ราชินีแห่งมหาสมุทรน้ำแข็ง
ดวงจันทร์บริวารของดาวพฤหัสฯฉายาคือ ราชินีแห่งมหาสมุทรน้ำแข็ง เป็นดวงจันทร์เพียงดวงเดียวที่อาจมีระบบสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กอาศัยอยู่ในมหาสมุทรน้ำแข็งซึ่งลึกลงไปหลายร้อยกิโลเมตรจากพื้นผิว ดวงจันทร์ยูโรปาจะเป็นเป้าหมายสำคัญต่อการสำรวจ เพราะสภาพแวดล้อมมีของเหลวและมีออกซิเจน พบว่าใต้ชั้นน้ำแข็งที่ลึก ลงไปมีความร้อนอยู่ภายใน
จากองค์ประกอบดังกล่าวจึงทำให้เชื่อว่าสามารถมีระบบชีวิตเกิดขึ้นได้ภายใต้ชั้นน้ำแข็งนั้นได้ บนพื้นดวงจันทร์ยูโรปาสีขาวแวววาวคือ พื้นน้ำแข็งหนาที่สะท้อน แสงขึ้นมาจากดวงอาทิตย์ ส่วนเส้นเล็กๆนั้นความเป็นจริงเป็นร่องลึกหลายกิโลเมตรและยาวนับร้อยกิโลเมตร เกิดจากการแตกของแผ่นน้ำแข็ง จึงเห็นโยงยาวเป็นทิว
และสีน้ำตาลเป็นกลุ่มๆกระจายไปทั่วคือ อนุภาคจากสนามแม่เหล็กจากดาวพฤหัสฯและละออง ฝุ่นภูเขาไฟจากดวงจันทร์ไอโอขณะโคจรใกล้ชิดกันกระหน่ำปะทะเหมือนคราบดินโคลนผสมกับน้ำแข็งเรียกว่า โคลนน้ำแข็ง ทั้งนี้ดวงจันทร์ยูโรปาจัดให้เป็นกลุ่มดวงจันทร์ 1 ใน 4 ดวง ดวงจันทร์กาลีเลียนซึ่งสำรวจ พบโดยกาลิเลโอ และเมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ในสหรัฐอเมริกา นำเอาข้อมูลมาศึกษาอีกครั้งและเผยว่าดวงจันทร์ยูโรปาอาจเป็นดาวอีกดวงที่อาจเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
ข้อมูลเก่าที่ได้จากยานอวกาศกาลิเลโอคือพบว่ามีการโค้งงอของสนามแม่เหล็กบนดวงจันทร์ยูโรปา เมื่อมาผนวกกับข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี พ.ศ.2555 ที่รวบรวมข้อมูลของรังสีอัลตราไวโอเลตและชี้ให้เห็นถึงจุดรวมความร้อน ซึ่งเกิดการถ่ายเทพลังงานของมวลที่แข็งและร้อนในชั้นเปลือกดวงจันทร์
เมื่อใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยศึกษาวิเคราะห์ พบว่ามีน้ำพวยพุ่งจากผิวดาวขึ้นสู่อากาศ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าบนดวงจันทร์ยูโรปามีส่วนประกอบมากมายที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอน การพบน้ำพุพวยพุ่งขึ้นมาทำให้เชื่อว่าอาจมีมหา- สมุทรอยู่ข้างใต้และเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากอุณหภูมิอุ่นและได้รับการปกป้องจากสภาพแวดล้อมที่เป็นเปลือกน้ำแข็งบนผิวดาว
ทั้งนี้ องค์การนาซาจะวางแผนใช้ยานอวกาศยูโรปา คลิปเปอร์ (Europa Clipper) ไปสำรวจดวงจันทร์ยูโรปา เพื่อหาสัญญาณของจุลินทรีย์ในมหาสมุทรบนดวงจันทร์ดวงนี้ ในช่วงเดือน มิ.ย.ปี พ.ศ.2022
(นาซ่ามีแผนที่จะส่งยานสำรวจดวงจันทร์ยูโรป้าอีกครั้งในปี 2022 เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรป้า โดยวางแผนให้ยานอวกาศเข้าใกล้ดวงจันทร์ยูโรปา 40 ครั้ง มีระยะห่างตั้งแต่ 100 กิโลเมตรจนถึง 15 กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นการบินเฉียดที่ใกล้ที่สุดและจงใจให้บินผ่านตำแหน่งที่มีการพ่นน้ำออกมา เพื่อเก็บตัวอย่างของน้ำและอนุภาคต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ต่อไป)
ทุ่งน้ำแข็งบนดวงจันทร์ยูโรปา
แม้ดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัสบดีจะมีมหาสมุทรขนาดใหญ่ที่มีน้ำแผ่ปกคลุมไปทั่วทั้งดาว แต่การส่งยานสำรวจลงจอดบนพื้นผิวของดวงดาวนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย หลังนักดาราศาสตร์ค้นพบความเป็นไปได้ว่า อุณหภูมิที่เย็นเยียบสุดขั้วอาจทำให้เกิดชั้นน้ำแข็งหนาที่มีรูปร่างเป็นแท่งหนามขนาดยักษ์อยู่เหนือมหาสมุทรดังกล่าว และคาดว่า “หนามน้ำแข็ง” นี้แผ่ปกคลุมไปทั่ว จนพื้นผิวดาวดูเหมือนกับขนเม่น
โดยแต่ละแท่งมีลักษณะแหลมคมและสูงได้มากถึง 15 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งยานสำรวจลงจอดบนพื้นผิวดาว เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเบื้องล่างอย่างมาก เนื่องจากยานสำรวจอาจเสียหายเพราะถูกแท่งหนามน้ำแข็งเสียบแทง หรือยานอาจตกลงไปในหุบเหวลึกระหว่างหนามยักษ์แต่ละแท่งได้
ศ. แดเนียล ฮอบลีย์ จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ของสหราชอาณาจักร ตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นลงในวารสาร Nature Geoscience โดยระบุว่าการก่อตัวของน้ำแข็งในรูปแบบดังกล่าวหาพบได้ยากบนโลก เว้นแต่ในบางพื้นที่ของเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ซึ่งมีสภาพแวดล้อมบางอย่างคล้ายคลึงกับดวงจันทร์ยูโรปา
ศ. ฮอบลีย์บอกว่า น้ำแข็งบนดวงจันทร์ยูโรปาจะไม่มีการละลายแล้วกลับแข็งตัวใหม่เหมือนกับน้ำแข็งในธรรมชาติบนโลก เนื่องจากดาวมีอุณหภูมิต่ำมากถึง -184 องศาเซลเซียส น้ำแข็งจึงก่อตัวขึ้นในรูปของผลึกที่สามารถเป็นเลนส์รวมหรือหักเหแสงอาทิตย์ลงสู่ฐานล่างได้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้น้ำแข็งบางส่วนกลายเป็นก๊าซและก่อตัวขึ้นเป็นแท่งหนามขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม การก่อตัวของหนามน้ำแข็งในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นช้ามาก โดยจะมีความสูงเพิ่มขึ้นเพียง 1 ฟุต ในทุก 1 ล้านปี ซึ่งแสดงว่าทุ่งหนามน้ำแข็งยักษ์ที่ปกคลุมทั่วดวงจันทร์ยูโรปานั้น อยู่ในสภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลานานอย่างน้อย 50 ล้านปีแล้ว
แบบจำลองโครงสร้างภายในของยูโรปาสองแบบ นักวิทยาศาสตร์่ส่วนใหญ่เชื่อว่าเป็นไปตามแบบล่าง ซึ่งอธิบายว่าใต้ผิวน้ำแข็งเป็นมหาสมุทรที่เป็นของเหลว มากกว่าที่จะเป็นไปตามแบบบนที่อธิบายว่าใต้พื้นผิวเป็นน้ำแข็งที่ไหลวน (จาก NASA/JPL)
มหาสมุทรบาดาลของยูโรปาเป็นเป้าหมายอันดีเยี่ยมในการค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก แต่เราจะไปสำรวจที่นั่นได้อย่างไร หนึ่งในข้อเสนอที่อาจเป็นไปได้คือการใช้สิ่งที่เรียกว่า “ทันเนลบอต” ซึ่งเป็นยานที่จะเจาะพื้นผิวน้ำแข็งโดยใช้ความร้อนจากพลังงานนิวเคลียร์ (จาก Alexander Pawlusik, LERCIP Internship Program NASA Glenn Research Center))
Europa Clipper ยานสำรวจของ NASA เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรปา
(ภาพจำลองยาน Europa Clipper ที่มา – NASA/JPL)
เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2020 วารสารวิทยาศาสตร์ Nature ได้ตีพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับภารกิจ Europa Clipper เพื่อสำรวจหาสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรปาภายในปี 2025
ก่อนหน้านี้ยานสำรวจวอยยาเจอร์ (Voyager) และกาลิเลโอ (Galileo) ได้เก็บภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปา พบว่าพื้นผิวน้ำแข็งของมันค่อนข้างใหม่ อันเนื่องมาจากธรณีแปรสัณฐานของพื้นผิวดาว รวมถึงการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox reaction) ทำให้ดวงจันทร์ดวงนี้อาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้
ภารกิจของ Europa Clipper มีเป้าหมายเพื่อสำรวจพื้นผิวน้ำแข็งของดวงจันทร์ยูโรปา เพื่อบรรลุ 3 วัตถุประสงค์ ได้แก่ ลักษณะต่าง ๆ ของพื้นที่บนดวงจันทร์, คุณสมบัติของมหาสมุทร และกลไกการเปลี่ยนแปลงของผิวน้ำแข็งและมหาสมุทร (การแปรสัณฐาน) รวมถึงการวิเคราะห์ตัวอย่างของสารประกอบบนดาว ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจถึงความเป็นไปได้ในการมีสิ่งมีชีวิตมากขึ้น
แต่สิ่งที่ท้าท้ายคือการสำรวจคุณสมบัติของน้ำใต้ผิวน้ำแข็ง เนื่องจากเรายังไม่ทราบความหนาที่แท้จริงของผิวน้ำแข็ง จึงต้องอาศัยเรดาร์ที่สามารถทะลุผ่านชั้นน้ำแข็งหนาหลายไมล์ได้ แล้ววัดความหนาของชั้นน้ำแข็งและพิจารณาคุณสมบัติของน้ำนมหาสมุทรได้อีกด้วย (ส่วนกรณีการวิเคราะห์คุณสมบัติน้ำจากตัวอย่าง อาจเก็บจากที่พบบนผิวดาว หรือเก็บน้ำจากการเจาะผ่านชั้นน้ำแข็งที่มีความหนาเพียงเล็กน้อย)
อีกเรื่องหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ยูโรปา ซึ่งเบาบางมากและตรวจจับได้ยาก นักดาราศาสตร์จะใช้ช่วงคลื่นของรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) เพื่อตรวจหาส่วนประกอบที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศ และ/หรือส่วนประกอบที่พวยพุ่งออกมาจากพื้นผิว นอกจากนี้ยังใช้เครื่องมือสำหรับวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก เพื่อพิจารณาถึงสนามแม่เหล็กบนดวงจันทร์ ที่ได้รับอิทธิพลร่วมจากดาวพฤหัสบดีด้วย
“BRUIE”หุ่นยนต์ดำน้ำเพื่อค้นหาร่องรอยชีวิตใต้ผืนน้ำแข็งต่างดาว
NASA ทำการทดสอบหุ่นยนต์ดำน้ำ BRUIE ซึ่งย่อมาจาก Buoyant Rover for Under-Ice Exploration หรือ “หุ่นยนต์ลาดตระเวนแบบลอยตัวได้เพื่อการสำรวจใต้ผืนน้ำแข็ง” ในมหาสมุทรแถบขั้วโลกใต้ หากประสบความสำเร็จ ก็จะถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญจะนำไปใช้ค้นหาชีวิตใต้ทะเลน้ำแข็งบนดาวดวงอื่นในอนาคต
การทดสอบหุ่นยนต์ BRUIE จะทำที่สถานีวิจัยเคซีย์ (Casey Research Station) ของออสเตรเลียที่ตั้งอยู่ที่ขั่วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติกา โดยการทดสอบตลอดช่วงเดือนพฤศจิกายนี้จะเน้นไปที่ความทนทานในการทำงานใต้มหาสมุทรที่มีผืนน้ำแข็งปกคลุม ซึ่งจะทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้มั่นใจว่าตัวยาน BRUIE จะทนอยู่กับสภาพใช้งานจริงได้อย่างน้อยๆก็หลายเดือน ในมหาสมุทรอันมืดมิดและหนาวเย็นใต้ผิวน้ำแข็งที่มีความหนานับสิบกิโลเมตรของดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัส หรือดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์ ซึ่งเป็น 2 เป้าหมายที่มีโอกาสพบชีวิตต่างดาวมากที่สุดในระบบสุริยะ (Cr.
https://stem.in.th/nasa-bruie-test/)
Cr.
https://blog.eduhub.tv/exploreeuropamoon/
Cr.
http://www.sunflowercosmos.org/Moon-004-europa-moon.html
Cr.
https://www.thairath.co.th/news/society/1288402
Cr.
https://www.flagfrog.com/europa-clipper-nasa-spacecraft/ โดย Xenon
Cr.
https://www.bbc.com/thai/features-45808455
Cr.
https://www.flagfrog.com/waterfall-in-jupiter-moon/โดย ManoshFiz
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
“นาซา” มีแผนที่จะส่งยานสำรวจดวงจันทร์ยูโรป้าอีกครั้งในปี 2022
จากองค์ประกอบดังกล่าวจึงทำให้เชื่อว่าสามารถมีระบบชีวิตเกิดขึ้นได้ภายใต้ชั้นน้ำแข็งนั้นได้ บนพื้นดวงจันทร์ยูโรปาสีขาวแวววาวคือ พื้นน้ำแข็งหนาที่สะท้อน แสงขึ้นมาจากดวงอาทิตย์ ส่วนเส้นเล็กๆนั้นความเป็นจริงเป็นร่องลึกหลายกิโลเมตรและยาวนับร้อยกิโลเมตร เกิดจากการแตกของแผ่นน้ำแข็ง จึงเห็นโยงยาวเป็นทิว
และสีน้ำตาลเป็นกลุ่มๆกระจายไปทั่วคือ อนุภาคจากสนามแม่เหล็กจากดาวพฤหัสฯและละออง ฝุ่นภูเขาไฟจากดวงจันทร์ไอโอขณะโคจรใกล้ชิดกันกระหน่ำปะทะเหมือนคราบดินโคลนผสมกับน้ำแข็งเรียกว่า โคลนน้ำแข็ง ทั้งนี้ดวงจันทร์ยูโรปาจัดให้เป็นกลุ่มดวงจันทร์ 1 ใน 4 ดวง ดวงจันทร์กาลีเลียนซึ่งสำรวจ พบโดยกาลิเลโอ และเมื่อเร็วๆ นี้นักวิทยาศาสตร์ดาวเคราะห์จากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ในสหรัฐอเมริกา นำเอาข้อมูลมาศึกษาอีกครั้งและเผยว่าดวงจันทร์ยูโรปาอาจเป็นดาวอีกดวงที่อาจเอื้อต่อสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ได้
ข้อมูลเก่าที่ได้จากยานอวกาศกาลิเลโอคือพบว่ามีการโค้งงอของสนามแม่เหล็กบนดวงจันทร์ยูโรปา เมื่อมาผนวกกับข้อมูลจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลเมื่อปี พ.ศ.2555 ที่รวบรวมข้อมูลของรังสีอัลตราไวโอเลตและชี้ให้เห็นถึงจุดรวมความร้อน ซึ่งเกิดการถ่ายเทพลังงานของมวลที่แข็งและร้อนในชั้นเปลือกดวงจันทร์
เมื่อใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่มาช่วยศึกษาวิเคราะห์ พบว่ามีน้ำพวยพุ่งจากผิวดาวขึ้นสู่อากาศ นักวิทยาศาสตร์อธิบายว่าบนดวงจันทร์ยูโรปามีส่วนประกอบมากมายที่จำเป็นต่อสิ่งมีชีวิต เช่น น้ำ พลังงาน และก๊าซคาร์บอน การพบน้ำพุพวยพุ่งขึ้นมาทำให้เชื่อว่าอาจมีมหา- สมุทรอยู่ข้างใต้และเป็นไปได้ที่จะมีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่ เนื่องจากอุณหภูมิอุ่นและได้รับการปกป้องจากสภาพแวดล้อมที่เป็นเปลือกน้ำแข็งบนผิวดาว
ทั้งนี้ องค์การนาซาจะวางแผนใช้ยานอวกาศยูโรปา คลิปเปอร์ (Europa Clipper) ไปสำรวจดวงจันทร์ยูโรปา เพื่อหาสัญญาณของจุลินทรีย์ในมหาสมุทรบนดวงจันทร์ดวงนี้ ในช่วงเดือน มิ.ย.ปี พ.ศ.2022
(นาซ่ามีแผนที่จะส่งยานสำรวจดวงจันทร์ยูโรป้าอีกครั้งในปี 2022 เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตบนดวงจันทร์ยูโรป้า โดยวางแผนให้ยานอวกาศเข้าใกล้ดวงจันทร์ยูโรปา 40 ครั้ง มีระยะห่างตั้งแต่ 100 กิโลเมตรจนถึง 15 กิโลเมตร ซึ่งจะเป็นการบินเฉียดที่ใกล้ที่สุดและจงใจให้บินผ่านตำแหน่งที่มีการพ่นน้ำออกมา เพื่อเก็บตัวอย่างของน้ำและอนุภาคต่าง ๆ นำมาวิเคราะห์ต่อไป)
โดยแต่ละแท่งมีลักษณะแหลมคมและสูงได้มากถึง 15 เมตร ซึ่งน่าจะเป็นอุปสรรคต่อการส่งยานสำรวจลงจอดบนพื้นผิวดาว เพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรเบื้องล่างอย่างมาก เนื่องจากยานสำรวจอาจเสียหายเพราะถูกแท่งหนามน้ำแข็งเสียบแทง หรือยานอาจตกลงไปในหุบเหวลึกระหว่างหนามยักษ์แต่ละแท่งได้
ศ. แดเนียล ฮอบลีย์ จากมหาวิทยาลัยคาร์ดิฟฟ์ของสหราชอาณาจักร ตีพิมพ์ผลการศึกษาข้างต้นลงในวารสาร Nature Geoscience โดยระบุว่าการก่อตัวของน้ำแข็งในรูปแบบดังกล่าวหาพบได้ยากบนโลก เว้นแต่ในบางพื้นที่ของเทือกเขาแอนดีสในอเมริกาใต้ซึ่งมีสภาพแวดล้อมบางอย่างคล้ายคลึงกับดวงจันทร์ยูโรปา
ศ. ฮอบลีย์บอกว่า น้ำแข็งบนดวงจันทร์ยูโรปาจะไม่มีการละลายแล้วกลับแข็งตัวใหม่เหมือนกับน้ำแข็งในธรรมชาติบนโลก เนื่องจากดาวมีอุณหภูมิต่ำมากถึง -184 องศาเซลเซียส น้ำแข็งจึงก่อตัวขึ้นในรูปของผลึกที่สามารถเป็นเลนส์รวมหรือหักเหแสงอาทิตย์ลงสู่ฐานล่างได้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ทำให้น้ำแข็งบางส่วนกลายเป็นก๊าซและก่อตัวขึ้นเป็นแท่งหนามขนาดใหญ่
อย่างไรก็ตาม การก่อตัวของหนามน้ำแข็งในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นช้ามาก โดยจะมีความสูงเพิ่มขึ้นเพียง 1 ฟุต ในทุก 1 ล้านปี ซึ่งแสดงว่าทุ่งหนามน้ำแข็งยักษ์ที่ปกคลุมทั่วดวงจันทร์ยูโรปานั้น อยู่ในสภาพที่ไม่เปลี่ยนแปลงมาเป็นเวลานานอย่างน้อย 50 ล้านปีแล้ว
ก่อนหน้านี้ยานสำรวจวอยยาเจอร์ (Voyager) และกาลิเลโอ (Galileo) ได้เก็บภาพพื้นผิวของดวงจันทร์ยูโรปา พบว่าพื้นผิวน้ำแข็งของมันค่อนข้างใหม่ อันเนื่องมาจากธรณีแปรสัณฐานของพื้นผิวดาว รวมถึงการเกิดปฏิกิริยารีดอกซ์ (Redox reaction) ทำให้ดวงจันทร์ดวงนี้อาจมีสิ่งมีชีวิตอยู่ก็เป็นได้
ภารกิจของ Europa Clipper มีเป้าหมายเพื่อสำรวจพื้นผิวน้ำแข็งของดวงจันทร์ยูโรปา เพื่อบรรลุ 3 วัตถุประสงค์ ได้แก่ ลักษณะต่าง ๆ ของพื้นที่บนดวงจันทร์, คุณสมบัติของมหาสมุทร และกลไกการเปลี่ยนแปลงของผิวน้ำแข็งและมหาสมุทร (การแปรสัณฐาน) รวมถึงการวิเคราะห์ตัวอย่างของสารประกอบบนดาว ซึ่งจะช่วยให้เราเข้าใจถึงความเป็นไปได้ในการมีสิ่งมีชีวิตมากขึ้น
แต่สิ่งที่ท้าท้ายคือการสำรวจคุณสมบัติของน้ำใต้ผิวน้ำแข็ง เนื่องจากเรายังไม่ทราบความหนาที่แท้จริงของผิวน้ำแข็ง จึงต้องอาศัยเรดาร์ที่สามารถทะลุผ่านชั้นน้ำแข็งหนาหลายไมล์ได้ แล้ววัดความหนาของชั้นน้ำแข็งและพิจารณาคุณสมบัติของน้ำนมหาสมุทรได้อีกด้วย (ส่วนกรณีการวิเคราะห์คุณสมบัติน้ำจากตัวอย่าง อาจเก็บจากที่พบบนผิวดาว หรือเก็บน้ำจากการเจาะผ่านชั้นน้ำแข็งที่มีความหนาเพียงเล็กน้อย)
อีกเรื่องหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือการวิเคราะห์ชั้นบรรยากาศของดวงจันทร์ยูโรปา ซึ่งเบาบางมากและตรวจจับได้ยาก นักดาราศาสตร์จะใช้ช่วงคลื่นของรังสีอัลตราไวโอเลต (Ultraviolet) เพื่อตรวจหาส่วนประกอบที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศ และ/หรือส่วนประกอบที่พวยพุ่งออกมาจากพื้นผิว นอกจากนี้ยังใช้เครื่องมือสำหรับวัดความเข้มข้นของสนามแม่เหล็ก เพื่อพิจารณาถึงสนามแม่เหล็กบนดวงจันทร์ ที่ได้รับอิทธิพลร่วมจากดาวพฤหัสบดีด้วย
การทดสอบหุ่นยนต์ BRUIE จะทำที่สถานีวิจัยเคซีย์ (Casey Research Station) ของออสเตรเลียที่ตั้งอยู่ที่ขั่วโลกใต้หรือทวีปแอนตาร์กติกา โดยการทดสอบตลอดช่วงเดือนพฤศจิกายนี้จะเน้นไปที่ความทนทานในการทำงานใต้มหาสมุทรที่มีผืนน้ำแข็งปกคลุม ซึ่งจะทำอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพื่อให้มั่นใจว่าตัวยาน BRUIE จะทนอยู่กับสภาพใช้งานจริงได้อย่างน้อยๆก็หลายเดือน ในมหาสมุทรอันมืดมิดและหนาวเย็นใต้ผิวน้ำแข็งที่มีความหนานับสิบกิโลเมตรของดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัส หรือดวงจันทร์เอนเซลาดัสของดาวเสาร์ ซึ่งเป็น 2 เป้าหมายที่มีโอกาสพบชีวิตต่างดาวมากที่สุดในระบบสุริยะ (Cr.https://stem.in.th/nasa-bruie-test/)
Cr.http://www.sunflowercosmos.org/Moon-004-europa-moon.html
Cr.https://www.thairath.co.th/news/society/1288402
Cr.https://www.flagfrog.com/europa-clipper-nasa-spacecraft/ โดย Xenon
Cr.https://www.bbc.com/thai/features-45808455
Cr.https://www.flagfrog.com/waterfall-in-jupiter-moon/โดย ManoshFiz
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)