9 ธันวาคม 1993
คณะกรรมการวุฒิสภาได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ, นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเกมมาเพื่อตอบข้อซักถามและอธิบายแด่คณะวุฒิสภาในประเด็นเรื่องวิดีโอเกมกับความรุนแรง
ผู้ที่สนใจสามารถชมเทปบันทึกภาพได้ใน Link ข้างล่าง (ความยาว 2.50 ชม)
กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกมเช่น Nintendo และ SEGA เริ่มประจำที่นั่งเพื่อตอบข้อซักถามแก่คณะวุฒิสภาตั้งแต่ชั่วโมงที่ 1.22 เป็นต้นไป
https://www.youtube.com/watch?v=nD-Afpg4P2U
ถ้าผู้อ่านต้องการที่จะยกตัวอย่างของการใช้คนให้เหมาะกับงานละก็ สิ่งที่เกิดขึ้นในการตอบข้อซักถามแก่คณะวุฒิสภาในวันนั้นถือเป็นตัวอย่างที่ดี
ทาง SEGA นั้นได้ส่งนาย บิล ไวต์ (ซ้าย) อดีตเคยทำงานที่ Nintendo มา 6 ปีและในขณะนั้นเป็นรองประธานฝ่ายสื่อสารทางการตลาดของ SEGA มาชี้แจงแก่คณะวุฒิสภา
ขณะที่ทาง Nintendo ได้ส่ง Last boss อย่าง นาย ฮาวเวิร์ด ลินคอล์น (ขวา) รองประธานอาวุโสของ Nintendo of America มาชี้แจงด้วยตนเอง ในอดีตเค้าเป็นนักกฎหมายที่เก่งกาจและเคยมีวีรกรรมล้มยักษ์มาแล้ว นี่ทำให้การชี้แจงครั้งนี้สำหรับฮาวเวิร์ดนั้นเหมือนเดินเล่นในสวนหลังบ้าน
การชี้แจงแก่คณะวุฒิสภาในวันนั้นเป็นฝันร้ายของ SEGA
การรับรู้ถึงความรุนแรงในเกม Mortal Kombat บนเครื่องเกม SEGA นั้นทำให้มีการตรวจสอบย้อนหลังไปยังเกมอื่น ๆ ของ SEGA ที่เคยออกมาก่อนหน้านี้ด้วยและคณะวุฒิสมาชิกก็เจอเกมที่มีประเด็นอีก 2 เกม
คือเกมที่ชื่อว่า Night trap และ lethal enforcers
Night trap เป็นเกมแนว interactive movie (ผู้เล่นต้องควบคุมเกมตอบสนองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน Vdo) พัฒนาโดย Digital Pictures ในเกมนั้นผู้เล่นจะรับบทเป็นหนึ่งในทีมจู่โจมที่มาสืบการหายตัวไปเด็กสาววัยรุ่นรวม 5 คนโดยจะได้รับมอบหมายให้เป็นคนดูกล้องวงจรปิดและควบคุมกับดักที่ติดตั้งภายในบ้าน ผู้เล่นจะต้องคอยสลับดูกล้องในตำแหน่งต่าง ๆ และสั่งให้กับดักทำงานเมื่อคนร้ายเข้ามาในตำแหน่งกับดัก เพื่อปกป้องผู้ปกครองและกลุ่มวัยรุ่นที่มาพักในบ้านรวมถึงสนับสนุนและคุ้มกันเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่ปะปนมาในกลุ่ม
ปัจจุบันเกมนี้ถูกนำมา Remaster วางนำหน่ายบน Steam แล้ว
สิ่งที่คณะวุฒิสมาชิกไม่ชอบใจคือเนื้อหาของเกมนั้นแสดงการใช้ความรุนแรงต่อสตรี วุฒิสมาชิกคนหนึ่งถึงกับพูดว่า
“คนที่สร้างขยะแบบนี้ออกมาสมควรจะละอายใจบ้าง”
และนักวิชาการเองก็แสดงความกังวลว่าเนื้อหาแบบนี้จะทำให้เยาวชนเลียนแบบและทำตาม
Hight Light ตอนที่คณะวุฒิสภาดูเทปบันทึกภาพตัวอย่างเกมเพลย์ของ Night trap ที่มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง
เริ่มในนาทีที่ 3.50 เป็นต้นไป
https://www.youtube.com/watch?v=eJVnL484jbk&t=217s
ต่อมาคือ lethal enforcers เป็นเกมแนว Shooting gallery พัฒนาโดย Konami เกมนี้ผู้เล่นจะเห็นภาพจากบุคคลที่ 1 เลื่อนเคอร์เซอร์หรือหันจอยแบบพิเศษรูปร่างคล้ายปืนรู้จักในชื่อว่า Light Gun ยิงเป้าที่ปรากฎขึ้นมาบนจอ ตัวอย่างเกมในประเภทเดียวกันก็เช่นเกมยิงเป็ด duck hunt ในเครื่อง Famicom ( Famicom เวอร์ชั่นขายในอเมริกาใช้ขื่อว่า Nintendo Entertainment System ชื่อย่อ NES)
โดยผู้เล่นรับบทเป็นตำรวจที่ได้รับวิทยุขอกำลังเสริมในเหตุการณ์ร้ายแรงจึงเดินทางไปสมทบ เกมนี้เคยมีเวอร์ชั่นตู้เกมอาเขตมาเปิดให้บริการในไทยด้วย เคยเห็นที่ห้างดังราว ๆ ปลาย 2530 ถึง ต้น 2540 จำปีที่แน่ชัดไม่ได้
สิ่งที่เป็นประเด็นคือ Light Gun ที่แถมมาให้กับตลับเกมนั้นมีรูปร่างคล้ายกับปืนจริง แถมศัตรูในเกมก็เป็นคนจริง ๆ ที่ถ่ายทำและแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัลมาแสดง ทำให้สมาชิกวุฒิสภามองว่าเกมนี้มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เด็กใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธปืน
Game play ของเกมนี้ผู้อ่านสามารถดูได้จาก Link ข้างล่าง (เวอร์ชั่นเกมอาเขต)
https://www.youtube.com/watch?v=JaI57PBqgNo
โชคดีของ SEGA ในวันนั้น ในมุมมองของผู้เขียนเองคือคณะวุฒิสมาชิกยังไม่รู้เรื่องเกมชื่อ Eternal Champions ที่ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1993 หลังวันตอบข้อซักถามเพียงไม่กี่วัน
Eternal Champions เป็นเกมแนว VS fighting ที่ SEGA พัฒนาเองเพื่อมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของเกม Mortal Kombat ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จะบอกว่าเป็น Mortal Kombat ฉบับ SEGA ก็ว่าได้เพียงแต่ไม่ได้ใช้นักแสดงที่เป็นคนจริง ๆ
แต่นั้นทำให้ใน ความรู้สึกของผู้เขียนเอง เห็นว่าหลาย ๆ ฉากการตายในเกมนี้นั้นดูรุนแรงและน่าสยดสยองยิ่งกว่า Mortal Kombat เสียอีก
Game play ของ Eternal Champions ผู้อ่านสามารถดูได้จาก Link ข้างล่าง
(คำเตือน ภาพสยดสยอง ไม่เหมาะกับเด็ก)
https://www.youtube.com/watch?v=4gOEc4pzM3c
ในการตอบข้อซักถามนั้น SEGA โดนไปหลายดอกทีเดียว โดยมีอยู่ 2 ช่วงที่ผู้เขียนคิดว่าควรยกมาเป็นตัวอย่างภาพกีฬามัน ๆ
ในเทปบันทึกภาพการตอบข้อซักถามแบบฉบับเต็ม ชั่วโมงที่ 2.29
วุฒิสมาชิกได้ถามถึงการให้เรทเกม Mortal Kombat เป็น Mature 13
SEGA: MA13 นั้นบ่งชี้ว่าเกมเหมาะสมกับวัยรุ่นหรือแก่กว่า แต่ไม่กับเด็ก…
วุฒิสมาชิก: แต่มันมีคำว่า Mature(แปลว่า เป็นผู้ใหญ่) อยู่ในนั้น
SEGA: ถูกต้องครับ
วุฒิสมาชิก: งั้นข้อสันนิฐานคือ ผู้ที่อายุมากกว่า 13 ปีคือเป็นผู้ใหญ่แล้ว?
SEGA: ..ใช่ครับ
วุฒิสมาชิก: นี่คุณล้อเล่นไหม
อีกช่วง ไม่ใช่จากสมาชิกวุฒิสภาแต่มาจากบริษัทเกมด้วยกันเอง Nintendo
สำหรับ Nintendo ที่มีนโยบายเรื่องความรุนแรงในเกมที่เข้มแข็งและชัดเจนมากนั้น การตอบข้อซักถามนี้ไม่มีอะไรต้องกังวล
แน่นอนว่าย่อมมีจุดที่ Nintendo พลาดไปบ้างคือในส่วนของสื่อโฆษณาที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ แต่ฮาวเวิร์ดก็ยอมรับความผิดพลาด ขอโทษและจะบี้บริษัทเกมเพื่อแก้ไขมัน ซึ่ง Nintendo มีอำนาจกดดันบริษัทเกมต่าง ๆ มากพอที่จะทำด้วย ทำให้ Nintendo ในสายตาวุฒิสมาชิกและผู้ชมในวันนั้น ถ้าใช้ภาษาวัยรุ่นในปัจจุบันก็คือ “อย่างหล่อ”
ในทางกลับกัน Nintendo เองก็มองว่านี่เป็นจังหวะดีที่จะโจมตีคู่แข่งสันหลังแหวะอย่าง SEGA ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ทำให้ภาพลักษณ์ของฝั่งนั้นเป็นผู้ร้ายในสายตาผู้ปกครองและสังคม เกมของ SEGA จะทำให้เด็ก ๆ ซึมซับและแปดเปื้อนสิ่งที่ไม่เหมาะสมกลายเป็นเด็กไม่ดี มีปัญหา ดังนั้นมาซื้อเกมของ Nintendo แทนดีกว่า
ในชั่วโมงที่ 2.10
Nintendo: ขอผมยกประเด็นอื่น ๆ ขึ้นมาสักหน่อย
ผมไม่สามารถนั่งตรงนี้ ปล่อยให้พวกท่านถูกกรอกหูว่าอุตสาหกรรมและธุรกิจเกมวันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว
จากผู้เล่นกลุ่มเด็กสู่ผู้ใหญ่
ไม่ มันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย
และคุณ ไวต์ ผู้ที่เป็นอดีตพนักงานของ Nintendo เองก็รู้ดีพอ ๆ กับผม
ยิ่งไปกว่านั้น ผมไม่อาจให้ท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้เชื่อเรื่องเหลวไหลของ SEGA เกี่ยวกับ Night Trap ที่ว่าเกมนี้เป็นเกมสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
ความจริงคือ (ชูสำเนากระดาษ) นี่คือสำเนาของหน้ากล่องเกม ไม่มีการบอกเรทของเกมเลยเมื่อมีการนำเสนอ
เด็กที่ไหนก็สามารถซื้อมันได้ที่ Toy R Us แล้วเค้า (ไวต์) ก็รู้ดีเช่นกัน
พอเรื่องนี้เริ่มเป็นประเด็นพวกเค้าถึงเริ่มทำระบบเรทเกมแล้วเอาเรทแปะลงไปที่กล่อง
แต่วันนี้ ขณะที่ผมนั่งอยู่ตรงนี้ ท่านสามารถไป Toy R Us, Walmart หรือ Kmart แล้วท่านก็รู้อย่างที่ผมรู้ว่าท่านสามารถซื้อเกมนี้ได้โดยไม่มีพนักงานขายคนใดเลยที่จะตรวจสอบท่าน
ดังนั้นประเด็นคือ แปะเรทลงไปมันก็แค่นั้นล่ะ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย
การตอบข้อซักถามในวันนั้น Nintendo ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากขณะที่ SEGA นั้นเละเป็นโจ๊ก
การออกอากาศการตอบข้อซักถามและการที่คอลัมนิสต์รวมถึงสื่อต่าง ๆ เข้ามาเล่นในประเด็นนี้อย่างจริงจังทำให้สังคมรับรู้เรื่องความรุนแรงในวิดีโอเกมและเกลี้ยวกลาดมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น มีผู้ที่เห็นต่างอยู่บ้าง เช่น ผู้สร้างเกม Night Trap เองที่ออกมาบอกว่าการตัดสินเกมของเค้าจากฉากเพียงฉากเดียวมันไม่ยุติธรรม แม้เหตุผลจะฟังขึ้นแต่อารมณ์ของสังคมในตอนนั้นไม่มีที่ให้กับเหตุผล พวกเค้าเห็นตรงกันว่าควรจะมีมาตรการอะไรสักอย่างมาจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
ระหว่างนั้น lethal enforcers ก็ถูกย้ายไปขายที่ร้านโปรแกรมคอมฯ แทนร้านของเล่น ส่วน Night trap ถูกเก็บลงจากชั้นไม่นานหลังจากการตอบข้อซักถามและถูก SEGA เรียกเก็บกลับในเดือนมกราคม 1994
มีข้อสังเกตว่า Night trap มียอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากการตอบข้อซักถามถึงแม้ร้านค้าปลีกรายใหญ่จะเอาลงจากชั้นแล้วก็ตาม
ต่อมา วันที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ 1994 ได้มีการออกบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดเรทเกม ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมาธิการที่มีสมาชิกทั้งหมด 5 คนมอบหมายหน้าที่โดยประธานธิบดีสหรัฐให้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเกมเพื่อช่วยกันสร้างระบบจัดเรทเกมขึ้นมาภายในระยะเวลา 1 ปี
to be continued in Part 4
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
บทความตามใจฉัน “ESRB เมื่อเกมเริ่มรุนแรง” Part 3
9 ธันวาคม 1993
คณะกรรมการวุฒิสภาได้เชิญผู้เชี่ยวชาญ, นักวิชาการและผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเกมมาเพื่อตอบข้อซักถามและอธิบายแด่คณะวุฒิสภาในประเด็นเรื่องวิดีโอเกมกับความรุนแรง
ผู้ที่สนใจสามารถชมเทปบันทึกภาพได้ใน Link ข้างล่าง (ความยาว 2.50 ชม)
กลุ่มผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเกมเช่น Nintendo และ SEGA เริ่มประจำที่นั่งเพื่อตอบข้อซักถามแก่คณะวุฒิสภาตั้งแต่ชั่วโมงที่ 1.22 เป็นต้นไป
https://www.youtube.com/watch?v=nD-Afpg4P2U
ถ้าผู้อ่านต้องการที่จะยกตัวอย่างของการใช้คนให้เหมาะกับงานละก็ สิ่งที่เกิดขึ้นในการตอบข้อซักถามแก่คณะวุฒิสภาในวันนั้นถือเป็นตัวอย่างที่ดี
ทาง SEGA นั้นได้ส่งนาย บิล ไวต์ (ซ้าย) อดีตเคยทำงานที่ Nintendo มา 6 ปีและในขณะนั้นเป็นรองประธานฝ่ายสื่อสารทางการตลาดของ SEGA มาชี้แจงแก่คณะวุฒิสภา
ขณะที่ทาง Nintendo ได้ส่ง Last boss อย่าง นาย ฮาวเวิร์ด ลินคอล์น (ขวา) รองประธานอาวุโสของ Nintendo of America มาชี้แจงด้วยตนเอง ในอดีตเค้าเป็นนักกฎหมายที่เก่งกาจและเคยมีวีรกรรมล้มยักษ์มาแล้ว นี่ทำให้การชี้แจงครั้งนี้สำหรับฮาวเวิร์ดนั้นเหมือนเดินเล่นในสวนหลังบ้าน
การชี้แจงแก่คณะวุฒิสภาในวันนั้นเป็นฝันร้ายของ SEGA
การรับรู้ถึงความรุนแรงในเกม Mortal Kombat บนเครื่องเกม SEGA นั้นทำให้มีการตรวจสอบย้อนหลังไปยังเกมอื่น ๆ ของ SEGA ที่เคยออกมาก่อนหน้านี้ด้วยและคณะวุฒิสมาชิกก็เจอเกมที่มีประเด็นอีก 2 เกม
คือเกมที่ชื่อว่า Night trap และ lethal enforcers
Night trap เป็นเกมแนว interactive movie (ผู้เล่นต้องควบคุมเกมตอบสนองกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นใน Vdo) พัฒนาโดย Digital Pictures ในเกมนั้นผู้เล่นจะรับบทเป็นหนึ่งในทีมจู่โจมที่มาสืบการหายตัวไปเด็กสาววัยรุ่นรวม 5 คนโดยจะได้รับมอบหมายให้เป็นคนดูกล้องวงจรปิดและควบคุมกับดักที่ติดตั้งภายในบ้าน ผู้เล่นจะต้องคอยสลับดูกล้องในตำแหน่งต่าง ๆ และสั่งให้กับดักทำงานเมื่อคนร้ายเข้ามาในตำแหน่งกับดัก เพื่อปกป้องผู้ปกครองและกลุ่มวัยรุ่นที่มาพักในบ้านรวมถึงสนับสนุนและคุ้มกันเจ้าหน้าที่นอกเครื่องแบบที่ปะปนมาในกลุ่ม
ปัจจุบันเกมนี้ถูกนำมา Remaster วางนำหน่ายบน Steam แล้ว
สิ่งที่คณะวุฒิสมาชิกไม่ชอบใจคือเนื้อหาของเกมนั้นแสดงการใช้ความรุนแรงต่อสตรี วุฒิสมาชิกคนหนึ่งถึงกับพูดว่า
“คนที่สร้างขยะแบบนี้ออกมาสมควรจะละอายใจบ้าง”
และนักวิชาการเองก็แสดงความกังวลว่าเนื้อหาแบบนี้จะทำให้เยาวชนเลียนแบบและทำตาม
Hight Light ตอนที่คณะวุฒิสภาดูเทปบันทึกภาพตัวอย่างเกมเพลย์ของ Night trap ที่มีการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง
เริ่มในนาทีที่ 3.50 เป็นต้นไป
https://www.youtube.com/watch?v=eJVnL484jbk&t=217s
ต่อมาคือ lethal enforcers เป็นเกมแนว Shooting gallery พัฒนาโดย Konami เกมนี้ผู้เล่นจะเห็นภาพจากบุคคลที่ 1 เลื่อนเคอร์เซอร์หรือหันจอยแบบพิเศษรูปร่างคล้ายปืนรู้จักในชื่อว่า Light Gun ยิงเป้าที่ปรากฎขึ้นมาบนจอ ตัวอย่างเกมในประเภทเดียวกันก็เช่นเกมยิงเป็ด duck hunt ในเครื่อง Famicom ( Famicom เวอร์ชั่นขายในอเมริกาใช้ขื่อว่า Nintendo Entertainment System ชื่อย่อ NES)
โดยผู้เล่นรับบทเป็นตำรวจที่ได้รับวิทยุขอกำลังเสริมในเหตุการณ์ร้ายแรงจึงเดินทางไปสมทบ เกมนี้เคยมีเวอร์ชั่นตู้เกมอาเขตมาเปิดให้บริการในไทยด้วย เคยเห็นที่ห้างดังราว ๆ ปลาย 2530 ถึง ต้น 2540 จำปีที่แน่ชัดไม่ได้
สิ่งที่เป็นประเด็นคือ Light Gun ที่แถมมาให้กับตลับเกมนั้นมีรูปร่างคล้ายกับปืนจริง แถมศัตรูในเกมก็เป็นคนจริง ๆ ที่ถ่ายทำและแปลงข้อมูลเป็นดิจิทัลมาแสดง ทำให้สมาชิกวุฒิสภามองว่าเกมนี้มีส่วนช่วยสนับสนุนให้เด็กใช้ความรุนแรงด้วยอาวุธปืน
Game play ของเกมนี้ผู้อ่านสามารถดูได้จาก Link ข้างล่าง (เวอร์ชั่นเกมอาเขต)
https://www.youtube.com/watch?v=JaI57PBqgNo
โชคดีของ SEGA ในวันนั้น ในมุมมองของผู้เขียนเองคือคณะวุฒิสมาชิกยังไม่รู้เรื่องเกมชื่อ Eternal Champions ที่ออกวางจำหน่ายเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 1993 หลังวันตอบข้อซักถามเพียงไม่กี่วัน
Eternal Champions เป็นเกมแนว VS fighting ที่ SEGA พัฒนาเองเพื่อมาแย่งส่วนแบ่งตลาดของเกม Mortal Kombat ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก จะบอกว่าเป็น Mortal Kombat ฉบับ SEGA ก็ว่าได้เพียงแต่ไม่ได้ใช้นักแสดงที่เป็นคนจริง ๆ
แต่นั้นทำให้ใน ความรู้สึกของผู้เขียนเอง เห็นว่าหลาย ๆ ฉากการตายในเกมนี้นั้นดูรุนแรงและน่าสยดสยองยิ่งกว่า Mortal Kombat เสียอีก
Game play ของ Eternal Champions ผู้อ่านสามารถดูได้จาก Link ข้างล่าง
(คำเตือน ภาพสยดสยอง ไม่เหมาะกับเด็ก)
https://www.youtube.com/watch?v=4gOEc4pzM3c
ในการตอบข้อซักถามนั้น SEGA โดนไปหลายดอกทีเดียว โดยมีอยู่ 2 ช่วงที่ผู้เขียนคิดว่าควรยกมาเป็นตัวอย่างภาพกีฬามัน ๆ
ในเทปบันทึกภาพการตอบข้อซักถามแบบฉบับเต็ม ชั่วโมงที่ 2.29
วุฒิสมาชิกได้ถามถึงการให้เรทเกม Mortal Kombat เป็น Mature 13
SEGA: MA13 นั้นบ่งชี้ว่าเกมเหมาะสมกับวัยรุ่นหรือแก่กว่า แต่ไม่กับเด็ก…
วุฒิสมาชิก: แต่มันมีคำว่า Mature(แปลว่า เป็นผู้ใหญ่) อยู่ในนั้น
SEGA: ถูกต้องครับ
วุฒิสมาชิก: งั้นข้อสันนิฐานคือ ผู้ที่อายุมากกว่า 13 ปีคือเป็นผู้ใหญ่แล้ว?
SEGA: ..ใช่ครับ
วุฒิสมาชิก: นี่คุณล้อเล่นไหม
อีกช่วง ไม่ใช่จากสมาชิกวุฒิสภาแต่มาจากบริษัทเกมด้วยกันเอง Nintendo
สำหรับ Nintendo ที่มีนโยบายเรื่องความรุนแรงในเกมที่เข้มแข็งและชัดเจนมากนั้น การตอบข้อซักถามนี้ไม่มีอะไรต้องกังวล
แน่นอนว่าย่อมมีจุดที่ Nintendo พลาดไปบ้างคือในส่วนของสื่อโฆษณาที่ไม่ได้รับการตรวจสอบ แต่ฮาวเวิร์ดก็ยอมรับความผิดพลาด ขอโทษและจะบี้บริษัทเกมเพื่อแก้ไขมัน ซึ่ง Nintendo มีอำนาจกดดันบริษัทเกมต่าง ๆ มากพอที่จะทำด้วย ทำให้ Nintendo ในสายตาวุฒิสมาชิกและผู้ชมในวันนั้น ถ้าใช้ภาษาวัยรุ่นในปัจจุบันก็คือ “อย่างหล่อ”
ในทางกลับกัน Nintendo เองก็มองว่านี่เป็นจังหวะดีที่จะโจมตีคู่แข่งสันหลังแหวะอย่าง SEGA ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ ทำให้ภาพลักษณ์ของฝั่งนั้นเป็นผู้ร้ายในสายตาผู้ปกครองและสังคม เกมของ SEGA จะทำให้เด็ก ๆ ซึมซับและแปดเปื้อนสิ่งที่ไม่เหมาะสมกลายเป็นเด็กไม่ดี มีปัญหา ดังนั้นมาซื้อเกมของ Nintendo แทนดีกว่า
ในชั่วโมงที่ 2.10
Nintendo: ขอผมยกประเด็นอื่น ๆ ขึ้นมาสักหน่อย
ผมไม่สามารถนั่งตรงนี้ ปล่อยให้พวกท่านถูกกรอกหูว่าอุตสาหกรรมและธุรกิจเกมวันนี้ได้เปลี่ยนไปแล้ว
จากผู้เล่นกลุ่มเด็กสู่ผู้ใหญ่
ไม่ มันไม่ได้เปลี่ยนไปเลย
และคุณ ไวต์ ผู้ที่เป็นอดีตพนักงานของ Nintendo เองก็รู้ดีพอ ๆ กับผม
ยิ่งไปกว่านั้น ผมไม่อาจให้ท่านที่นั่งอยู่ตรงนี้เชื่อเรื่องเหลวไหลของ SEGA เกี่ยวกับ Night Trap ที่ว่าเกมนี้เป็นเกมสำหรับผู้ใหญ่เท่านั้น
ความจริงคือ (ชูสำเนากระดาษ) นี่คือสำเนาของหน้ากล่องเกม ไม่มีการบอกเรทของเกมเลยเมื่อมีการนำเสนอ
เด็กที่ไหนก็สามารถซื้อมันได้ที่ Toy R Us แล้วเค้า (ไวต์) ก็รู้ดีเช่นกัน
พอเรื่องนี้เริ่มเป็นประเด็นพวกเค้าถึงเริ่มทำระบบเรทเกมแล้วเอาเรทแปะลงไปที่กล่อง
แต่วันนี้ ขณะที่ผมนั่งอยู่ตรงนี้ ท่านสามารถไป Toy R Us, Walmart หรือ Kmart แล้วท่านก็รู้อย่างที่ผมรู้ว่าท่านสามารถซื้อเกมนี้ได้โดยไม่มีพนักงานขายคนใดเลยที่จะตรวจสอบท่าน
ดังนั้นประเด็นคือ แปะเรทลงไปมันก็แค่นั้นล่ะ ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรเลย
การตอบข้อซักถามในวันนั้น Nintendo ได้รับเสียงชื่นชมอย่างมากขณะที่ SEGA นั้นเละเป็นโจ๊ก
การออกอากาศการตอบข้อซักถามและการที่คอลัมนิสต์รวมถึงสื่อต่าง ๆ เข้ามาเล่นในประเด็นนี้อย่างจริงจังทำให้สังคมรับรู้เรื่องความรุนแรงในวิดีโอเกมและเกลี้ยวกลาดมากกับสิ่งที่เกิดขึ้น มีผู้ที่เห็นต่างอยู่บ้าง เช่น ผู้สร้างเกม Night Trap เองที่ออกมาบอกว่าการตัดสินเกมของเค้าจากฉากเพียงฉากเดียวมันไม่ยุติธรรม แม้เหตุผลจะฟังขึ้นแต่อารมณ์ของสังคมในตอนนั้นไม่มีที่ให้กับเหตุผล พวกเค้าเห็นตรงกันว่าควรจะมีมาตรการอะไรสักอย่างมาจัดการกับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยเร็ว
ระหว่างนั้น lethal enforcers ก็ถูกย้ายไปขายที่ร้านโปรแกรมคอมฯ แทนร้านของเล่น ส่วน Night trap ถูกเก็บลงจากชั้นไม่นานหลังจากการตอบข้อซักถามและถูก SEGA เรียกเก็บกลับในเดือนมกราคม 1994
มีข้อสังเกตว่า Night trap มียอดขายที่เพิ่มสูงขึ้นหลังจากการตอบข้อซักถามถึงแม้ร้านค้าปลีกรายใหญ่จะเอาลงจากชั้นแล้วก็ตาม
ต่อมา วันที่ 3 เดือนกุมภาพันธ์ 1994 ได้มีการออกบทบัญญัติเกี่ยวกับการจัดเรทเกม ให้รัฐบาลตั้งคณะกรรมาธิการที่มีสมาชิกทั้งหมด 5 คนมอบหมายหน้าที่โดยประธานธิบดีสหรัฐให้ร่วมกับกลุ่มอุตสาหกรรมเกมเพื่อช่วยกันสร้างระบบจัดเรทเกมขึ้นมาภายในระยะเวลา 1 ปี
to be continued in Part 4
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน”
โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/