กระรอกบินแคระของญี่ปุ่น


กระรอกบินญี่ปุ่น เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็ก
ที่สามารถเคลื่อนที่จากกิ่งไม้หนึ่งไปอีกกิ่งไม้หนึ่งได้
เพราะมีเยื่อหุ้มขนยาว (patagium) ระหว่างขาหน้าและขาหลัง
แม้ว่าสัตว์ดุร้ายที่สวยงามเหล่านี้จะบินไม่ได้
แต่สามารถลอยได้ไกลถึง 100 เมตร
ทักษะที่โดดเด่นเหล่านี้มีส่วนช่วยให้
พวกมันหนีจากผู้ล่าหรือกระโจนไปยังต้นไม้อื่นได้ค่อนข้างง่าย
(ฟันคู่หน้ากระรอกจะคมมากพอ ๆ กับใบมีดโกน
บางครั้งพวกมันก็กินเนื้อสัตว์ที่มีขนาดเล็กกว่า
เช่น ลูกนก นก หนู ไข่นก สัตว์ตาย)

1.  กระรอกบินที่น่ารักเหล่านี้กระจาย
จากทะเลบอลติกไปยังชายฝั่งแปซิฟิกของญี่ปุ่นและยุโรป
และจัดอยู่ในกลุ่มของกระรอกบินจากโลกเก่า
พวกมันไม่จำศีลในฤดูหนาว
แต่บางครั้งในฤดูหนาว
พวกมันจะงีบหลับนานถึง 2-3 วัน
(©  Escapemagazin)
.
.

.
.
.
2.  กระรอกบิน ตามชื่อบ่งบอกว่า
พวกมันเหินหาว ด้วยขาหน้าและขาหลัง
โดยใช้เยื่อบุผิดหนังบาง ๆ มีขน ที่เรียกว่า Patagium
กระรอกบินเหินหาวได้ไกลกว่า 100 เมตร
โดยใช้วิธีการนี้เพื่อหลบเลี่ยงนักล่า
หรือกระโจนตัวไปเพื่อไปยังต้นไม้อื่น
(©  bewitchingworld)
.
.

.
.

3.  ขนนุ่มและขนาดตัวที่เล็กของมัน
ยิ่งทำให้พวกมันน่ารัก น่ามองดูมาก
(©  masatsugu.ohashi)
.
.

.
.

4.  กระรอกน่ารักตัวนี้
อยู่บนกิ่งไม้ที่ปกคลุมไปด้วยหิมะ 
มันกำลังงีบหลับ รอฤดูหนาวสิ้นสุดลง
(© sovietchild)
.
.

.
.

5. วิธีที่จะดูพวกกระรอกตัวน้อยนี้
ต้องมองจากกล้องส่องทางไกลไม่รบกวนพวกมัน
จึงจะมองเห็นแขนขาเล็ก ๆ ที่น่ารักของพวกมัน
(©  Popshiretoko360)
.
.

.
.

6. ไม่ต้องลังเลสงสัยเลยว่า
กระรอกบินแคระที่น่ารักที่สุดอยู่ในญี่ปุ่น
(©  maqaroon)
.
.

.
© Japanese Flying Squirrel Is Possibly One Of The Cutest Animals In The World
.
.

.

.

.

.
Pteromys momonga ใน Ueno Zoo
.
.

กระรอกบินแคระญี่ปุ่น Pteromys momonga
ญี่ปุ่น: ニホンモモンガ
Hepburn: Nihon momonga
เป็นหนึ่งในสองสายพันธุ์ของกระรอกบิน
ในสกุล Pteromys มีถิ่นกำเนิดในญี่ปุ่น 
โดยอาศัยอยู่ในป่ากึ่งแอลป์
และป่าดิบชื้นทางเหนือบนเกาะฮอนชูและคิวชู
ขนาดโตเต็มที่ยาว 20 ซม. (8 นิ้ว)
และมีเยื่อหุ้มที่เชื่อมระหว่างข้อมือและข้อเท้า
ซึ่งช่วยให้มันเหินหาวจากต้นไม้หนึ่งไปอีกต้นหนึ่งได้
ในระหว่างวัน กระรอกจะซ่อนตัวอยู่ในโพรงต้นสนเป็นส่วนใหญ่
โผล่ออกมาตอนกลางคืนเพื่อกินตาไม้
ใบไม้ เปลือกไม้ ผลไม้ เมล็ดพืช ไข่นก นก หนู
กระรอกเหล่านี้ไม่ตกอยู่ในภัยคุกคามใด ๆ เป็นพิเศษ
มีหลากหลายและค่อนข้างธรรมดามาก
และสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ
International Union for Conservation of Nature
ระบุว่าพวกมันเป็น  สายพันธุ์ที่กังวลน้อยที่สุด
(ไม่ถูกคุกคามหรือเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์)

Pteromys momonga ในสวนสัตว์อุเอโนะ
มีขนาดลำตัวยาว 14-20 ซม. หางยาว 10-14 ซม.
น้ำหนักราว ๆ 150–220 กรัม
พวกมันมีขนาดเล็กกว่ากระรอกบินยักษ์ของญี่ปุ่น
ที่ทำน้ำหนักได้ถึง 1,500 กรัม

พวกมันมีขนสีน้ำตาลเทาบนหลัง
ส่วนท้องเป็นสีขาว มีตาโต หางแบน
กระรอกบินมี patagium ซึ่งเป็นเยื่อหุ้มผิวหนัง
ที่ใช้ในการร่อนโดยเฉพาะของกระรอกบิน
ปาตาเกียมจะมีช่วงระหว่างข้อมือและข้อเท้า
แต่ไม่มีในระหว่างขากับหาง

ที่อยู่อาศัย

พวกมันทำรังในโพรงของต้นไม้
หรือที่จุดต่อระหว่างกิ่งไม้และลำต้นของต้นไม้
ทั้งยังมีแนวโน้มที่จะเสริมรังด้วยมอสและไลเคน
โพรงต้นไม้เป็นแหล่งรังที่อยู่อาศัยสำคัญมาก
พวกมันชอบทำรังอยู่ในต้นสนใบเรียวเล็ก
มากกว่าทำรังบนต้นไม้ใบกว้าง

พฤติกรรมการกิน

กระรอกบินแคระญี่ปุ่นออกหากินเวลากลางคืน
และในตอนกลางวันจะนอนในรังบนต้นไม้
พวกมันกินเมล็ด ผล ใบ ต้นไม้ ตาและเปลือกไม้ 
ทั้งยังกระโดดจากต้นไม้หนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
โดยใช้เยื่อร่อนที่เรียกว่า Patagium
ที่ทำหน้าที่เป็น Wingsuit ทำให้สามารถเคลื่อนที่
และเหินหาวไปในอากาศได้

การกินอาหาร พวกมันจะก้มหัว/ห้อยโหนกิน
โดยจะดึงอาหารเข้าทางปากด้วยอุ้งเท้า
ถ้ากิ่งไม้ไม่แข็งแรงพอที่จะรับน้ำหนักตัว
ก็จะไปกินที่ปลายหรือโคนต้นไม้
บางครั้งก็เก็บกินอาหารที่กระจัดกระจายบนพื้นดิน
ทั้งยังเคลื่อนที่ไปรอบๆ ตัวโดยไม่ต้องขยับขาหลังได้

พฤติกรรมทางสังคม

กระรอกบินหลายตัวมักรวมกันบนต้นไม้ต้นเดียว
มักจะเป็นเพศเดียวกันในฤดูทั่วไป
แต่ถ้าเป็นฤดูผสมพันธุ์ จึงจะแยกรังผสมพันธุ์
และมีคู่ผสมพันธุ์เพียงหนึ่งคู่ ช่วยกันเลี้ยงดูลูก

พฤติกรรมการสืบพันธุ์

ยังไม่มีการศึกษาอย่างชัดเจนในเรื่องนี้
พวกมันจะผสมพันธุ์ปีละสองครั้ง
ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม
โดยมีระยะเวลาตั้งท้องประมาณ 4 สัปดาห์
ขนาดครอกเฉลี่ยอยู่ที่ 2 ถึง 3 ตัว 
แต่บางครอกสามารถมีลูกได้ถึง 5 ตัว
พัฒนาการของลูกน้อยคล้ายกับกระรอกบินอื่น ๆ
และเริ่มหย่านมเมื่ออายุประมาณ 6 สัปดาห์

วิวัฒนาการ

กระรอกบินแคระของญี่ปุ่น
มีวิวัฒนาการที่แตกต่างจากตระกูล Sciuridae อื่น ๆ
ความแตกต่างระหว่างกระรอกบินแคระญี่ปุ่น
กับตระกูลกระรอก Sciuridae อื่น ๆ นั้น
ชัดเจนมากเมื่อเปรียบเทียบสัณฐานวิทยา
ของขากรรไกรล่างและรหัสพันธุกรรม
ขากรรไกรล่างของกระรอกบินแคระญี่ปุ่น
ไม่มีส่วนยื่นโคโรนอยด์ Coronid Process
ไม่เหมือนกับกระรอกแคระอเมริกัน
Microsciurus  กับ Marmots (Marmota)
เพราะมีขากรรไกรล่างที่ยาวกว่ากระรอกบินแคระของญี่ปุ่น
ทั้งนี้เป็นเพราะสายวิวัฒนาการและนิเวศวิทยา

ทั้งยังมีความแตกต่างอย่างมาก
ในโครงสร้างโครโมโซมระหว่าง P. momonga
กับสมาชิกของสกุล Pteromys volans
แม้ว่าพวกมันจะมีโครโมโซมจำนวนเท่ากัน (2n=38)
แต่ karyotypes ของพวกมันแตกต่างกันอย่างมาก
เพราะผลจากการผกผันของศูนย์กลาง การควบคู่กัน
และ การหลุดหายจำนวนมากบน  autosomes กับ Y chromosome
เพราะการหลุดหายของ Genomeใน P. volans
ทำให้มี DNA น้อยกว่า P. momonga ราว 15%
การค้นพบนี้ชี้ให้เห็นว่า karyotype ของ P. momonga 
จะมีความคล้ายคลึงกับบรรพบุรุษของ
P. volans และ P. momonga อย่างใกล้ชิด

Japanese dwarf flying squirrel.
กระรอกบิน เป็นกระรอก
ที่อยู่ในเผ่า Pteromyini หรือ Petauristini
มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากกระรอกจำพวกอื่น
คือ มีแผ่นหนังลักษณะคล้ายพังผืด
ที่บริเวณข้างลำตัวตั้งแต่ขาหน้าถึงขาหลัง
สำหรับกางเพื่อร่อนจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
โดยมีหางและกระดูกอ่อนพิเศษที่ยื่นออกมาจาก
ข้อเท้าหน้าเพื่อช่วยในการควบคุมทิศทาง

กระรอกบินมีพฤติกรรมที่แตกต่างไปจากกระรอกในกลุ่มอื่น
คือ หากินในเวลากลางคืน มีดวงตากลมโตสีดำสะท้อนแสงไฟ 
อาศัยอยู่เฉพาะในป่าดิบที่อุดมสมบูรณ์ 
อาหารหลัก คือ แมลง หากินหลักอยู่บนต้นไม้
แต่ก็สามารถลงมาหากินบนพื้นดินได้ในบางครั้ง

กระรอกบิน  ที่จริงแล้วทำได้เพียงแค่ร่อน
หรือโต้อากาศโดยใช้พังผืดนี้ อยู่กลางอากาศได้เพียงสั้น ๆ เท่านั้น
โดยการกระโจนจากต้นไม้อีกต้นไปยังอีกต้นหนึ่ง

กระรอกบินมี 44 ชนิด ใน 15 สกุล
พบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ  ทวีปยุโรปตอนเหนือและทวีปเอเชีย
บางชนิดจัดเป็นกระรอกขนาดใหญ่เทียบเท่าพญากระรอก
เช่น พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas)
บางชนิดอยู่ในสถานะใกล้สูญพันธุ์แล้ว
เช่น กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei) เป็นต้น
ในประเทศไทยพบ 13 ชนิด จาก 6 สกุล ได้แก่

พญากระรอกบินสีดำ (Aeromys tephomelas)
กระรอกบินเท้าขน (Belomys pearsoni)
กระรอกบินเล็กเขาสูง (Hylopetes alboniger)
กระรอกบินเล็กแก้มขาว (Hylopetes phayrei)
กระรอกบินแก้มเทา (Hylopetes lepidus)
กระรอกบินแก้มสีแดง (Hylopetes spadiceus)
พญากระรอกบินหูดำ (Petaurista elegans)
พญากระรอกบินหูแดง (Petaurista petaurista)
พญากระรอกบินหูขาว (Petaurista alborufus)
พญากระรอกบินหูดำหางเข้ม (Petaurista philippensis)
กระรอกบินจิ๋วท้องขาว (Petinomys setosus)
กระรอกบินจิ๋วมลายู (Petinomys vordermanni)
กระรอกบินสีเขม่า (Pteromyscus pulverulentus)

ยังมีสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกอื่น
ที่มีลักษณะและพฤติกรรมคล้ายคลึงกระรอกบินมาก
ได้แก่ บ่าง (Galeopterus variegatus)
ที่อยู่ในอันดับ บ่าง และจิงโจ้บิน
หรือ ชูการ์ไกล์เดอร์ (Petaurus breviceps)
อยู่ในอันดับสัตว์ที่มีกระเป๋าหน้าท้อง
ซึ่งสัตว์ทั้ง 2 จำพวกนี้มิใช่สัตว์ในอันดับสัตว์ฟันแทะอย่างกระรอก
แม้จะมีรูปหน้าหน้าตาและพฤติกรรมคล้ายกับกระรอกบินก็ตาม
แต่กระนั้นก็ยังมีผู้เข้าใจผิดเสมอ ๆ ว่า
สัตว์ทั้ง 2 จำพวกนี้เป็นกระรอกบิน
อีกทั้งในภาษาเหนือ/อีศานของไทย
ก็ยังเรียกกระรอกบินขนาดใหญ่ ว่า บ่าง
ภาคใต้บางแห่งเรียกบ่าง ว่า พุงจง
© กระรอกบิน
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ.
กระรอกกินหนู.
.

.
เรื่องเล่าไร้สาระ
.
บ่างช่างยุ มาจากนิทานโบราณว่า
บ่างหากินไม่เก่งเหมือนค้างคาว (2 in 1)
ค้างคาว นกมีหู  หนูมีปีก ที่เลือกข้างได้
ถ้าอยู่กับหนู ก็บอกพวกกูมีสี่ขาเหมือนพวกมิง
ถ้าอยู่กับนก ก็บอกพวกกูมีปีกบินได้เหมือนพวกมิง

ในยุคปฐมกาลเกิดสงครามครั้งสุดท้าย
ยุคที่สัตว์ทุกตัวยังพูดคุยกันได้ในภาษาเดียวกันยกเว้นสัตว์น้ำ
ต่างฝ่ายจึงต้องการพันธมิตรร่วมรบ
ในศึกชิงเป็นจ่าฝูงเพื่อชี้ขาดว่า ไผเป็นไผ
แต่ค้างคาวแทงกั๊ก ไม่เลือกข้างใดข้างหนึ่ง
อู้ศึกระหว่างสัตว์บก กับ สัตว์ฟ้า

" การเมืองคุณไม่เลือกข้างไม่ได้
เพราะเหมือนคุณยืนอยู่กึ่งกลางถนน
คุณอาจจะถูกรถชนตายทั้งสองข้าง "
Sir Magaret Thatcher กล่าวไว้

ก่อนสงครามยุติ
บ่างเลยฉวยโอกาสทางการเมือง
ไปบอกพวกหนู พวกนก ให้ระมัดระวังตนเอง
เพราะมีข่าวลือ/ข่าวกระซิบหนาหูว่า
ค้างคาว คือ จารชนสองหน้าเป็นภัยคุกคาม
อาจจะวางยาพิษให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งกินแล้วตาย
สังเกตจาก ขี้ค้างคาวมีกลิ่นเหม็นฉุนเฉียว
ทำให้แต่ละฝ่ายต่างขับไล่พวกค้างคาว
เพราะหมั่นไส้/รังเกียจที่แทงกั๊ก/อู้มาตลอด
บ่างเลยอยู่ดีกินดีเพราะไม่มีคู่แข่งแย่งกิน

แต่พระอินทร์ที่นั่งเคยนุ่มนิ่ม
กลับแข็งกระด้างดั่งหิน พอรู้เรื่อง
จึงลงมาตัดสินให้เลิกแล้วต่อกัน
พร้อมสาปให้สัตว์ทุกตัวคุยกันไม่รู้เรื่องจน But Now
.
.
แต่เสียงพุงจง/บ่างโหยหวนมากตอนค่ำ
คนไม่เคยได้ยินมาก่อนนึกว่าปิล็อค/ผีหลอก
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่