Namaste Nepal สวัสดีเนปาล (ตอนที่ 4)

Namaste Nepal สวัสดีเนปาล ( ตอนที่ 4 ..ลาเทือกเขาพระศิวะ ..ณ .แรม  4 ค่ำ เดือน  12.  สู่เมือง ภัคตะปูร์...)

     ...เทือกเขาอันนาปุระ (Annapurna) มียอดเขาหางปลามัจฉาปูร์ชเร (Machapuchare) ที่สูงตระหง่านเสียดฟ้า( ความสูงของ  Machapuchare 6,993 m or 22,943 ft  ) ซึ่งเป็นยอดหนึ่งของอันนาปุรณะ ชาวเนปาลถือว่ามัจฉาปูร์ชเรเป็นยอดเขาศักดิ์สิทธื์เป๊นที่เคารพสักการะของชาวฮินดู โดยถือว่าเป็นที่สถิตย์ขององค์พระศิวะเจ้า ดังนั้นเพื่อแสดงความเคารพ รัฐบาลเนปาล ได้ประกาศสงวนยอดเขามัจฉาปูชเร (Machapuchare) หรือ ยอดเขาหางปลา (Mt. Fishtail) ไม่อนุญาตให้นักไต่เขาทั่วโลกพิชิต ประสงค์ให้เป็นที่สถิตย์ขององค์พระศิวะ (...Machapuchare, “Fish Tail Mountain,” where no human has ever set foot…or have they? ...)  อย่างไรก็ตามยังมีผู้ลักลอบขึ้นมัฉาปูชร์เรอย่างผิดกฏหมาย ...และต้องเสียชีวิตอย่างเศร้าสลดจากการถล่มของหิมะ...

       ชื่อ "อันนะปูรณา" (अन्नपूर्णा, อนฺนปูรณา) เป็นภาษาสันสกฤต หมายถึง เทวีแห่งการเก็บเกี่ยว ซึ่งในคติทางฮินดู ถือเป็นปางที่ 8 ใน 9 ปางของ พระอุมาเทวี ชายาของพระศิวะ ที่ทรงเป็นผู้ประทาน ความอุดมสมบูรณ์ แก่พืชพันธุ์ธัญญาหาร เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าปาง "มหาเคารี" ซึ่งเป็นปางที่มีผู้สักการบูชามากที่สุด รองจากปาง "กาลราตรี" หรือ "เจ้าแม่กาลี"
      อันนะปุรณะ ถือเป็นหนึ่งในยอดเขาที่อันตรายที่สุดในโลก มีอัตราการเสียชีวิตของนักไต่เขาสูงถึงร้อยละ 40 จากสถิติจนถึงปี 2005  มีผู้พิชิตยอดเขาอันนะปุรณะสำเร็จเพียง  103 คน และมีผู้เสียชีวิตถึง 56 คน ส่วนมากเนื่องจากหิมะถล่ม
      ในความเป็นจริง มีนักไต่เขาทั่วโลกมาเยือนอันนะปุรณะ กว่า 40,000 คนต่อปี ซึ่งมากกว่าเอเวอร์เรสต์ 2 เท่า เนื่องจากอันนะปุรณะ มีความหลากหลายทางสภาพภูมิศาสตร์ ทั้งทะเลสาบในหุบเขาโปคราที่มีอากาศร้อนชื้น ไปจนถึงภูเขาน้ำแข็ง ประกอบไปด้วยพรรณไม้ และสัตว์ป่า เช่น แพะภูเขา เสือดาวหิมะ รวมทั้งนกต่างๆ กว่า 400 สปีชี่ส์ โดยมีชนเผ่าที่แตกต่างกันถึง 7 ชนเผ่า ทำให้เส้นทางเดินเขารอบทิวเขาอันนะปุรณะถือเป็น classic way แห่งหนึ่ง สำหรับนักไต่เขาทั่วโลก
 
           หลังจากกลับมาจากการชมพระอาทิตย์ทาบทายอดมัจฉปูร์ชเรแล้วทุกคนรับประทานอาหารเช้า พี่หนุ่ยรีบไปดูเสื้อวอร์มที่ลืมไว้เมื่อคืน แต่ไม่พบ อาจเป็นร้านยังไม่เปิด  แต่เช้านี้มีเพื่อนร่วมทริป คือ Ta  ไปพิชิต Annapurna Base Camp ด้วย Helicopter  เพราะ ไม่ต้องรีบออกจากโรงแรม Filght  กลับกาฐมาณฑุ 11.20 am ซึ่งสนามบินห่างจากโรงแรม  15 min ( ตอนขามาโภครา เรามาด้วยรถยนต์ใช้เวลาถึง 7  h แต่แวะค้างที่ Bundipur  1 คืน  ดังนั้นขากลด้วยเครื่องบินใช้เวลาเพียง  45  min ) หลังจาก Ta ออกไปปีน ( บิน )  ABC ประมาณ   2 h ก็กลับมาด้วยความสุขที่เป็นผู้พิชิตAnnapurna  Base Camp ส่วนพวกเราก็กระหยิ่มว่าพรุ่งนี้ฉันก็จะไปพิชิต Everset  เหมือนกัน ( หากย้อนเวลากลับไปได้ก็อยากไปพิชิตแบบ Trekking .หรือ hiking ก็ได้ ..ฝันไป..)

        เมื่อพร้อมกันแล้วไปสนามบินโภครา Bhuda Air เพื่อเดินทางไป Kathmandu ซึ่งรถบัสจะไปรอรับที่สนามบินกาฐมาณฑุ วันนี้สาวเนปาลีไปด้วยจะได้ไปถ่ายรูปที่เมืองอยุธยา...เอ้ย!...ภักตะปูร์กัน การ check in ที่นี่ไม่ต้องทำอะไรเลยไกด์จัดการเรียบร้อยได้ตั๋วบิน เลยผิดกับสนามบินศรีนาคา (อินเดีย... เข้มมาก ....มีทหารถือปืนกลคุม อย่างกับพวกเราเป็นเชลย...ขนาดเวลาลงจากเครื่องยัง check ตั๋วอีก ห้ามหาย.. ) พอถึงสนามบินก็ต้องถ่ายรูป (สนามบินที่นี่เหมือนท่ารถเมล์บ้านเราสมัย   30  ปี  ก่อน เครื่องบินจอดบนสนามบอล เดินไปขึ้นเครื่องเลย )
...โปรดสังเกตเท้าของทุกคน...ตลกมาก...อย่างกะนัดกัน
...สาวเนปาลี...แสนงามค่ะ...
     ด้วยวันนี้สายการบินช้าทำให้พวกเราต้องช้าตามไปด้วย เมื่อไปถึงกาฐมาณฑุแล้ว รถพาส่งที่ภักตะปูร์ เมืองภักตะปูร์ห่างจากกาฐมาณฑุ ประมาณ 20 km ตอนนี้เกือบ 2.00  pm เลยต้องไปกินข้าวก่อนที่ร้านอาหารจีน
     
        ภักตะปูร์ …เมืองมรดกโลก 1 ใน 7 ของเนปาล มีความหมายว่า เมืองที่ผู้คนภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้า เป็นเมืองที่อยู่ในหุบเขากาฏมาณฑุ ตั้งอยู่บนเนินสูง สร้างขึ้นในสมัยกษัตริย์อนันท์เทพมัลละ (Anand Dev Malla) ราวศตวรรษที่ 12  ในอดีตเป็นศูนย์กลางทางการค้าที่สำคัญระหว่างอินเดียกับทิเบต การเดินทางจากกาฏมาณฑุ …ไปนากาก๊อต ต้องผ่าน  เคยเป็นเมืองหลวงมาแต่โบราณเมืองนี้มีอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผาและงานทักทอ รวมไปจนถึงสถาปัตยกรรมที่งดงาม  อย่างกับเมืองเนรมิต ที่พระเจ้าสร้าง ทุกอย่างยังสมบูรณ์...นึกถึงอยุธยาเลย...ถ้าไม่ถูกทำลาย...
     ศูนย์กลางของเมืองที่เรียกว่าจัตุรัสดูบาร์ … รอบๆจตุรัสเป็นสถาปัตยกรรมขนาดใหญ่ทั้งสิ้น “เทวาลัยนยาตะโปลา” แห่งภักตะปุร์ ... เป็นมณฑปที่สูงที่สุดในเนปาล คือสูง 30 เมตร ... สร้างในสมัยกษัตริย์ภูปตินทระ มัลละ กษัตริย์ราชวงศ์มัลละ เมื่อพ.ศ.2245 ราวกว่า 300 ปีก่อน ร่วมสมัยกับยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย  หลังคามี 5 ชั้น จุดเด่นของวิหารแห่งนี้งามสง่ามาก ตัววิหารตั้งอยู่บนฐานสูงที่รูปทรงเป็นแบบปิรามิดลดหลั่นกันขึ้นไป 5 ชั้น แล้วมีบันไดที่ตัดตรงทะลุกลางเทวาลัย ตรงฐานทั้งห้ามีรูปสลักหินเป็นคู่ๆหันหน้าออกคล้ายกับเป็นผู้เฝ้าเทวาลัยแข็งแกร่งมากเมื่อขึ้นไปสัมผัสถึงได้รู้สึกของความยิ่งใหญ่ของรูปสลักหิน...

       ความหมายของรูปหินสลักล่างสุดเป็นรูปหินแกะสลักมนุษย์ .. ชั้นถัดไปเป็นรูปช้าง .. ถัดไปเป็นรูปสิงห์ .. ถัดจากชั้นสิงห์แกะสลักเป็นตัวพญาครุฑ … และที่แท่นบนสุดเป็นรูปแกะสลักหินของเทพเจ้า ผู้สร้างต้องการเปรียบเทียบให้เห็นว่า ในบรรดาสิ่งมีชีวิตนั้น ... มนุษย์อ่อนแอและต่ำต้อยที่สุด ในขณะที่เทพเจ้านั้นทรงพลังสูงสุด
                 10 พลังคน เท่ากับ 1 พลังช้าง
                 10 พลังช้าง จึงจะเท่ากับ 1 พลังสิงห์
                 10 พลังสิงห์ จึงจะเท่ากับ 1 พลังพญาครุฑ
                 10 พลังพญาครุฑ จึงจะเท่ากับ 1 พลังเทพเจ้า
    … มนุษย์ จึงเทียบเพียงธุลีของเทพเจ้า และรูปปั้นเหล่านี้ยังมองเห็นว่าอยู่ในสภาพที่ดี ไม่มีชำรุดเสียหาย   ถัดจากฐานขึ้นไปเป็นมณฑปทรงสูงหลังคาลดหลั่นกันไป 5 ชั้น เป็นที่สถิตของเทพเจ้าที่มีพลังสูงสุด คือ “เทพนยาตะโปลา” ซึ่งเป็นพระเทวีลัทธิตันตระ เสาที่ค้ำยันเทวาลัยโดยรอบและคันทวยค้ำยันชายคาเทวาลัยเป็นเสาไม้ที่สลักเสลาลงสีสวยงาม 108 ชิ้น แทนรูปเคารพของเทวีในปางต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้สักการะเคารพ
      เทวาลัยไภราพวนารถ” เป็นอาคารรูปสี่เหลี่ยมสูงสามชั้น ...ความสวยงามอยู่ที่หลังคาที่คุ้มลงมาในรูปแบบกึ่งจีนกึ่งเนปาล

      ลานกว้างอีกแห่งหนึ่งที่เรียกว่า “จตุรัสภักตะปูร์ (Bhaktapur Durbar Square)” อันเป็นที่ตั้งของพระราชวังเดิม .. งานศิลปะทุกแขนงทั้งงานทางด้านสถาปัตยกรรมรอบบริเวณจัตุรัสกลางเมืองภักตะปูร์ …ประติมากรรมรูปแบบต่างๆ รวมทั้งงานแกะสลักรูปนกยูงบนบานหน้าต่างสุดวิจิตร “Peacock Window” ที่ฝังอยู่ในตึกเก่าได้รับการอนุรักษ์อย่างดีเยี่ยม เมืองภักตะปูร์ได้รับการขนานนามว่า “พิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิต” รวมถึงเป็นหนึ่งในมรดกโลกแห่งสำคัญในบันทึกของ Unesco สิ่งที่สำคัญโดดเด่น ณ ลานแห่งนี้คือ ประตูทอง (The Golden Gate) ของ “พระราชวังซันโตกา” ซึ่งเป็นซุ้มประตูขนาดไม่ใหญ่ไม่เล็ก พอที่คนธรรมดาๆจะเดินลอดผ่านได้สบายๆ ทั้งหมดเป็นงานประติมากรรมแบบนูนสูง ฝีมือชั้นครูโดดเด่นด้วยงานปั้นและงานหล่อ … เสาประตูทั้ง 2 ข้างเป็นรูปเจ้าแม่กาลีปางต่างๆ ด้านละ 5 องค์
      ซุ้มตรงกลางหลายคนบอกว่าเป็นเทพตาลีจู แต่บางคนบอกว่าเป็นพระนารายณ์ ด้วยมีกรอบซุ้มด้านบนเป็นรูปครุฑผงาดกางปีก ... ซุ้มโค้งขนาดใหญ่อยู่ในกรอบของประตูที่มีหลังคาทองแบบเก๋งจีน ด้านบนของแนวหลังคายังมีนรสิงห์อีก 2 ตัว บนสุดเป็นฉัตร 5 ชั้น อันเป็นเครื่องอิสริยยศของพระนารายณ์ ประตูทองนี้สร้างในสมัยกษัตริย์ภูบดินทร์ เมื่อ พ.ศ.2243 แต่ยังไม่ทันเสร็จก็สวรรคตสียก่อน ต่อมา กษัตริย์ชายา รันจิต รับมาสร้างต่อจนเสร็จในปี พ.ศ.2297 … นับว่าใช้เวลานานหลายปีมากค่ะ จึงได้ผลงานชิ้นเยี่ยมนี้
     เดินผ่านประตูทองเข้าไปยังเทวาลัยด้านใน .. ที่นี่เป็นลานตาลีจูและลานกุมารี เราไม่ได้รับอนุญาตให้เข้าไปหรือถ่ายรูปภายใน เพราะสงวนได้สำหรับคนฮินดูเท่านั้น ทำได้แค่ส่งสายตาเข้าไปสังเกตการณ์ภายใน…เท่าที่ดูด้วยสายตาก็ไม่เห็นมีอะไรที่โดดเด่นค่ะ ประกอบกับมีทหารถือปืนควบคุมอยู่ด้านนอก เลยถอย...ดีกว่า
 ... ลานแห่งนี้ถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เมื่อถึงเทศกาลเจ้าแม่ทุรคา จะมีการประกอบพิธีบูชายัญ ฆ่าสัตว์(แพะ)จำนวน 108 ตัว นำเลือดสดๆเป็นเครื่องสังเวยเจ้าแม่ ...
     เดินไปตามทางเดินในบริเวณพระราชวัง แล้วมาหยุดที่ “สุนทรีโฉลก” หรือสระน้ำของกษัตริย์ภักตะปูร์…ตามรูปลักษณ์ที่เห็น ... ความกว้างยาวคงราวๆข้างละ 5 เมตร ... แต่ละด้านมีกำแพงเป็นแท่นแบบขั้นบันได ขอบสระมีรูปปั้นงูตัวใหญ่ทำด้วยทองเหลือง 2 ตัวนอนทาบไปกับขอบสระ ชูหัวแผ่แม่เบี้ยตรงหัวบันไดที่กษัตริย์เสด็จลงสรง ( เห็นรูปปั้นงูแล้วสยอง..ช่างเหมือนงูจริงเหลือเกิน...)

ลานตรงข้ามของงูมีเสาสูง ยอดเสาเป็นงูยักษ์ อันเสมือนเป็นราชพาหนะของกษัตริย์ ..รอบๆสระจึงมีรูปงูเพื่อปกป้องคุ้มครองในระหว่างที่ลงสรง
สาวเนปาลี ไม่กลัวงู...รึ...
        พระราชวัง 55 พระแกล (ประตูทองคำ) ... เมืองนี้เคยเป็นเมืองหลวงเก่าแก่และมีความรุ่งเรืองทางการค้ามาก่อน พระราชวังเป็นศิลปะของช่างเนปาลในยุคสตวรรษที่ 18 …พระราชวังสร้างด้วยอิฐแดง ใต้หลังคามีคันทวยแกะสลักรายรอบ แต่ที่เด่นชัด คือไม้แกะสลักที่ได้ชื่อว่างดงามที่สุดในไม้แกะทั่วโลก หน้าต่างของพระราชวังแห่งนี้ เป็นไม้แกะถึง 55 บาน ( ต่อตอน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่