หยาดน้ำค้าง
หยาดน้ำค้าง จอกบ่วาย หรือกระดุมทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Drosera burmannii Vahl. จัดอยู่ในวงศ์ Droseraceae ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกกินแมลงขนาดเล็ก อายุ 1 ปี ลำต้นสั้นติดกับดิน สูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมนรี มีขนสีแดงปกคลุม ปลายขนมีน้ำหวานเหนียวเพื่อดักจับแมลง เมื่อมีแมลงมาติด จะมีสารพวกน้ำย่อยมาย่อยแมลงนำไปเลี้ยงลำต้นได้ มีก้านใบสั้น
ส่วนดอกออกเป็นช่อกลางลำต้น มีสีม่วง สีชมพู หรือสีขาว มีขนรอบกลีบรองดอก ผลเป็นทรงแคปซูล ขนาดเล็ก มีเมล็ดสีดำข้างใน ชอบดินและอากาศที่ชื้นแฉะ มักพบตามพื้นที่โล่ง ภูเขาหินทราย ทุ่งหญ้า และใกล้ลำธาร จะออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม
เป็นสมุนไพรต้น รสขม ชาวจีนใช้ทำยาแก้บิด แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แก้ไข้มาลาเรีย หรือใช้ทาถูนวดภายนอก หยดน้ำเหนียวใสที่ปลายขนบนใบมีไว้เพื่อดักแมลง เมื่อแมลงมาติดขนจะขดม้วนลงเพื่อกดแมลงไว้แล้วปล่อยน้ำย่อยออกมา
ซาราซีเนีย
ซาราซีเนีย (Sarracenia) เป็นพืชที่ได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งต้นไม้กินแมลง" เพราะทั้งสวยงามและดักแมลงดีมาก จัดอยู่ในวงศ์ Sarraceniacese เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นสูงไม่เกิน 1 เมตร ใบตั้งตรง ห่อเป็นรูปกรวยคล้ายฝา ปลายใบบานออก ด้านในมีน้ำหวานล่อแมลง มีขนและขี้ผึ้งเป็นกับดัก และส่วนย่อยแมลงไว้ดูดสารอาหารไปเลี้ยงลำต้น ส่วนดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาวสูง ผลรีคล้ายแคปซูล มีเมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน มักพบบริเวณที่ชื้นชุ่มน้ำ นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและแยกกอ ชอบดินผสมทรายและสแฟกนัมมอส เหมาะปลูกในที่ที่มีแสงแดดจัดปานกลางและมีความชุ่มชื้น
Sarracenia เป็นพืชกินแมลงที่ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษ ศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวแคนาดา Mr.Michel Sarrazin เมื่อต้นศตวรรษที่18 ซาราซีเนียมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ พบมากบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงภาคเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และบางส่วนทางตอนใต้ของประเทศแคนาดา ส่วนใหญ่เจริญเติบโตอยู่ในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำที่มีสภาพดินเป็นกรดอ่อนๆ และความสมบูรณ์ต่ำ
ความสามารถในการจับแมลงของซาราซีเนียจัดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในบรรดาไม้กินแมลงทุกชนิด สิ่งที่มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งคือภายในกรวยซาราซีเนียจะสร้างสารเคมีชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์คล้ายยาเสพติดชื่อ “โคนิอีน (Coniine)” เมื่อแมลงสูดหายใจเข้าไป จะทำให้มันสลบเหมือนกับอัพยาจนเมามายร่วงลงไปในส่วนล่างสุดที่มีน้ำย่อยเข้มข้นรออยู่ แมลงจะตายและถูกย่อยอย่างไม่เจ็บปวดทรมาน
Cr.ข้อมูล sarracenia6-2.blogspot.com
พิงกุย
(Cr.ภาพ Come on Green)
พิงกุย (Pinguicula) หรือบัตเตอร์เวิร์ต (Butterwort) เป็นต้นไม้กินแมลงที่จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae สกุล Pinguicula เรียกสั้นๆว่า พิงกี้ เป็นไม้กินแมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามของใบที่ซ้อนกันคล้ายกับว่ามีดอกกุหลาบสีเขียว
เป็นไม้ล้มลุก อวบน้ำ ขนาดเล็ก ใบเรียงสลับรอบโคนต้น บ้างเป็นสีเขียวอ่อน บ้างเป็นสีแดง ขอบใบเรียบ ผิวใบมีเมือกลื่น ๆ เหนียว ๆ ไว้ดักจับแมลง ใบของพิงกุยจะมีขนเล็กๆที่มีสารเหนียวจำนวนมาก เมื่อแมลงโชคร้ายเกาะลงบนใบ ก็จะไม่สามารถหลุดออกไปได้ จนต้องถูกย่อยสลายเป็นสารอาหารของต้นพิงกุยในที่สุด
ส่วนดอกเป็นทรงกระบอก มีทั้งสีขาว สีเหลือง สีฟ้า สีม่วง และสีชมพู ก้านดอกชูช่อยาว ผลเป็นทรงแคปซูลและมีเมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน ส่วนมากนิยมปลูกประดับบ้านและปลูกไล่ศัตรูพืช มักขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ และสามารถแตกต้นอ่อนที่ปลายใบเพื่อเจริญเป็นต้นใหม่ได้
สร้อยสุวรรณา
สร้อยสุวรรณา (Yellow Flower) ชื่ออื่นๆ เหลืองพิศมร (กรุงเทพฯ), หญ้าสีทอง (เลย), สาหร่ายดอกเหลือง (ภาคกลาง) เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานชื่อไว้
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Utricularia bifida L. อยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae ลำต้นอยู่ใต้ดิน ไม่มีใบหรือรากจริง เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็ก เรียงรอบโคนต้น ขอบเรียบ ผิวเกลี้ยง มีถุงดักจับทรงกลม ขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อ สีเหลือง รูปปากเปิด ส่วนผลเป็นรูปไข่และมีเมล็ดข้างในจำนวนมาก นิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ด ชอบความชื้นมากและแสงแดดตลอดวัน ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่ดินชื้นแฉะ มีน้ำขัง และตามท้องนา ออกดอกและติดผลราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
สร้อยสุวรรณาทั้งต้นมีสรรพคุณ ตำรายาไทย ทั้งต้น แก้ไข้ แก้บวม แก้ผดผื่นคัน แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ทั้งต้น ต้มแล้วคั้นดื่มเพื่อบำรุงเลือด
ทิพเกสร
ทิพเกสร หรือ หญ้าฝอยเล็ก เป็นดอกไม้กินแมลงที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานชื่อไว้ โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Utricularia minutissima Vahl, Enum. จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae พบตั้งแต่อินเดีย ถึงญี่ปุ่น และออสเตรเลียในไทยพบทั่วทุกภาค
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี ลำต้นมีขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปแถบ ผิวเกลี้ยง ขอบเรียบ ออกใกล้พื้นดิน และจะเปลี่ยนเป็นถุงดักจับรูปไข่ ขนาดเล็ก เมื่อต้องการจับแมลง มีดอกออกสีขาวอมม่วงอ่อน รูปปากเปิด ช่อดอกตั้งตรง ส่วนผลเป็นรูปเบี้ยวและเมล็ดเป็นรูปไข่กลับ มักขึ้นตามพื้นที่โล่งและเปียกชื้น ชอบดินชื้นแฉะ อากาศเย็น ต้องการน้ำมาก และแสงแดดจัดเต็มวัน ออกดอกช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม
ดุสิตา
ดุสิตา (Utricularia delphinioides Thorel ex Pellegr.) วงศ์ Lentibulariaceae ดอกสีม่วง บริเวณผาชะนะได อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีดอกดุสิตาบานมากช่วงปลายฝนต้นหนาว
หลายคนรู้จักในชื่อดอกขมิ้นหรือหญ้าข้าวก่ำน้อย เป็นต้นไม้กินแมลงอีกหนึ่งชนิดที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานนามให้ โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Utricularia delphinioides Thorel ex Pellegr. จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 25 เซนติเมตร อายุ 1 ปี ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก คล้ายใบหญ้า เมื่อโตจะม้วนกลมเพื่อดักจับแมลง มีถุงดักจับที่โคนต้น รูปไข่ขวาง ขนาดเล็ก ส่วนดอกออกสีม่วง มีกลิ่นหอม แทงขึ้นจากโคนต้น มักขึ้นช่วงปลายฝนต้นหนาว มีผลคล้ายแคปซูลและเมล็ดรูปไข่สีดำอมน้ำตาล นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและแยกกอ ชอบดินร่วนปนทราย ชอบความชื้น อากาศเย็น และแสงแดดเต็มวัน มักขึ้นตามดินที่เปียกแฉะ ใกล้หนองน้ำ และตามลานหินที่มีน้ำขัง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Monkey Cups) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nepenthes Mirabilis จัดอยู่ในวงศ์ Nepenthaceae
เป็นไม้เลื้อย ใบเลี้ยงคู่ มีหม้อเป็นกระเปาะห้อยอยู่ปลายใบ มีต่อมน้ำหวานล่อเหยื่อที่ปากและฝา ในกระเปาะมีขี้ผึ้งและต่อมเล็ก ๆ ผลิตน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ไว้ย่อยซากเหยื่อก่อนดูดซึมสารอาหาร ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง แต่ละต้นแยกเพศกัน ส่วนใหญ่จะออกเมื่อโตเต็มวัย ผลเป็นทรงรี มีเมล็ดคล้ายเส้นด้ายจำนวนมาก นอกจากนั้นยังหลอกล่อเหยื่อด้วยการเลียนแบบกลิ่นหอมหวานของน้ำหวาน เลียนแบบกลิ่นแมลงตัวเมีย หรือบางครั้งก็เพิ่มสีสันให้กับตัวมันเองเพื่อทำให้สะดุดตามากยิ่งขึ้น
สามารถพบได้ทั่วไป เช่น ทุ่งหญ้า หุบเขา ป่า ทุ่งนา และภูเขา ในประเทศไทยเราสามารถพบได้มากในอุทยานแห่งชาติ เช่น ภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง มักจะจะออกดอกระหว่างเดือนพฤศภาคม – สิงหาคม
กาบหอยแครง
กาบหอยแครง (Venus Flytraps) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dionaea Muscipula จัดอยู่ในวงศ์ Droseraceae
เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นเป็นกาบอยู่เหนือดิน ปลายกาบมีซี่แบบฟันปลาประมาณ 15-20 ซี่ แต่ละซี่ผลิตน้ำหวานไว้ดักจับแมลง สีสันหลากหลาย มีขนด้านใน และตัวกาบจะตายเมื่อจับเหยื่อได้ 7-10 ครั้ง ส่วนใบมีลักษณะคล้ายหัวใจ ดอกออกสีขาว แดง และแสด ก้านดอกยาว ส่วนมากบานเพียงดอกเดียว ผลเป็นฝัก มีเมล็ดข้างใน ชอบอากาศอบอุ่นแสงแดดปานกลาง
ด้วยใบพิเศษที่วิวัฒนาการมาจนเป็นกับดักคล้ายบานพับแบ่งออกเป็น 2 กลีบ อยู่ที่ปลายใบของแต่ละใบ มีขนยาวเรียกว่า Cilia ทำหน้าที่เป็นกรงขัง และมีขนกระตุ้น (Trigger Hair) จำนวน 5-6 เส้นที่ผิวด้านในกับดัก เพื่อใช้รับสัมผัสจากเหยื่อ เมื่อแมลงมาสัมผัสขนจะดิ้น เกิดการกระตุ้นตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป ทันใดกับดักจะงับเข้าหากัน การทำงานของขนกระตุ้นแบบก็เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานไปกับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร เช่นหยดน้ำฝน
ต้นกาบหอยแครงจะเลือกเกิดและเติบโตในดินแดนที่ขาดสารอาหารจากดินโดยเฉพาะไนโตรเจน เช่น แถบหนองน้ำ หรือทุ่งหญ้าสะวันนาที่เปียกชื้น ทำให้พืชคู่แข่งอยู่ไม่ได้ แต่ตัวมันวิวัฒนาการมาใชไนโตรเจนจากร่างกายแมลงที่จับได้สำหรับสร้างโปรตีนซึ่งหาไม่ได้ในดิน
ลิลลี่งูเห่า
ลิลลี่งูเห่า ดาร์ลิงโทเนีย (Darlingtonia) Cobra Lilly Family: Sarraceniaceae Genus: Darlingtonia ชื่อทั่วไปที่คนเรียกกันว่า ลิลลี่งูเห่า(Cobra Lilly )
ลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงกลุ่มเดียวกับซาราซีเนียและ Heliamphora มีชื่อเสียงในแง่ของความแปลกประหลาด น่าพิศวงและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีชื่อด้านตรงข้ามในแง่ของความบอบบางจนกล่าวกันว่าลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงที่เลี้ยงยากที่สุดในโลก
แม้แต่ในถิ่นที่ลิลลี่งูเห่ากำเนิดเป็นดงใหญ่ ชาวบ้านในละแวกนั้น ขุดมาใส่กระถางก็ยังตาย จนถือกันเป็นมาตรฐานในกลุ่มผู้รักพืชกินแมลงว่าใครที่เลี้ยงลิลลี่งูเห่าสำเร็จ แข็งแรง งดงามดีจะได้รับการยกย่องว่าเป็นเซียน เพราะมีคนไม่กี่คนในโลกนี้ ที่สามารถเลี้ยงลิลลี่งูเห่าไว้ในกระถางได้
ขอบคุณข้อมูล
Cr.
https://home.kapook.com/view211846.html
สายพันธ์พืชไม้กินแมลงที่สวยงาม
หยาดน้ำค้าง จอกบ่วาย หรือกระดุมทอง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Drosera burmannii Vahl. จัดอยู่ในวงศ์ Droseraceae ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกกินแมลงขนาดเล็ก อายุ 1 ปี ลำต้นสั้นติดกับดิน สูงประมาณ 2-3 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว รูปมนรี มีขนสีแดงปกคลุม ปลายขนมีน้ำหวานเหนียวเพื่อดักจับแมลง เมื่อมีแมลงมาติด จะมีสารพวกน้ำย่อยมาย่อยแมลงนำไปเลี้ยงลำต้นได้ มีก้านใบสั้น
ส่วนดอกออกเป็นช่อกลางลำต้น มีสีม่วง สีชมพู หรือสีขาว มีขนรอบกลีบรองดอก ผลเป็นทรงแคปซูล ขนาดเล็ก มีเมล็ดสีดำข้างใน ชอบดินและอากาศที่ชื้นแฉะ มักพบตามพื้นที่โล่ง ภูเขาหินทราย ทุ่งหญ้า และใกล้ลำธาร จะออกดอกช่วงเดือนตุลาคม ถึงธันวาคม
เป็นสมุนไพรต้น รสขม ชาวจีนใช้ทำยาแก้บิด แก้ต่อมน้ำเหลืองอักเสบ แก้ไข้มาลาเรีย หรือใช้ทาถูนวดภายนอก หยดน้ำเหนียวใสที่ปลายขนบนใบมีไว้เพื่อดักแมลง เมื่อแมลงมาติดขนจะขดม้วนลงเพื่อกดแมลงไว้แล้วปล่อยน้ำย่อยออกมา
ซาราซีเนีย
ซาราซีเนีย (Sarracenia) เป็นพืชที่ได้รับฉายาว่า "ราชินีแห่งต้นไม้กินแมลง" เพราะทั้งสวยงามและดักแมลงดีมาก จัดอยู่ในวงศ์ Sarraceniacese เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี เหง้าอยู่ใต้ดิน ลำต้นสูงไม่เกิน 1 เมตร ใบตั้งตรง ห่อเป็นรูปกรวยคล้ายฝา ปลายใบบานออก ด้านในมีน้ำหวานล่อแมลง มีขนและขี้ผึ้งเป็นกับดัก และส่วนย่อยแมลงไว้ดูดสารอาหารไปเลี้ยงลำต้น ส่วนดอกเป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาวสูง ผลรีคล้ายแคปซูล มีเมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน มักพบบริเวณที่ชื้นชุ่มน้ำ นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและแยกกอ ชอบดินผสมทรายและสแฟกนัมมอส เหมาะปลูกในที่ที่มีแสงแดดจัดปานกลางและมีความชุ่มชื้น
Sarracenia เป็นพืชกินแมลงที่ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักพฤกษ ศาสตร์และศัลยแพทย์ชาวแคนาดา Mr.Michel Sarrazin เมื่อต้นศตวรรษที่18 ซาราซีเนียมีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ พบมากบริเวณตะวันออกเฉียงใต้ไปจนถึงภาคเหนือของประเทศสหรัฐอเมริกา และบางส่วนทางตอนใต้ของประเทศแคนาดา ส่วนใหญ่เจริญเติบโตอยู่ในพื้นที่ป่าชุ่มน้ำที่มีสภาพดินเป็นกรดอ่อนๆ และความสมบูรณ์ต่ำ
ความสามารถในการจับแมลงของซาราซีเนียจัดเป็นอันดับหนึ่งของโลก ในบรรดาไม้กินแมลงทุกชนิด สิ่งที่มหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่งคือภายในกรวยซาราซีเนียจะสร้างสารเคมีชนิดหนึ่ง มีฤทธิ์คล้ายยาเสพติดชื่อ “โคนิอีน (Coniine)” เมื่อแมลงสูดหายใจเข้าไป จะทำให้มันสลบเหมือนกับอัพยาจนเมามายร่วงลงไปในส่วนล่างสุดที่มีน้ำย่อยเข้มข้นรออยู่ แมลงจะตายและถูกย่อยอย่างไม่เจ็บปวดทรมาน
Cr.ข้อมูล sarracenia6-2.blogspot.com
พิงกุย
(Cr.ภาพ Come on Green)
พิงกุย (Pinguicula) หรือบัตเตอร์เวิร์ต (Butterwort) เป็นต้นไม้กินแมลงที่จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae สกุล Pinguicula เรียกสั้นๆว่า พิงกี้ เป็นไม้กินแมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีความสวยงามของใบที่ซ้อนกันคล้ายกับว่ามีดอกกุหลาบสีเขียว
เป็นไม้ล้มลุก อวบน้ำ ขนาดเล็ก ใบเรียงสลับรอบโคนต้น บ้างเป็นสีเขียวอ่อน บ้างเป็นสีแดง ขอบใบเรียบ ผิวใบมีเมือกลื่น ๆ เหนียว ๆ ไว้ดักจับแมลง ใบของพิงกุยจะมีขนเล็กๆที่มีสารเหนียวจำนวนมาก เมื่อแมลงโชคร้ายเกาะลงบนใบ ก็จะไม่สามารถหลุดออกไปได้ จนต้องถูกย่อยสลายเป็นสารอาหารของต้นพิงกุยในที่สุด
ส่วนดอกเป็นทรงกระบอก มีทั้งสีขาว สีเหลือง สีฟ้า สีม่วง และสีชมพู ก้านดอกชูช่อยาว ผลเป็นทรงแคปซูลและมีเมล็ดเล็ก ๆ ข้างใน ส่วนมากนิยมปลูกประดับบ้านและปลูกไล่ศัตรูพืช มักขยายพันธุ์ด้วยการปักชำ และสามารถแตกต้นอ่อนที่ปลายใบเพื่อเจริญเป็นต้นใหม่ได้
สร้อยสุวรรณา
สร้อยสุวรรณา (Yellow Flower) ชื่ออื่นๆ เหลืองพิศมร (กรุงเทพฯ), หญ้าสีทอง (เลย), สาหร่ายดอกเหลือง (ภาคกลาง) เป็นดอกไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานชื่อไว้
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Utricularia bifida L. อยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae ลำต้นอยู่ใต้ดิน ไม่มีใบหรือรากจริง เป็นไม้ล้มลุก ขึ้นเป็นกอ สูงประมาณ 10-15 เซนติเมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดเล็ก เรียงรอบโคนต้น ขอบเรียบ ผิวเกลี้ยง มีถุงดักจับทรงกลม ขนาดเล็ก ดอกออกเป็นช่อ สีเหลือง รูปปากเปิด ส่วนผลเป็นรูปไข่และมีเมล็ดข้างในจำนวนมาก นิยมปลูกด้วยการเพาะเมล็ด ชอบความชื้นมากและแสงแดดตลอดวัน ส่วนใหญ่พบในบริเวณที่ดินชื้นแฉะ มีน้ำขัง และตามท้องนา ออกดอกและติดผลราวเดือนตุลาคมถึงธันวาคม
สร้อยสุวรรณาทั้งต้นมีสรรพคุณ ตำรายาไทย ทั้งต้น แก้ไข้ แก้บวม แก้ผดผื่นคัน แก้โรคทางเดินปัสสาวะ
ตำรายาพื้นบ้านอีสาน ใช้ ทั้งต้น ต้มแล้วคั้นดื่มเพื่อบำรุงเลือด
ทิพเกสร
ทิพเกสร หรือ หญ้าฝอยเล็ก เป็นดอกไม้กินแมลงที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานชื่อไว้ โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Utricularia minutissima Vahl, Enum. จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae พบตั้งแต่อินเดีย ถึงญี่ปุ่น และออสเตรเลียในไทยพบทั่วทุกภาค
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุก อายุ 1 ปี ลำต้นมีขนาดเล็กอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงสลับ รูปแถบ ผิวเกลี้ยง ขอบเรียบ ออกใกล้พื้นดิน และจะเปลี่ยนเป็นถุงดักจับรูปไข่ ขนาดเล็ก เมื่อต้องการจับแมลง มีดอกออกสีขาวอมม่วงอ่อน รูปปากเปิด ช่อดอกตั้งตรง ส่วนผลเป็นรูปเบี้ยวและเมล็ดเป็นรูปไข่กลับ มักขึ้นตามพื้นที่โล่งและเปียกชื้น ชอบดินชื้นแฉะ อากาศเย็น ต้องการน้ำมาก และแสงแดดจัดเต็มวัน ออกดอกช่วงเดือน กรกฎาคม ถึง เดือนธันวาคม
ดุสิตา
ดุสิตา (Utricularia delphinioides Thorel ex Pellegr.) วงศ์ Lentibulariaceae ดอกสีม่วง บริเวณผาชะนะได อุทยานแห่งชาติผาแต้ม เป็นอีกจุดหนึ่งที่มีดอกดุสิตาบานมากช่วงปลายฝนต้นหนาว
หลายคนรู้จักในชื่อดอกขมิ้นหรือหญ้าข้าวก่ำน้อย เป็นต้นไม้กินแมลงอีกหนึ่งชนิดที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานนามให้ โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Utricularia delphinioides Thorel ex Pellegr. จัดอยู่ในวงศ์ Lentibulariaceae
ลักษณะเป็นไม้ล้มลุกขนาดเล็ก สูงไม่เกิน 25 เซนติเมตร อายุ 1 ปี ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก คล้ายใบหญ้า เมื่อโตจะม้วนกลมเพื่อดักจับแมลง มีถุงดักจับที่โคนต้น รูปไข่ขวาง ขนาดเล็ก ส่วนดอกออกสีม่วง มีกลิ่นหอม แทงขึ้นจากโคนต้น มักขึ้นช่วงปลายฝนต้นหนาว มีผลคล้ายแคปซูลและเมล็ดรูปไข่สีดำอมน้ำตาล นิยมขยายพันธุ์ด้วยการเพาะเมล็ดและแยกกอ ชอบดินร่วนปนทราย ชอบความชื้น อากาศเย็น และแสงแดดเต็มวัน มักขึ้นตามดินที่เปียกแฉะ ใกล้หนองน้ำ และตามลานหินที่มีน้ำขัง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง
หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Monkey Cups) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nepenthes Mirabilis จัดอยู่ในวงศ์ Nepenthaceae
เป็นไม้เลื้อย ใบเลี้ยงคู่ มีหม้อเป็นกระเปาะห้อยอยู่ปลายใบ มีต่อมน้ำหวานล่อเหยื่อที่ปากและฝา ในกระเปาะมีขี้ผึ้งและต่อมเล็ก ๆ ผลิตน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรดอ่อน ๆ ไว้ย่อยซากเหยื่อก่อนดูดซึมสารอาหาร ดอกออกเป็นช่อแยกแขนง แต่ละต้นแยกเพศกัน ส่วนใหญ่จะออกเมื่อโตเต็มวัย ผลเป็นทรงรี มีเมล็ดคล้ายเส้นด้ายจำนวนมาก นอกจากนั้นยังหลอกล่อเหยื่อด้วยการเลียนแบบกลิ่นหอมหวานของน้ำหวาน เลียนแบบกลิ่นแมลงตัวเมีย หรือบางครั้งก็เพิ่มสีสันให้กับตัวมันเองเพื่อทำให้สะดุดตามากยิ่งขึ้น
สามารถพบได้ทั่วไป เช่น ทุ่งหญ้า หุบเขา ป่า ทุ่งนา และภูเขา ในประเทศไทยเราสามารถพบได้มากในอุทยานแห่งชาติ เช่น ภูกระดึง และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง มักจะจะออกดอกระหว่างเดือนพฤศภาคม – สิงหาคม
กาบหอยแครง
กาบหอยแครง (Venus Flytraps) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dionaea Muscipula จัดอยู่ในวงศ์ Droseraceae
เป็นต้นไม้ที่มีลำต้นเป็นกาบอยู่เหนือดิน ปลายกาบมีซี่แบบฟันปลาประมาณ 15-20 ซี่ แต่ละซี่ผลิตน้ำหวานไว้ดักจับแมลง สีสันหลากหลาย มีขนด้านใน และตัวกาบจะตายเมื่อจับเหยื่อได้ 7-10 ครั้ง ส่วนใบมีลักษณะคล้ายหัวใจ ดอกออกสีขาว แดง และแสด ก้านดอกยาว ส่วนมากบานเพียงดอกเดียว ผลเป็นฝัก มีเมล็ดข้างใน ชอบอากาศอบอุ่นแสงแดดปานกลาง
ด้วยใบพิเศษที่วิวัฒนาการมาจนเป็นกับดักคล้ายบานพับแบ่งออกเป็น 2 กลีบ อยู่ที่ปลายใบของแต่ละใบ มีขนยาวเรียกว่า Cilia ทำหน้าที่เป็นกรงขัง และมีขนกระตุ้น (Trigger Hair) จำนวน 5-6 เส้นที่ผิวด้านในกับดัก เพื่อใช้รับสัมผัสจากเหยื่อ เมื่อแมลงมาสัมผัสขนจะดิ้น เกิดการกระตุ้นตั้งแต่สองครั้งขึ้นไป ทันใดกับดักจะงับเข้าหากัน การทำงานของขนกระตุ้นแบบก็เพื่อป้องกันการสูญเสียพลังงานไปกับการดักจับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่อาหาร เช่นหยดน้ำฝน
ต้นกาบหอยแครงจะเลือกเกิดและเติบโตในดินแดนที่ขาดสารอาหารจากดินโดยเฉพาะไนโตรเจน เช่น แถบหนองน้ำ หรือทุ่งหญ้าสะวันนาที่เปียกชื้น ทำให้พืชคู่แข่งอยู่ไม่ได้ แต่ตัวมันวิวัฒนาการมาใชไนโตรเจนจากร่างกายแมลงที่จับได้สำหรับสร้างโปรตีนซึ่งหาไม่ได้ในดิน
ลิลลี่งูเห่า
ลิลลี่งูเห่า ดาร์ลิงโทเนีย (Darlingtonia) Cobra Lilly Family: Sarraceniaceae Genus: Darlingtonia ชื่อทั่วไปที่คนเรียกกันว่า ลิลลี่งูเห่า(Cobra Lilly )
ลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงกลุ่มเดียวกับซาราซีเนียและ Heliamphora มีชื่อเสียงในแง่ของความแปลกประหลาด น่าพิศวงและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง แต่ขณะเดียวกันก็มีชื่อด้านตรงข้ามในแง่ของความบอบบางจนกล่าวกันว่าลิลลี่งูเห่าเป็นพืชกินแมลงที่เลี้ยงยากที่สุดในโลก
แม้แต่ในถิ่นที่ลิลลี่งูเห่ากำเนิดเป็นดงใหญ่ ชาวบ้านในละแวกนั้น ขุดมาใส่กระถางก็ยังตาย จนถือกันเป็นมาตรฐานในกลุ่มผู้รักพืชกินแมลงว่าใครที่เลี้ยงลิลลี่งูเห่าสำเร็จ แข็งแรง งดงามดีจะได้รับการยกย่องว่าเป็นเซียน เพราะมีคนไม่กี่คนในโลกนี้ ที่สามารถเลี้ยงลิลลี่งูเห่าไว้ในกระถางได้
ขอบคุณข้อมูล
Cr.https://home.kapook.com/view211846.html