วันนี้เราจะมาพูดถึงสำนวนสุภาษิตไทยที่เกี่ยวกับเงินๆ ทองๆ กัน ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจถึงที่ไปที่มา
ของสำนวนสุภาษิตไทยกันก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นคำพูดที่สละสลวยและมีความคมคายกว่าคำพูดธรรมดาๆ ทั่วไป เน้นไปในทางที่จะสั่งสอน แนะนำให้เป็นคนดี โดยมักเป็นถ้อยคำสั้นๆ ที่กะทัดรัด โดยปกติ ในชีวิตประจำวัน เรามักเจอกับสำนวนสุภาษิตอยู่ตลอดเวลา เช่น ที่วัด ที่โรงเรียน ในหนังสือ เป็นต้น
เราลองมาทำความเข้าใจ 4 สำนวนสุภาษิต ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินที่ดีและทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวลกับอนาคต เพื่อให้เพื่อนๆ นำไปเป็นข้อคิดและประยุกต์ใช้กันนะครับ
ตามใจปากมากหนี้ : นิยมใช้กับคนที่เห็นแก่กิน เห็นอะไรที่ชอบ เห็นอะไรที่น่ากินเป็นซื้อหมด ไม่สนใจว่าจะถูกหรือแพง รวมทั้งการซื้อของใช้ต่างๆ ที่ไม่จำเป็น
ตัวอย่าง : บางคนมีความความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งของบางอย่างที่คิดว่าสำคัญ เช่น บ้าน รถยนต์อาจจะเป็นหนี้ที่จำเป็น ส่วนหนี้ไม่จำเป็นก็เช่น การใช้จ่ายเงินไปท่องเที่ยวหาความสุขต่างๆ ซึ่งก็จะทำให้เกิดการเป็นหนี้มากมายตามมาภายหลัง ตามใจปากมากหนี้ เป็นการให้ข้อคิดเรื่องการใช้เงินจนเกินตัว
ดังนั้น ก่อนที่จะก่อหนี้ อยากให้เพื่อนๆ ลองคิดทบทวน ทำความเข้าใจหนี้ สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่ และก่อหนี้เมื่อจำเป็นจริงๆ แต่ถ้ามีหนี้ที่ไม่จำเป็นอยู่แล้วควรหยุดสร้างหนี้ใหม่ๆ และถ้ามีโอกาสควรหาแหล่งรายได้เพิ่มเติมเพื่อนำมาจ่ายโปะหนี้นี้
ชักหน้าไม่ถึงหลัง : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงการจับจ่ายใช้สอย หรือการใช้จ่ายเงิน ที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน มีชีวิตด้วยความลำบาก หาเงินได้น้อย แต่รายจ่ายมาก
ตัวอย่าง : ไม่ว่าจะเป็นรายได้เยอะหรือน้อย หากเป็นคนใช้เงินโดยไม่คิด สร้างภาระ สร้างหนี้ไว้มากเกินไป ก็จะทำให้เงินไม่พอใช้
ดังนั้น ถ้ามีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ก็จำเป็นจะต้องคิดหาทางแก้ไข ถ้ามีรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก็ตัดออกไป บางทีอาจเป็นรายจ่ายเล็กๆ น้อย ที่เราคาดไม่ถึง เช่น การดื่มกาแฟวันละแก้วๆ ละ 50 บาท หนึ่งเดือนก็ 1,500 บาท เป็นต้น หากรู้จักเก็บ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ก็จะลดปัญหาเรื่องนี้ลงได้
เก็บเล็กผสมน้อย : ค่อยๆ เก็บสะสม จนมีมากพอที่สามารถได้ในสิ่งที่ต้องการได้
ตัวอย่าง : รายได้ของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน แต่สำหรับคนที่คิดจะเก็บเงิน จะไม่เอาความคิดที่ว่า รายได้น้อยหรือออมไม่ได้หรอก มาคิดให้หนักอกหนักใจ โดยคนแบบนี้มักคิดในเชิงบวก เช่น ถ้าอยากได้โทรศัพท์เครื่องใหม่แต่มีเงินไม่มากพอ ก็จะใช้วิธีเก็บออมเงินตามความสามารถของตนเอง จนในที่สุดก็มีเงินพอซื้อโทรศัพท์อย่างที่ต้องการ
ดังนั้น เราควรวางแผนการใช้จ่ายเงินและออมก่อนใช้ ดังนี้
1) ออมให้ได้อย่างน้อย 20 % ของรายได้แต่ละเดือน
2) มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายแต่ละเดือน
3) เริ่มออมเงินเพื่อไว้ใช้วัยเกษียณ
หว่านพืชหวังผล : การลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ย่อมหวังผลประโยชน์ตอบแทน
ตัวอย่าง : หากนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก็คาดหวังดอกเบี้ย หากลงทุนในหุ้นก็คาดหวังเงินปันผลและกำไรจากราคาหุ้น หรือหากลงทุนในกองทุน LTF/RMF ก็คาดหวังสิทธิลดหย่อนทางภาษีและผลตอบแทนจากกองทุน เป็นต้น
ก่อนจะเรียนรู้วิธีการลงทุนรูปแบบต่างๆ เราอาจจะเริ่มก่อนว่าเราลงทุนเพื่ออะไร และเรารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้แค่ไหน ซี่งวัตถุประสงค์และความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคนก็จะต่างกัน
ซึ่งเป้าหมายการลงทุนแต่ละคนย่อมต่างกัน บางคนฝันอยากมีบ้าน มีรถ บางคนฝันอยากไปท่องเที่ยวรอบโลก บางคนฝันอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือบางคนฝันอยากดูแลครอบครัวให้สุขสบาย ความฝันเหล่านี้จะสะท้อนความสำคัญของเป้าหมาย เมื่อพิจารณาร่วมกับความสามารถในการรับความเสี่ยง ระยะเวลาการลงทุน และความรู้ประสบการณ์การลงทุนแล้ว ก็จะทำให้รู้ว่าควรเลือกลงทุนอย่างไร
ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเรารู้จักความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยกันน้อยมากเมื่อเทียบกับที่มีทั้งหมด สำนวนสุภาษิตที่ยกตัวอย่างมาทั้ง 4 สำนวนก็จะเกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ ไม่ว่าจะเป็น ตามใจปากมากหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นหนี้ ชักหน้าไม่ถึงหลังที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่าย เก็บเล็กผสมน้อยที่เกี่ยวข้องกับการออม และหว่านพืชหวังผลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ซึ่งทั้งหมดล้วนให้แง่คิดเรื่องการบริหารเงินในชีวิตประจำวัน อยากให้เพื่อนๆ ลองเอาไปเป็นสิ่งเตือนใจและปรับใช้กันนะครับ
เงินๆทองๆกับสำนวนสุภาษิตไทย
ของสำนวนสุภาษิตไทยกันก่อน ส่วนใหญ่จะเป็นคำพูดที่สละสลวยและมีความคมคายกว่าคำพูดธรรมดาๆ ทั่วไป เน้นไปในทางที่จะสั่งสอน แนะนำให้เป็นคนดี โดยมักเป็นถ้อยคำสั้นๆ ที่กะทัดรัด โดยปกติ ในชีวิตประจำวัน เรามักเจอกับสำนวนสุภาษิตอยู่ตลอดเวลา เช่น ที่วัด ที่โรงเรียน ในหนังสือ เป็นต้น
เราลองมาทำความเข้าใจ 4 สำนวนสุภาษิต ที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการเงินที่ดีและทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องกังวลกับอนาคต เพื่อให้เพื่อนๆ นำไปเป็นข้อคิดและประยุกต์ใช้กันนะครับ
ตามใจปากมากหนี้ : นิยมใช้กับคนที่เห็นแก่กิน เห็นอะไรที่ชอบ เห็นอะไรที่น่ากินเป็นซื้อหมด ไม่สนใจว่าจะถูกหรือแพง รวมทั้งการซื้อของใช้ต่างๆ ที่ไม่จำเป็น
ตัวอย่าง : บางคนมีความความจำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพื่อซื้อสิ่งของบางอย่างที่คิดว่าสำคัญ เช่น บ้าน รถยนต์อาจจะเป็นหนี้ที่จำเป็น ส่วนหนี้ไม่จำเป็นก็เช่น การใช้จ่ายเงินไปท่องเที่ยวหาความสุขต่างๆ ซึ่งก็จะทำให้เกิดการเป็นหนี้มากมายตามมาภายหลัง ตามใจปากมากหนี้ เป็นการให้ข้อคิดเรื่องการใช้เงินจนเกินตัว
ดังนั้น ก่อนที่จะก่อหนี้ อยากให้เพื่อนๆ ลองคิดทบทวน ทำความเข้าใจหนี้ สามารถชำระหนี้ทั้งหมดได้หรือไม่ และก่อหนี้เมื่อจำเป็นจริงๆ แต่ถ้ามีหนี้ที่ไม่จำเป็นอยู่แล้วควรหยุดสร้างหนี้ใหม่ๆ และถ้ามีโอกาสควรหาแหล่งรายได้เพิ่มเติมเพื่อนำมาจ่ายโปะหนี้นี้
ชักหน้าไม่ถึงหลัง : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงการจับจ่ายใช้สอย หรือการใช้จ่ายเงิน ที่มีรายได้ไม่พอกับรายจ่ายในแต่ละเดือน มีชีวิตด้วยความลำบาก หาเงินได้น้อย แต่รายจ่ายมาก
ตัวอย่าง : ไม่ว่าจะเป็นรายได้เยอะหรือน้อย หากเป็นคนใช้เงินโดยไม่คิด สร้างภาระ สร้างหนี้ไว้มากเกินไป ก็จะทำให้เงินไม่พอใช้
ดังนั้น ถ้ามีรายจ่ายมากกว่ารายได้ ก็จำเป็นจะต้องคิดหาทางแก้ไข ถ้ามีรายจ่ายที่ไม่จำเป็นก็ตัดออกไป บางทีอาจเป็นรายจ่ายเล็กๆ น้อย ที่เราคาดไม่ถึง เช่น การดื่มกาแฟวันละแก้วๆ ละ 50 บาท หนึ่งเดือนก็ 1,500 บาท เป็นต้น หากรู้จักเก็บ ใช้จ่ายอย่างมีเหตุผล ทำบัญชีรายรับรายจ่าย ก็จะลดปัญหาเรื่องนี้ลงได้
เก็บเล็กผสมน้อย : ค่อยๆ เก็บสะสม จนมีมากพอที่สามารถได้ในสิ่งที่ต้องการได้
ตัวอย่าง : รายได้ของแต่ละคนย่อมไม่เท่ากัน แต่สำหรับคนที่คิดจะเก็บเงิน จะไม่เอาความคิดที่ว่า รายได้น้อยหรือออมไม่ได้หรอก มาคิดให้หนักอกหนักใจ โดยคนแบบนี้มักคิดในเชิงบวก เช่น ถ้าอยากได้โทรศัพท์เครื่องใหม่แต่มีเงินไม่มากพอ ก็จะใช้วิธีเก็บออมเงินตามความสามารถของตนเอง จนในที่สุดก็มีเงินพอซื้อโทรศัพท์อย่างที่ต้องการ
ดังนั้น เราควรวางแผนการใช้จ่ายเงินและออมก่อนใช้ ดังนี้
1) ออมให้ได้อย่างน้อย 20 % ของรายได้แต่ละเดือน
2) มีเงินออมเผื่อฉุกเฉิน 6 เท่าของรายจ่ายแต่ละเดือน
3) เริ่มออมเงินเพื่อไว้ใช้วัยเกษียณ
หว่านพืชหวังผล : การลงทุนทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ก็ย่อมหวังผลประโยชน์ตอบแทน
ตัวอย่าง : หากนำเงินไปลงทุนในพันธบัตรหรือหุ้นกู้ก็คาดหวังดอกเบี้ย หากลงทุนในหุ้นก็คาดหวังเงินปันผลและกำไรจากราคาหุ้น หรือหากลงทุนในกองทุน LTF/RMF ก็คาดหวังสิทธิลดหย่อนทางภาษีและผลตอบแทนจากกองทุน เป็นต้น
ก่อนจะเรียนรู้วิธีการลงทุนรูปแบบต่างๆ เราอาจจะเริ่มก่อนว่าเราลงทุนเพื่ออะไร และเรารับความเสี่ยงจากการลงทุนได้แค่ไหน ซี่งวัตถุประสงค์และความสามารถในการรับความเสี่ยงของแต่ละคนก็จะต่างกัน
ซึ่งเป้าหมายการลงทุนแต่ละคนย่อมต่างกัน บางคนฝันอยากมีบ้าน มีรถ บางคนฝันอยากไปท่องเที่ยวรอบโลก บางคนฝันอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ หรือบางคนฝันอยากดูแลครอบครัวให้สุขสบาย ความฝันเหล่านี้จะสะท้อนความสำคัญของเป้าหมาย เมื่อพิจารณาร่วมกับความสามารถในการรับความเสี่ยง ระยะเวลาการลงทุน และความรู้ประสบการณ์การลงทุนแล้ว ก็จะทำให้รู้ว่าควรเลือกลงทุนอย่างไร
ต้องยอมรับว่าปัจจุบันเรารู้จักความหมายของสำนวน สุภาษิต และคำพังเพยกันน้อยมากเมื่อเทียบกับที่มีทั้งหมด สำนวนสุภาษิตที่ยกตัวอย่างมาทั้ง 4 สำนวนก็จะเกี่ยวข้องกับเงินๆ ทองๆ ไม่ว่าจะเป็น ตามใจปากมากหนี้ที่เกี่ยวข้องกับการเป็นหนี้ ชักหน้าไม่ถึงหลังที่เกี่ยวข้องกับการใช้จ่าย เก็บเล็กผสมน้อยที่เกี่ยวข้องกับการออม และหว่านพืชหวังผลที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน ซึ่งทั้งหมดล้วนให้แง่คิดเรื่องการบริหารเงินในชีวิตประจำวัน อยากให้เพื่อนๆ ลองเอาไปเป็นสิ่งเตือนใจและปรับใช้กันนะครับ