วาฬโดดเดี่ยว '52hz'
’52hz’ คือวาฬที่ถูกกล่าวถึงในปี 2004 โดย The New York Times ซึ่งได้ไปทำข่าวในเรื่องนี้ ก่อนพบว่านักวิทยาศาสตร์ได้ติดตาม ’52hz’ ตั้งแต่ปี 1992
นี่ไม่ใช่วาฬปกติ เริ่มแรกไม่เคยมีใครเคยพบเห็นตัวมัน ไม่มีเพื่อน ไม่มีครอบครัว ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสังกัดใด ไม่มีคู่รัก และเสียงของมันก็เป็นเสียงที่โดดเดี่ยวที่สุด นั่นก็คือคลื่นความถี่ ’52hz’
นักวิทยาศาสตร์ได้ยินเสียงดังกล่าว เริ่มแรกพวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามาจากไหน เพราะปกติแล้ว เผ่าพันธุ์ของวาฬจะสื่อสารกันด้วยระดับคลื่นประมาณ 12-25 hz แต่วาฬตัวนี้ที่มีคลื่นความถี่ 52 hz ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับมาตรฐานหลายเท่า ทำให้วาฬทั้งหลายไม่เคยได้ยินเสียงที่เธอพยายามจะเรียกร้องหาใครในยามที่อ้างว้าง
เธอใช้ชีวิตยังว่างเปล่า และยิ่งวันเดือนปีผ่านไป นักวิทยาศาสตร์เผยว่าเธอก็เศร้าหมอง ที่อยู่ตามลำพัง ลอยไปอย่างโดดเดี่ยว และก็เอาแต่ร้องขับขานสิ่งที่ไม่มีใครได้ยิน
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : thechronicle,news
ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก
นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ร่วมกันเสนอให้ต้นสนสปรูซพันธุ์ซิตกา (Sitka spruce ) ที่มีอยู่เพียงต้นเดียวบนเกาะแคมป์เบลล์ของนิวซีแลนด์ ได้เป็น "หมุดทอง" (Golden spike) หรือเครื่องหมายบ่งบอกจุดเริ่มต้นยุคทางธรณีวิทยาใหม่ที่มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมของโลก หรือที่เรียกว่าสมัยแอนโทรโพซีน (Anthropocene epoch)
ศาสตราจารย์คริส เทอร์นีย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย และดร.มาร์ก มาสลิน จากยูนิเวอร์ซีตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ของสหราชอาณาจักร เผยผลการศึกษาดังกล่าวลงในวารสาร Scientific Reports
โดยชี้ว่าต้นสนนี้มีร่องรอยของกัมมันตรังสีจากการทดลองระเบิดปรมาณูในช่วงทศวรรษ 1950-1960 ที่ชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ฝังลึกลงไปในระบบนิเวศอย่างครอบคลุมทั่วโลก
ต้นสนนี้ ได้ชื่อว่าเป็น "ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" เพราะไม่ใช่พืชประจำถิ่นของเกาะในแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก แต่มีผู้นำมาปลูกไว้ในปี 1905 ทำให้มันเป็นต้นสนเพียงต้นเดียวบนเกาะ ส่วนไม้ยืนต้นที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้น อยู่ที่หมู่เกาะโอคแลนด์ซึ่งห่างออกไปราว 200 กิโลเมตร
ต้นสนนี้อยู่ในจุดที่ห่างไกลที่สุดของซีกโลกใต้ ทำให้มันเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่ากิจกรรมของมนุษย์ในยุคทางธรณีวิทยาใหม่ เช่นอุตสาหกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือ ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อโลกทั้งใบ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ชี้ว่า ได้เข้าสู่ยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์คือปัจจัยหลักในการกำหนดสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลก
จากการวิเคราะห์วงปีของต้นสนนี้ พบการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของระดับคาร์บอน-14 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ต้นไม้รับเข้าไปในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ขณะสังเคราะห์แสง โดยช่วงที่มีการเพิ่มสูงขึ้นของคาร์บอน-14 อย่างฉับพลันนี้คือปี 1965 หลังการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศโลกได้ไม่นาน
Cr.bbc.com
"ลูกฟลามิงโก" ถูกทิ้งจากฝูง
ในตอนที่ 3 ของสารคดี Our Planet เป็นเรื่องของฟลามิงโกและมีฉากที่ลูกฟลามิงโกถูกทิ้งจากฝูงจนต้องอยู่เพียงตัวคนเดียวอย่างอ้างว้างและโดดเดี่ยว
โดยสารคดีตอนดังกล่าวเปิดถ่ายทำที่แอ่งเกลือแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นเรื่องราวธรรมชาติของฟลามิงโกที่จะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นฝูง
ซึ่งทรัพยากรในถิ่นฐานที่มันใช้เพื่อใช้ชีวิตอย่างน้ำนั้นกำลังค่อยๆ แห้งเหือดไป ทำให้พวกมันถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การย้ายถิ่นฐานในครั้งนี้ของฝูงฟลามิงโกนั้นไม่ง่ายเลย เมื่อฝูงนั้นมีฟลามิงโกเด็กๆ ที่ยังบินไม่ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้พวกมันจำเป็นที่ต้องเดินแอ่งเกลือที่กว้างใหญ่ไพศาลเพื่อหาแหล่งน้ำใหม่
และแน่นอนว่าด้วยร่างกายที่แตกต่างกันของฟลามิงโกวัยเด็กกับวัยโตเต็มวัยแล้ว จึงทำให้มีเด็กบางตัวเดินไม่ทันฝูงและมันจะถูกฝูงทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่แยแสใดๆ
“พวกมันอาจต้องเดินเป็นระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร ซึ่งก็มีบางส่วนที่ไม่สามารถตามกลุ่มได้ตลอด รวมถึงเกลือที่พวกมันเหยียบก็มักจะเกาะตัวกันที่ขาของพวกมัน” Sir David ผู้บรรยายตอนดังกล่าวได้กล่าวไว้ ซึ่งฉากดังกล่าวก็กลายเป็นอีกฉากที่เมื่อคนรักสัตว์ได้เห็น ต่างต้องใจสลายและเสียน้ำตาให้กับมัน
Cr.baterk.com
กระรอกโดดเดี่ยวบนตอไม้
เจ้ากระรอกคือสิ่งมีชีวิตที่แสนน่ารัก และรูปกระรอกน้อยตัวหนึ่งที่ยืนอยู่บนตอไม้ แต่เมื่อผู้คนได้รู้เบื้องหลังของภาพนี้ มันก็โด่งดังไปไกลในชั่วข้ามคืน
ภาพกระรอกที่โด่งดังที่สุดในโลกออนไลน์ขณะนี้ถูกโพสโดยคุณ NeedMoreSun บนเว็บไซต์ Reddit มองแวบแรกก็เหมือนจะเป็นแค่กระรอกผู้น่ารักธรรมดา
แต่คุณ NeedMoreSun ได้เล่าว่าความจริงที่แสนสะเทือนใจไว้ว่า “ต้นไม้ต้นนั้นเคยเป็นบ้านของเจ้ากระรอก 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้เพื่อนบ้านของเราตัดสินใจโค่นต้นไม้ต้นนั้น และนี่เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นเจ้ากระรอกตัวเดิมกลับมายืนบนจุดที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านหลังเดิมของมัน”
แม้แต่ในธรรมชาติก็ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าเศร้า บางทีโลกใบนี้ก็ไม่ได้น่ารัก ไม่ได้สวยเสมอไป และหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในธรรมชาติ ก็คงต้องยอมรับว่าคือมนุษย์
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : Imgur,Reddit,reddit
“ฮานาโกะ” ช้างไทยที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก
ฮานาโกะเป็นช้างไทยเชือกแรกที่ส่งเข้าไปในญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะช้างทูตสันถวไมตรี เธอไปถึงประเทศญี่ปุ่นเข้าไปอยู่สวนสัตว์ ไอโนกะชิร่าปาร์ค วันที่ 5 เดือนมีนาคม ค.ศ.1954 ซึ่งหลักฐานที่ติดตัวไประบุว่าเธอเกิดประมาณปี ค.ศ.1547 “เป็นลูกช้างจับมาจากป่าในประเทศไทย”
ฮานาโกะถูกนำมาแทนที่ช้างตัวก่อนที่ตายระหว่างสครามโลกครั้งที่สอง คนรักช้างส่วนใหญ่คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักช้างไทยที่ชื่อฮานาโกะ เจ้าของฉายาช้างผู้โดดเดี่ยว แต่มีซักกี่คนที่ทราบเรื่องราวชีวิตที่น่าสงสารของเธอในสวนสัตว์ที่ญี่ปุ่น
เธอถูกส่งตรงไปยังสวนสัตว์และถูกขังอยู่อย่างโดดเดี่ยวในคอกเหล็กท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บในยามฤดูหิมะตก และต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอดในภูมิประเทศที่ไม่คุ้นเคย แต่ด้วยความที่ถูกฝึกอย่างหนักจากผู้คุมและผู้ฝึก รวมทั้งการถูกฝึกให้เข้าใจภาษาต่างถิ่น และการให้ยอมรับคนฝึกหรือควาญคนใหม่ ยิ่งก่อให้เกิดความเครียดไม่ว่าช้างเชือกไหนก็ตาม
และชีวิตของเธอกลับยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิม เมื่อนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่มีอาการมึนเมาบุกรุกเข้าไปในกรงขังเธอ ด้วยสัญชาตญาณการป้องกันตัว เธอได้ฆ่านักท่องเที่ยวคนนั้น ซึ่งทุกคนทราบดีว่ามันเป็นอุบัติเหตุ…
ช้างส่วนใหญ่ เมื่อมีประวัติฆ่าคนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะถูกขึ้นบัญชีดำของสารบบสวนสัตว์โลกทันทีว่าเป็นช้างนักฆ่า ชีวิตของช้างเชือกนั้นจะเปลี่ยนไปจากฟ้าดิ่งสู่ก้นเหวนรก “ผู้คุมจะปฏิบัติกับช้างเลวร้ายกว่าเดิมมากเนื่องจากความกลัว” ทำให้ผู้คุมผู้ฝึกต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ฮานาโกะได้หลาบจำและกลัวควาญ
ตั้งแต่นั้นเธอถูกขังเดี่ยวโดยขาดการติดต่อ โลกภายนอก จากคนเลี้ยง และได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นช้างอันตราย ถูกขังในคอกที่แน่นหนาอยู่ในห้องที่ปูพื้นคอนกรีตที่เปียกชื้นตลอดเวลา และสุขภาพของเธอเริ่มย่ำแย่ลงทุกที เธอยืนในกรงเหล็กนั้นด้วยดวงตาที่ว่างเปล่า และสิ้นหวังกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไร้วิญญาณ
ต่อมากลุ่มคนรักช้างในต่างแดนได้ก่อตั้งกลุ่มชื่อว่า Elephant in Japan ขึ้นในปี ค.ศ.2015 เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับฮานาโกะและเรียกร้องให้ปลดปล่อยฮานาโกะออกจากสวนสัตว์ และให้พาเธอกลับบ้านเกิดที่ประเทศไทย หรือพาเธอไปสู่สถานที่ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมสัตว์ของเธอ มีคนหลายกลุ่มจากทั่วโลกที่ห่วงใยพากันเรียกร้อง ทำแคมเปญเพื่อช่วยเหลือ
ฮานะโกะ ถูกล่ามโซ่อยู่หลายปีและมีสภาพถูกขังเดี่ยวมากว่า 60 ปี จนวันสุดท้ายของชีวิตในปี 2016
Cr.chanaview.wordpress.com
เพนกวินที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก
ในขณะที่ Paul Chapman ชายวัย 56 ปีกำลังเดินทางไปตกปลากับ Julie Chapman ภรรยาของเขาที่เกาะ Falklands พวกเขาก็พบ "เพนกวินกษัตริย์" ตัวหนึ่งกำลังเดินอยู่บนถนนเพียงลำพังหลังเกิดพลัดหลงกับฝูงบนเกาะฟอล์กแลนด์ ตะวันออก ดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจาก ชายฝั่งด้านทิศตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้บริเวณประเทศอาร์เจนตินาประมาณ 500 กิโลเมตร ซึ่งทำให้เขาและภรรยาสงสัยเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าเพนกวินตัวนี้อาจจะหลงออกมาจากฝูงและมันก็กำลังพยายามเดินกลับไปหาฝูงของมันอยู่ ดังนั้นเขาจึงเก็บภาพความโดดเดี่ยวของมันไว้
เพนกวินกษัตริย์เป็นเพนกวินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก หนักประมาณ 11 - 16 กิโลกรัมและสูงเกือบ 1 เตร ส่วนใหญ่พบอยู่บริเวณเกาะซับแอนตาร์กติก และทางตอนเหนือของทวีปแอนตาร์กติกา และเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก, เซาธ์จอร์เจีย รวมถึงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก "dailymail"
"มนุษย์ผู้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก"
ชายอายุราว 50 ปีใช้ชีวิตเพียงลำพังในป่าแอมะซอนของบราซิลมานาน 22 ปี หลังจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในเผ่าพันธุ์ของเขาถูกสังหาร
ชายคนนี้จัดอยู่ในประเทศ "ไร้การติดต่อสื่อสาร" กล่าวคือไม่มีบุคคลภายนอกได้พูดคุยกับเขา เชื่อกันว่าเขาเป็นผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว หลังจากเพื่อนร่วมเผ่าพื้นเมืองซึ่งคาดว่ามี 6 คนถูกโจมตีขับไล่โดยเกษตรกรเพื่อช่วงชิงที่ดินในการเพาะปลูก เมื่อปี 1995
ไม่มีใครเคยตั้งชื่อให้เผ่าพันธุ์ของเขา ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาสื่อสารกันด้วยภาษาใด ทว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ สื่อบราซิลได้ขนานนามพวกเขาว่า "ชาวอินเดียนรู" เพราะเขามักขุดหลุมลึกไว้หลายหลุม คาดว่าเพื่อดักจับสัตว์ หรือไว้ซ่อนตัว
มีชนเผ่าพื้นเมืองถูกรุกรานและสังหารหมู่ในช่วงทศวรรษที่ 1970-1980 หลังมีการตัดถนนในบริเวณใกล้เคียง เพื่อรองรับความต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ทุกวันนี้ เกษตรกรและผู้ครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมายก็ยังต้องการที่ดินที่ชนเผ่าพื้นเมืองรายนี้อาศัยอยู่
ข้อมูลจาก Survival International ระบุว่า ผืนป่าดิบชื้นแอมะซอนถือเป็นบ้านของชนเผ่าพื้นเมืองที่ไม่ติดต่อกับใครในโลกนี้
การติดต่อกับโลกภายนอกยังทำเสี่ยงต่อชีวิตของพวกเขา ทั้งจากไข้หวัด โรคหัด หรือภาวะอื่น ๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ในระดับต่ำ
Cr.bbc.com
สัตว์โลกผู้โดดเดี่ยวในภาพยนตร์
Spirit: Stallion of the Cimarron (2002, เคลลี แอสบูรี, ลอร์นา คุค)
ม้าหนุ่มที่เคยเป็นจ่าฝูงพบว่าตัวเองโดดเดี่ยวตัวคนเดียวสุดขีดเมื่อตกอยู่ในเงื้อมมือและการกักขังของมนุษย์ซึ่งจับมันมาฝึกเป็นม้าทหาร แอนิเมชั่นสองมิติทำเงินของดรีมเวิร์คที่กวาดคำชมไปล้นหลามเมื่อมันไม่เพียงแต่พูดถึงการข้ามพ้นวัยของเจ้า สปิริต ม้าหนุ่มผู้คึกคะนองเท่านั้น แต่มันยังฉายภาพเหล่าคนพื้นเมืองของอเมริกาในยุคก่อนด้วย โดยเฉพาะชาวลาโกตา ชนเผ่าอินเดียนแดงที่เติบโตไปพร้อมๆ กับสปิริตในเรื่อง นอกจากนี้ เพลง Here I Am ของ ไบรอัน อดัมส์ ยังติดหูสุดๆ ด้วย
Cr.movie.mthai.com
เรื่องราวชีวิตที่อ้างว้างและโดดเดี่ยว
’52hz’ คือวาฬที่ถูกกล่าวถึงในปี 2004 โดย The New York Times ซึ่งได้ไปทำข่าวในเรื่องนี้ ก่อนพบว่านักวิทยาศาสตร์ได้ติดตาม ’52hz’ ตั้งแต่ปี 1992
นี่ไม่ใช่วาฬปกติ เริ่มแรกไม่เคยมีใครเคยพบเห็นตัวมัน ไม่มีเพื่อน ไม่มีครอบครัว ไม่ได้อยู่ในกลุ่มสังกัดใด ไม่มีคู่รัก และเสียงของมันก็เป็นเสียงที่โดดเดี่ยวที่สุด นั่นก็คือคลื่นความถี่ ’52hz’
นักวิทยาศาสตร์ได้ยินเสียงดังกล่าว เริ่มแรกพวกเขาไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามาจากไหน เพราะปกติแล้ว เผ่าพันธุ์ของวาฬจะสื่อสารกันด้วยระดับคลื่นประมาณ 12-25 hz แต่วาฬตัวนี้ที่มีคลื่นความถี่ 52 hz ซึ่งอยู่สูงกว่าระดับมาตรฐานหลายเท่า ทำให้วาฬทั้งหลายไม่เคยได้ยินเสียงที่เธอพยายามจะเรียกร้องหาใครในยามที่อ้างว้าง
เธอใช้ชีวิตยังว่างเปล่า และยิ่งวันเดือนปีผ่านไป นักวิทยาศาสตร์เผยว่าเธอก็เศร้าหมอง ที่อยู่ตามลำพัง ลอยไปอย่างโดดเดี่ยว และก็เอาแต่ร้องขับขานสิ่งที่ไม่มีใครได้ยิน
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : thechronicle,news
ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก
นักวิทยาศาสตร์จากออสเตรเลียและสหราชอาณาจักร ร่วมกันเสนอให้ต้นสนสปรูซพันธุ์ซิตกา (Sitka spruce ) ที่มีอยู่เพียงต้นเดียวบนเกาะแคมป์เบลล์ของนิวซีแลนด์ ได้เป็น "หมุดทอง" (Golden spike) หรือเครื่องหมายบ่งบอกจุดเริ่มต้นยุคทางธรณีวิทยาใหม่ที่มนุษย์เป็นตัวการสำคัญในการกำหนดสภาพแวดล้อมของโลก หรือที่เรียกว่าสมัยแอนโทรโพซีน (Anthropocene epoch)
ศาสตราจารย์คริส เทอร์นีย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนิวเซาท์เวลส์ของออสเตรเลีย และดร.มาร์ก มาสลิน จากยูนิเวอร์ซีตี คอลเลจ ลอนดอน (ยูซีแอล) ของสหราชอาณาจักร เผยผลการศึกษาดังกล่าวลงในวารสาร Scientific Reports
โดยชี้ว่าต้นสนนี้มีร่องรอยของกัมมันตรังสีจากการทดลองระเบิดปรมาณูในช่วงทศวรรษ 1950-1960 ที่ชัดเจน ซึ่งบ่งบอกถึงผลกระทบจากการกระทำของมนุษย์ที่ฝังลึกลงไปในระบบนิเวศอย่างครอบคลุมทั่วโลก
ต้นสนนี้ ได้ชื่อว่าเป็น "ต้นไม้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก" เพราะไม่ใช่พืชประจำถิ่นของเกาะในแถบมหาสมุทรแอนตาร์กติก แต่มีผู้นำมาปลูกไว้ในปี 1905 ทำให้มันเป็นต้นสนเพียงต้นเดียวบนเกาะ ส่วนไม้ยืนต้นที่อยู่ใกล้ที่สุดนั้น อยู่ที่หมู่เกาะโอคแลนด์ซึ่งห่างออกไปราว 200 กิโลเมตร
ต้นสนนี้อยู่ในจุดที่ห่างไกลที่สุดของซีกโลกใต้ ทำให้มันเป็นตัวชี้วัดที่ดีว่ากิจกรรมของมนุษย์ในยุคทางธรณีวิทยาใหม่ เช่นอุตสาหกรรมและการพัฒนาเทคโนโลยีซึ่งส่วนใหญ่เกิดขึ้นในซีกโลกเหนือ ส่งผลกระทบในวงกว้างต่อโลกทั้งใบ ซึ่งเป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ชี้ว่า ได้เข้าสู่ยุคสมัยที่การกระทำของมนุษย์คือปัจจัยหลักในการกำหนดสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมของโลก
จากการวิเคราะห์วงปีของต้นสนนี้ พบการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดของระดับคาร์บอน-14 ซึ่งเป็นสารกัมมันตรังสีที่ต้นไม้รับเข้าไปในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์ขณะสังเคราะห์แสง โดยช่วงที่มีการเพิ่มสูงขึ้นของคาร์บอน-14 อย่างฉับพลันนี้คือปี 1965 หลังการบังคับใช้สนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์ในชั้นบรรยากาศโลกได้ไม่นาน
Cr.bbc.com
"ลูกฟลามิงโก" ถูกทิ้งจากฝูง
ในตอนที่ 3 ของสารคดี Our Planet เป็นเรื่องของฟลามิงโกและมีฉากที่ลูกฟลามิงโกถูกทิ้งจากฝูงจนต้องอยู่เพียงตัวคนเดียวอย่างอ้างว้างและโดดเดี่ยว
โดยสารคดีตอนดังกล่าวเปิดถ่ายทำที่แอ่งเกลือแห่งหนึ่งในทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นเรื่องราวธรรมชาติของฟลามิงโกที่จะใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันเป็นฝูง
ซึ่งทรัพยากรในถิ่นฐานที่มันใช้เพื่อใช้ชีวิตอย่างน้ำนั้นกำลังค่อยๆ แห้งเหือดไป ทำให้พวกมันถูกบังคับให้ย้ายถิ่นฐานโดยหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่การย้ายถิ่นฐานในครั้งนี้ของฝูงฟลามิงโกนั้นไม่ง่ายเลย เมื่อฝูงนั้นมีฟลามิงโกเด็กๆ ที่ยังบินไม่ได้เป็นจำนวนมาก ทำให้พวกมันจำเป็นที่ต้องเดินแอ่งเกลือที่กว้างใหญ่ไพศาลเพื่อหาแหล่งน้ำใหม่
และแน่นอนว่าด้วยร่างกายที่แตกต่างกันของฟลามิงโกวัยเด็กกับวัยโตเต็มวัยแล้ว จึงทำให้มีเด็กบางตัวเดินไม่ทันฝูงและมันจะถูกฝูงทิ้งให้อยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยไม่แยแสใดๆ
“พวกมันอาจต้องเดินเป็นระยะทางกว่า 50 กิโลเมตร ซึ่งก็มีบางส่วนที่ไม่สามารถตามกลุ่มได้ตลอด รวมถึงเกลือที่พวกมันเหยียบก็มักจะเกาะตัวกันที่ขาของพวกมัน” Sir David ผู้บรรยายตอนดังกล่าวได้กล่าวไว้ ซึ่งฉากดังกล่าวก็กลายเป็นอีกฉากที่เมื่อคนรักสัตว์ได้เห็น ต่างต้องใจสลายและเสียน้ำตาให้กับมัน
Cr.baterk.com
กระรอกโดดเดี่ยวบนตอไม้
เจ้ากระรอกคือสิ่งมีชีวิตที่แสนน่ารัก และรูปกระรอกน้อยตัวหนึ่งที่ยืนอยู่บนตอไม้ แต่เมื่อผู้คนได้รู้เบื้องหลังของภาพนี้ มันก็โด่งดังไปไกลในชั่วข้ามคืน
ภาพกระรอกที่โด่งดังที่สุดในโลกออนไลน์ขณะนี้ถูกโพสโดยคุณ NeedMoreSun บนเว็บไซต์ Reddit มองแวบแรกก็เหมือนจะเป็นแค่กระรอกผู้น่ารักธรรมดา
แต่คุณ NeedMoreSun ได้เล่าว่าความจริงที่แสนสะเทือนใจไว้ว่า “ต้นไม้ต้นนั้นเคยเป็นบ้านของเจ้ากระรอก 2 สัปดาห์ก่อนหน้านี้เพื่อนบ้านของเราตัดสินใจโค่นต้นไม้ต้นนั้น และนี่เป็นครั้งแรกที่ผมเห็นเจ้ากระรอกตัวเดิมกลับมายืนบนจุดที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นบ้านหลังเดิมของมัน”
แม้แต่ในธรรมชาติก็ยังเต็มไปด้วยเรื่องราวที่น่าเศร้า บางทีโลกใบนี้ก็ไม่ได้น่ารัก ไม่ได้สวยเสมอไป และหนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดความวุ่นวายในธรรมชาติ ก็คงต้องยอมรับว่าคือมนุษย์
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : Imgur,Reddit,reddit
“ฮานาโกะ” ช้างไทยที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก
ฮานาโกะเป็นช้างไทยเชือกแรกที่ส่งเข้าไปในญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในฐานะช้างทูตสันถวไมตรี เธอไปถึงประเทศญี่ปุ่นเข้าไปอยู่สวนสัตว์ ไอโนกะชิร่าปาร์ค วันที่ 5 เดือนมีนาคม ค.ศ.1954 ซึ่งหลักฐานที่ติดตัวไประบุว่าเธอเกิดประมาณปี ค.ศ.1547 “เป็นลูกช้างจับมาจากป่าในประเทศไทย”
ฮานาโกะถูกนำมาแทนที่ช้างตัวก่อนที่ตายระหว่างสครามโลกครั้งที่สอง คนรักช้างส่วนใหญ่คงไม่มีใครที่ไม่รู้จักช้างไทยที่ชื่อฮานาโกะ เจ้าของฉายาช้างผู้โดดเดี่ยว แต่มีซักกี่คนที่ทราบเรื่องราวชีวิตที่น่าสงสารของเธอในสวนสัตว์ที่ญี่ปุ่น
เธอถูกส่งตรงไปยังสวนสัตว์และถูกขังอยู่อย่างโดดเดี่ยวในคอกเหล็กท่ามกลางอากาศที่หนาวเหน็บในยามฤดูหิมะตก และต้องต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้มีชีวิตรอดในภูมิประเทศที่ไม่คุ้นเคย แต่ด้วยความที่ถูกฝึกอย่างหนักจากผู้คุมและผู้ฝึก รวมทั้งการถูกฝึกให้เข้าใจภาษาต่างถิ่น และการให้ยอมรับคนฝึกหรือควาญคนใหม่ ยิ่งก่อให้เกิดความเครียดไม่ว่าช้างเชือกไหนก็ตาม
และชีวิตของเธอกลับยิ่งเลวร้ายลงกว่าเดิม เมื่อนักท่องเที่ยวคนหนึ่งที่มีอาการมึนเมาบุกรุกเข้าไปในกรงขังเธอ ด้วยสัญชาตญาณการป้องกันตัว เธอได้ฆ่านักท่องเที่ยวคนนั้น ซึ่งทุกคนทราบดีว่ามันเป็นอุบัติเหตุ…
ช้างส่วนใหญ่ เมื่อมีประวัติฆ่าคนไม่ว่าด้วยเหตุผลใดก็ตาม จะถูกขึ้นบัญชีดำของสารบบสวนสัตว์โลกทันทีว่าเป็นช้างนักฆ่า ชีวิตของช้างเชือกนั้นจะเปลี่ยนไปจากฟ้าดิ่งสู่ก้นเหวนรก “ผู้คุมจะปฏิบัติกับช้างเลวร้ายกว่าเดิมมากเนื่องจากความกลัว” ทำให้ผู้คุมผู้ฝึกต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ฮานาโกะได้หลาบจำและกลัวควาญ
ตั้งแต่นั้นเธอถูกขังเดี่ยวโดยขาดการติดต่อ โลกภายนอก จากคนเลี้ยง และได้ถูกขึ้นทะเบียนเป็นช้างอันตราย ถูกขังในคอกที่แน่นหนาอยู่ในห้องที่ปูพื้นคอนกรีตที่เปียกชื้นตลอดเวลา และสุขภาพของเธอเริ่มย่ำแย่ลงทุกที เธอยืนในกรงเหล็กนั้นด้วยดวงตาที่ว่างเปล่า และสิ้นหวังกลายเป็นสิ่งมีชีวิตที่ไร้วิญญาณ
ต่อมากลุ่มคนรักช้างในต่างแดนได้ก่อตั้งกลุ่มชื่อว่า Elephant in Japan ขึ้นในปี ค.ศ.2015 เพื่อเรียกร้องสิทธิให้กับฮานาโกะและเรียกร้องให้ปลดปล่อยฮานาโกะออกจากสวนสัตว์ และให้พาเธอกลับบ้านเกิดที่ประเทศไทย หรือพาเธอไปสู่สถานที่ที่เหมาะสมกับพฤติกรรมสัตว์ของเธอ มีคนหลายกลุ่มจากทั่วโลกที่ห่วงใยพากันเรียกร้อง ทำแคมเปญเพื่อช่วยเหลือ
ฮานะโกะ ถูกล่ามโซ่อยู่หลายปีและมีสภาพถูกขังเดี่ยวมากว่า 60 ปี จนวันสุดท้ายของชีวิตในปี 2016
Cr.chanaview.wordpress.com
เพนกวินที่โดดเดี่ยวที่สุดในโลก
ในขณะที่ Paul Chapman ชายวัย 56 ปีกำลังเดินทางไปตกปลากับ Julie Chapman ภรรยาของเขาที่เกาะ Falklands พวกเขาก็พบ "เพนกวินกษัตริย์" ตัวหนึ่งกำลังเดินอยู่บนถนนเพียงลำพังหลังเกิดพลัดหลงกับฝูงบนเกาะฟอล์กแลนด์ ตะวันออก ดินแดนอาณานิคมโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร ที่ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมหาสมุทรแอตแลนติก ห่างจาก ชายฝั่งด้านทิศตะวันออกของทวีปอเมริกาใต้บริเวณประเทศอาร์เจนตินาประมาณ 500 กิโลเมตร ซึ่งทำให้เขาและภรรยาสงสัยเป็นอย่างมาก โดยคาดว่าเพนกวินตัวนี้อาจจะหลงออกมาจากฝูงและมันก็กำลังพยายามเดินกลับไปหาฝูงของมันอยู่ ดังนั้นเขาจึงเก็บภาพความโดดเดี่ยวของมันไว้
เพนกวินกษัตริย์เป็นเพนกวินที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก หนักประมาณ 11 - 16 กิโลกรัมและสูงเกือบ 1 เตร ส่วนใหญ่พบอยู่บริเวณเกาะซับแอนตาร์กติก และทางตอนเหนือของทวีปแอนตาร์กติกา และเกาะเตียร์ราเดลฟวยโก, เซาธ์จอร์เจีย รวมถึงหมู่เกาะฟอล์กแลนด์
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก "dailymail"
"มนุษย์ผู้โดดเดี่ยวที่สุดในโลก"
ชายอายุราว 50 ปีใช้ชีวิตเพียงลำพังในป่าแอมะซอนของบราซิลมานาน 22 ปี หลังจากสมาชิกคนอื่น ๆ ในเผ่าพันธุ์ของเขาถูกสังหาร
ชายคนนี้จัดอยู่ในประเทศ "ไร้การติดต่อสื่อสาร" กล่าวคือไม่มีบุคคลภายนอกได้พูดคุยกับเขา เชื่อกันว่าเขาเป็นผู้รอดชีวิตเพียงคนเดียว หลังจากเพื่อนร่วมเผ่าพื้นเมืองซึ่งคาดว่ามี 6 คนถูกโจมตีขับไล่โดยเกษตรกรเพื่อช่วงชิงที่ดินในการเพาะปลูก เมื่อปี 1995
ไม่มีใครเคยตั้งชื่อให้เผ่าพันธุ์ของเขา ไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาสื่อสารกันด้วยภาษาใด ทว่าในช่วงหลายปีที่ผ่านมานี้ สื่อบราซิลได้ขนานนามพวกเขาว่า "ชาวอินเดียนรู" เพราะเขามักขุดหลุมลึกไว้หลายหลุม คาดว่าเพื่อดักจับสัตว์ หรือไว้ซ่อนตัว
มีชนเผ่าพื้นเมืองถูกรุกรานและสังหารหมู่ในช่วงทศวรรษที่ 1970-1980 หลังมีการตัดถนนในบริเวณใกล้เคียง เพื่อรองรับความต้องการใช้ประโยชน์ในที่ดินเพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ทุกวันนี้ เกษตรกรและผู้ครอบครองที่ดินอย่างผิดกฎหมายก็ยังต้องการที่ดินที่ชนเผ่าพื้นเมืองรายนี้อาศัยอยู่
ข้อมูลจาก Survival International ระบุว่า ผืนป่าดิบชื้นแอมะซอนถือเป็นบ้านของชนเผ่าพื้นเมืองที่ไม่ติดต่อกับใครในโลกนี้
การติดต่อกับโลกภายนอกยังทำเสี่ยงต่อชีวิตของพวกเขา ทั้งจากไข้หวัด โรคหัด หรือภาวะอื่น ๆ เนื่องจากภูมิคุ้มกันของชนเผ่าพื้นเมืองอยู่ในระดับต่ำ
Cr.bbc.com
สัตว์โลกผู้โดดเดี่ยวในภาพยนตร์
Spirit: Stallion of the Cimarron (2002, เคลลี แอสบูรี, ลอร์นา คุค)
ม้าหนุ่มที่เคยเป็นจ่าฝูงพบว่าตัวเองโดดเดี่ยวตัวคนเดียวสุดขีดเมื่อตกอยู่ในเงื้อมมือและการกักขังของมนุษย์ซึ่งจับมันมาฝึกเป็นม้าทหาร แอนิเมชั่นสองมิติทำเงินของดรีมเวิร์คที่กวาดคำชมไปล้นหลามเมื่อมันไม่เพียงแต่พูดถึงการข้ามพ้นวัยของเจ้า สปิริต ม้าหนุ่มผู้คึกคะนองเท่านั้น แต่มันยังฉายภาพเหล่าคนพื้นเมืองของอเมริกาในยุคก่อนด้วย โดยเฉพาะชาวลาโกตา ชนเผ่าอินเดียนแดงที่เติบโตไปพร้อมๆ กับสปิริตในเรื่อง นอกจากนี้ เพลง Here I Am ของ ไบรอัน อดัมส์ ยังติดหูสุดๆ ด้วย
Cr.movie.mthai.com