บทความตามใจฉัน “ESRB เมื่อเกมเริ่มรุนแรง” Part 1

บทความตามใจฉัน “ESRB เมื่อเกมเริ่มรุนแรง” Part 1
 
การละเล่น,ความบันเทิงและความรุนแรง หลายครั้งก็ผสานเป็นเนื้อเดียวกันจนแยกไม่ออก
การละเล่นเพื่อความบันเทิงที่มีความรุนแรงนั้นเกิดมาตั้งแต่สมัยโบราณ เช่น การล่าสัตว์, การประลอง, โคโลเซี่ยม
การละเล่นดังกล่าวหลายอย่างหายไป บางยังคงเหลือแต่ก็ปรับเปลี่ยนไปตามบริบทของสังคม, ค่านิยม, วัฒนธรรมและเทคโนโลยี มากน้อยแตกต่างกัน
 

 
การละเล่นของเด็กเองก็เช่นกัน การเล่นกันของเด็กบางอย่างแฝงความรุนแรงไว้ตลอดมา โดยเฉพาะกับเด็กผู้ชายจะเห็นได้ชัดตรงที่เรียนรู้การกวัดแกว่งสิ่งเทียมอาวุธตั้งแต่ยังเยาว์, ยิงปืนของเล่นใส่คน, เล่นสู้กันหรือเล่นทำสงครามกันตั้งแต่เล็ก
เกมคอมพิวเตอร์หรือวิดีโอเกมหลาย ๆ เกมก็หนีไม่พ้นแนวคิด ความรุนแรง = ความบันเทิง
 

 
ในช่วงต้นยุค 90s วิดีโอเกมคือการละเล่นอย่างหนึ่งที่ได้รับความนิยมมากในหมู่เด็ก ๆ 
บริบทของสังคม, ค่านิยมและวัฒนธรรมของอเมริกาในยุคนั้นมองว่าเด็ก ๆ ไม่ควรได้รับสื่อบันเทิงที่มีความรุนแรงเกินวัย
ในตอนนั้นยังไม่มีการกำหนดเรทอายุของผู้เล่นที่เหมาะสมกับเกม ทำให้ผู้ปกครองต้องดูแลบุตรหลานกันเอาเอง

โชคดีว่าการเล่นเกมในยุคนั้นเล่นในที่รโหฐานอย่างเช่นร้านเกมอาเขต, สวนสนุก หรือ ร้านอาหาร ทำให้มีผู้ใหญ่พบเห็นได้ง่าย 
ส่วนการเล่นเกมคอนโซล ทีวีที่ต้องต่อกับเครื่องนั้นมักตั้งอยู่ที่ห้องนั่งเล่น การเล่นเกมจึงอยู่ในสายตาของผู้ปกครองและคัดกรองเกมที่ไม่เหมาะสมออกไปได้เมื่อพบ
 


แล้วเกมที่ไม่เหมาะสมต้องมีลักษณะอย่างไรนั้น คำตอบไม่มีหลักเกณฑ์ใด ๆ ในการตัดสิน ทั้งหมดขึ้นอยู่กับดุจพินิจของผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองเพียงอย่างเดียว
 
เกมไม่เหมาะสมที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่มีข้อมูลคือเกมชื่อว่า Death Race เป็นตู้เกมอาเขตที่ติดตั้งให้บริการเมื่อปี 1976 ที่อเมริกา
ตัวเกมนั้นผู้เล่นจะต้องบังคับรถวิ่งชนตัวเกรมลิน เมื่อชนสำเร็จในจุดที่ชนก็จะขึ้นเครื่องหมายกางเขนและผู้ได้ก็จะได้คะแนน

ปัญหาคือเกรมลินในเกมนั้นรูปร่างคล้ายคนและเวลาชนสำเร็จก็จะมีเสียงแหลมดังขึ้นคล้ายเสียงกรีดร้อง จุดที่ชนก็ขึ้นเครื่องหมายกางเขนเหมือนป้ายหลุมศพเสียอีก ทำให้เกมถูกมองว่าเป็นเกมขับรถชนคนที่น่าขยะแขยง  

ผลคือตู้เกมถูกส่งกลับคืน, จำนวนผู้ซื้อหรือเช่าตู้เกมลดลงอย่างมากและตัวแทนจำหน่ายก็ไม่เสนอขายเกมนี้อีกต่อไป
แต่ในบางรัฐ ผลที่ได้กลับเป็นอีกขั้วและช่วยให้ยอดขายเพิ่มขึ้น

Gameplay ของ Death Race อยู่ใน Link ข้างล่าง
https://www.youtube.com/watch?v=aBBtt72aJLA
 

 
กลับมาที่ยุคต้น 90s ในช่วงนั้นตลาดเครื่องเกมคอนโซลกำลังระอุจากการแข่งขันที่ดุเดือดระหว่าง SEGA และ Nintendo
Nintendo นั้นมีกลุ่มเป้าหมายหลักคือเด็ก ๆ อยู่แล้ว ประกอบกับทุกเกมที่สามารถเล่นบนเครื่องเกมของตนได้จะต้องผ่านการตรวจสอบที่เข้มงวดโดยเฉพาะเนื้อหาด้านความรุนแรง จึงทำให้เกมจากฝั่ง Nintendo นั้นปลอดภัยในระดับหนึ่ง 
 

 
แต่กับ SEGA นั้นไม่ใช่ เนื่องจากแผนการตลาดที่มุ่งเป้าไปยังกลุ่มวัยรุ่นหรือแก่กว่าทำให้หลีกเลี่ยงเกมที่มีความรุนแรงได้ยากหลาย ๆ เกมของ SEGA จึงมีความรุนแรงในปริมาณมากน้อยต่างกันออกไป 

SEGA เองก็ตระหนักถึงปัญหาเยาวชนจะเล่นเกมที่ไม่เหมาะสมกับวัยเช่นกัน ในปี 1993 จึงมีมาตรการจัดเรทเกมของตนเองออกมา โดยมีเรททั้งหมด 3 ระดับ

GA: General Audiences เทียบเท่าเรท ท. คือ ทั่วไป เหมาะสมกับทุกเพศทุกวัย

MA13: เหมาะกับเด็กอายุ 13 ปีขึ้นไป หรือตามดุลยพินิจของผู้ปกครอง เทียบเท่าเรท น.13

MA17: ไม่เหมาะสมกับเยาวชนผู้มีอายุต่ำกว่า 17 ปี

เป็นทิศทางที่ดี แต่ช้าเกินไป
 

 
เพราะย้อนกลับไปที่ปี 1992 มีเกมอาเขตเกมหนึ่งได้ติดตั้งให้บริการตามร้านเกมอาเขตต่าง ๆ และได้รับกล่าวถึงอย่างมากในหมู่ผู้เล่นถึงความโดดเด่นและเอกลักษณ์ที่ไม่มีใครเหมือน ต่อมาเกมนี้ได้รับการ Port ลงเครื่องเกมคอนโซลสำหรับเล่นตามบ้านในปี 1993
 
ทุกอย่างเริ่มต้นในปีนั้นเอง  
 

 
 
ปล.ตอนนี้ผมได้เปิด Facebook Page “บทความตามใจฉัน” โดยบทความจะหลายหลากคละประเภทกันไปความตามความสนใจนั้นขณะนั้น ถ้าสนใจก็กดติดตามได้ครับ
https://www.facebook.com/uptomejournal/
 
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่