ทริปวันหยุด หมู่บ้านที่อยู่ท่ามกลางป่าเขาธรรมชาติและสายหมอก
ย้อนอดีตปิล๊อกไปเมื่อหลาย 10 ปีก่อน มีผู้พบเห็นชาวพม่าเข้ามาลักลอบขุดแร่ในพื้นที่ตำบลปิล๊อกไปขายให้ ทหารอังกฤษ คำเล่าลือ นี้ทำให้กรมทรัพยากร ธรณีสมัยนั้นนำคณะนายช่างมาสำรวจก็ถึงกับตะลึง เมื่อพบว่าพื้นที่แถบนี้ี่มีแร่ดีบุกและวุลแฟรม อยู่มากมาย รองลงมาและมักอยู่ปะปนกัน คือ แร่ทังสะเตน และยังมีสายแร่ทองคำ ปะปนอยู่กับ สายแร่ดีบุกต่อมา ปี พ.ศ. 2483 องค์การเหมืองแร่ กรมโลหะกิจ ได้เปิด"เหมืองปิล๊อก"ขึ้นเป็น แห่งแรกที่บ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก จากการเปิดเหมืองในครั้งนั้นได้เกิดการปะทะกันระหว่าง ตำรวจกับกรรมกรพม่าเพราะฝ่ายไทยห้ามกรรมกรพม่านำแร่ไปขายให้อังกฤษ แต่กรรมกรพม่าฝ่าฝืน จึงเกิดการปะทะกัน ทำให้ มีผู้บาด เจ็บและล้มตายจำนวนมาก ในอดีตชาวบ้านเรียกว่า "เหมืองผีหลอก" ต่อมาเพี้ยนเป็น "ปิล๊อก" ซึ่งกลายเป็นชื่อเหมืองแร่ และตำบลในเวลาต่อมา หลังจากนั้นก็ได้มีเหมืองแร่อื่นๆทยอยเปิดตามกันมาอีกมากมายทั้ง เหมืองเล็ก เหมืองใหญ่ ราว 50-60 เหมือง โดยผู้คนพากันเรียกบรรดาเหมืองทั้งหลายในพื้นที่แถบนี้แบบเหมารวมว่า "เหมืองปิล๊อก" ดินแดนแห่งนี้ เปรียบเสมือนขุมทรัพย์ของ บรรดานายเหมือง ทั้งหลายที่ต่างหลั่งไหลเข้ามาผู้แสวง โชคมีทั้งคนไทย พม่า และที่มาจากแถบอินเดีย เหมืองแร่จึง สร้างความเจริญ รุ่งเรืองให้แก่ชุมชนโดย รอบเป็นอย่างมากเนื่อง นิยายเหมืองแร่แห่งปิล๊อกดำเนินเรื่องราวอยู่หลายสิบปี ก่อนประสบภาวะราคาแร่โลก ตกต่ำในปี พ.ศ. 2528 บรรดาเหมืองแร่ทยอย ปิดตัวลง ไม่เว้น แม้แต่เหมืองปิล๊อก ทิ้งไว้เพียงตำนานเมือง เหมืองอันรุ่งโรจน์และ มนต์เสน่ห์แห่งปัจจุบันอันเรียบง่ายสงบ ปิล๊อก กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่แวดล้อมด้วยทะเลแห่งภูเขาอันสลับซับซ้อน และสวยงามของเทือกเขาตะนาวศรี
*** เริ่มต้นการเดินทางของพวกเรา ***
"" อีต่อง-ปิล็อค "" หมู่บ้านในสายหมอก ""