คิดอย่างไรกับอาชีพนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ครับ อาชีพนี้ถือว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์จริงๆ ที่ทำวิจัย ตีพิมพ์ผลงานลงjournal

คือผมแปลกใจ สตีเฟน ฮอคกิงเป็นนักวิทยาศาสตร์จริงๆ มีผลงานวิจัย ไอเดียการแผ่รังสีฮอคกิงในหลุมดำ ก็เขียนหนังสือวิทยาศาสตร์ให้คนทั่วไปอ่านได้สนุกและดี  ทำไมเราต้องมีอาชีพนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ด้วยครับ อันนี้สงสัยเฉยๆ  บางคนตั้งเป้าอยากเป็นนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ผมสงสัยว่ามันต่างกับนักวิทยาศาสตร์ตรงไหน ทำไมไม่อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ 

หรือคนเขียน non-fiction เก่งๆด้านความรู้สาขาต่างๆที่ขายดีในอเมซอน ไปอ่านประวัติดูส่วนมากก็จบ phd เป็น ศ. ในยูทอปของโลกก็สามารถเขียนหนังสือความรู้สำหรับคนทั่วไปอ่านได้ มีทั้งเขียนตำรา เขียนเปเปอร์ บางเล่มก็ยังอ้างอิงงานวิจัยของตัวเองเลย ทำไมต้องแยก  เป็น นักสื่อสารวิทยาศาสตร์ กับ นักวิทยาศาสตร์

ขอบคุณครับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
เคยได้ยินคนพูดกันว่า พวก ดอกเตอร์ พวกปริญญาเอก คุยไม่รู้เรื่องไหมครับ นั่นก็เป็นจุดเริ่มต้นอย่างหนึ่งของอาชีพนี้
ถามว่า ดอกเตอร์ทั้งหลายเค้าเก่งไหม เก่งครับ แต่เก่งในสาขาของตน ไม่เก่งการบอกให้คนภายนอกรับรู้ หรือไม่สามารถใช้ศัพย์ หรือสำนวน ที่คนทั่วไปเข้าใจ การประชาสัมพันธ์ การนำเสนอเรื่องแบบนี้จึงต้อง มีคนเรียบเรียงใหม่ เล่าเรื่องใหม่ ให้คนอื่นที่ไม่มีพื้นฐาน พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์น้อย เข้าใจให้ได้

ผมคิดว่า ในประเทศไทยมีความจำเป็นอย่างมาก ที่ต้องปรับพื้นฐานความคิดคนทั่วไปให้มีพื้นฐานความคิดแบบวิทยาศาสตร์ ไม่เช่นนั้นก็จะมีความเชื่อผิดๆ หลงเชื่อมิจฉาชีพ และอื่นๆ เหมือนเช่นที่เคยเป็นมาครับ ซึ่งหน้าที่ตรงนี้ นักสื่อสารนี่แหละจะเป็นคนนำเรื่องเหล่านี้มาเสนอให้คนทั่วไปฟัง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่