Namaste Nepal สวัสดีเนปาล (บทส่งท้าย...จากใจของผู้บันทึก...)
บทส่งท้าย...จากใจของผู้บันทึก... การเขียนบันทึกการท่องเที่ยวเนปาลครั้งนี้ในความรู้สึกของตัวเองคิดว่าเป็นการเขียนที่ยากมาก... ด้วยใจจริงไม่อยากเขียน เพราะการเขียนทุกครั้งรู้สึกกดดันตัวเอง...เพราะมีหลายสาเหตุ..หลายประการ ... เช่น
1. ความรู้พื้นฐานในประวัติศาสตร์พื้นฐานของเนปาลของตัวเองมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่รู้อะไรเลย... ( คะแนน 10 / 100 )
2. เมื่ออ่านประวัติศาสตร์ไป..อ่านไปเรื่อย ๆ...ถีงเรื่องการสังหารราชวงศ์เนปาล ..เหตุแผ่นดินไหวเมื่อปี 2015...โบราณสถานที่เป็นมรดกโลก 6 แห่งพังทลาย คนตายนับพัน คนหายนับหมื่น บ้านเรือนพังทลาย ความยากจน ความหิวโหย ความหนาวเย็น ไม่มีบ้าน..ไม่มีกิน...จะทำอย่างไร..น้ำกิน..น้ำใช้...อยู่ที่ไหน..ทำไมแม่น้ำถึงเป็นอย่างนี้...เกิดความทุกข์อีก
3. การเขียนบางครั้งอยากจะเขียนตามที่ใจคิด แต่บางทีก็ไม่อาจทำได้ บางประโยค บางข้อความอาจกำกวมไม่ชัดเจนเพราะอาจจะเกี่ยวโยงกับความจริง ความเชื่อ ความศรัทธาฯ เช่น หลักการคัดเลือกกุมารี...การแต่งงานของเด็กหญิงชาวเนวารี...แต่อย่างไรก็ตามอยากให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากที่สุด....
4. เมื่อเห็นสภาพที่แท้จริงของชาวเนปาล ( Kathmandu...BHaktapu...Patan.. ) ยังยากจน... ฝุ่นมากมาย ...เขาอยู่กันได้อย่างไร...สุขภาพจะเป็นอย่างไร...เด็กจะได้เรียนไหม... เหมือนที่นักเขียนท่านหนึ่งกล่าวว่า..ถ้าเลือกได้อาชีพนี้อย่าไปทำเลย..อย่าเป็นนักเขียนเลย...เราจะเป็นคนป่วยตลอดเวลา...(...เพราะเราเอาจิตเราไปผูกกับเรื่องหรือภาพที่พบเห็น..)
5.ชื่อเฉพาะของเนปาล เมื่อเขียนเป็นภาษาไทยค่อนข้างยาก เพราะการสะกด อาจทำให้ไม่คงที่ เช่น ภัคตะปูร์..ภักตะปูร์..บักตาปูร์...มัจฉปูร์ชเร...มัจฉปูร์ชเรย์..มัจฉปูชเรย์...นากาก็อต...นาคราคอท ...นคราโกต นากากอต...ปาฏัน ...ปาทัน ลลิตะปูร์ ..ละลิตปูร์ ...กาฐมัณฑุ..กาฐมาณฑุ..กานติปุระ..กานติปูร์..โพธนาถ...โพธนารถ...โพธินาถ...โพธานารถ...จึงทำให้การเขียนสับสน ...ถ้าใช้ภาษาอังกฤษอาจจะคงที่...
6.ความกดดันของตัวเอง เช่น การเขียนก็อยากเขียนให้คนอ่าน...อ่านแบบสนุก... แต่บางครั้งรู้สึกว่า...ก็อาจ..จะไม่สนุกตาม ..ยิ่งการเขียนที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์เป็นเรื่องละเอียด ผู้เขียนอาจจะไม่สามารถอธิบายให้ผู้อ่านได้เข้าใจตรงประเด็น ...เรื่องราวของประวัติศาสตร์ต้องมีการเชื่อมโยงต่อเนื่อง.หลาย ๆ เหตุผล แล้วนำมาประมวล สรุปผล ....ค่อนข้างยาก..ยิ่งการเลือกรูปก็ลำบากเพราะรูปมากมาย...สวยทุกรูป...อยากลงให้ทุกคน ...บางครั้งไม่ครบก็เกรงใจเพื่อนอีก
7.ก่อนเขียน...ไม่อยากเขียนหรอก...เพราะเป็นเรื่องภาระผูกพัน ... แต่พอเขียนเขียนไป... กว่าจะได้สักบรรทัดฯลฯก็อ่านแล้วอ่านอีก บางที่ใช้เวลาเป็น ชั่วโมง...
8. พอจบตอนแล้ว ก็ต้องขึ้นตอนใหม่ เหมือนทำการบ้าน การเขียนรายงาน อยากส่งครูเลย ..อยากส่งแบบนักเรียนไม่ต้องกังวล แต่เราเกินนักเรียนแล้วก็ต้องอ่านอีก...
9. หลายครั้งที่กลับจากการท่องเที่ยว...ก็อยากเขียน ..แต่บางทีก็เขียนไม่ออก...เริ่มต้นไม่ได้...
10.ไปประเทศไหน.(..อินเดีย พม่า เนปาล อินโดนีเซีย...กัมพูชา....) แล้วพอกลับแล้วเขียนบันทึก ก็รู้สึกว่า อยากไปซ้ำอีกเพราะได้รู้ว่าเรายังขาดข้อมูลอะไรต่ออะไรอีกเยอะ....
11. ข้อจำกัดของจำนวนข้อมูล (10,000 คำ/ ตอน) ก็ทำให้การเขียน ต้องรวบรัด เช่นตอนที่ 6...
12. ความทุกข์..ความเศร้า..ความคิดมาก...ก็เป็นอุปสรรคต่อการเขียน...
บทส่งท้ายนี้ ผู้เขียนประทับใจประเทศเนปาลมาก ประเทศที่มีแต่สถาปัตยกรรมที่งดงาม ราวกับเทพเนรมิต ประเทศที่เหมือนไม่มีความสะดวกสบาย แต่เป็นประเทศที่คนทั่วโลกอยากมาเห็น อยากมาเยี่ยม อยากมา trekking อยากมา summit Everest (...ยอดเขาเอเวอเรสต์ไม่ได้เป็นเพียงแค่จุดที่สูงที่สุดบนพื้นโลกเท่านั้น แต่ยังเป็นจุดหมายสูงสุดในชีวิตของมนุษย์ การไปให้ถึงยอดเขาเอเวอเรสต์เป็นเรื่องที่ยากลำบาก...ต้องผ่านจุดแห่งความตาย (Death Zone:Climbers and scientists have a special name for the highest part of Everest, or everything above 26,247 feet (8,000 meters): "The Death Zone." In the Death Zone, oxygen is so limited that the body's cells start to die. Climbers' judgment becomes impaired, and they can experience heart attacks, strokes, or severe altitude sickness.) ความสูงเกิน 8,ooo m แต่ถ้าใครพิชิตยอดเขาแห่งนี้ได้ ว่ากันว่านั่นคือการได้ก้าวข้ามขีดจำกัดของมนุษยชาติได้ในที่สุค...คงมีแต่เทวะ เท่านั้นที่ได้เหยียบ..Everest... อยาก... อยาก..อยาก...อยากไป Namaste Nepal ....อีกสักครั้ง... และท้ายสุดขอบคุณเพื่อร่วมทริปทุกคน โดยเฉพาะไกด์ น้องไก่ต๊อก คุณมาโนช...พนักงานขับรถ ...ผู้ช่วย... ขอขอบคุณอีกครั้งจากใจจริง
Namaste Nepal ...see you again...
Bye....Bye....Goodbye....
Namaste Nepal สวัสดีเนปาล (บทส่งท้าย...จากใจของผู้บันทึก....)
1. ความรู้พื้นฐานในประวัติศาสตร์พื้นฐานของเนปาลของตัวเองมีน้อยมาก หรือแทบจะไม่รู้อะไรเลย... ( คะแนน 10 / 100 )
2. เมื่ออ่านประวัติศาสตร์ไป..อ่านไปเรื่อย ๆ...ถีงเรื่องการสังหารราชวงศ์เนปาล ..เหตุแผ่นดินไหวเมื่อปี 2015...โบราณสถานที่เป็นมรดกโลก 6 แห่งพังทลาย คนตายนับพัน คนหายนับหมื่น บ้านเรือนพังทลาย ความยากจน ความหิวโหย ความหนาวเย็น ไม่มีบ้าน..ไม่มีกิน...จะทำอย่างไร..น้ำกิน..น้ำใช้...อยู่ที่ไหน..ทำไมแม่น้ำถึงเป็นอย่างนี้...เกิดความทุกข์อีก
3. การเขียนบางครั้งอยากจะเขียนตามที่ใจคิด แต่บางทีก็ไม่อาจทำได้ บางประโยค บางข้อความอาจกำกวมไม่ชัดเจนเพราะอาจจะเกี่ยวโยงกับความจริง ความเชื่อ ความศรัทธาฯ เช่น หลักการคัดเลือกกุมารี...การแต่งงานของเด็กหญิงชาวเนวารี...แต่อย่างไรก็ตามอยากให้ผู้อ่านได้เข้าใจมากที่สุด....
4. เมื่อเห็นสภาพที่แท้จริงของชาวเนปาล ( Kathmandu...BHaktapu...Patan.. ) ยังยากจน... ฝุ่นมากมาย ...เขาอยู่กันได้อย่างไร...สุขภาพจะเป็นอย่างไร...เด็กจะได้เรียนไหม... เหมือนที่นักเขียนท่านหนึ่งกล่าวว่า..ถ้าเลือกได้อาชีพนี้อย่าไปทำเลย..อย่าเป็นนักเขียนเลย...เราจะเป็นคนป่วยตลอดเวลา...(...เพราะเราเอาจิตเราไปผูกกับเรื่องหรือภาพที่พบเห็น..)
5.ชื่อเฉพาะของเนปาล เมื่อเขียนเป็นภาษาไทยค่อนข้างยาก เพราะการสะกด อาจทำให้ไม่คงที่ เช่น ภัคตะปูร์..ภักตะปูร์..บักตาปูร์...มัจฉปูร์ชเร...มัจฉปูร์ชเรย์..มัจฉปูชเรย์...นากาก็อต...นาคราคอท ...นคราโกต นากากอต...ปาฏัน ...ปาทัน ลลิตะปูร์ ..ละลิตปูร์ ...กาฐมัณฑุ..กาฐมาณฑุ..กานติปุระ..กานติปูร์..โพธนาถ...โพธนารถ...โพธินาถ...โพธานารถ...จึงทำให้การเขียนสับสน ...ถ้าใช้ภาษาอังกฤษอาจจะคงที่...
6.ความกดดันของตัวเอง เช่น การเขียนก็อยากเขียนให้คนอ่าน...อ่านแบบสนุก... แต่บางครั้งรู้สึกว่า...ก็อาจ..จะไม่สนุกตาม ..ยิ่งการเขียนที่เชื่อมโยงประวัติศาสตร์เป็นเรื่องละเอียด ผู้เขียนอาจจะไม่สามารถอธิบายให้ผู้อ่านได้เข้าใจตรงประเด็น ...เรื่องราวของประวัติศาสตร์ต้องมีการเชื่อมโยงต่อเนื่อง.หลาย ๆ เหตุผล แล้วนำมาประมวล สรุปผล ....ค่อนข้างยาก..ยิ่งการเลือกรูปก็ลำบากเพราะรูปมากมาย...สวยทุกรูป...อยากลงให้ทุกคน ...บางครั้งไม่ครบก็เกรงใจเพื่อนอีก
7.ก่อนเขียน...ไม่อยากเขียนหรอก...เพราะเป็นเรื่องภาระผูกพัน ... แต่พอเขียนเขียนไป... กว่าจะได้สักบรรทัดฯลฯก็อ่านแล้วอ่านอีก บางที่ใช้เวลาเป็น ชั่วโมง...
8. พอจบตอนแล้ว ก็ต้องขึ้นตอนใหม่ เหมือนทำการบ้าน การเขียนรายงาน อยากส่งครูเลย ..อยากส่งแบบนักเรียนไม่ต้องกังวล แต่เราเกินนักเรียนแล้วก็ต้องอ่านอีก...
9. หลายครั้งที่กลับจากการท่องเที่ยว...ก็อยากเขียน ..แต่บางทีก็เขียนไม่ออก...เริ่มต้นไม่ได้...
10.ไปประเทศไหน.(..อินเดีย พม่า เนปาล อินโดนีเซีย...กัมพูชา....) แล้วพอกลับแล้วเขียนบันทึก ก็รู้สึกว่า อยากไปซ้ำอีกเพราะได้รู้ว่าเรายังขาดข้อมูลอะไรต่ออะไรอีกเยอะ....
11. ข้อจำกัดของจำนวนข้อมูล (10,000 คำ/ ตอน) ก็ทำให้การเขียน ต้องรวบรัด เช่นตอนที่ 6...
12. ความทุกข์..ความเศร้า..ความคิดมาก...ก็เป็นอุปสรรคต่อการเขียน...