มะหลอด
เป็นพืชพื้นเมืองของไทยที่พบได้มากทางภาคเหนือ ตามป่า ตามทุ่งนา หรือตามบ้านเรือนชนบท และสามารถพบได้ทั่วไปตามชายป่าชื้น ป่าเบญจพรรณ และมักขึ้นทั่วไปตามเนินเขาในที่ร่มที่ระดับ 200-1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
มะหลอด เป็นผลไม้ที่บางคนคงไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยิน โดยจะออกดอกออกผลในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อยามที่ผลมันสุก ต้นจะดูสวยงามเต็มไปด้วยผลที่มีสีแดงสด สีส้ม สีเหลือง สีเขียว คละเคล้ากันไป เห็นแล้วน่ารับประทาน แต่น่าเสียดายที่ผลไม้ชนิดนี้ยังไม่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้มีผลผลิตจำหน่ายเข้าสู่ตลาดน้อยมาก และมักพบเห็นวางจำหน่ายตามตลาดในจังหวัดรอบนอกตามชนบท ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักเหมือนผลไม้ชนิดอื่น และยังไม่มีการส่งเสริมการปลูกอย่างจริงจัง ซึ่งในปัจจุบันค่อนข้างจะหาได้ยากขึ้นทุกที
เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี มันจึงช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้ ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ กินกับน้ำพริกหวาน หรือจะนำไปดองกับเกลือก็ได้เช่นกัน และสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม นำไปทำไวน์ เป็นต้น
ผลดิบสีเขียวสามารถนำมารับประทานร่วมกับน้ำพริกถั่วเน่าพันด้วยผักกาดและผักชีได้ คล้าย ๆ กับกินเมี่ยงคำ หรือนำมาทำส้มตำ ทำแกงส้ม เป็นต้น
Cr.medthai.com/
โทงเทง หรือ พุ้งพิ้ง
"โทงเทง" อีกหนึ่งสมุนไพรพื้นบ้านดีๆ ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือคนต่างจังหวัดอาจจะเคยเห็นกันมาบ้าง สามารถพบเห็นกันได้ตามข้างทาง ข้างถนน หรือริมรั้ว แต่คนเมืองอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ เช่น เชียงใหม่ เรียก ต้อมต๊อก หรือ บาตอมต๊อก ปัตตานี เรียก ปุงปิง หนองคาย เรียก ปิงเป้ง มีใบนุ่มและเรียบ ดอกสีเหลือง ผลสีเหลืองมีลักษณะคล้ายผลมะเขือเทศ มีกลีบเลี้ยงหุ้มรูปร่างเหมือนโคมไฟ ชอบดินทรายและที่แห้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
โทงเทง เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก อายุปีเดียว พบได้ทั่วไปตามพื้นที่เปิดใหม่ หรือตามป่าโล่ง ตามลำตะคองที่มีแสงอาทิตย์ส่องตรง และพบในประเทศเขตร้อนทั่วโลก ต้นมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้งต้นปกคลุมไปด้วยขน แตกกิ่งก้านบริเวณยอด ก้านมีขนาดเล็ก โทงเทงชนิดนี้มักพบขึ้นบริเวณริมน้ำ บางท้องถิ่นจึงเรียกว่า "โทงเทงน้ำ"
จัดเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากทั้งยุโรปและเอเชีย เนื่องนอกจากเป็นผลไม้ป่ารสชาติถูกหวานอมเปรี้ยวถูกลิ้น ยังมีสรรพคุณมากล้นในทุกส่วนของพฤกษศาสตร์ตั้งแต่ผล ใบ ดอก ลำต้น กระทั่ง ราก โดยคุณสมบัติของ ใบ ต้มดื่ม แก้อาการหืดหอบ ระงับอาการปวด เป็นต้น ส่วนลำต้น ใช้แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในลำคอ ผล และเมล็ด ใช้บดทาแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้แผลติดเชื้อ แผลอักเสบ แผลเป็นหนอง ราก ต้มน้ำดื่มใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น
Cr.tnews.co.th/
ตะขบ
ตะขบเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ พบการแพร่กระจายทั่วไปในแถบประเทศอบอุ่น รวมถึงประเทศไทย และประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะแพร่กระจายมาจากนกอพยพที่มาจากประเทศอื่น ผ่านทางมูลที่ขับถ่าย
ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปตามชุมชนบ้านเรือน ที่รกร้าง และตามป่าต่างๆ เนื่องจาก ตะขบเป็นอาหารของนกหลายชนิดจึงทำให้เมล็ดตะขบแพร่กระจายไปได้ทั่วทุกแห่ง
ประโยชน์จากต้นตะขบที่เห็นได้เด่นชัด และเป็นเหตุผลสำคัญที่มีผู้นิยมปลูกต้นตะขบไว้ภายในบ้าน คือ การปลูกเพื่อเป็นร่มเงา เพราะต้นตะขบมีลำต้นไม่สูงมาก ลำต้นมีกิ่งจำนวนมาก กิ่งกางแผ่เป็นวงกลมรอบลำต้น กิ่งกางขนานกับพื้นดิน ประกอบกับใบที่แตกออกมีจำนวนมาก ทำให้เป็นร่มเงาได้ดี แต่ต้นตะขบจะทิ้งใบบางส่วนในช่วงแล้ง แต่จะให้ใบเขียวดกมากในช่วงฤดูฝน-ต้นฤดูแล้ง ผลสุกเป็นที่นิยมนำมารับประทาน โดยนิยมเก็บผลสุกจากต้น และรับประทานในขณะนั้น
Cr.puechkaset.com/
นมแมว
นมแมว เป็นต้นไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ เป็นชื่อชนิดคือ Siamensis บ่งบอกว่าเป็นพืชที่พบในสยาม ซึ่งก็คือประเทศไทยปัจจุบัน พระยาวินิจวนันดร บันทึกไว้ว่า นมแมวเป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะในป่าดิบภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ปกติพบขึ้นอยู่ตามชายป่าชื้น คนไทยนิยม นำมาปลูกในบริเวณบ้าน จึงนับได้ว่า นมแมวเป็นต้นไม้ของไทยอย่างแท้จริง
ชื่อนมแมวมาจากลักษณะ บางอย่างของต้นไม้ชนิดนี้ ที่คล้ายนมของแมว ซึ่งคงเป็นดอกขณะยังตูมมีขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูงประมาณ 1-2 เมตร
ดอกสีเหลืองค่อนข้างกลม เมื่อบานเต็มที่จะมีกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ ผลมีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเหลือง รสหวานกินได้ อาจจะมีช่อละ 1-4 ผล
คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันคงไม่เคยได้ดมกลิ่นดอกนมแมว จึงคงนึกไม่ออกว่าในอดีต กลิ่นดอกนมแมวเป็นกลิ่นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคย และนิยมชมชอบมาก ที่สุดชนิดหนึ่ง กลิ่นของดอกนมแมวที่คนไทยในอดีตคุ้นเคยและได้ สัมผัสอยู่บ่อยๆ นั้น มิได้มาจากดอกนมแมวโดยตรงเท่านั้น หากแต่ยังมาจากขนมไทยชนิดต่างๆ ที่นิยมปรุงแต่งกลิ่นดอกนมแมวเพื่อให้น่ากินยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขนม ที่ใส่น้ำเชื่อมหรือน้ำกะทิ เช่น ขนม จำพวกลอดช่อง เป็นต้น
Cr.
http://panmainaiban.blogspot.com/
มะแว้งเครือ
จัดเป็นไม้เถาขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเถามันสีเขียว ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือจากสัตว์ (โดยเฉพาะนก) ที่กินผลแล้วถ่ายเมล็ดออกมา จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง มักขึ้นเองตามธรรมชาติในบริเวณที่ราบชายป่า ที่โล่งแจ้ง และบริเวณที่รกร้างริมทาง สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ทั้งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นต่างก็มีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกันมาก แต่มักจะนิยมใช้มะแว้งเครือทำเป็นยามากกว่า แม้กระทั่งผลมะแว้งที่นำมาจิ้มกับน้ำพริกกิน ก็ยังนิยมใช้ผลมะแว้งเครือเช่นกัน แต่แพทย์แผนไทยในอดีตจะนิยมใช้ทั้งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นร่วมกัน โดยเรียกว่า “มะแว้งทั้งสอง
Cr.sites.google.com/
กำชำ
ลูกกำชำผลไม้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisanthes rubiginosa Leenh. เป็นไม้ยืนต้น ผลออกเป็นช่อ สุกสีเหมือนลูกหว้า กินได้ รสหวานปะแล่มๆ
ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร ใบ เป็นรูปแผ่นพับเป็นรูปไข่ ดอกไม้เล็ก ๆ สีขาว ช่อใน เบอร์รี่ผลไม้, รูปทรงอย่างไข่ไข่ให้เปิดเมื่อสุกสีม่วงเข้ม ลูกกำชำ ตอนที่สุกลูกจะมีสีดำ รสชาติหวาน
มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ทั้งใบ ผล ราก นำไปใช้ได้หมด เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างทำไม้ฟืนและด้ามเครื่องมือการเกษตร ใบอ่อนกินเป็นผัก
พบได้ตามที่ราบชายป่าดิบและพื้นที่โล่งแจ้ง และตามชายทุ่งทั่วไป
วิธีสังเกต ลูกหว้าจะมีผิวเรียบมันเงา ลูกกำชำจะผิวสาก มีขนนิดๆ ไม่มันเงาเหมือนลูกหว้า ผิวลำต้นมะหวดจะขรุขระ เป็นรอยแตกริ้วเป็นทางลึกกว่า
ใบมะหวดมีขน โดยมากสีเขียวแกมเหลือง ใบหว้าเรียบมัน ใบสีเขียวสด เข้มกว่ามะหวด
ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill
ต้นไม้ชายทุ่งที่ให้ผลกินได้
เป็นพืชพื้นเมืองของไทยที่พบได้มากทางภาคเหนือ ตามป่า ตามทุ่งนา หรือตามบ้านเรือนชนบท และสามารถพบได้ทั่วไปตามชายป่าชื้น ป่าเบญจพรรณ และมักขึ้นทั่วไปตามเนินเขาในที่ร่มที่ระดับ 200-1,600 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล
มะหลอด เป็นผลไม้ที่บางคนคงไม่รู้จักหรือไม่เคยได้ยิน โดยจะออกดอกออกผลในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อยามที่ผลมันสุก ต้นจะดูสวยงามเต็มไปด้วยผลที่มีสีแดงสด สีส้ม สีเหลือง สีเขียว คละเคล้ากันไป เห็นแล้วน่ารับประทาน แต่น่าเสียดายที่ผลไม้ชนิดนี้ยังไม่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลาย ทำให้มีผลผลิตจำหน่ายเข้าสู่ตลาดน้อยมาก และมักพบเห็นวางจำหน่ายตามตลาดในจังหวัดรอบนอกตามชนบท ทำให้ไม่เป็นที่รู้จักเหมือนผลไม้ชนิดอื่น และยังไม่มีการส่งเสริมการปลูกอย่างจริงจัง ซึ่งในปัจจุบันค่อนข้างจะหาได้ยากขึ้นทุกที
เป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยวิตามินซี มันจึงช่วยในการต่อต้านอนุมูลอิสระได้ ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ กินกับน้ำพริกหวาน หรือจะนำไปดองกับเกลือก็ได้เช่นกัน และสามารถนำไปแปรรูปเป็นผลไม้ดอง ผลไม้แช่อิ่ม นำไปทำไวน์ เป็นต้น
ผลดิบสีเขียวสามารถนำมารับประทานร่วมกับน้ำพริกถั่วเน่าพันด้วยผักกาดและผักชีได้ คล้าย ๆ กับกินเมี่ยงคำ หรือนำมาทำส้มตำ ทำแกงส้ม เป็นต้น
Cr.medthai.com/
โทงเทง หรือ พุ้งพิ้ง
"โทงเทง" อีกหนึ่งสมุนไพรพื้นบ้านดีๆ ที่ผู้เฒ่าผู้แก่ หรือคนต่างจังหวัดอาจจะเคยเห็นกันมาบ้าง สามารถพบเห็นกันได้ตามข้างทาง ข้างถนน หรือริมรั้ว แต่คนเมืองอาจไม่ค่อยคุ้นชื่อนัก มีชื่อเรียกแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ เช่น เชียงใหม่ เรียก ต้อมต๊อก หรือ บาตอมต๊อก ปัตตานี เรียก ปุงปิง หนองคาย เรียก ปิงเป้ง มีใบนุ่มและเรียบ ดอกสีเหลือง ผลสีเหลืองมีลักษณะคล้ายผลมะเขือเทศ มีกลีบเลี้ยงหุ้มรูปร่างเหมือนโคมไฟ ชอบดินทรายและที่แห้ง ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
โทงเทง เป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก อายุปีเดียว พบได้ทั่วไปตามพื้นที่เปิดใหม่ หรือตามป่าโล่ง ตามลำตะคองที่มีแสงอาทิตย์ส่องตรง และพบในประเทศเขตร้อนทั่วโลก ต้นมีความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร ทั้งต้นปกคลุมไปด้วยขน แตกกิ่งก้านบริเวณยอด ก้านมีขนาดเล็ก โทงเทงชนิดนี้มักพบขึ้นบริเวณริมน้ำ บางท้องถิ่นจึงเรียกว่า "โทงเทงน้ำ"
จัดเป็นสมุนไพรที่ได้รับความนิยมปลูกกันมากทั้งยุโรปและเอเชีย เนื่องนอกจากเป็นผลไม้ป่ารสชาติถูกหวานอมเปรี้ยวถูกลิ้น ยังมีสรรพคุณมากล้นในทุกส่วนของพฤกษศาสตร์ตั้งแต่ผล ใบ ดอก ลำต้น กระทั่ง ราก โดยคุณสมบัติของ ใบ ต้มดื่ม แก้อาการหืดหอบ ระงับอาการปวด เป็นต้น ส่วนลำต้น ใช้แก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้ฝีในลำคอ ผล และเมล็ด ใช้บดทาแผล ต้านเชื้อแบคทีเรีย แก้แผลติดเชื้อ แผลอักเสบ แผลเป็นหนอง ราก ต้มน้ำดื่มใช้เป็นยาถ่ายพยาธิ เป็นต้น
Cr.tnews.co.th/
ตะขบ
ตะขบเป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ พบการแพร่กระจายทั่วไปในแถบประเทศอบอุ่น รวมถึงประเทศไทย และประเทศเพื่อบ้าน ซึ่งสันนิษฐานว่า น่าจะแพร่กระจายมาจากนกอพยพที่มาจากประเทศอื่น ผ่านทางมูลที่ขับถ่าย
ในประเทศไทย พบได้ทั่วไปตามชุมชนบ้านเรือน ที่รกร้าง และตามป่าต่างๆ เนื่องจาก ตะขบเป็นอาหารของนกหลายชนิดจึงทำให้เมล็ดตะขบแพร่กระจายไปได้ทั่วทุกแห่ง
ประโยชน์จากต้นตะขบที่เห็นได้เด่นชัด และเป็นเหตุผลสำคัญที่มีผู้นิยมปลูกต้นตะขบไว้ภายในบ้าน คือ การปลูกเพื่อเป็นร่มเงา เพราะต้นตะขบมีลำต้นไม่สูงมาก ลำต้นมีกิ่งจำนวนมาก กิ่งกางแผ่เป็นวงกลมรอบลำต้น กิ่งกางขนานกับพื้นดิน ประกอบกับใบที่แตกออกมีจำนวนมาก ทำให้เป็นร่มเงาได้ดี แต่ต้นตะขบจะทิ้งใบบางส่วนในช่วงแล้ง แต่จะให้ใบเขียวดกมากในช่วงฤดูฝน-ต้นฤดูแล้ง ผลสุกเป็นที่นิยมนำมารับประทาน โดยนิยมเก็บผลสุกจากต้น และรับประทานในขณะนั้น
Cr.puechkaset.com/
นมแมว
นมแมว เป็นต้นไม้พื้นเมืองดั้งเดิมของไทย ชื่อวิทยาศาสตร์ที่ เป็นชื่อชนิดคือ Siamensis บ่งบอกว่าเป็นพืชที่พบในสยาม ซึ่งก็คือประเทศไทยปัจจุบัน พระยาวินิจวนันดร บันทึกไว้ว่า นมแมวเป็นพืชเฉพาะถิ่นที่พบเฉพาะในป่าดิบภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ปกติพบขึ้นอยู่ตามชายป่าชื้น คนไทยนิยม นำมาปลูกในบริเวณบ้าน จึงนับได้ว่า นมแมวเป็นต้นไม้ของไทยอย่างแท้จริง
ชื่อนมแมวมาจากลักษณะ บางอย่างของต้นไม้ชนิดนี้ ที่คล้ายนมของแมว ซึ่งคงเป็นดอกขณะยังตูมมีขนาดเล็ก เป็นไม้พุ่มกึ่งเลื้อย สูงประมาณ 1-2 เมตร
ดอกสีเหลืองค่อนข้างกลม เมื่อบานเต็มที่จะมีกลิ่นหอมแรงในเวลาเย็นถึงค่ำ ผลมีขนาดเล็กเส้นผ่าศูนย์ กลางประมาณ 1 เซนติเมตร เมื่อสุกมีสีเหลือง รสหวานกินได้ อาจจะมีช่อละ 1-4 ผล
คนไทยส่วนใหญ่ในปัจจุบันคงไม่เคยได้ดมกลิ่นดอกนมแมว จึงคงนึกไม่ออกว่าในอดีต กลิ่นดอกนมแมวเป็นกลิ่นดอกไม้ที่คนไทยคุ้นเคย และนิยมชมชอบมาก ที่สุดชนิดหนึ่ง กลิ่นของดอกนมแมวที่คนไทยในอดีตคุ้นเคยและได้ สัมผัสอยู่บ่อยๆ นั้น มิได้มาจากดอกนมแมวโดยตรงเท่านั้น หากแต่ยังมาจากขนมไทยชนิดต่างๆ ที่นิยมปรุงแต่งกลิ่นดอกนมแมวเพื่อให้น่ากินยิ่งขึ้น โดยเฉพาะขนม ที่ใส่น้ำเชื่อมหรือน้ำกะทิ เช่น ขนม จำพวกลอดช่อง เป็นต้น
Cr.http://panmainaiban.blogspot.com/
มะแว้งเครือ
จัดเป็นไม้เถาขนาดเล็ก ลักษณะของลำต้นกลมเป็นเถามันสีเขียว ตามลำต้นมีหนามแหลม ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือจากสัตว์ (โดยเฉพาะนก) ที่กินผลแล้วถ่ายเมล็ดออกมา จัดเป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ต้องการน้ำและความชื้นในปริมาณปานกลาง มักขึ้นเองตามธรรมชาติในบริเวณที่ราบชายป่า ที่โล่งแจ้ง และบริเวณที่รกร้างริมทาง สามารถพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศไทย
ทั้งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นต่างก็มีสรรพคุณทางยาที่คล้ายคลึงกันมาก แต่มักจะนิยมใช้มะแว้งเครือทำเป็นยามากกว่า แม้กระทั่งผลมะแว้งที่นำมาจิ้มกับน้ำพริกกิน ก็ยังนิยมใช้ผลมะแว้งเครือเช่นกัน แต่แพทย์แผนไทยในอดีตจะนิยมใช้ทั้งมะแว้งเครือและมะแว้งต้นร่วมกัน โดยเรียกว่า “มะแว้งทั้งสอง
Cr.sites.google.com/
กำชำ
ลูกกำชำผลไม้ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Lepisanthes rubiginosa Leenh. เป็นไม้ยืนต้น ผลออกเป็นช่อ สุกสีเหมือนลูกหว้า กินได้ รสหวานปะแล่มๆ
ต้นสูงประมาณ 5-10 เมตร ใบ เป็นรูปแผ่นพับเป็นรูปไข่ ดอกไม้เล็ก ๆ สีขาว ช่อใน เบอร์รี่ผลไม้, รูปทรงอย่างไข่ไข่ให้เปิดเมื่อสุกสีม่วงเข้ม ลูกกำชำ ตอนที่สุกลูกจะมีสีดำ รสชาติหวาน
มีสรรพคุณเป็นสมุนไพร ทั้งใบ ผล ราก นำไปใช้ได้หมด เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างทำไม้ฟืนและด้ามเครื่องมือการเกษตร ใบอ่อนกินเป็นผัก
พบได้ตามที่ราบชายป่าดิบและพื้นที่โล่งแจ้ง และตามชายทุ่งทั่วไป
วิธีสังเกต ลูกหว้าจะมีผิวเรียบมันเงา ลูกกำชำจะผิวสาก มีขนนิดๆ ไม่มันเงาเหมือนลูกหว้า ผิวลำต้นมะหวดจะขรุขระ เป็นรอยแตกริ้วเป็นทางลึกกว่า
ใบมะหวดมีขน โดยมากสีเขียวแกมเหลือง ใบหว้าเรียบมัน ใบสีเขียวสด เข้มกว่ามะหวด
ขอบคุณที่มา fb. Siriwanna Jill