิงชาวศักกายะ แต่ยังมีหลักเกณฑ์ อื่นประกอบด้วย...แต่มีข้อหนึ่งคือ...การหยั่งรู้...สามารถหยิบเครื่องใช้ต่าง ๆ (เสื่อ ผ้า  ของใช้  ฯลฯ...) ของกุมารีองค์ก่อนได้ถูกต้อง และสิ่งสำคัญคือดวงชะตาของกุมารีต้องเสริมส่งดวงของกษัตร์ (..แต่ปัจจุบัน..อาจดวงสมพงษ์ผู้บริหารประเทศ และดวงของประเทศ...กระมั้งค่ะ)
     เมื่อคัดเลือกได้แล้ว เด็กหญิงคนนั้นจะต้องจากครอบครัวของเธอมาอาศัยอยู่กับครอบครัวของผู้ดูแลภายในวังใหญ่ ที่เรียกว่า การ์  กุมารีจะพ้นสภาพการเป็นกุมารีไปเมื่อเด็กหญิงมีประจำเดือนเป็นครั้งแรก และจะมีการสรรหากุมารีองค์ใหม่ มาแทน
      ชีวิตของกุมารีมีข้อจำกัดข้อห้ามมากมาย แต่เด็กหญิงชาวเนปาลส่วนใหญ่ ก็ต้องการที่จะเป็นกุมารีเพราะมีเกียรติสูง และครอบครัวของเธอก็จะได้รับการดูแลจากรัฐบาลเป็นอย่างดี กุมารีของเนปาล จะมีทั้งในเมืองหลวง คือ กาฐม าณฑุ และเมืองสำคัญอื่น ๆ เช่นที่ ปาฏัน หรือภักตปุระ
      เมื่อพวกเราไปถึงวังของกุมารี เป็นบ้านหลังเล็ก ๆ ถอดร้องเท้าแล้วขึ้นบันได ถึงชั้น  2  ก่อนเข้าไปในห้องโถงที่กุมารีให้คนเข้าเฝ้าจะมีแม่บ้านรินน้ำจากคณโฑสีทองให้พวกเราล้างมือลงในอ่างล้างมือทองเหลือง เมื่อทุกคนพร้อม คุณแม่ของกุมารีจะอุ้มกุมารีให้ประทับที่บัลลังก์ ( ภายหลังจากที่ทุกคนยังอยู่ที่ห้องประทับ..เราได้คุยกับผู้ที่รดน้ำล้างมือจึงได้รู้ว่าเป็นคุณแม่กุมารี กุมารีอายุ  7  ขวบแต่ดูเล็กมาก ได้รับการคัดเลือกปีที่แล้ว มีผู้เข้ารับการคัดเลือก  5  คน อาชีพเดิมของครอบครัวเป็นช่างปั้นหม้อ มีน้องอีก  2  คน  เลี้ยงอยู่กับกุมารี ในห้องข้าง ๆ ห้องที่เข้าเฝ้า...ดูแล้วน่าสงสารยังเด็กอยู่แท้ ๆ  ...แต่รับภาระใหญ่หลวง.. )
    ออกจากการ์ (วังของกุมารี) หรือรัตนาคารมหาวิหาร (ที่ประทับของกุมารีแห่งปาฏัน)  เดินชมเมืองลลิตะปูร์ หรือเมืองปาฏัน ซึ่งวังของกุมารีก็อยู่ในบริเวณเดียวกัน
    ปาฏัน ถูกเรียกว่า “ลลิตปูร์” หรือ “ละลิตปุระ” ซึ่งแปลว่า “เมืองที่สวยงามอย่างน่ารัก” … เป็นเมืองมรดกโลกที่ยังมีชุมชนอยู่อาศัยต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่ครั้งอดีต 
   ปาฏัน (สันสกฤต: पाटन Pātan) หรือ ยละ (เนวาร์: यल Yala) หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า มหานครลลิตปุร (เนปาล: ललितपुर महानगरपालिका) เป็นหนึ่งในเมืองหลักของเนปาล ตั้งอยู่ทางตอนกลางค่อนไปทางใต้ของหุบเขากาฐมาณฑุ ปาฏันถือเป็นนครที่มีศิลปะและวัฒนธรรมงดงามมากที่สุด    ชาวเมืองปาฏันจะเรียกตนเองอย่างหนึ่งว่า  ชาวเนวารี ... เมืองนี้จะมีประเพณีแปลก ที่เราคาดไม่ถึงเช่นการแต่งงานของผู้หญิงเนวารี  3 ครั้ง ในชีวิต...คือ ครั้งแรก .. คือแต่งงานกับลูกพลับหรือแต่งงานพระศิวะ ... ครั้งสองแต่งงานกับพระอาทิตย์ .. และแต่งงานจริง
...พิธีแต่งงานกับลูกพลับหรือตัวแทนของพระศิวะมีขึ้นก่อนอายุ 6-7 ขวบ เรียกว่า “อีห์” หรือเบลล์วิวาห์ ...การแต่งงานครั้งที่ 2 เป็นการแต่งงานกับ “พระอาทิตย์” .. เกิดขึ้นก่อนที่เด็กหญิงจะมีรอบเดือน  เชื่อกันว่า หากสตรีฮินดูได้ผ่านพิธีกรรมนี้แล้ว ... องค์สุริยะเทพจะให้ความเมตตา และปกปักษ์รักษาสตรีผู้นั้นตลอดไปทั้งภพนี้ และภพหน้า  ..ส่วนการแต่งงานครั้งที่ 3 .. เป็นการแต่งงานกับชายที่มีเลือดเนื้อจริงๆ ทำพิธีเมื่อไหร่ก็ได้หากเธอมีคนรักที่เหมาะสม  จากนี้เธอจะแต่งงานกับใครไม่ได้แล้ว ..  สามีที่เป็นองค์สุริยันยังคงรอเธออยู่ในกรณีที่สามีที่มีชีวิตจากเธอไป ... ส่วนเธอเองก็ยังมีสามีลูกพลับที่เธอนอนกอดได้ทุกวัน .. ( น่าสงสารเสียจริง...)
   แม้ปาฏันมีถนนวงแหวนรอบหุบเขากาฐมาณฑุและถนนที่เชื่อมต่อกับเมืองหลวงกาฐมาณฑุเพียงข้ามแม่น้ำพัคมตี แต่ก็ประสบปัญหาจราจรติดขัด ปัจจุบันได้มีความพยายามที่จะขยายถนน
   เมืองปาฏันมีศาสนสถานและโบราณสถานที่น่าสนใจจำนวนมาก เช่น จัตุรัสปาฏันดูร์บาร์, ปาฏันโธขา, รัตนาคารมหาวิหาร (ที่ประทับของกุมารีแห่งปาฏัน) หรือวัดมหาพุทธะ ฯ
มองเห็นวิหารพระกฤษณะด้านหลัง...บริเวณนี้คือ Kirtipur Dubar Square
    ปาฏันหรือละลิตะปูร์ ( Kirtipur )เมืองแห่งศิลปะที่มีช่างและศิลปินที่บันดาลสร้างสรรค์งานศิลป์ชั้นครูมากมาย จนกลายเป็นเมืองศูนย์กลางของงานวิจิตรศิลป์และหัตถศิลป์ที่โดดเด่น ทั้งงานแกะสลักไม้ จำหลักหิน และประติมากรรมสำริดมากมาย (...แต่ความงดงามของศิลปะการแกะสลักไม้ที่มากมายจนล้น นั้น เมื่อมารวมกัน เรามองว่ามากเกินสวย เหมือนคนที่แต่งกายสวมใส่มากจนเกินงาม..ความเห็นส่วนตัว...)
    การได้เดินทอดน่องชมผลงานศิลปะสถาปัตยกรรม ที่เทวสถานฮินดูที่สร้างถวายพระศิวะ พระนารายณ์ และพระกฤษณะที่ตั้งเรียงรายรอบจัตุรัส ( ต่อ..
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่