อพยพด่วน! ป่าเป้า เชียงรายวิกฤต ฝนตกหนัก น้ำทะลักท่วม บ้าน 1 พัน หลังคา
https://www.matichon.co.th/region/news_4807297
อพยพด่วน! ป่าเป้า เชียงรายวิกฤต ฝนตกหนัก น้ำทะลักท่วม บ้าน 1 พัน หลังคา
วันที่ 23 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานเหตุสาธารณภัยในพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย หลังเกิดฝนตกหนักตั้งแต่คืนที่ 22 กันยายน ต่อเนื่องเช้าวันจันทร์ ที่ 23 กันยายน 2567 ในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้าได้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องและตกเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังนี้
ทำให้ปริมาณน้ำได้เอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่จำนวน 7 ตำบล 29 หมู่บ้าน รวม 1,023 ครัวเรือน ได้แก่
หมู่ที่ 5 ตำบลสันสลี จำนวน 2 ครัวเรือน
หมู่ที่ 2,5,6,7,9 ตำบลเวียง จำนวน 200 ครัวเรือน
หมู่ที่ 1,3,6 ตำบลบ้านโป่ง จำนวน 100 ครัวเรือน
หมู่ที่ 1,12,13 ตำบลป่างิ้ว จำนวน 500 ครัวเรือน
หมู่ที่ 3,6,7,9,10,11,13 ตำบลเวียงกาหลง จำนวน 200 ครัวเรือน
หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เจดีย์ จำนวน 0 ครัวเรือน
หมู่ที่ 1,2,3,4,5,9,11,12,14 ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ จำนวน 20 ครัวเรือน
ขณะที่ เฟซบุ๊ก
สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ ประเทศไทย โพสต์เตือนประชาชนให้อพยพด่วน เนื่องจากน้ำป่าทะลักท่วมบ้านเรือนแล้ว โดยระบุว่า
“
ด่วน พื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย (โซนป่างิ้วทั้งหมด) อพยพหมาแมวและของมีค่า ขึ้นที่สูงหรือให้นำออกไปฝากเพื่อนบ้านที่น้ำไม่ท่วมโดยด่วน อย่ารอ น้ำกำลังขึ้นสูงเรื่อยๆ อย่าขังหมา อย่าขังแมว อย่าล่ามไว้ ให้พาออกตั้งแต่ออกได้ ก่อนที่น้ำจะสูงแล้วไปช่วยลำบากนะครับ”
ฝ่ายปกครองในพื้นที่พร้อมด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้าให้การช่วยเหลือ โดยได้ดำเนินแจ้งเตือนล่วงหน้า เก็บข้าวของขึ้นที่สูง และทำกระสอบทรายบังกระแสน้ำ และประสานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
อีกทั้ง น้ำได้เอ่อล้นท่วมผิวจราจรถนนสาย 118 เชียงใหม่-เชียงราย จำนวน 2 จุด บริเวณจุดหน้าโบสถ์ตำบลป่างิ้ว และบ้านบวกขอน หมู่ที่ 9 ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. เวียงป่าเป้า และ สภ.แม่เจดีย์ พร้อมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และกู้ชีพ-กู้ภัย ในพื้นที่ อำนวยความสะดวกการจราจรให้กับประชาชนแล้ว
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ในปริมาณสูงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจนเต็มระดับความจุอ่างเก็บน้ำ ได้แจ้งให้ฝ่ายปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร ได้แจ้งให้ อปท.ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการสำรวจความเสียหาย
ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือ อำเภอเวียงป่าเป้าจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ณ ที่ว่าการอำเภอ เพื่อให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยได้แจ้งให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยง ที่ลุ่มต่ำ ขนของขึ้นที่สูง และติดตามข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่อง และให้ อปท. เตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ วางกระสอบทรายเพื่อป้องกันพื้นที่สำคัญ และเขตชุมชน ศบก.จ.เชียงราย สนับสนุนสิ่งของจำเป็น ถุงยังชีพ 460 ถุง น้ำดื่ม 650 แพ็ค บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 10 กล่องใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายลงพื้นที่เพื่อประชุมสรุปสถานการณ์ ณ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ และลงพื้นที่ได้รับผลกระทบเพื้อติดตามผลการให้ความช่วยเหลือ
ล่าสุด เวลา 16.30 น. ฝนตกเล็กน้อย ระดับน้ำและความรุนแรงของน้ำหลากลดลงอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำท่วมถนนและชุมชนระดับทรงตัวและมีแนวโน้มลดลง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ แจ้งเตือนทุกอำเภอเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่งอย่างต่อเนื่อง
https://www.facebook.com/DRAT.TH/posts/pfbid0xUsQx1cobLC5yQxHRjR9knkQmx3nrh8bTPjkFiyjXx5s5qAxKpbTkbrvoiRKWSvUl
นันทนา หนุนแก้ รธน.รายมาตรา ค้านล้มกระดาน ส.ว.67 ให้เวลา กกต.ตรวจคำร้องสักนิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4806612
‘นันทนา’ เห็นด้วยแก้ รธน.รายมาตรา ชี้จริยธรรมนักการเมืองควรระบุให้ชัดว่าทำอะไรได้บ้าง มองไม่กี่คนถูกตีความไม่เป็นธรรม ชี้ควรให้เวลา กกต.ตรวจสอบคำร้อง แม้กระบวนการเลือก ส.ว.มีปัญหาจริง ก็ไม่ควรล้มทั้งกระดาน
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 23 กันยายน ที่รัฐสภา น.ส.
นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรคการเมืองจะนำเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราว่า ทางกลุ่มเรามีความคิดเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้นแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้มีปัญหาคือรั่วทุกจุด เดิมเราต้องการให้มีการแก้ไขทั้งฉบับ แต่ดูจากกระบวนการแล้วน่าจะเป็นไปได้ช้ามาก อาจจะทำไม่ทัน 3 ปีที่เหลือของรัฐบาลนี้ ดังนั้น หากมีการแก้ไขรายมาตราเพื่อลดจุดบกพร่องและแก้ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองได้ก็คิดว่าเป็นประโยชน์และน่าสนับสนุน ซึ่งในรายละเอียดต่างๆ คงต้องดูกันอีกครั้งหนึ่งว่าแต่ละมาตราที่เสนอไปมีความสมเหตุสมผลในการปรับแก้อย่างไร
ส่วนข้อครหาที่มองว่าการเสนอแก้ไขเรื่องจริยธรรมของนักการเมืองเป็นการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้นักการเมืองด้วยกันเองนั้น น.ส.
นันทนาระบุว่า ปัญหาตรงนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องการกำหนดให้จริยธรรมเข้าไปอยู่ในกฎหมาย แท้จริงแล้วเรื่องจริยธรรมคือ Code of conduct ควรเป็นเรื่องที่กลุ่มวิชาชีพขององค์กรในสายอาชีพนั้นได้พิจารณาตกลงกันเองว่าพฤติกรรมของใครที่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้อง
น.ส.
นันทนากล่าวว่า เมื่อนำเข้ามาเป็นกฎหมาย จึงไม่ได้มีข้อกำหนดชัดเจนว่าเรื่องไหนทำได้หรือไม่ได้ สุดท้ายจึงต้องอาศัยการตีความโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นว่าจริยธรรมนี้ขึ้นอยู่กับตุลาการจำนวน 9 คนในการพิจารณา จึงควรมีข้อกำหนดชัดเจนที่คนสามารถปฏิบัติตามได้ แต่การใช้คำว่าจริยธรรมและอาศัยการตีความซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูงมาก สุดท้ายการตีความนั้นขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คน คงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ความเป็นธรรมกับทุกคน จึงเห็นว่าควรมีการปรับแก้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องนี้
“
นี่ไม่ใช่เรื่องของประโยชน์ทับซ้อน และหากจะบรรจุเข้าไปในกฎหมาย ควรต้องกำหนดให้ชัดว่าพฤติกรรมไหนผิดหรือไม่ผิดจริยธรรม และไม่ควรต้องย้อนกลับไปเมื่อชาติที่แล้วว่าเขาเคยทำอะไรไว้เมื่อ 20 ปีก่อนก็เอามา ทั้งที่ตอนนั้นเขายังไม่ได้ตัดสินใจจะเป็นนักการเมืองด้วยซ้ำไป แต่กลับถูกนำเรื่องนี้มาดำเนินคดีกับเขา ณ ปัจจุบัน” น.ส.
นันทนากล่าว
เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับร่างแก้ไขของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนหรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า ในเบื้องต้นเห็นว่ากระบวนการแก้รายมาตราถือเป็นทางออกที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในช่วงเวลานี้ แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องขอการสนับสนุนจากวุฒิสภา ซึ่งต้องใช้เสียงถึง 1 ใน 3 คือ 67 เสียง หากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนได้โดยไม่ต้องหวาดระแวงตลอดเวลาว่าจะมีผู้มาร้องเรียนเรื่องในอดีตเมื่อไร หรือไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำไปผิดตรงไหน
เมื่อถามถึงกรณีมีผู้ยื่นร้องให้เพิกถอนการเลือก ส.ว.ทั้งหมด เนื่องจากกระบวนการเลือกมีความไม่สุจริตเที่ยงธรรม น.ส.
นันทนากล่าวว่า กระบวนการเลือก ส.ว.มีปัญหามาตั้งแต่ต้น ในคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็มีเรื่องร้องเรียนกว่า 700-800 เรื่อง จึงควรให้เวลา กกต.ในการสะสางเรื่องนี้ และหากว่าล่าช้าจนเกินไป ถึงตอนนั้นจึงควรไปเร่งรัดว่าให้มีมาตรการและการตรวจสอบที่รวดเร็วกว่านี้ ควรจะตัดสินพิจารณา หรืออย่างน้อยที่สุดหาก กกต.ไม่แน่ใจก็ควรส่งให้ศาลพิจารณาเลย
“
แต่การจะบอกว่า ส.ว.ทั้งหมดที่เข้ามามีปัญหาและล้มกระดานเลยคิดว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่เข้ามาอย่างสุจริตโปร่งใสตามกระบวนการที่ไม่ได้ผิดอะไร แต่กลับต้องถูกล้มกระดานเพราะมีคนจำนวนหนึ่งที่เข้ามาอย่างไม่ถูกต้อง” น.ส.
นันทนากล่าว
ที่ประชุมวุฒิฯ ซัดกันนัว แบ่งโค้วต้ากมธ. โวลั่นเป็นส.ว.กลุ่มทำสวนฯ แต่ไม่ได้อยู่คณะเกษตร
https://www.matichon.co.th/politics/news_4806716
ที่ประชุมวุฒิสภา เดือดปม แบ่งโควต้านั่งกมธ.สามัญ “เศรณี” ซัด กมธ.เกษตรฯ อีแอบ ไม่ใช่พวกเดียวกัน หรือกลัวเด่น ดัง ด้าน “ประธานสรรหา” แจงยิบ “วุฒิชาติ” เย้ยต่อ “นันทนา” ไม่ทน ลุกประท้วง โต้กันวุ่น
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 กันยายน 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี นาย
มงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาเห็นชอบการตั้ง ส.ว.ให้เป็นกรรมาธิการ (กมธ.) ในคณะ กมธ.สามัญ ประจำวุฒิสภา 21 คณะ
ทั้งนี้ ในช่วงหนึ่งของการเสนอบัญชีรายชื่อ ส.ว.ที่จะดำรงตำแหน่งเป็น กมธ.คณะต่างๆ นาย
เทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว.กลุ่มสื่อมวลชน อภิปรายตั้งคำถามถึงการจัดสรร ส.ว.ลง กมธ.ต่างๆ ที่ไม่ตรงกับคุณสมบัติ เช่น นาย
เศรณี อนิลบล และ นาง
กัลยา ใหญ่ประสาน ส.ว.กลุ่มเกษตร ที่ไม่มีชื่ออยู่ใน กมธ.เกษตรและสหกรณ์ จึงต้องการให้ชี้แจง รวมถึงการส่งชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กมธ.ต่างๆ พบว่ามีจำนวน 100 คน ส่งให้กับประธานวุฒิสภา และเลขาธิการฯ แทนการส่งให้กับเจ้าหน้าที่ตามที่ตกลงกันไว้
ทำให้ พล.อ.
สวัสดิ์ ทัศนา ส.ว.ในฐานะประธาน กมธ.สรรหา ชี้แจงว่า กรณีของนาย
เศรณี และ
นางกัลยา นั้นเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ว. ตามข้อบังคับให้ดำรงตำแหน่งได้คนละไม่เกิน 2 คณะ จึงเป็นสิทธิของ ส.ว.ที่ต้องพิจารณา ส่วนกรณีที่มีจำนวน ส.ว.ลง กมธ.เกินจำนวนสูงสุด จนต้องมีการเจรจานั้น เกิน 11 คณะ โดยเจรจาให้ปรับเปลี่ยน เหลือ 9 คณะ ซึ่งมีวิธีตามข้อบังคับ คือเมื่อไกล่เกลี่ยแล้วยังเกินอยู่ ก็ให้จับสลากหรือเลือกกันเอง ซึ่งการดำเนินการขณะนั้น จะเป็นเรื่องของแต่ละ กมธ.ที่จะตัดสินใจใช้วิธีใด ไม่ว่าจะเป็น กมธ.เกษตร หรือ กมธ.ท่องเที่ยว ผู้ที่หลุดออกไปก็มาจากการเลือกกันเอง ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงและข้อบังคับทุกประการ
พล.อ.
สวัสดิ์ชี้แจงต่อว่า ส่วนกรณีการส่งความจำนงของ ส.ว.ต่อการเข้าเป็น กมธ.นั้นสามารถส่งที่เจ้าหน้าที่ หรือประธานวุฒิสภา หรือเลขาธิการวุฒิสภา ได้ เพื่ออำนวยความสะดวก ส่วนที่ยื่นต่อประธานวุฒิสภา และเลขาฯ เกินเวลาหรือไม่ ยอมรับว่า ถึงแม้ไม่มีการลงเวลาเป็นหลักฐาน แต่ส่วนใหญ่ส่งที่ตน หรือเลขาฯ ก็ตาม รับรองว่า การยื่นไม่เกิน เวลา 16.30 น. ของวันที่ 12 กันยายน ส่วนในวันที่ 13 กันยายน ไม่เกิน 14.00 น. ไม่มีการใครมาชื่อที่ตนแล้ว ขณะที่ใน กมธ.ต่างประเทศ ที่มี ส.ว.ลงชื่อเกินจำนวนนั้นเป็นเอกสิทธิ์ ทั้งนี้ มีหลายคณะที่เกินเช่นกัน เช่น กมธ.เกษตร กมธ.ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามความสนใจ และความสมัครใจของ ส.ว. ทั้งนี้ กมธ.สรรหา มีหน้าที่ คือ ส.ว. 197 คน จะลง กมธ.ทั้ง 21 คณะ ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ ตั้งแต่ 9-18 คน และหลังจากมีการไกล่เกลี่ยแล้วก็เป็นเรื่องของสมาชิกภายใน กมธ.นั้น
ขณะที่ นาง
กัลยา ใหญ่ประสาน ส.ว.กลุ่มเกษตรกร อภิปรายว่า ตนติดใจกระบวนการเลือก แม้จะเป็นไปตามข้อบังคับ แต่ความตั้งใจแต่แรกของตนที่เข้ามาเป็น ส.ว. ในเรื่องของสุขภาพและอาหาร เพื่อยกระดับเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน ให้สามารถเป็นเศรษฐกิจชุมชน และเศรษฐกิจทางรอดของประเทศ ถ้าเป็นกรณีแบบนี้ ตนจะมีโอกาสเข้าไปทำงานใน กมธ.เกษตร ได้หรือไม่
ทำให้ พล.อ.
สวัสดิ์ชี้แจงว่า หลัง ส.ว.อนุมัติ กมธ.ทั้ง 21 คณะแล้ว ในวันที่ 24 กันยายนนี้ กมธ.จะมีการประชุมครั้งแรก เพื่อเลือกตำแหน่งต่างๆ หลังจากนั้น ถ้ามีโอกาสอีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าในแต่ละ กมธ. ยังมีช่องว่างอยู่ก็สามารถที่จะไปดูกันตอนนั้นได้อีกครั้ง
JJNY : 5in1 ป่าเป้าวิกฤต│นันทนาหนุนแก้รธน.│ที่ประชุมวุฒิฯซัดกันนัว│พิษบาทแข็งเริ่มถ่วงส่งออก│เสียชีวิตฝนตกญี่ปุ่นเพิ่ม
https://www.matichon.co.th/region/news_4807297
อพยพด่วน! ป่าเป้า เชียงรายวิกฤต ฝนตกหนัก น้ำทะลักท่วม บ้าน 1 พัน หลังคา
วันที่ 23 กันยายน ผู้สื่อข่าวรายงานเหตุสาธารณภัยในพื้นที่ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย หลังเกิดฝนตกหนักตั้งแต่คืนที่ 22 กันยายน ต่อเนื่องเช้าวันจันทร์ ที่ 23 กันยายน 2567 ในพื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้าได้เกิดฝนตกหนักอย่างต่อเนื่องและตกเป็นบริเวณกว้าง ส่งผลให้มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบดังนี้
ทำให้ปริมาณน้ำได้เอ่อล้นท่วมบ้านเรือนราษฎร ในพื้นที่จำนวน 7 ตำบล 29 หมู่บ้าน รวม 1,023 ครัวเรือน ได้แก่
หมู่ที่ 5 ตำบลสันสลี จำนวน 2 ครัวเรือน
หมู่ที่ 2,5,6,7,9 ตำบลเวียง จำนวน 200 ครัวเรือน
หมู่ที่ 1,3,6 ตำบลบ้านโป่ง จำนวน 100 ครัวเรือน
หมู่ที่ 1,12,13 ตำบลป่างิ้ว จำนวน 500 ครัวเรือน
หมู่ที่ 3,6,7,9,10,11,13 ตำบลเวียงกาหลง จำนวน 200 ครัวเรือน
หมู่ที่ 3 ตำบลแม่เจดีย์ จำนวน 0 ครัวเรือน
หมู่ที่ 1,2,3,4,5,9,11,12,14 ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ จำนวน 20 ครัวเรือน
ขณะที่ เฟซบุ๊ก สมาคมตอบโต้ภัยพิบัติ ประเทศไทย โพสต์เตือนประชาชนให้อพยพด่วน เนื่องจากน้ำป่าทะลักท่วมบ้านเรือนแล้ว โดยระบุว่า
“ด่วน พื้นที่อำเภอเวียงป่าเป้า จ.เชียงราย (โซนป่างิ้วทั้งหมด) อพยพหมาแมวและของมีค่า ขึ้นที่สูงหรือให้นำออกไปฝากเพื่อนบ้านที่น้ำไม่ท่วมโดยด่วน อย่ารอ น้ำกำลังขึ้นสูงเรื่อยๆ อย่าขังหมา อย่าขังแมว อย่าล่ามไว้ ให้พาออกตั้งแต่ออกได้ ก่อนที่น้ำจะสูงแล้วไปช่วยลำบากนะครับ”
ฝ่ายปกครองในพื้นที่พร้อมด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้เข้าให้การช่วยเหลือ โดยได้ดำเนินแจ้งเตือนล่วงหน้า เก็บข้าวของขึ้นที่สูง และทำกระสอบทรายบังกระแสน้ำ และประสานให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ว
อีกทั้ง น้ำได้เอ่อล้นท่วมผิวจราจรถนนสาย 118 เชียงใหม่-เชียงราย จำนวน 2 จุด บริเวณจุดหน้าโบสถ์ตำบลป่างิ้ว และบ้านบวกขอน หมู่ที่ 9 ตำบลแม่เจดีย์ใหม่ ได้มอบหมายเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ. เวียงป่าเป้า และ สภ.แม่เจดีย์ พร้อมทั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครอง และกู้ชีพ-กู้ภัย ในพื้นที่ อำนวยความสะดวกการจราจรให้กับประชาชนแล้ว
ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่อยู่ในปริมาณสูงและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจนเต็มระดับความจุอ่างเก็บน้ำ ได้แจ้งให้ฝ่ายปกครองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ส่วนน้ำท่วมขังในพื้นที่การเกษตร ได้แจ้งให้ อปท.ร่วมกับสำนักงานเกษตรอำเภอดำเนินการสำรวจความเสียหาย
ทั้งนี้ การให้ความช่วยเหลือ อำเภอเวียงป่าเป้าจัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ ณ ที่ว่าการอำเภอ เพื่อให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้น โดยได้แจ้งให้ประชาชนพื้นที่เสี่ยง ที่ลุ่มต่ำ ขนของขึ้นที่สูง และติดตามข้อมูลข่าวสาร การแจ้งเตือนอย่างต่อเนื่อง และให้ อปท. เตรียมพร้อมช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่
องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ วางกระสอบทรายเพื่อป้องกันพื้นที่สำคัญ และเขตชุมชน ศบก.จ.เชียงราย สนับสนุนสิ่งของจำเป็น ถุงยังชีพ 460 ถุง น้ำดื่ม 650 แพ็ค บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 10 กล่องใหญ่ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงรายลงพื้นที่เพื่อประชุมสรุปสถานการณ์ ณ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อำเภอ และลงพื้นที่ได้รับผลกระทบเพื้อติดตามผลการให้ความช่วยเหลือ
ล่าสุด เวลา 16.30 น. ฝนตกเล็กน้อย ระดับน้ำและความรุนแรงของน้ำหลากลดลงอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำท่วมถนนและชุมชนระดับทรงตัวและมีแนวโน้มลดลง กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงราย ได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ แจ้งเตือนทุกอำเภอเฝ้าระวัง ติดตามสถานการณ์ น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากน้ำล้นตลิ่งอย่างต่อเนื่อง
https://www.facebook.com/DRAT.TH/posts/pfbid0xUsQx1cobLC5yQxHRjR9knkQmx3nrh8bTPjkFiyjXx5s5qAxKpbTkbrvoiRKWSvUl
นันทนา หนุนแก้ รธน.รายมาตรา ค้านล้มกระดาน ส.ว.67 ให้เวลา กกต.ตรวจคำร้องสักนิด
https://www.matichon.co.th/politics/news_4806612
‘นันทนา’ เห็นด้วยแก้ รธน.รายมาตรา ชี้จริยธรรมนักการเมืองควรระบุให้ชัดว่าทำอะไรได้บ้าง มองไม่กี่คนถูกตีความไม่เป็นธรรม ชี้ควรให้เวลา กกต.ตรวจสอบคำร้อง แม้กระบวนการเลือก ส.ว.มีปัญหาจริง ก็ไม่ควรล้มทั้งกระดาน
เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 23 กันยายน ที่รัฐสภา น.ส.นันทนา นันทวโรภาส ส.ว. ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีพรรคการเมืองจะนำเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตราว่า ทางกลุ่มเรามีความคิดเห็นร่วมกันตั้งแต่ต้นแล้วว่า รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้มีปัญหาคือรั่วทุกจุด เดิมเราต้องการให้มีการแก้ไขทั้งฉบับ แต่ดูจากกระบวนการแล้วน่าจะเป็นไปได้ช้ามาก อาจจะทำไม่ทัน 3 ปีที่เหลือของรัฐบาลนี้ ดังนั้น หากมีการแก้ไขรายมาตราเพื่อลดจุดบกพร่องและแก้ปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองได้ก็คิดว่าเป็นประโยชน์และน่าสนับสนุน ซึ่งในรายละเอียดต่างๆ คงต้องดูกันอีกครั้งหนึ่งว่าแต่ละมาตราที่เสนอไปมีความสมเหตุสมผลในการปรับแก้อย่างไร
ส่วนข้อครหาที่มองว่าการเสนอแก้ไขเรื่องจริยธรรมของนักการเมืองเป็นการแก้ไขเพื่อเอื้อประโยชน์ให้นักการเมืองด้วยกันเองนั้น น.ส.นันทนาระบุว่า ปัญหาตรงนี้เกี่ยวข้องกับเรื่องการกำหนดให้จริยธรรมเข้าไปอยู่ในกฎหมาย แท้จริงแล้วเรื่องจริยธรรมคือ Code of conduct ควรเป็นเรื่องที่กลุ่มวิชาชีพขององค์กรในสายอาชีพนั้นได้พิจารณาตกลงกันเองว่าพฤติกรรมของใครที่เหมาะสมหรือไม่สอดคล้อง
น.ส.นันทนากล่าวว่า เมื่อนำเข้ามาเป็นกฎหมาย จึงไม่ได้มีข้อกำหนดชัดเจนว่าเรื่องไหนทำได้หรือไม่ได้ สุดท้ายจึงต้องอาศัยการตีความโดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นว่าจริยธรรมนี้ขึ้นอยู่กับตุลาการจำนวน 9 คนในการพิจารณา จึงควรมีข้อกำหนดชัดเจนที่คนสามารถปฏิบัติตามได้ แต่การใช้คำว่าจริยธรรมและอาศัยการตีความซึ่งมีความเป็นนามธรรมสูงมาก สุดท้ายการตีความนั้นขึ้นอยู่กับคนไม่กี่คน คงเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ความเป็นธรรมกับทุกคน จึงเห็นว่าควรมีการปรับแก้เพื่อให้เกิดความชัดเจนในเรื่องนี้
“นี่ไม่ใช่เรื่องของประโยชน์ทับซ้อน และหากจะบรรจุเข้าไปในกฎหมาย ควรต้องกำหนดให้ชัดว่าพฤติกรรมไหนผิดหรือไม่ผิดจริยธรรม และไม่ควรต้องย้อนกลับไปเมื่อชาติที่แล้วว่าเขาเคยทำอะไรไว้เมื่อ 20 ปีก่อนก็เอามา ทั้งที่ตอนนั้นเขายังไม่ได้ตัดสินใจจะเป็นนักการเมืองด้วยซ้ำไป แต่กลับถูกนำเรื่องนี้มาดำเนินคดีกับเขา ณ ปัจจุบัน” น.ส.นันทนากล่าว
เมื่อถามว่า เห็นด้วยกับร่างแก้ไขของพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาชนหรือไม่ น.ส.นันทนากล่าวว่า ในเบื้องต้นเห็นว่ากระบวนการแก้รายมาตราถือเป็นทางออกที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดในช่วงเวลานี้ แต่อย่างไรก็ตาม คงต้องขอการสนับสนุนจากวุฒิสภา ซึ่งต้องใช้เสียงถึง 1 ใน 3 คือ 67 เสียง หากเห็นว่าจะเป็นประโยชน์ในการให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งสามารถปฏิบัติหน้าที่เพื่อประชาชนได้โดยไม่ต้องหวาดระแวงตลอดเวลาว่าจะมีผู้มาร้องเรียนเรื่องในอดีตเมื่อไร หรือไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ทำไปผิดตรงไหน
เมื่อถามถึงกรณีมีผู้ยื่นร้องให้เพิกถอนการเลือก ส.ว.ทั้งหมด เนื่องจากกระบวนการเลือกมีความไม่สุจริตเที่ยงธรรม น.ส.นันทนากล่าวว่า กระบวนการเลือก ส.ว.มีปัญหามาตั้งแต่ต้น ในคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ก็มีเรื่องร้องเรียนกว่า 700-800 เรื่อง จึงควรให้เวลา กกต.ในการสะสางเรื่องนี้ และหากว่าล่าช้าจนเกินไป ถึงตอนนั้นจึงควรไปเร่งรัดว่าให้มีมาตรการและการตรวจสอบที่รวดเร็วกว่านี้ ควรจะตัดสินพิจารณา หรืออย่างน้อยที่สุดหาก กกต.ไม่แน่ใจก็ควรส่งให้ศาลพิจารณาเลย
“แต่การจะบอกว่า ส.ว.ทั้งหมดที่เข้ามามีปัญหาและล้มกระดานเลยคิดว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ที่เข้ามาอย่างสุจริตโปร่งใสตามกระบวนการที่ไม่ได้ผิดอะไร แต่กลับต้องถูกล้มกระดานเพราะมีคนจำนวนหนึ่งที่เข้ามาอย่างไม่ถูกต้อง” น.ส.นันทนากล่าว
ที่ประชุมวุฒิฯ ซัดกันนัว แบ่งโค้วต้ากมธ. โวลั่นเป็นส.ว.กลุ่มทำสวนฯ แต่ไม่ได้อยู่คณะเกษตร
https://www.matichon.co.th/politics/news_4806716
ที่ประชุมวุฒิสภา เดือดปม แบ่งโควต้านั่งกมธ.สามัญ “เศรณี” ซัด กมธ.เกษตรฯ อีแอบ ไม่ใช่พวกเดียวกัน หรือกลัวเด่น ดัง ด้าน “ประธานสรรหา” แจงยิบ “วุฒิชาติ” เย้ยต่อ “นันทนา” ไม่ทน ลุกประท้วง โต้กันวุ่น
เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 23 กันยายน 2567 ที่รัฐสภา ในการประชุมวุฒิสภา ที่มี นายมงคล สุระสัจจะ ประธานวุฒิสภา เป็นประธานการประชุม ได้พิจารณาเห็นชอบการตั้ง ส.ว.ให้เป็นกรรมาธิการ (กมธ.) ในคณะ กมธ.สามัญ ประจำวุฒิสภา 21 คณะ
ทั้งนี้ ในช่วงหนึ่งของการเสนอบัญชีรายชื่อ ส.ว.ที่จะดำรงตำแหน่งเป็น กมธ.คณะต่างๆ นายเทวฤทธิ์ มณีฉาย ส.ว.กลุ่มสื่อมวลชน อภิปรายตั้งคำถามถึงการจัดสรร ส.ว.ลง กมธ.ต่างๆ ที่ไม่ตรงกับคุณสมบัติ เช่น นายเศรณี อนิลบล และ นางกัลยา ใหญ่ประสาน ส.ว.กลุ่มเกษตร ที่ไม่มีชื่ออยู่ใน กมธ.เกษตรและสหกรณ์ จึงต้องการให้ชี้แจง รวมถึงการส่งชื่อให้ดำรงตำแหน่ง กมธ.ต่างๆ พบว่ามีจำนวน 100 คน ส่งให้กับประธานวุฒิสภา และเลขาธิการฯ แทนการส่งให้กับเจ้าหน้าที่ตามที่ตกลงกันไว้
ทำให้ พล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา ส.ว.ในฐานะประธาน กมธ.สรรหา ชี้แจงว่า กรณีของนายเศรณี และนางกัลยา นั้นเป็นเอกสิทธิ์ของ ส.ว. ตามข้อบังคับให้ดำรงตำแหน่งได้คนละไม่เกิน 2 คณะ จึงเป็นสิทธิของ ส.ว.ที่ต้องพิจารณา ส่วนกรณีที่มีจำนวน ส.ว.ลง กมธ.เกินจำนวนสูงสุด จนต้องมีการเจรจานั้น เกิน 11 คณะ โดยเจรจาให้ปรับเปลี่ยน เหลือ 9 คณะ ซึ่งมีวิธีตามข้อบังคับ คือเมื่อไกล่เกลี่ยแล้วยังเกินอยู่ ก็ให้จับสลากหรือเลือกกันเอง ซึ่งการดำเนินการขณะนั้น จะเป็นเรื่องของแต่ละ กมธ.ที่จะตัดสินใจใช้วิธีใด ไม่ว่าจะเป็น กมธ.เกษตร หรือ กมธ.ท่องเที่ยว ผู้ที่หลุดออกไปก็มาจากการเลือกกันเอง ซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงและข้อบังคับทุกประการ
พล.อ.สวัสดิ์ชี้แจงต่อว่า ส่วนกรณีการส่งความจำนงของ ส.ว.ต่อการเข้าเป็น กมธ.นั้นสามารถส่งที่เจ้าหน้าที่ หรือประธานวุฒิสภา หรือเลขาธิการวุฒิสภา ได้ เพื่ออำนวยความสะดวก ส่วนที่ยื่นต่อประธานวุฒิสภา และเลขาฯ เกินเวลาหรือไม่ ยอมรับว่า ถึงแม้ไม่มีการลงเวลาเป็นหลักฐาน แต่ส่วนใหญ่ส่งที่ตน หรือเลขาฯ ก็ตาม รับรองว่า การยื่นไม่เกิน เวลา 16.30 น. ของวันที่ 12 กันยายน ส่วนในวันที่ 13 กันยายน ไม่เกิน 14.00 น. ไม่มีการใครมาชื่อที่ตนแล้ว ขณะที่ใน กมธ.ต่างประเทศ ที่มี ส.ว.ลงชื่อเกินจำนวนนั้นเป็นเอกสิทธิ์ ทั้งนี้ มีหลายคณะที่เกินเช่นกัน เช่น กมธ.เกษตร กมธ.ท่องเที่ยว ซึ่งเป็นไปตามความสนใจ และความสมัครใจของ ส.ว. ทั้งนี้ กมธ.สรรหา มีหน้าที่ คือ ส.ว. 197 คน จะลง กมธ.ทั้ง 21 คณะ ให้อยู่ในหลักเกณฑ์ ตั้งแต่ 9-18 คน และหลังจากมีการไกล่เกลี่ยแล้วก็เป็นเรื่องของสมาชิกภายใน กมธ.นั้น
ขณะที่ นางกัลยา ใหญ่ประสาน ส.ว.กลุ่มเกษตรกร อภิปรายว่า ตนติดใจกระบวนการเลือก แม้จะเป็นไปตามข้อบังคับ แต่ความตั้งใจแต่แรกของตนที่เข้ามาเป็น ส.ว. ในเรื่องของสุขภาพและอาหาร เพื่อยกระดับเกษตรอินทรีย์ เกษตรกรรมยั่งยืน ให้สามารถเป็นเศรษฐกิจชุมชน และเศรษฐกิจทางรอดของประเทศ ถ้าเป็นกรณีแบบนี้ ตนจะมีโอกาสเข้าไปทำงานใน กมธ.เกษตร ได้หรือไม่
ทำให้ พล.อ.สวัสดิ์ชี้แจงว่า หลัง ส.ว.อนุมัติ กมธ.ทั้ง 21 คณะแล้ว ในวันที่ 24 กันยายนนี้ กมธ.จะมีการประชุมครั้งแรก เพื่อเลือกตำแหน่งต่างๆ หลังจากนั้น ถ้ามีโอกาสอีกครั้งหนึ่ง เพราะว่าในแต่ละ กมธ. ยังมีช่องว่างอยู่ก็สามารถที่จะไปดูกันตอนนั้นได้อีกครั้ง