NASA ทดสอบ BRUIE หุ่นยนต์สำรวจใต้ผืนน้ำแข็ง ค้นหาร่องรอยสิ่งมีชีวิตต่างดาว
26/11/2019
BBC ไทย
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซา กำลังทดสอบหุ่นยนต์ตระเวนสำรวจ
ใต้ผืนน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยหวังว่าจะพัฒนาให้เป็นเครื่องมือในการค้นหา
สิ่งมีชีวิตต่างดาว ซึ่งอาจอยู่ใต้มหาสมุทรที่มีชั้นน้ำแข็งหนาปกคลุม
อย่างเช่นมหาสมุทรบนดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์
จะมีการทดสอบ “หุ่นยนต์ลาดตระเวนแบบลอยตัวได้เพื่อการสำรวจใต้ผืนน้ำแข็ง”
หรือ BRUIE (Buoyant Rover for Under-Ice Exploration) ตั้งแต่เดือน พ.ย. นี้เป็นต้นไป
ที่สถานีวิจัยเคซีย์ (Casey Research Station) ของออสเตรเลียในทวีปแอนตาร์กติกา
โดยจะเน้นทดสอบความทนทานในการทำงานใต้มหาสมุทรที่มีผืนน้ำแข็ง
ปกคลุมเป็นเวลายาวนาน เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถออกปฏิบัติการ
บนดาวเคราะห์ดวงอื่นติดต่อกันได้เป็นเวลานาน หลายเดือน
หุ่นยนต์ตระเวนสำรวจ BRUIE ขนาด 1 เมตร ไม่ใช่ยานดำน้ำ แต่เป็นพาหนะขับเคลื่อน 2 ล้อ
ที่สามารถ “กลับหัว” วิ่งใต้ผืนน้ำแข็งได้ โดยระบบลอยตัวในน้ำของมัน
จะช่วยดันให้ลอของหุ่นยนต์แนบชิดติดกับใต้ผืนน้ำแข็งอยู่เสมอ เสมือนว่าวิ่งบนพื้นดินตามปกติ
อย่างไรก็ตาม ทีมผู้ประดิษฐ์และพัฒนา BRUIE จะต้องเตรียมการให้มันพร้อมออกสำรวจ
ในสภาพแวดล้อมที่หฤโหดกว่าบนโลก เช่นการตระเวนสำรวจใต้ผืนน้ำแข็งที่หนา 10-30 กิโลเมตร
และอาจมีกระแสน้ำใต้มหาสมุทรพัดปั่นป่วนรุนแรง จนทำให้เกิดความเสียหายได้
แอนดี้ เคลช หัวหน้าทีมวิศวกรของนาซาที่ออกแบบ BRUIE บอกว่า “ระบบลอยตัวในน้ำ
จะช่วยให้หุ่นยนต์ยึดติดอยู่กับผืนน้ำแข็ง ต้านทานกระแสน้ำได้เกือบทุกชนิด
ทั้งยังสามารถเลือกใช้โหมดประหยัดพลังงานได้เป็นครั้งคราว ทำให้อยู่ใต้ผืนน้ำแข็ง
และทำงานติดต่อกันได้นานหลายเดือน ถ่ายภาพ ตรวจวัดความดัน อุณหภูมิ
และปริมาณออกซิเจน รวมทั้งเก็บข้อมูลทางชีวภาพต่าง ๆ ”
แดน เบริสฟอร์ด หนึ่งในทีมวิศวกรของนาซากล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่า BRUIE
ถูกออกแบบมาให้ค้นหาสิ่งมีชีวิตที่คล้ายกับพืช สัตว์ และจุลินทรีย์บนโลกเท่านั้น
หากมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่มีรูปแบบในการดำรงชีวิตแตกต่างออกไป ก็อาจสำรวจไม่พบ”
ทั้งนี้ นาซามีแผนจะส่งยาน Europa Clipper ไปโคจรวนรอบดวงจันทร์ยูโรปา
ของดาวพฤหัสบดีในปี 2025 ซึ่งภารกิจนี้อาจจะช่วยปูทางสู่การ
ส่งหุ่นยนต์สำรวจใต้มหาสมุทรของดาวบริวารแห่งนี้ได้ต่อไปในอนาคต
การออกแบบให้ BRUIE มุ่งสำรวจบริเวณที่ผืนน้ำแข็งและน้ำทะเลสัมผัสกัน
มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากบริเวณดังกล่าว
บนโลกเช่นที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มักมีระบบนิเวศซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย
ของพืชและสัตว์ขนาดเล็ก รวมทั้งจุลินทรีย์หลายชนิด ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า
มหาสมุทรที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งบนดาวเคราะห์ดวงอื่น
ในระบบสุริยะ ก็อาจมีสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกัน
https://www.bbc.com/thai/international-50544109
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3087289
NASA ทดสอบ BRUIE หุ่นยนต์สำรวจใต้ผืนน้ำแข็ง ค้นหาร่องรอยสิ่งมีชีวิตต่างดาว!
26/11/2019
BBC ไทย
องค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ หรือนาซา กำลังทดสอบหุ่นยนต์ตระเวนสำรวจ
ใต้ผืนน้ำแข็งในมหาสมุทรแอนตาร์กติก โดยหวังว่าจะพัฒนาให้เป็นเครื่องมือในการค้นหา
สิ่งมีชีวิตต่างดาว ซึ่งอาจอยู่ใต้มหาสมุทรที่มีชั้นน้ำแข็งหนาปกคลุม
อย่างเช่นมหาสมุทรบนดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดี และดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์
จะมีการทดสอบ “หุ่นยนต์ลาดตระเวนแบบลอยตัวได้เพื่อการสำรวจใต้ผืนน้ำแข็ง”
หรือ BRUIE (Buoyant Rover for Under-Ice Exploration) ตั้งแต่เดือน พ.ย. นี้เป็นต้นไป
ที่สถานีวิจัยเคซีย์ (Casey Research Station) ของออสเตรเลียในทวีปแอนตาร์กติกา
โดยจะเน้นทดสอบความทนทานในการทำงานใต้มหาสมุทรที่มีผืนน้ำแข็ง
ปกคลุมเป็นเวลายาวนาน เพื่อให้แน่ใจว่าจะสามารถออกปฏิบัติการ
บนดาวเคราะห์ดวงอื่นติดต่อกันได้เป็นเวลานาน หลายเดือน
หุ่นยนต์ตระเวนสำรวจ BRUIE ขนาด 1 เมตร ไม่ใช่ยานดำน้ำ แต่เป็นพาหนะขับเคลื่อน 2 ล้อ
ที่สามารถ “กลับหัว” วิ่งใต้ผืนน้ำแข็งได้ โดยระบบลอยตัวในน้ำของมัน
จะช่วยดันให้ลอของหุ่นยนต์แนบชิดติดกับใต้ผืนน้ำแข็งอยู่เสมอ เสมือนว่าวิ่งบนพื้นดินตามปกติ
อย่างไรก็ตาม ทีมผู้ประดิษฐ์และพัฒนา BRUIE จะต้องเตรียมการให้มันพร้อมออกสำรวจ
ในสภาพแวดล้อมที่หฤโหดกว่าบนโลก เช่นการตระเวนสำรวจใต้ผืนน้ำแข็งที่หนา 10-30 กิโลเมตร
และอาจมีกระแสน้ำใต้มหาสมุทรพัดปั่นป่วนรุนแรง จนทำให้เกิดความเสียหายได้
แอนดี้ เคลช หัวหน้าทีมวิศวกรของนาซาที่ออกแบบ BRUIE บอกว่า “ระบบลอยตัวในน้ำ
จะช่วยให้หุ่นยนต์ยึดติดอยู่กับผืนน้ำแข็ง ต้านทานกระแสน้ำได้เกือบทุกชนิด
ทั้งยังสามารถเลือกใช้โหมดประหยัดพลังงานได้เป็นครั้งคราว ทำให้อยู่ใต้ผืนน้ำแข็ง
และทำงานติดต่อกันได้นานหลายเดือน ถ่ายภาพ ตรวจวัดความดัน อุณหภูมิ
และปริมาณออกซิเจน รวมทั้งเก็บข้อมูลทางชีวภาพต่าง ๆ ”
แดน เบริสฟอร์ด หนึ่งในทีมวิศวกรของนาซากล่าวเสริมว่า “แน่นอนว่า BRUIE
ถูกออกแบบมาให้ค้นหาสิ่งมีชีวิตที่คล้ายกับพืช สัตว์ และจุลินทรีย์บนโลกเท่านั้น
หากมีสิ่งมีชีวิตต่างดาวที่มีรูปแบบในการดำรงชีวิตแตกต่างออกไป ก็อาจสำรวจไม่พบ”
ทั้งนี้ นาซามีแผนจะส่งยาน Europa Clipper ไปโคจรวนรอบดวงจันทร์ยูโรปา
ของดาวพฤหัสบดีในปี 2025 ซึ่งภารกิจนี้อาจจะช่วยปูทางสู่การ
ส่งหุ่นยนต์สำรวจใต้มหาสมุทรของดาวบริวารแห่งนี้ได้ต่อไปในอนาคต
การออกแบบให้ BRUIE มุ่งสำรวจบริเวณที่ผืนน้ำแข็งและน้ำทะเลสัมผัสกัน
มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการค้นหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากบริเวณดังกล่าว
บนโลกเช่นที่ขั้วโลกเหนือและขั้วโลกใต้ มักมีระบบนิเวศซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย
ของพืชและสัตว์ขนาดเล็ก รวมทั้งจุลินทรีย์หลายชนิด ทำให้มีความเป็นไปได้ว่า
มหาสมุทรที่ปกคลุมด้วยน้ำแข็งบนดาวเคราะห์ดวงอื่น
ในระบบสุริยะ ก็อาจมีสิ่งมีชีวิตในลักษณะเดียวกัน
https://www.bbc.com/thai/international-50544109
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_3087289