เหตุใด “เดจาวู” ทำให้คนเชื่อมั่นว่าตนเองทำนายเหตุการณ์อนาคตได้ – BBCไทย
เดจาวู (Déjà vu) ถือเป็นประสบการณ์ทางจิตน่าพิศวงที่น่าจะเคยเกิดขึ้นกับหลายคน เช่นรู้สึกคุ้นกับสถานที่ที่ไม่เคยไปเยือนมาก่อน หรือรู้สึกว่าเหตุการณ์บางอย่างได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่ก็นึกไม่ออกว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใดกันแน่
หลังเกิดประสบการณ์เดจาวู บางคนยังเกิดความสามารถหยั่งรู้ที่ทำนายได้ว่า เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นในลำดับถัดไป ซึ่งเจ้าตัวก็มักจะพบว่าการรับรู้ล่วงหน้าหรือ “เซนส์” ของตนเองนั้น มีความแม่นยำเป็นส่วนใหญ่
แม้ดูเหมือนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ลึกลับ เช่น การระลึกชาติ หรือการใช้พลังจิต แต่งานวิจัยทางจิตวิทยาล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตตของสหรัฐฯ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Psychonomic Bulletin & Review กลับชี้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกลลวงของสมองที่ทำให้เรามี “อคติ” เชื่อมั่นอย่างผิด ๆ ในความสามารถหยั่งรู้ที่ไม่มีอยู่จริง
มีการทดลองใช้เทคโนโลยี VR ทำให้อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรู้สึกได้ว่า ตนเองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงที่มีฉากแวดล้อมคล้ายเกมคอมพิวเตอร์ โดยฉากเหล่านี้จะกระตุ้นให้อาสาสมัครเกิดความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาแบบเดจาวูขึ้น
จากนั้นทีมผู้วิจัยจะเลื่อนฉากแวดล้อมดังกล่าวไปทางซ้ายหรือขวาแบบสุ่ม แล้วให้อาสาสมัครตอบคำถามว่า ฉากที่ได้เห็นหลังจากถูกเลื่อนไปแล้วนั้น ตรงกับที่พวกเขาคาดหมายไว้หรือไม่ ทั้งยังให้อาสาสมัครให้คะแนนความรู้สึกคุ้นเคยต่อฉากที่ได้เห็นในตอนก่อนเลื่อนและหลังเลื่อนไปอีกด้วย
ผลการทดลองพบว่า เมื่ออาสาสมัครมีความรู้สึกชัดเจนรุนแรงหลังเกิดเดจาวู โดยคิดว่าตนเองล่วงรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในลำดับถัดไปอย่างแน่นอน เมื่อนั้นพวกเขาจะเกิดอคติที่ทำให้เชื่อว่า เหตุการณ์อนาคตที่ตามมาเป็นไปอย่างที่ตนเองได้ทำนายไว้อย่างแม่นยำ เหมือนกับคำพูดที่ว่า “ฉันรู้อยู่แล้วว่ามันต้องเป็นแบบนั้น”
แต่อันที่จริงแล้ว ผู้ที่มีประสบการณ์เดจาวูและเกิดความรู้สึกหยั่งรู้ตามมา กำลังมีอคติในการทำนายทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์เกิดขึ้น (Predictive and Postdictive biases) เนื่องจากเหตุการณ์ที่ใช้ทดลองนั้นเกิดขึ้นในโลกเสมือนจริง จึงไม่มีทางที่อาสาสมัครจะเคยไปยังสถานที่ดังกล่าว หรือพบเห็นเหตุการณ์นั้นมาก่อนได้ ซึ่งชี้ว่าความสามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ที่ตามมาหลังเกิดเดจาวูก็ไม่มีอยู่จริงเช่นกัน
สมองของคนเรามีความซับซ้อน จนทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาที่น่าพิศวงขึ้นได้
ศาสตราจารย์ แอนน์ เคลียรี่ ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า “คำถามก็คือ เหตุใดคนที่มีประสบการณ์เดจาวูจึงเชื่อเป็นตุเป็นตะว่าตนเองทำนายอนาคตได้ถูกต้องแม่นยำแบบนั้น ?”
“เมื่อตรวจดูผลคะแนนเรื่องความรู้สึกคุ้นเคยต่อฉากที่ได้เห็น เราพบว่าอาสาสมัครให้คะแนนความคุ้นเคยสูงทั้งต่อฉากที่ได้เห็นเป็นฉากแรก และต่อฉากที่เลื่อนเข้ามาแทนที่ภายหลัง ความรู้สึกคุ้นเคยหรือเดจาวูที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้สมองเข้าใจไปว่าเราล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตมาโดยตลอดอยู่แล้ว”
ทั้งนี้ งานวิจัยในอดีตของ ศ. เคลียรี่ชี้ว่า เดจาวูเกิดจากความทรงจำในสมองมีความบกพร่องชั่วขณะ โดยระหว่างที่สมองพยายามจะดึงความทรงจำเก่าที่กักเก็บไว้ออกมานั้น มันกลับหาตำแหน่งของความทรงจำดังกล่าวไม่พบ ทำให้เกิดความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาแต่ก็นึกไม่ออก เหมือนตอนที่หลายคนพยายามนึกถึงชื่อสิ่งของบางอย่างที่ “ติดอยู่ที่ริมฝีปาก”ซึ่งให้อารมณ์คล้ายกับกำลังจะนึกออกแต่ก็นึกไม่ได้เสียที
งานวิจัยโครงการต่อไปของ ศ. เคลียรี่ยังรวมถึงการศึกษาค้นคว้าว่า นอกจากการมองเห็นแล้ว คนเราจะสามารถมีประสบการณ์เดจาวูผ่านการได้ยินเสียงได้หรือไม่ ซึ่งหากปรากฎการณ์นี้มีอยู่จริงคงจะต้องเรียกว่า “เดจา อองตองดู” (Déjà entendu) แทนเดจาวู ซึ่งหมายถึงการพบเห็นมาแล้วเท่านั้น
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3091838
เหตุใด “เดจาวู” ทำให้คนเชื่อมั่นว่าตนเองทำนายเหตุการณ์อนาคตได้
เดจาวู (Déjà vu) ถือเป็นประสบการณ์ทางจิตน่าพิศวงที่น่าจะเคยเกิดขึ้นกับหลายคน เช่นรู้สึกคุ้นกับสถานที่ที่ไม่เคยไปเยือนมาก่อน หรือรู้สึกว่าเหตุการณ์บางอย่างได้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต แต่ก็นึกไม่ออกว่าเรื่องนั้นเกิดขึ้นที่ไหนและเมื่อใดกันแน่
หลังเกิดประสบการณ์เดจาวู บางคนยังเกิดความสามารถหยั่งรู้ที่ทำนายได้ว่า เหตุการณ์อะไรจะเกิดขึ้นในลำดับถัดไป ซึ่งเจ้าตัวก็มักจะพบว่าการรับรู้ล่วงหน้าหรือ “เซนส์” ของตนเองนั้น มีความแม่นยำเป็นส่วนใหญ่
แม้ดูเหมือนว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้จะเกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ลึกลับ เช่น การระลึกชาติ หรือการใช้พลังจิต แต่งานวิจัยทางจิตวิทยาล่าสุดจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดสเตตของสหรัฐฯ ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Psychonomic Bulletin & Review กลับชี้ว่า สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกลลวงของสมองที่ทำให้เรามี “อคติ” เชื่อมั่นอย่างผิด ๆ ในความสามารถหยั่งรู้ที่ไม่มีอยู่จริง
มีการทดลองใช้เทคโนโลยี VR ทำให้อาสาสมัครกลุ่มหนึ่งรู้สึกได้ว่า ตนเองเข้าไปอยู่ในโลกเสมือนจริงที่มีฉากแวดล้อมคล้ายเกมคอมพิวเตอร์ โดยฉากเหล่านี้จะกระตุ้นให้อาสาสมัครเกิดความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาแบบเดจาวูขึ้น
จากนั้นทีมผู้วิจัยจะเลื่อนฉากแวดล้อมดังกล่าวไปทางซ้ายหรือขวาแบบสุ่ม แล้วให้อาสาสมัครตอบคำถามว่า ฉากที่ได้เห็นหลังจากถูกเลื่อนไปแล้วนั้น ตรงกับที่พวกเขาคาดหมายไว้หรือไม่ ทั้งยังให้อาสาสมัครให้คะแนนความรู้สึกคุ้นเคยต่อฉากที่ได้เห็นในตอนก่อนเลื่อนและหลังเลื่อนไปอีกด้วย
ผลการทดลองพบว่า เมื่ออาสาสมัครมีความรู้สึกชัดเจนรุนแรงหลังเกิดเดจาวู โดยคิดว่าตนเองล่วงรู้ถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในลำดับถัดไปอย่างแน่นอน เมื่อนั้นพวกเขาจะเกิดอคติที่ทำให้เชื่อว่า เหตุการณ์อนาคตที่ตามมาเป็นไปอย่างที่ตนเองได้ทำนายไว้อย่างแม่นยำ เหมือนกับคำพูดที่ว่า “ฉันรู้อยู่แล้วว่ามันต้องเป็นแบบนั้น”
แต่อันที่จริงแล้ว ผู้ที่มีประสบการณ์เดจาวูและเกิดความรู้สึกหยั่งรู้ตามมา กำลังมีอคติในการทำนายทั้งก่อนและหลังเหตุการณ์เกิดขึ้น (Predictive and Postdictive biases) เนื่องจากเหตุการณ์ที่ใช้ทดลองนั้นเกิดขึ้นในโลกเสมือนจริง จึงไม่มีทางที่อาสาสมัครจะเคยไปยังสถานที่ดังกล่าว หรือพบเห็นเหตุการณ์นั้นมาก่อนได้ ซึ่งชี้ว่าความสามารถหยั่งรู้เหตุการณ์ที่ตามมาหลังเกิดเดจาวูก็ไม่มีอยู่จริงเช่นกัน
สมองของคนเรามีความซับซ้อน จนทำให้เกิดปรากฎการณ์ทางจิตวิทยาที่น่าพิศวงขึ้นได้
ศาสตราจารย์ แอนน์ เคลียรี่ ผู้นำทีมวิจัยบอกว่า “คำถามก็คือ เหตุใดคนที่มีประสบการณ์เดจาวูจึงเชื่อเป็นตุเป็นตะว่าตนเองทำนายอนาคตได้ถูกต้องแม่นยำแบบนั้น ?”
“เมื่อตรวจดูผลคะแนนเรื่องความรู้สึกคุ้นเคยต่อฉากที่ได้เห็น เราพบว่าอาสาสมัครให้คะแนนความคุ้นเคยสูงทั้งต่อฉากที่ได้เห็นเป็นฉากแรก และต่อฉากที่เลื่อนเข้ามาแทนที่ภายหลัง ความรู้สึกคุ้นเคยหรือเดจาวูที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องนี้ ทำให้สมองเข้าใจไปว่าเราล่วงรู้เหตุการณ์ในอนาคตมาโดยตลอดอยู่แล้ว”
ทั้งนี้ งานวิจัยในอดีตของ ศ. เคลียรี่ชี้ว่า เดจาวูเกิดจากความทรงจำในสมองมีความบกพร่องชั่วขณะ โดยระหว่างที่สมองพยายามจะดึงความทรงจำเก่าที่กักเก็บไว้ออกมานั้น มันกลับหาตำแหน่งของความทรงจำดังกล่าวไม่พบ ทำให้เกิดความรู้สึกคลับคล้ายคลับคลาแต่ก็นึกไม่ออก เหมือนตอนที่หลายคนพยายามนึกถึงชื่อสิ่งของบางอย่างที่ “ติดอยู่ที่ริมฝีปาก”ซึ่งให้อารมณ์คล้ายกับกำลังจะนึกออกแต่ก็นึกไม่ได้เสียที
งานวิจัยโครงการต่อไปของ ศ. เคลียรี่ยังรวมถึงการศึกษาค้นคว้าว่า นอกจากการมองเห็นแล้ว คนเราจะสามารถมีประสบการณ์เดจาวูผ่านการได้ยินเสียงได้หรือไม่ ซึ่งหากปรากฎการณ์นี้มีอยู่จริงคงจะต้องเรียกว่า “เดจา อองตองดู” (Déjà entendu) แทนเดจาวู ซึ่งหมายถึงการพบเห็นมาแล้วเท่านั้น
ข่าวจาก : ข่าวสดออนไลน์
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3091838