ข่าวการฆ่าตัวตายของคูฮารา นักร้องนักแสดงชาวเกาหลี ได้สร้างความสะเทือนใจไปทั่วโลก ถือเป็นอีกครั้งที่เราได้ตระหนักถึงอันตรายของโรคซึมเศร้าว่ามีความน่ากลัวเพียงใด
แต่ในอีกแง่หนึ่ง การตายของนักแสดงสาวครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เห็นเช่นกันว่ามีผู้คนอีกมากที่ยังไม่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าคืออะไรและนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้อย่างไร
วันนี้ผมจึงขอแบ่งปันบทความซึ่งผมเคยเขียนให้กับเว็บไซต์แห่งหนึ่ง ซึ่งผมได้รับความอนุเคราะห์คำสัมภาษณ์จากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลาย ๆ ท่านซึ่งเคยผ่านภาวะการคิดฆ่าตัวตายมาแล้ว
เป็นบทความที่ผมอยากให้ทุก ๆ ไม่ว่าจะมีคนรอบข้างเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่มีได้อ่านจริง ๆ ครับ
ตัวบทความลงไว้ใน :
https://www.istrong.co/single-post/Dissected-depression-Prevent-suicide
“อยากอยู่ก็ไม่ได้ อยากตายก็ไม่สามารถ”
คำขู่สุดคลาสสิกจากนิยายกำลังภายในที่คงไม่มีใครอยากจะจินตนาการถึงนักว่า คนในเรื่องจะถูกทรมานสาหัสขนาดไหน เพราะเราทุกคนรู้ดีจากก้นบึ้งของหัวใจว่าไม่มีใครอยากตาย เว้นแต่ความเจ็บปวดนั้นแสนสาหัสจนเกินกว่าจะรับไหว สาหัสจนการตายยังเรียกว่าเป็นความปรานีอย่างที่สุดต่อผู้พบพาน
ปี 2018 ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกบอกว่าคนทั่วโลกเป็นโรคซึมเศร้าถึง 300 ล้านคน มีคนฆ่าตัวตายเพราะโรคนี้อย่างน้อยปีละ 800,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนติด 5 อันดับโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดไปแล้ว
“ชีวิตเราไม่มีความหมาย ถึงเราทำอะไรให้ใครตอนนี้สุดท้ายเขาก็ต้องตาย การตายวันนี้หรือตายอีก 40 ปีข้างหน้าก็ไม่ต่างกัน ถ้าอยู่แล้วทรมาน ให้เราตายวันนี้เลยง่ายกว่า”
คำพูดของวรดา เอลสโตว์ บนเวที TEDxThammasart ที่บอกเล่าความคิดของตัวเองก่อนจะรับการรักษาอาการป่วย คำพูดสั้น ๆ ที่บอกเล่าความคิดของคนเป็นโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากเราลองแกะรหัสนี้ออกมาแล้วเราจะพบสองสิ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตผู้ป่วยลงสู่ปากเหวของความอยากตายนั่นคือ
“ชีวิตที่ไม่มีความหมาย” และ “การอยู่อย่างทรมาน”
ชีวิตที่ติดหล่มความคิด
อย่างที่เรารู้กันดีว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ
ความเครียด ความกดดันเรื้องรังในชีวิตทำให้สารต่างๆ ในร่างกายเช่น โดปามีน เซโรโทนิน ค่อย ๆ หายไปจนหาความสุขในชีวิตไม่พบ
แต่มากกว่าเคมีที่ผิดเพี้ยนไป
การใช้ชีวิตอยู่กับความเครียด ความผิดหวังอย่างรุนแรง การสูญเสีย ความรู้สึกผิดซ้ำ ๆ อย่างไร้ทางออกนั้นยังเหมือนมะเร็งที่คอยกัดกินจิตใจให้ตายลงไปทีละน้อย ไม่ต่างกับตัวละครในนิยายกำลังภายในที่ถูกทรมานจนอยากอยู่ก็ไม่ได้
“จำได้ว่าเป็นก็ ม.5 ค่ะ หนูดูเป็นคนร่าเริงใช่ไหมคะแต่จริง ๆ ชอบโทษตัวเองตลอด”
ปิ๋ม หญิงสาววัย 28 บอกเล่าเรื่องการเป็นโรคซึมเศร้าของตัวเอง
“รู้สึกตัวเองคือตัวปัญหา
ไม่มีใครโทษหนูนะคะแต่หนูโทษตัวเองตลอดเวลา ความคิดจะวน ๆ เอาออกไม่ได้ เหมือนคนย้ำคิดย้ำทำ
ยิ่งเราจมกับความคิดมันก็ดิ่งจะลง ดิ่งลงเรื่อย ๆ รู้ตัวอีกทีก็หาทางออกไม่เจอแล้ว
พอคิดอย่างอื่นไม่ได้เลยอยากหายไป ตอนนั้นคิดแค่ว่าถ้าไม่มีเราทุกอย่างคงดีกว่านี้”
หนึ่งปัญหาสำคัญที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือทำให้อาการซึมเศร้านั้นรุนแรงขึ้น คือคนใกล้ชิด
ความไม่เข้าใจ การทอดทิ้งให้คนคนหนึ่งแบกรับภาระเพียงลำพังนั้นคือทัณฑ์ทรมานไม่ต่างกับยักษ์แอตลาส ที่ถูกลงโทษให้แบกโลกไว้ทั้งใบ เพียงแต่เราไม่ใช่แอตลาสผู้มีกำลังมหาศาล เราเป็นมนุษย์ตัวเล็กที่พร้อมจะหมดแรงแล้วโดนโลกทับตายได้เสมอหากไม่มีคนช่วยแบ่งเบา
เมื่อการชีวิตคือความทรมาน
“เจอปัญหาที่ทำงานสะสม คือเช้ามาทำงานต้องเจอทุกวันซ้ำ ๆ เรื่องเดิม
ตอนนั้นรู้สึกว่ามันล้า มันไร้ค่า มองไม่เห็นทางออก
ถ้าหลับไปเลยคงดีกว่าที่จะตื่นขึ้นมาต่อสู้กับปัญหาที่เราแบกไว้คนเดียว
มันไร้แสงสว่างจนคิดว่าถ้าเราหลับไปเลย ปัญหาที่เจอจะได้จบสิ้นลงสักที”
นี่คือสิ่งที่คุณปุ้ม ข้าราชการวัย 37 ปีได้บอกเล่าถึงช่วงเวลาที่คิดจะปลิดชีวิตตัวเองเพราะปัญหาที่แบก
ไว้เกินกว่าจะรับไหว การต้องเจอกับปัญหาเดิม ๆ คอยบีบจิตใจทุกวัน ก็ไม่ต่างกับการถูกกรีดลงแผลเดิมซ้ำ ๆ โดยไม่มีทางหาย
การต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างทรมานทุกวันอยากหนีก็ไม่ได้เพราะภาระค่าใช้จ่ายทางบ้าน อยากเผชิญหน้าจิตใจก็ถูกทำร้ายจนสิ้นแรง อยากได้ที่พักใจแต่กลับไม่มีคนเข้าใจและรับฟัง จนเกิดความรู้สึกอยากตาย
ขึ้นในที่สุด
“คนที่คิดฆ่าตัวตายคือคนที่ภูมิคุ้มกันหัวใจและสติบกพร่อง บางทีการรับฟังถือเป็นอีกทางเลือกให้กับคนเหล่านี้ แม้ว่ากำลังใจที่ดีที่สุดคือตัวเอง แต่บางคนตัวเองยังอ่อนแอ คนข้างกายจึงถือว่าสำคัญมาก ฉะนั้นคนในครอบครัวหรือใกล้ชิดจึงควรเข้าใจ”
นี่คือข้อความจากหญิงผู้ผ่านความรู้สึกอยากตายมาได้ฝากเอาไว้ก่อนจากกัน
รู้สึกไร้ค่าเกินกว่าจะมีชีวิต
“จากคนในครอบครัวและคนรักค่ะ มันเลยทำให้เรื่องงานเริ่มมีปัญหาไปด้วย
ช่วงที่มีอาการนี่คือควบคุมความคิด ควบคุมตัวเองไม่ได้เลย ไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากได้ยินเสียงใคร
เราคิดวนไปซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยครั้ง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า และเป็นตัวปัญหามาก เราไม่ได้อยากที่จะจมอยู่กับกับปัญหานะคะ แต่มันหาออกไม่ได้ ความรู้สึกว่าอยากจบปัญหาที่เข้ามามีทุกวัน เราจึงเตรียมตัวเสมอว่าจะจบชีวิตยังไงดี ถึงขนาดหาข้อมูลไว้ด้วย
ตอนนั้นที่คิดไว้คือทำให้ขาดอากาศหายใจค่ะ
มียานอนหลับไว้ด้วยจะได้หลับแล้วตายแบบไม่ทรมาน
เราจะมีอุปกรณ์ และยาเตรียมไว้เสมอ พอเวลามีอะไรมากระทบนิดหน่อยเราก็พร้อมจะทำทันที”
คำบอกเล่าประสบการณ์เคยคิดอยากตายจากคุณกระแต
“ตอนที่รู้สึกไม่ไหวแล้ว เราต้องจบปัญหา ต้องออกจากวังวน เรานึกถึงเพื่อนคนหนึ่งขึ้นมา
ความจริงเราแค่อยากบอกว่าขอบคุณ...รักแกนะ ไม่ได้ตั้งใจจะบอกลาเลย แต่เขาคงเอะใจบางอย่างเลยจะมาหา
ตอนนั้นก็พยายามปฏิเสธไป แต่เพื่อนไม่วางสายค่ะ
ถามนี่นั่นอยู่ตลอด เราวางสายไปก็จะโทรมาอีก
พอเขามาถึง เรายืนร้องไห้หนักมาก ๆ แต่เพื่อนก็ไม่ได้คาดคั้นหาสาเหตุ แค่เดินมากอดแล้วชวนไปกินข้าวค่ะ
จำได้ว่าประโยคนึงที่ทำให้เรารู้สึกว่าจะไม่ทำแล้ว
คือเพื่อนบอกว่า เขาพยายามอ่านบทความ สอบถามจิตแพทย์ แล้วอยากให้เราช่วยเขาด้วย เพื่อที่จะจับมือผ่านเรื่องราวร้าย ๆ ไปด้วยกัน”
หนึ่งบทเรียนสำคัญที่คุณกระแตได้บอกเราเอาไว้คือคนที่อยากตายมักส่งสัญญาณถึงคนที่เขาวางใจที่สุด แม้ว่าความรู้สึกไร้ค่าและไม่มีทางออกในชีวิตจะผลักให้เกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย แต่ในอีกส่วนลึก ๆ นั้นยังคงหวังว่าจะมีใครสักคนเข้าใจและยื่นมือเข้ามาเสมอ เพราะฉะนั้นอย่าได้เพิกเฉยแม้สัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนเป็นซึมเศร้าส่งให้เป็นอันขาด
เข้าใจ ไม่ละเลย
หากจะเปรียบแล้ว โรคซึมเศร้านั้นไม่ต่างจากแว่นกรอบหนึ่งที่ถูกสวมลงไปในจิตใจของคนป่วยทำให้
คนเป็นซึมเศร้าไม่สามารถมองโลก และใช้เหตุผลความคิดเหมือนคนทั่ว ๆ ไปได้ สิ่งที่เขาเห็นมีเพียงเขาวงกตของความทุกข์ ที่หาทางออกไม่เจอ
ทั้งหมดจึงไม่ใช่การคิดสั้น เพราะกว่าจะมาจนถึงความรู้สึก "อยากตาย" นั้น ผ่านการคิดและความทรมานมานานแล้ว
ไม่ใช่ไม่เห็นใจพ่อแม่ ไม่ใช่อ่อนแอ แต่เพราะการมองโลกที่ถูกเปลี่ยนไป ทำให้รู้สึกว่าตัวเองนั้นเป็นตัวถ่วงมากกว่ามีประโยชน์
สิ่งที่ผู้ป่วยเป็นซึมเศร้าต้องการมากที่สุดจึงไม่ใช่คำตัดสิน คำพิพากษา หรือคำสั่ง คำชี้แนะใด ๆ แต่คือมือมือหนึ่งที่ยื่นมาจับมือเขาไว้ พร้อมรับฟังความเจ็บปวดของเขาอย่างเต็มใจ แล้วค่อย ๆ ประคับประคองเพื่อออกจากเขาวงกตไปด้วยกัน ก่อนที่เสียงของเขาในวันนั้นจะกลายเป็นเสียงสุดท้ายในชีวิตที่คนรอบตัวมีโอกาสได้ฟัง
ชำแหละความคิดโรคซึมเศร้า ในหัวผู้ป่วยคิดอะไรก่อนฆ่าตัวตาย
แต่ในอีกแง่หนึ่ง การตายของนักแสดงสาวครั้งนี้ก็ทำให้เราได้เห็นเช่นกันว่ามีผู้คนอีกมากที่ยังไม่เข้าใจว่าโรคซึมเศร้าคืออะไรและนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้อย่างไร
วันนี้ผมจึงขอแบ่งปันบทความซึ่งผมเคยเขียนให้กับเว็บไซต์แห่งหนึ่ง ซึ่งผมได้รับความอนุเคราะห์คำสัมภาษณ์จากผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลาย ๆ ท่านซึ่งเคยผ่านภาวะการคิดฆ่าตัวตายมาแล้ว
เป็นบทความที่ผมอยากให้ทุก ๆ ไม่ว่าจะมีคนรอบข้างเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่มีได้อ่านจริง ๆ ครับ
ตัวบทความลงไว้ใน : https://www.istrong.co/single-post/Dissected-depression-Prevent-suicide
“อยากอยู่ก็ไม่ได้ อยากตายก็ไม่สามารถ”
คำขู่สุดคลาสสิกจากนิยายกำลังภายในที่คงไม่มีใครอยากจะจินตนาการถึงนักว่า คนในเรื่องจะถูกทรมานสาหัสขนาดไหน เพราะเราทุกคนรู้ดีจากก้นบึ้งของหัวใจว่าไม่มีใครอยากตาย เว้นแต่ความเจ็บปวดนั้นแสนสาหัสจนเกินกว่าจะรับไหว สาหัสจนการตายยังเรียกว่าเป็นความปรานีอย่างที่สุดต่อผู้พบพาน
ปี 2018 ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกบอกว่าคนทั่วโลกเป็นโรคซึมเศร้าถึง 300 ล้านคน มีคนฆ่าตัวตายเพราะโรคนี้อย่างน้อยปีละ 800,000 คน และเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนติด 5 อันดับโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดไปแล้ว
“ชีวิตเราไม่มีความหมาย ถึงเราทำอะไรให้ใครตอนนี้สุดท้ายเขาก็ต้องตาย การตายวันนี้หรือตายอีก 40 ปีข้างหน้าก็ไม่ต่างกัน ถ้าอยู่แล้วทรมาน ให้เราตายวันนี้เลยง่ายกว่า”
คำพูดของวรดา เอลสโตว์ บนเวที TEDxThammasart ที่บอกเล่าความคิดของตัวเองก่อนจะรับการรักษาอาการป่วย คำพูดสั้น ๆ ที่บอกเล่าความคิดของคนเป็นโรคซึมเศร้าได้เป็นอย่างดี เพราะหากเราลองแกะรหัสนี้ออกมาแล้วเราจะพบสองสิ่งที่ขับเคลื่อนชีวิตผู้ป่วยลงสู่ปากเหวของความอยากตายนั่นคือ
“ชีวิตที่ไม่มีความหมาย” และ “การอยู่อย่างทรมาน”
ชีวิตที่ติดหล่มความคิด
อย่างที่เรารู้กันดีว่าโรคซึมเศร้าเกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ
ความเครียด ความกดดันเรื้องรังในชีวิตทำให้สารต่างๆ ในร่างกายเช่น โดปามีน เซโรโทนิน ค่อย ๆ หายไปจนหาความสุขในชีวิตไม่พบ
แต่มากกว่าเคมีที่ผิดเพี้ยนไป
การใช้ชีวิตอยู่กับความเครียด ความผิดหวังอย่างรุนแรง การสูญเสีย ความรู้สึกผิดซ้ำ ๆ อย่างไร้ทางออกนั้นยังเหมือนมะเร็งที่คอยกัดกินจิตใจให้ตายลงไปทีละน้อย ไม่ต่างกับตัวละครในนิยายกำลังภายในที่ถูกทรมานจนอยากอยู่ก็ไม่ได้
“จำได้ว่าเป็นก็ ม.5 ค่ะ หนูดูเป็นคนร่าเริงใช่ไหมคะแต่จริง ๆ ชอบโทษตัวเองตลอด”
ปิ๋ม หญิงสาววัย 28 บอกเล่าเรื่องการเป็นโรคซึมเศร้าของตัวเอง
“รู้สึกตัวเองคือตัวปัญหา
ไม่มีใครโทษหนูนะคะแต่หนูโทษตัวเองตลอดเวลา ความคิดจะวน ๆ เอาออกไม่ได้ เหมือนคนย้ำคิดย้ำทำ
ยิ่งเราจมกับความคิดมันก็ดิ่งจะลง ดิ่งลงเรื่อย ๆ รู้ตัวอีกทีก็หาทางออกไม่เจอแล้ว
พอคิดอย่างอื่นไม่ได้เลยอยากหายไป ตอนนั้นคิดแค่ว่าถ้าไม่มีเราทุกอย่างคงดีกว่านี้”
หนึ่งปัญหาสำคัญที่ทำให้คนป่วยเป็นโรคซึมเศร้า หรือทำให้อาการซึมเศร้านั้นรุนแรงขึ้น คือคนใกล้ชิด
ความไม่เข้าใจ การทอดทิ้งให้คนคนหนึ่งแบกรับภาระเพียงลำพังนั้นคือทัณฑ์ทรมานไม่ต่างกับยักษ์แอตลาส ที่ถูกลงโทษให้แบกโลกไว้ทั้งใบ เพียงแต่เราไม่ใช่แอตลาสผู้มีกำลังมหาศาล เราเป็นมนุษย์ตัวเล็กที่พร้อมจะหมดแรงแล้วโดนโลกทับตายได้เสมอหากไม่มีคนช่วยแบ่งเบา
เมื่อการชีวิตคือความทรมาน
“เจอปัญหาที่ทำงานสะสม คือเช้ามาทำงานต้องเจอทุกวันซ้ำ ๆ เรื่องเดิม
ตอนนั้นรู้สึกว่ามันล้า มันไร้ค่า มองไม่เห็นทางออก
ถ้าหลับไปเลยคงดีกว่าที่จะตื่นขึ้นมาต่อสู้กับปัญหาที่เราแบกไว้คนเดียว
มันไร้แสงสว่างจนคิดว่าถ้าเราหลับไปเลย ปัญหาที่เจอจะได้จบสิ้นลงสักที”
นี่คือสิ่งที่คุณปุ้ม ข้าราชการวัย 37 ปีได้บอกเล่าถึงช่วงเวลาที่คิดจะปลิดชีวิตตัวเองเพราะปัญหาที่แบก
ไว้เกินกว่าจะรับไหว การต้องเจอกับปัญหาเดิม ๆ คอยบีบจิตใจทุกวัน ก็ไม่ต่างกับการถูกกรีดลงแผลเดิมซ้ำ ๆ โดยไม่มีทางหาย
การต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างทรมานทุกวันอยากหนีก็ไม่ได้เพราะภาระค่าใช้จ่ายทางบ้าน อยากเผชิญหน้าจิตใจก็ถูกทำร้ายจนสิ้นแรง อยากได้ที่พักใจแต่กลับไม่มีคนเข้าใจและรับฟัง จนเกิดความรู้สึกอยากตาย
ขึ้นในที่สุด
“คนที่คิดฆ่าตัวตายคือคนที่ภูมิคุ้มกันหัวใจและสติบกพร่อง บางทีการรับฟังถือเป็นอีกทางเลือกให้กับคนเหล่านี้ แม้ว่ากำลังใจที่ดีที่สุดคือตัวเอง แต่บางคนตัวเองยังอ่อนแอ คนข้างกายจึงถือว่าสำคัญมาก ฉะนั้นคนในครอบครัวหรือใกล้ชิดจึงควรเข้าใจ”
นี่คือข้อความจากหญิงผู้ผ่านความรู้สึกอยากตายมาได้ฝากเอาไว้ก่อนจากกัน
รู้สึกไร้ค่าเกินกว่าจะมีชีวิต
“จากคนในครอบครัวและคนรักค่ะ มันเลยทำให้เรื่องงานเริ่มมีปัญหาไปด้วย
ช่วงที่มีอาการนี่คือควบคุมความคิด ควบคุมตัวเองไม่ได้เลย ไม่อยากพูดคุยกับใคร ไม่อยากได้ยินเสียงใคร
เราคิดวนไปซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ่อยครั้ง รู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า และเป็นตัวปัญหามาก เราไม่ได้อยากที่จะจมอยู่กับกับปัญหานะคะ แต่มันหาออกไม่ได้ ความรู้สึกว่าอยากจบปัญหาที่เข้ามามีทุกวัน เราจึงเตรียมตัวเสมอว่าจะจบชีวิตยังไงดี ถึงขนาดหาข้อมูลไว้ด้วย
ตอนนั้นที่คิดไว้คือทำให้ขาดอากาศหายใจค่ะ
มียานอนหลับไว้ด้วยจะได้หลับแล้วตายแบบไม่ทรมาน
เราจะมีอุปกรณ์ และยาเตรียมไว้เสมอ พอเวลามีอะไรมากระทบนิดหน่อยเราก็พร้อมจะทำทันที”
คำบอกเล่าประสบการณ์เคยคิดอยากตายจากคุณกระแต
“ตอนที่รู้สึกไม่ไหวแล้ว เราต้องจบปัญหา ต้องออกจากวังวน เรานึกถึงเพื่อนคนหนึ่งขึ้นมา
ความจริงเราแค่อยากบอกว่าขอบคุณ...รักแกนะ ไม่ได้ตั้งใจจะบอกลาเลย แต่เขาคงเอะใจบางอย่างเลยจะมาหา
ตอนนั้นก็พยายามปฏิเสธไป แต่เพื่อนไม่วางสายค่ะ
ถามนี่นั่นอยู่ตลอด เราวางสายไปก็จะโทรมาอีก
พอเขามาถึง เรายืนร้องไห้หนักมาก ๆ แต่เพื่อนก็ไม่ได้คาดคั้นหาสาเหตุ แค่เดินมากอดแล้วชวนไปกินข้าวค่ะ
จำได้ว่าประโยคนึงที่ทำให้เรารู้สึกว่าจะไม่ทำแล้ว
คือเพื่อนบอกว่า เขาพยายามอ่านบทความ สอบถามจิตแพทย์ แล้วอยากให้เราช่วยเขาด้วย เพื่อที่จะจับมือผ่านเรื่องราวร้าย ๆ ไปด้วยกัน”
หนึ่งบทเรียนสำคัญที่คุณกระแตได้บอกเราเอาไว้คือคนที่อยากตายมักส่งสัญญาณถึงคนที่เขาวางใจที่สุด แม้ว่าความรู้สึกไร้ค่าและไม่มีทางออกในชีวิตจะผลักให้เกิดความรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย แต่ในอีกส่วนลึก ๆ นั้นยังคงหวังว่าจะมีใครสักคนเข้าใจและยื่นมือเข้ามาเสมอ เพราะฉะนั้นอย่าได้เพิกเฉยแม้สัญญาณเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่คนเป็นซึมเศร้าส่งให้เป็นอันขาด
เข้าใจ ไม่ละเลย
หากจะเปรียบแล้ว โรคซึมเศร้านั้นไม่ต่างจากแว่นกรอบหนึ่งที่ถูกสวมลงไปในจิตใจของคนป่วยทำให้
คนเป็นซึมเศร้าไม่สามารถมองโลก และใช้เหตุผลความคิดเหมือนคนทั่ว ๆ ไปได้ สิ่งที่เขาเห็นมีเพียงเขาวงกตของความทุกข์ ที่หาทางออกไม่เจอ
ทั้งหมดจึงไม่ใช่การคิดสั้น เพราะกว่าจะมาจนถึงความรู้สึก "อยากตาย" นั้น ผ่านการคิดและความทรมานมานานแล้ว
ไม่ใช่ไม่เห็นใจพ่อแม่ ไม่ใช่อ่อนแอ แต่เพราะการมองโลกที่ถูกเปลี่ยนไป ทำให้รู้สึกว่าตัวเองนั้นเป็นตัวถ่วงมากกว่ามีประโยชน์
สิ่งที่ผู้ป่วยเป็นซึมเศร้าต้องการมากที่สุดจึงไม่ใช่คำตัดสิน คำพิพากษา หรือคำสั่ง คำชี้แนะใด ๆ แต่คือมือมือหนึ่งที่ยื่นมาจับมือเขาไว้ พร้อมรับฟังความเจ็บปวดของเขาอย่างเต็มใจ แล้วค่อย ๆ ประคับประคองเพื่อออกจากเขาวงกตไปด้วยกัน ก่อนที่เสียงของเขาในวันนั้นจะกลายเป็นเสียงสุดท้ายในชีวิตที่คนรอบตัวมีโอกาสได้ฟัง