หุ้น IPO ปัจจุบันนี้ไม่เหมือนสมัยก่อนเสียแล้ว ยุคที่ลูกค้าต้องเที่ยวควานหาหุ้น IPO เพราะไม่ว่าจะเป็นบริษัทอะไร เข้ามาก็ได้กำไรกันเป็นกอบเป็นกำ
นอกจากนั้น ภาวะตลาดที่เปลี่ยนไปมาก คือมีการเปลี่ยนมาเล่นหุ้นขนาดใหญ่ที่พอจะมีพื้นฐานรองรับกันมากขึ้น อีกทั้งภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้กระแสของหุ้น IPO นั้น ไม่เหมือนแต่ก่อน
เดี๋ยวนี้แม้จะเป็นลูกค้ารายย่อย ก็ต้องรู้จักวิเคราะห์ พิจารณาให้รอบคอบว่าควรจะจองหรือไม่จองหุ้น IPO
เรื่องมันเกิดเป็นประเด็นขึ้นมา เพราะช่วงนี้ มีหุ้น IPO เรียงหน้าเข้าซื้อขายติดๆกันหลายตัว ตัวที่มีกำไรก็ไม่ใช่จะกำไรมาก แต่พวกที่ขาดทุนนี่มันไม่ใช่นิดๆหน่อยๆ เพราะมากกว่า 10% กันทั้งนั้น
ในช่วงระหว่างที่จอง IPO ที่ขายไม่ออก ก็ถูกส่งลงมาให้บรรดานักลงทุนแมงเม่าทั้งหลาย ชนิดที่ว่าแทบไม่เคยได้รับ IPO มาก่อน แต่ก็กลับมาได้ ทั้งๆที่จำนวนหุ้นที่จัดสรรก็ไม่ได้มากมายนัก
หลังจากถามไถ่ดูว่าเป็นบริษ่ัทอะไร ธุรกิจอะไร สรุปว่า ลูกค้าปฏิเสธที่จะจองกันเยอะ ทำให้ของเหลือบาน ขายกันไม่ออก
เรื่องราวจึงร้อนไปถึงฝ่ายวาณิชธนกิจ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการเงิน และผู้จัดจำหน่าย เพราะส่วนใหญ่การขายหุ้น IPO นั้นเป็นแบบประกันการขาย นั่นคือ ถ้าขายไม่หมด พอร์ตบริษัทต้องรับเข้าไปเอง
อยู่ๆจึงมีการเรียกประชุมมาร์เก็ตติ้งกันยกใหญ่ พร้อมกับคำสั่งจากเบื้องบนลงมาว่า "ต้องขายให้หมด" พร้อมกับคำกระแนะกระแหนที่ว่า
"ทีตอนไม่มีจะให้ล่ะอยากได้กันจัง แต่พอมีให้กลับไม่เอา"
แถมยังมีการขู่มาร์เก็ตติ้งด้วยว่า "ถ้าลูกค้าคนไหนไม่จองหุ้น (ที่ขายไม่หมด) ตัวนี้ ต่อไปอย่าหวังว่าจะได้หุ้น IPO"
เวรกรรมจึงตกลงมาถึงบรรดามาร์เก็ตติ้งโดยเฉพาะโบรกที่เป็นแกนหลัก เพราะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
รู้ทั้งรู้ว่าหุ้นไม่ดี มันแพง แต่ข้างบนก็บีบมาให้ขายให้ได้ ครั้นจะเอาไปให้ลูกค้าก็กลัวลูกค้าขาดทุน และอาจทำให้เสียลูกค้าไปเลยก็เป็นได้
ทำได้ดีที่สุดก็คือ พูดกลางๆ ไม่เชียร์ เกิดลูกค้าจองไปแล้วขาดทุนจะได้ด่ามาร์เก็ตติ้งไม่ได้
แต่ที่เลวร้ายก็คือ บางทีลูกค้าต้องยอมจองหุ้น IPO ที่คิดอยู่แล้วว่า "ไม่ดี" เพียงเพราะต้องการช่วยมาร์เก็ตติ้ง
คำถามจึงเกิดขึ้นว่า "ใครผิด" ในเรื่องราวทั้งหมดนี้
บริษัทในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาการเงินอ้างว่า ลูกค้าจะเลือกแต่ตัวที่ดีๆไม่ได้ ตัวไหนไม่ดี ก็ต้องมีปนกันไปบ้าง ถ้าจะจองต้องจองทั้งตัวที่ดี และตัวที่ไม่ดี
มีนักลงทุนรายใหญ่มากคนหนึ่ง เคยพูดว่า เวลามีหุ้น IPO ที่โบรกจัดสรรมาให้ ถึงรู้ว่ามันไม่ค่อยดี มีโอกาสที่จองแล้วจะขาดทุน ก็ต้องยอมจอง เพราะตัวที่ดีมันก็มี ก็ถือว่าช่วยๆกันไป กลบๆกันไป
แต่คำพูดแบบนี้ ใช้กับนักลงทุน "รายย่อย" ไม่ได้
เพราะนักลงทุนรายย่อย แทบไม่เคยมีโอกาสได้หุ้น IPO ที่มันดีๆเลย ทำนองที่ว่า หุ้นดีบริษัทก็เอาไปให้นักลงทุนพอร์ตโตๆ หรือพวกที่เปิด private fund กับบริษัท รายย่อยแทบไม่เคยได้
ที่เหลือลงมาให้รายย่อย ก็มีแต่ "IPO ขยะๆ" ที่แม้แต่ตัวบริษัทเองยังไม่อยากรับเข้าพอร์ตเลย
ดังนัน จะมาคิดทวงบุญคุณกันแบบนี้กับนักลงทุนรายย่อย มันไม่ "ทุเรศ" เกินไปหน่อยหรือ?
เพราะถ้าคุณให้ตัวที่กำไรมาบ้าง เราก็คงพอคิดจะช่วยเหลือกันได้ (ทั้งๆที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น)
แต่นี่ เราแทบไม่เคยได้เลยไง
คือในสายตาของฝ่ายวาณิชธนกิจของโบรกที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการเงิน คุณคิดว่า พอร์ตเล็กๆน้อยๆของนักลงทุนรายย่อยที่เป็นลูกค้าของคุณ เป็นเหมือน ถังขยะ ที่จะเอาของเหลือเดนจากที่ไหนมาปล่อยให้ก็ได้เช่นนั้นหรือ
นี่หรือ คือ ความคิดที่บริษัทมีต่อลูกค้าผู้ซึ่งอย่างน้อยก็สร้างรายได้ให้กับพวกเขา
งั้นผมขอย้อนถามกลับไปหน่อยว่า
1. ถ้ารู้ว่าบริษัทนี้มันไม่ดี คุณจะรับทำ IPO ตั้งแต่ต้นทำไม ไม่ใช่เพราะความหิวกระหายในค่าตอบแทนหรอกหรือ ที่ยอมให้คุณเอาของเน่ามาแต่งตัว ปัดฝุ่นให้มองไม่เห็นความเน่าเฟะข้างใน แล้วเอามาขายให้ลูกค้า
ถ้าความเลวร้ายมันเกิดเพราะตัวบริษัทในภายหลัง ก็อภัยกันได้ แต่หลายครั้งพวกคุณรู้อยู่แก่ใจ ว่าของมันไม่ดี แต่คุณก็ยังรับดีล
2. ราคาที่คุณตั้งแทบหาความสมเหตุสมผลไม่เจอ แต่คุณก็อ้างความสมเหตุสมผลจากสมมติฐานที่คุณวาดขึ้นมาเองอย่างสวยหรูเกินเหตุ เพื่อให้สามารถตั้งราคาสูงได้
ลูกค้าก็ไม่ได้โง่กันแล้ว ถ้าของมันแพง เขาก็ย่อมไม่อยากได้ พอบ่นว่าแพง ก็บอกว่ามันมี growth
อ้าว แต่ราคาที่ขาย มันก็รวมไอ้พวก growth ที่ว่าไปหมดแล้วตั้งแต่วันนี้ไม่ใช่หรือ
เท่ากับว่า เราต้องจ่ายเงินเท่านี้เพื่อซื้อหุ้นตั้งแต่วันนี้ เพื่อรอให้อีก 2 - 3 ปีข้างหน้า ถ้ามันเป็นไปอย่างที่คุณประเมินไว้ มันก็จะเป็นราคานี้แหล่ะ
ก็ไม่รู้คุณกับผมเรียนตำราเดียวกันมาหรือเปล่า เอาของในอนาคตมาขาย มันต้อง discount หรือให้ส่วนลดนี่นา แต่นี่ซื้อวันนี้กลับบวกเพิ่มเว้ยเฮ้ย
3. ลูกค้าของที่มีบัญชีหุ้น ก็ถือเป็นลูกค้าของบริษัทของคุณ แต่ทำไมฝ่ายวาณิชธนกิจถึงมองแต่ประโยชน์ที่ฝ่ายตนเองจะได้รับ คือพยายามตอบสนองความต้องการของบริษัทที่ต้องการ IPO แต่ฝ่ายเดียว
นั่นคงเป็นเพราะนั่นเป็นลูกค้าโดยตรงของคุณ รายได้เข้าฝ่ายของคุณ คุณจึงให้ความสำคัญแต่กับสิ่งที่จะสร้างรายได้ให้คุณ เพราะลูกค้าพอร์ตหุ้น ถ้าเทรด ถ้ารวยแล้วเทรดเยอะ ก็เป็นรายได้ฝ่ายอื่น ไม่ใช่ฝ่ายของคุณ
การมองแบบนี้ เป็นการมองแบบ "เห็นแก่ตัว" เพราะคุณมองแต่รายได้ของแผนก ไม่ได้มองบูรณาการเป็นองค์รวมถึงทั้งองค์กรว่า การที่คุณจะทำดีลดีลหนึ่ง คุณต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง "ทั้งหมด" ได้ประโยชน์ร่วมกัน
ไม่ใช่ให้ฝ่ายหนึ่งมีความสุข บน "ความเจ็บปวด" ของอีกฝ่ายหนึ่ง จำไว้นะครับว่า ลูกค้ารายย่อย ไม่ได้อยู่ในฐานะที่ต้องมาแชร์การขาดทุน ในเมื่อคุณแทบไม่เคยแชร์กำไรให้เขาเลย เครดิต : Wattana Stock Page
https://www.facebook.com/wattana.stock.page/posts/1168035353391245?__tn__=K-R
IPO - ความผิดอยู่ที่ใคร แต่ที่แน่ๆ ต้องไม่ใช่ลูกค้า
นอกจากนั้น ภาวะตลาดที่เปลี่ยนไปมาก คือมีการเปลี่ยนมาเล่นหุ้นขนาดใหญ่ที่พอจะมีพื้นฐานรองรับกันมากขึ้น อีกทั้งภาวะตลาดที่ไม่เอื้ออำนวย ทำให้กระแสของหุ้น IPO นั้น ไม่เหมือนแต่ก่อน
เดี๋ยวนี้แม้จะเป็นลูกค้ารายย่อย ก็ต้องรู้จักวิเคราะห์ พิจารณาให้รอบคอบว่าควรจะจองหรือไม่จองหุ้น IPO
เรื่องมันเกิดเป็นประเด็นขึ้นมา เพราะช่วงนี้ มีหุ้น IPO เรียงหน้าเข้าซื้อขายติดๆกันหลายตัว ตัวที่มีกำไรก็ไม่ใช่จะกำไรมาก แต่พวกที่ขาดทุนนี่มันไม่ใช่นิดๆหน่อยๆ เพราะมากกว่า 10% กันทั้งนั้น
ในช่วงระหว่างที่จอง IPO ที่ขายไม่ออก ก็ถูกส่งลงมาให้บรรดานักลงทุนแมงเม่าทั้งหลาย ชนิดที่ว่าแทบไม่เคยได้รับ IPO มาก่อน แต่ก็กลับมาได้ ทั้งๆที่จำนวนหุ้นที่จัดสรรก็ไม่ได้มากมายนัก
หลังจากถามไถ่ดูว่าเป็นบริษ่ัทอะไร ธุรกิจอะไร สรุปว่า ลูกค้าปฏิเสธที่จะจองกันเยอะ ทำให้ของเหลือบาน ขายกันไม่ออก
เรื่องราวจึงร้อนไปถึงฝ่ายวาณิชธนกิจ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการเงิน และผู้จัดจำหน่าย เพราะส่วนใหญ่การขายหุ้น IPO นั้นเป็นแบบประกันการขาย นั่นคือ ถ้าขายไม่หมด พอร์ตบริษัทต้องรับเข้าไปเอง
อยู่ๆจึงมีการเรียกประชุมมาร์เก็ตติ้งกันยกใหญ่ พร้อมกับคำสั่งจากเบื้องบนลงมาว่า "ต้องขายให้หมด" พร้อมกับคำกระแนะกระแหนที่ว่า
"ทีตอนไม่มีจะให้ล่ะอยากได้กันจัง แต่พอมีให้กลับไม่เอา"
แถมยังมีการขู่มาร์เก็ตติ้งด้วยว่า "ถ้าลูกค้าคนไหนไม่จองหุ้น (ที่ขายไม่หมด) ตัวนี้ ต่อไปอย่าหวังว่าจะได้หุ้น IPO"
เวรกรรมจึงตกลงมาถึงบรรดามาร์เก็ตติ้งโดยเฉพาะโบรกที่เป็นแกนหลัก เพราะอยู่ในภาวะที่เรียกว่า กลืนไม่เข้าคายไม่ออก
รู้ทั้งรู้ว่าหุ้นไม่ดี มันแพง แต่ข้างบนก็บีบมาให้ขายให้ได้ ครั้นจะเอาไปให้ลูกค้าก็กลัวลูกค้าขาดทุน และอาจทำให้เสียลูกค้าไปเลยก็เป็นได้
ทำได้ดีที่สุดก็คือ พูดกลางๆ ไม่เชียร์ เกิดลูกค้าจองไปแล้วขาดทุนจะได้ด่ามาร์เก็ตติ้งไม่ได้
แต่ที่เลวร้ายก็คือ บางทีลูกค้าต้องยอมจองหุ้น IPO ที่คิดอยู่แล้วว่า "ไม่ดี" เพียงเพราะต้องการช่วยมาร์เก็ตติ้ง
คำถามจึงเกิดขึ้นว่า "ใครผิด" ในเรื่องราวทั้งหมดนี้
บริษัทในฐานะที่เป็นที่ปรึกษาการเงินอ้างว่า ลูกค้าจะเลือกแต่ตัวที่ดีๆไม่ได้ ตัวไหนไม่ดี ก็ต้องมีปนกันไปบ้าง ถ้าจะจองต้องจองทั้งตัวที่ดี และตัวที่ไม่ดี
มีนักลงทุนรายใหญ่มากคนหนึ่ง เคยพูดว่า เวลามีหุ้น IPO ที่โบรกจัดสรรมาให้ ถึงรู้ว่ามันไม่ค่อยดี มีโอกาสที่จองแล้วจะขาดทุน ก็ต้องยอมจอง เพราะตัวที่ดีมันก็มี ก็ถือว่าช่วยๆกันไป กลบๆกันไป
แต่คำพูดแบบนี้ ใช้กับนักลงทุน "รายย่อย" ไม่ได้
เพราะนักลงทุนรายย่อย แทบไม่เคยมีโอกาสได้หุ้น IPO ที่มันดีๆเลย ทำนองที่ว่า หุ้นดีบริษัทก็เอาไปให้นักลงทุนพอร์ตโตๆ หรือพวกที่เปิด private fund กับบริษัท รายย่อยแทบไม่เคยได้
ที่เหลือลงมาให้รายย่อย ก็มีแต่ "IPO ขยะๆ" ที่แม้แต่ตัวบริษัทเองยังไม่อยากรับเข้าพอร์ตเลย
ดังนัน จะมาคิดทวงบุญคุณกันแบบนี้กับนักลงทุนรายย่อย มันไม่ "ทุเรศ" เกินไปหน่อยหรือ?
เพราะถ้าคุณให้ตัวที่กำไรมาบ้าง เราก็คงพอคิดจะช่วยเหลือกันได้ (ทั้งๆที่จริงแล้วไม่จำเป็นต้องทำเช่นนั้น)
แต่นี่ เราแทบไม่เคยได้เลยไง
คือในสายตาของฝ่ายวาณิชธนกิจของโบรกที่ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาการเงิน คุณคิดว่า พอร์ตเล็กๆน้อยๆของนักลงทุนรายย่อยที่เป็นลูกค้าของคุณ เป็นเหมือน ถังขยะ ที่จะเอาของเหลือเดนจากที่ไหนมาปล่อยให้ก็ได้เช่นนั้นหรือ
นี่หรือ คือ ความคิดที่บริษัทมีต่อลูกค้าผู้ซึ่งอย่างน้อยก็สร้างรายได้ให้กับพวกเขา
งั้นผมขอย้อนถามกลับไปหน่อยว่า
1. ถ้ารู้ว่าบริษัทนี้มันไม่ดี คุณจะรับทำ IPO ตั้งแต่ต้นทำไม ไม่ใช่เพราะความหิวกระหายในค่าตอบแทนหรอกหรือ ที่ยอมให้คุณเอาของเน่ามาแต่งตัว ปัดฝุ่นให้มองไม่เห็นความเน่าเฟะข้างใน แล้วเอามาขายให้ลูกค้า
ถ้าความเลวร้ายมันเกิดเพราะตัวบริษัทในภายหลัง ก็อภัยกันได้ แต่หลายครั้งพวกคุณรู้อยู่แก่ใจ ว่าของมันไม่ดี แต่คุณก็ยังรับดีล
2. ราคาที่คุณตั้งแทบหาความสมเหตุสมผลไม่เจอ แต่คุณก็อ้างความสมเหตุสมผลจากสมมติฐานที่คุณวาดขึ้นมาเองอย่างสวยหรูเกินเหตุ เพื่อให้สามารถตั้งราคาสูงได้
ลูกค้าก็ไม่ได้โง่กันแล้ว ถ้าของมันแพง เขาก็ย่อมไม่อยากได้ พอบ่นว่าแพง ก็บอกว่ามันมี growth
อ้าว แต่ราคาที่ขาย มันก็รวมไอ้พวก growth ที่ว่าไปหมดแล้วตั้งแต่วันนี้ไม่ใช่หรือ
เท่ากับว่า เราต้องจ่ายเงินเท่านี้เพื่อซื้อหุ้นตั้งแต่วันนี้ เพื่อรอให้อีก 2 - 3 ปีข้างหน้า ถ้ามันเป็นไปอย่างที่คุณประเมินไว้ มันก็จะเป็นราคานี้แหล่ะ
ก็ไม่รู้คุณกับผมเรียนตำราเดียวกันมาหรือเปล่า เอาของในอนาคตมาขาย มันต้อง discount หรือให้ส่วนลดนี่นา แต่นี่ซื้อวันนี้กลับบวกเพิ่มเว้ยเฮ้ย
3. ลูกค้าของที่มีบัญชีหุ้น ก็ถือเป็นลูกค้าของบริษัทของคุณ แต่ทำไมฝ่ายวาณิชธนกิจถึงมองแต่ประโยชน์ที่ฝ่ายตนเองจะได้รับ คือพยายามตอบสนองความต้องการของบริษัทที่ต้องการ IPO แต่ฝ่ายเดียว
นั่นคงเป็นเพราะนั่นเป็นลูกค้าโดยตรงของคุณ รายได้เข้าฝ่ายของคุณ คุณจึงให้ความสำคัญแต่กับสิ่งที่จะสร้างรายได้ให้คุณ เพราะลูกค้าพอร์ตหุ้น ถ้าเทรด ถ้ารวยแล้วเทรดเยอะ ก็เป็นรายได้ฝ่ายอื่น ไม่ใช่ฝ่ายของคุณ
การมองแบบนี้ เป็นการมองแบบ "เห็นแก่ตัว" เพราะคุณมองแต่รายได้ของแผนก ไม่ได้มองบูรณาการเป็นองค์รวมถึงทั้งองค์กรว่า การที่คุณจะทำดีลดีลหนึ่ง คุณต้องให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง "ทั้งหมด" ได้ประโยชน์ร่วมกัน
ไม่ใช่ให้ฝ่ายหนึ่งมีความสุข บน "ความเจ็บปวด" ของอีกฝ่ายหนึ่ง จำไว้นะครับว่า ลูกค้ารายย่อย ไม่ได้อยู่ในฐานะที่ต้องมาแชร์การขาดทุน ในเมื่อคุณแทบไม่เคยแชร์กำไรให้เขาเลย เครดิต : Wattana Stock Page https://www.facebook.com/wattana.stock.page/posts/1168035353391245?__tn__=K-R