พาไปดูทุ่งดอกทานตะวัน บ้านก่อ อ.วารินชำราบ ที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด นำทางโดย googlemap สำหรับคนจะไปดูดอกทานตะวันที่สวยที่สุดในอุบลฯ ปีนี้จะเริ่มเหี่ยวประมาณ ปลายเดือน กพ นี้
แนะนำอีกที่ก็ปีหน้าเลยครับ ต้น กพ (สัปดาห์ที่ 2-4) เป็นต้นไป เพราะจะปลุกแค่ปีละครั้งประมาณ ปลาย ธค กว่าจะบานสวยใช้เวลาประมาณ 50-60 วัน
https://goo.gl/maps/M3zvpzdoCzDq9Z7W7
** การเที่ยวชมทุ่งทานตะวัน ควรไปตั้งแต่ตอนเช้าตรู่จนถึง 10 โมงเช้า จะเป็นช่วงที่สวยที่สุด เพราะดอกทานตะวันจะชูช่อรับพระอาทิตย์ขึ้น ดอกทานตะวันแต่ละทุ่งที่บานเต็มที่แล้ว จะบานต่อไปอีกแค่ประมาณ 15 วัน ก่อนจะร่วงโรยไปตามกาลเวลา
เปิดคู่มือ 5 วิธีแชะภาพทุ่งทานตะวัน สวยท้าแดด
https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/541418
*** สถานที่เที่ยวใกล้เคียง วัดหนองป่าพง ทางเข้าอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน เข้าไปอีกไม่ไกลก็ถึงวัดหนองป่าพง อีกที่ที่แนะนำเที่ยวชม
*** เนื่องจากปลูกเป็นครั้งแรก และมีคนสนใจมาดูเป็นจำนวนมาก ลุงป้า ไม่ได้ตัดการเตรียมรับคนมาชมเยอะขนาดนี้ ทำให้มีขยะ และลานจอดรถอาจไม่เพียงพอ แต่ก็อยากให้ทุกๆคนช่วยกัน ขยะก็เก็บไปทิ้งข้างนอกก็ดี
การเดินทาง
จากตัวอำเภอวารินชำราบ หรือ ตัวเมืองจังหวัดอุบล วิ่งมาทางบ้านก่อ จนถึงโรงเรียนอนุบาลวารินชำราบ (ก่อวิทยาคาร) ขับเลยหน้าโรงเรียนแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียนได้เลย โดยฝั่งตรงข้างโรงเรียนเยี้ยงๆจะเป็นทางเข้าวัดหนองป่าพง สามารถเที่ยววัดหนองป่าพงได้ต่อเลย ระยะทางไม่น่าเกิน 3 กม
ทางเข้าซอยจะมีป้ายเล็กๆให้พอสังเกตุ แต่ถ้าดูอาจจะไม่เห็น แค่รู้ว่าซอยข้างโรงเรียน(ขับผ่านหน้าโรงเรียนมา) แค่นี้ก็เข้าถูกแล้ว
ระยะทางจากปากทางโรงเรียนเข้าไปประมาณ 1.3 กม ก่อนถึงทุ่งทานตะวัน จะเป็นสามแยกเล็กๆ ให้ขับตรงไป ถ้าไปทางซ้ายจะไปคนละทาง
มาถึงที่ก็จะมีพื้นที่จอดรถ ไม่เยอะแต่ก็ได้พอควร และที่นี่เนื่องจากพึ่งปลูกดอกทานตะวันเป็นปีแรก และไม่นึกว่าจะมีคนมาชม จึงไม่ได้จัดระเบียบ หรือเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ คนมาก็ควรเคารพ และรักษาความสะอาด และไม่ทำลายดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวันที่ปลูกเป็นพันธุ์ อะควอร่อ 6 (Aguara)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus
ชื่อวงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่อสามัญ : Sunflower
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ชื่อ Helianthus ได้มาจาก Helios ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ของกรีก ที่เรียกกันว่าทานตะวันอาจ
เป็นเพราะทานตะวันให้ดอกสีเหลืองสด บานต้านดวงอาทิตย์ในฤดูร้อนได้อย่างไม่สะทกสะท้านในขณะที่
ดอกไม้อื่นแห้งเหี่ยวไปเพราะลมร้อน แดดจัด และอากาศแห้ง
ทานตะวัน มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไปมากมายเนื่องจากได้รับการผสมและปรับปรุงพันธุ์
เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ เบญจมาศ คำฝอย ดาวเรือง ดาวกระจาย และบานชื่น มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่าบัวผัด
(ภาคเหนือ)เป็น พืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence)
ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ "ทานตะวัน"
ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกัน
ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศ
เม็กซิโก ตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล
ทานตะวัน เป็นพืชล้มลุกที่ปลูกกันมากในเขตอบอุ่น การที่มีชื่อเรียกว่า "ทานตะวัน" เพราะลักษณะการหัน
ของช่อดอกและใบจะหันไปทางทิศของดวงอาทิตย์ คือหันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตก
ในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่ ซึ่งช่อดอก
จะหันไปทิศตะวันออกเสมอ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหนึ่งปี ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 3-4 ฟุต แต่ถ้าปลูกในถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจสูงได้ถึง 6 ฟุต
มีขนปกคลุมหยาบ ๆ ใบเดี่ยว ส่วนใหญ่เรียงเวียน ใบกลมรีกว้างรูปหัวใจ ประมาณ 4-8 นิ้ว ยาว 1 ฟุต
โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย มีก้านใบ ผิวใบมีขนหยาบปกคลุมทั้ง 2 ด้าน
เส้นใบหลัก 3 เส้น วงใบประดับรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ขอบใบมีขน ผิวด้านนอกมีขน
ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกบานเต็มที่โตประมาณ 5-10 นิ้ว มีสีเหลืองสด กลางดอกมีเกสรเป็นวงเกือบเท่า
ตัวดอก กลีบดอกบานแผ่เป็นวงกลมทำให้เกสรดอกเด่นชัดขึ้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ดอกย่อยที่อยู่
รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลับดอกสีเหลืองส้ม อาจมีแต้มสีแดงหรือสีม่วงแดง
ดอกกลางแดงหรือสีม่วงแดงดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ //goo.gl/kFmZx
ทานตะวัน เป็นพืชน้ำมันที่สำคัญทางเศรษฐกิจรองจากถั่วเหลือง และปาล์มน้ำมัน ทานตะวันค่อนข้าง
ทนแล้งได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่ชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว เมล็ดทานตะวันมีคุณค่า
ทางโภชนาการสูง ส่วนกากที่ได้หลังจากสกัดน้ำมันแล้วมีโปรตีน 40-50 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันทานตะวัน
มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม และมีสาร antioxidants
กันหืนได้ดี สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
เนื่องจากน้ำมันทานตะวันมีคุณค่าสูง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการบริโภค
และใช้ในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่น สีทาบ้าน ส่วนลำต้นทานตะวันสามารถนำไป
ทำกระดาษคุณภาพดี
ดอกออกเป็นช่อหรือเป็นกระจุกขนาดใหญ่ จะออกบริเวณยอด หรือรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะของดอกเป็นดอก
สมบูรณ์เพศ ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมีย 1 อัน และเกสรตัวผู้ 5 อัน กลีบดอกวงในมีสีเหลือง ส่วนกลีบดอก
วงนอกมีสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองทอง มีขนาดยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ฐานดอกมีสีเขียวเชื่อมติดกัน
ตำนานดอกทานตะวัน
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล (Apollo) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้
เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน
ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้
การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย
ดอกทานตะวัน เข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก
การปลูกและดูแลรักษา
ทานตะวัน เป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูก
ที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี ทานตะวันเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ดี
ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง
ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด
เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่า
คนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง ในประเทศจีนถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีอายุยืน และทางสากล
ดอกทานตะวันถือเป็นสัญลักษณ์ของความทรนงและความมีชีวิตชีวา
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก ฐานรองดอก แกนลำต้น ใบ เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก
สรรพคุณ : แกนต้น ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด
ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก
ดอก - ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก
ใบ, ดอก- แก้หลอดลมอักเสบ
ฐานรองดอก - แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม
เมล็ด - แก้บิด มูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
เปลือกเมล็ด - แก้อาการหูอื้อ
ราก - แก้อาการปวดท้อง แน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบายขับปัสสาวะ
//www.thaigoodview.com/node/44918
เมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. เมล็ดใช้สกัดนํ้ามัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดำ เปลือกเมล็ดบางให้นํ้ามันมาก
2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวก
ในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทำเป็นแป้งประกอบอาหาร
หรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้วแทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่าง เช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือสัตว์อื่น ๆ โดยตรง
การใช้ประโยชน์
ทานตะวัน เป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำ
ไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร ชาวอินเดียนแดงกินเมล็ดทานตะวันและใช้น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
มานานแล้ว แต่ในปัจจุบัน ประเทศที่เป็นผู้นำในการผลิตเมล็ดทานตะวัน คือประเทศรัสเซีย
ทานตะวัน เป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg
เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์ และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg
ยังมีตำนานของดอกทานตะวันที่เกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ ก็เพราะดอกทานตะวันมักจะหันดอกไปตาม
แสงอาทิตย์แถมยังชอบแสงแดดมาก ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความหยิ่งทะนงและความกระปรี้กระเปร่า
มีชีวิตชีวานั่นเอง นอกจากนี้ ดอกทานตะวันยังให้ความรู้สึกถึงพลัง ความอบอุ่น และ การดูแลทนุถนอม
จากลักษณะที่ดอกหันไปหาแสงอาทิตย์เสมอ ๆ นั้น ทำให้เราเรียก ดอกทานตะวันว่า เป็นสัญลักษณ์ของ
"ความจงรักภักดีในรัก" นั่นเอง
เมล็ดดอกทานตะวันจัดเป็นอาหารสุขภาพชั้นดี มีวิตามินอี และกรดไขมันไลโนเลอิค (linoleic acid) ป้องกัน
โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง มีวิตามินอีช่วยป้องกันหัวใจวาย วิตามินอียังเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์
ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคต้อกระจก กรดไลโนเลอิคช่วยลดระดับทั้งคอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอลร้าย
(LDL) อันเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการแข็งตัวของเกล็ดเลือดอีกด้วย
ต้นอ่อนของเมล็ดทานตะวัน มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวันงอกมีโปรตีน 25 เปอร์เซนต์ มี
วิตามินเอ และวิตามินอีสูง บำรุงสายตา ผิวพรรณและชะลอความชรา มีวิตามิน บี 1 บี 6 โอเมก้า 3 โอเมก้า 6
โอเมก้า 9 ช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม (Alzheimer's disease หรือ AD) และธาตุเหล็กสูง
นอกจากนี้ต้นอ่อนทานตะวันยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกหลายตัวตัวด้วยกัน เช่น วิตามินเอ วิตามินอี โปรตีน ฯลฯ
เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน เป็นชื่อเรียกเทศกาลรวม ๆ ในการจัดชม ดอกทานตะวัน ในบริเวณภาคกลาง
ของประเทศไทย ช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยมีพื้นที่ปลูกใน อำเภอพัฒนานิคม
และบางส่วนของ อำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งบริเวณโดยรอบเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และรวมถึงพื้นที่ติดต่อ
กันในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย
ทานตะวันมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไปมากมายเนื่องจากได้รับการผสมและปรับปรุงพันธุ์
สนใจ คลิกอ่าน //www.thaikasetsart.com/page/47/
ข้อมูลจาก
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=fasaiwonmai&month=05-2013&date=27&group=2&gblog=505
[CR] พาไปดูทุ่งดอกทานตะวัน บ้านก่อ อ.วารินชำราบ ที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี
พิกัด นำทางโดย googlemap สำหรับคนจะไปดูดอกทานตะวันที่สวยที่สุดในอุบลฯ ปีนี้จะเริ่มเหี่ยวประมาณ ปลายเดือน กพ นี้
แนะนำอีกที่ก็ปีหน้าเลยครับ ต้น กพ (สัปดาห์ที่ 2-4) เป็นต้นไป เพราะจะปลุกแค่ปีละครั้งประมาณ ปลาย ธค กว่าจะบานสวยใช้เวลาประมาณ 50-60 วัน
https://goo.gl/maps/M3zvpzdoCzDq9Z7W7
** การเที่ยวชมทุ่งทานตะวัน ควรไปตั้งแต่ตอนเช้าตรู่จนถึง 10 โมงเช้า จะเป็นช่วงที่สวยที่สุด เพราะดอกทานตะวันจะชูช่อรับพระอาทิตย์ขึ้น ดอกทานตะวันแต่ละทุ่งที่บานเต็มที่แล้ว จะบานต่อไปอีกแค่ประมาณ 15 วัน ก่อนจะร่วงโรยไปตามกาลเวลา
เปิดคู่มือ 5 วิธีแชะภาพทุ่งทานตะวัน สวยท้าแดด
https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/541418
*** สถานที่เที่ยวใกล้เคียง วัดหนองป่าพง ทางเข้าอยู่ฝั่งตรงข้ามโรงเรียน เข้าไปอีกไม่ไกลก็ถึงวัดหนองป่าพง อีกที่ที่แนะนำเที่ยวชม
*** เนื่องจากปลูกเป็นครั้งแรก และมีคนสนใจมาดูเป็นจำนวนมาก ลุงป้า ไม่ได้ตัดการเตรียมรับคนมาชมเยอะขนาดนี้ ทำให้มีขยะ และลานจอดรถอาจไม่เพียงพอ แต่ก็อยากให้ทุกๆคนช่วยกัน ขยะก็เก็บไปทิ้งข้างนอกก็ดี
การเดินทาง
จากตัวอำเภอวารินชำราบ หรือ ตัวเมืองจังหวัดอุบล วิ่งมาทางบ้านก่อ จนถึงโรงเรียนอนุบาลวารินชำราบ (ก่อวิทยาคาร) ขับเลยหน้าโรงเรียนแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าซอยข้างโรงเรียนได้เลย โดยฝั่งตรงข้างโรงเรียนเยี้ยงๆจะเป็นทางเข้าวัดหนองป่าพง สามารถเที่ยววัดหนองป่าพงได้ต่อเลย ระยะทางไม่น่าเกิน 3 กม
ทางเข้าซอยจะมีป้ายเล็กๆให้พอสังเกตุ แต่ถ้าดูอาจจะไม่เห็น แค่รู้ว่าซอยข้างโรงเรียน(ขับผ่านหน้าโรงเรียนมา) แค่นี้ก็เข้าถูกแล้ว
ระยะทางจากปากทางโรงเรียนเข้าไปประมาณ 1.3 กม ก่อนถึงทุ่งทานตะวัน จะเป็นสามแยกเล็กๆ ให้ขับตรงไป ถ้าไปทางซ้ายจะไปคนละทาง
มาถึงที่ก็จะมีพื้นที่จอดรถ ไม่เยอะแต่ก็ได้พอควร และที่นี่เนื่องจากพึ่งปลูกดอกทานตะวันเป็นปีแรก และไม่นึกว่าจะมีคนมาชม จึงไม่ได้จัดระเบียบ หรือเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ คนมาก็ควรเคารพ และรักษาความสะอาด และไม่ทำลายดอกทานตะวัน
ดอกทานตะวันที่ปลูกเป็นพันธุ์ อะควอร่อ 6 (Aguara)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Helianthus annuus
ชื่อวงศ์ : Asteraceae (Compositae)
ชื่อสามัญ : Sunflower
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ด
ชื่อ Helianthus ได้มาจาก Helios ซึ่งเป็นเทพเจ้าแห่งดวงอาทิตย์ของกรีก ที่เรียกกันว่าทานตะวันอาจ
เป็นเพราะทานตะวันให้ดอกสีเหลืองสด บานต้านดวงอาทิตย์ในฤดูร้อนได้อย่างไม่สะทกสะท้านในขณะที่
ดอกไม้อื่นแห้งเหี่ยวไปเพราะลมร้อน แดดจัด และอากาศแห้ง
ทานตะวัน มีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไปมากมายเนื่องจากได้รับการผสมและปรับปรุงพันธุ์
เป็นพืชในวงศ์เดียวกับ เบญจมาศ คำฝอย ดาวเรือง ดาวกระจาย และบานชื่น มีชื่อตามภาษาท้องถิ่นว่าบัวผัด
(ภาคเหนือ)เป็น พืชปีเดียว (Annual plant) อยู่ในแฟมิลี Asteraceae มีฐานรองกลุ่มดอก (Inflorescence)
ขนาดใหญ่ ลำต้นโตได้สูงถึง 3 เมตร ฐานรองกลีบดอกอาจกว้างได้ถึง 30 เซนติเมตร ชื่อ "ทานตะวัน"
ถูกใช้อ้างอิงถึงพืชทั้งหมดในจีนัส Helianthus ด้วยเช่นกัน
ทานตะวัน เป็นพืชท้องถิ่นของอเมริกากลาง มีหลักฐานแสดงให้เห็นว่ามีการปลูกดอกทานตะวันในประเทศ
เม็กซิโก ตั้งแต่ประมาณ 2600 ปีก่อนคริสตกาล
ทานตะวัน เป็นพืชล้มลุกที่ปลูกกันมากในเขตอบอุ่น การที่มีชื่อเรียกว่า "ทานตะวัน" เพราะลักษณะการหัน
ของช่อดอกและใบจะหันไปทางทิศของดวงอาทิตย์ คือหันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตก
ในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่ ซึ่งช่อดอก
จะหันไปทิศตะวันออกเสมอ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ไม้ล้มลุกอายุหนึ่งปี ลำต้นตั้งตรงสูงประมาณ 3-4 ฟุต แต่ถ้าปลูกในถิ่นที่มีอากาศเย็นอาจสูงได้ถึง 6 ฟุต
มีขนปกคลุมหยาบ ๆ ใบเดี่ยว ส่วนใหญ่เรียงเวียน ใบกลมรีกว้างรูปหัวใจ ประมาณ 4-8 นิ้ว ยาว 1 ฟุต
โคนใบโค้งเว้าเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลม ขอบใบจักฟันเลื่อย มีก้านใบ ผิวใบมีขนหยาบปกคลุมทั้ง 2 ด้าน
เส้นใบหลัก 3 เส้น วงใบประดับรูปไข่ถึงรูปขอบขนาน ขอบใบมีขน ผิวด้านนอกมีขน
ดอกมีขนาดใหญ่ ดอกบานเต็มที่โตประมาณ 5-10 นิ้ว มีสีเหลืองสด กลางดอกมีเกสรเป็นวงเกือบเท่า
ตัวดอก กลีบดอกบานแผ่เป็นวงกลมทำให้เกสรดอกเด่นชัดขึ้น ช่อดอกแบบช่อกระจุกแน่น ดอกย่อยที่อยู่
รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลับดอกสีเหลืองส้ม อาจมีแต้มสีแดงหรือสีม่วงแดง
ดอกกลางแดงหรือสีม่วงแดงดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ //goo.gl/kFmZx
ทานตะวัน เป็นพืชน้ำมันที่สำคัญทางเศรษฐกิจรองจากถั่วเหลือง และปาล์มน้ำมัน ทานตะวันค่อนข้าง
ทนแล้งได้ดีเมื่อเปรียบเทียบกับพืชไร่ชนิดอื่น เช่น ข้าวโพด ถั่วเหลือง และถั่วเขียว เมล็ดทานตะวันมีคุณค่า
ทางโภชนาการสูง ส่วนกากที่ได้หลังจากสกัดน้ำมันแล้วมีโปรตีน 40-50 เปอร์เซ็นต์ น้ำมันทานตะวัน
มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวประมาณ 88 เปอร์เซ็นต์ สูงกว่าถั่วเหลืองและน้ำมันปาล์ม และมีสาร antioxidants
กันหืนได้ดี สามารถเก็บไว้ได้นานกว่าน้ำมันพืชชนิดอื่น
เนื่องจากน้ำมันทานตะวันมีคุณค่าสูง จึงเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อการบริโภค
และใช้ในอุตสาหกรรม เช่น น้ำมันชักเงา น้ำมันหล่อลื่น สีทาบ้าน ส่วนลำต้นทานตะวันสามารถนำไป
ทำกระดาษคุณภาพดี
ดอกออกเป็นช่อหรือเป็นกระจุกขนาดใหญ่ จะออกบริเวณยอด หรือรอบ ๆ ลำต้น ลักษณะของดอกเป็นดอก
สมบูรณ์เพศ ตรงกลางดอกเป็นเกสรตัวเมีย 1 อัน และเกสรตัวผู้ 5 อัน กลีบดอกวงในมีสีเหลือง ส่วนกลีบดอก
วงนอกมีสีเหลืองอ่อน หรือเหลืองทอง มีขนาดยาวประมาณ 1-4 นิ้ว ฐานดอกมีสีเขียวเชื่อมติดกัน
ตำนานดอกทานตะวัน
ในเทพนิยายกรีกมีนางไม้ชื่อ Clytie ที่หลงรักเทพอพอลโล (Apollo) ซึ่งเป็นเทพแห่งดวงอาทิตย์ ได้
เฝ้ามองอพอลโลทุกวันจนผมสีทองของเธอกลายเป็นกลีบดอกสีเหลืองและใบหน้ากลายเป็นดอกทานตะวัน
ชื่อ Helianthus มาจากคำว่า helios ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ กับคำว่า anthos ที่แปลว่า ดอกไม้
การเข้ามาของดอกทานตะวันในประเทศไทย
ดอกทานตะวัน เข้ามาในประเทศในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยชาวฝรั่งเศสนำมาปลูก
การปลูกและดูแลรักษา
ทานตะวัน เป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูก
ที่สำคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี ทานตะวันเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ขึ้นได้ดี
ในดินร่วนปนทราย ระบายน้ำได้ดี ต้องการน้ำปานกลาง
ลักษณะนิสัยของคนที่ชอบดอกทานตะวันที่สุด
เป็นคนเชื่อมั่นในตัวเองมาก และถือดีในความรู้ความสามารถของตนไม่น้อย ชอบพึ่งพาตัวเองมากกว่า
คนอื่น เป็นคนตั้งเป้าหมายในชีวิตสูง ในประเทศจีนถือเป็นสัญลักษณ์แห่งการมีอายุยืน และทางสากล
ดอกทานตะวันถือเป็นสัญลักษณ์ของความทรนงและความมีชีวิตชีวา
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ดอก ฐานรองดอก แกนลำต้น ใบ เมล็ด เปลือกเมล็ด ราก
สรรพคุณ : แกนต้น ขับปัสสาวะ แก้นิ่วในทางเดินปัสสาวะ นิ่วในไต ปัสสาวะเป็นเลือด
ปัสสาวะขุ่นขาว ไอกรน แผลมีเลือดออก
ดอก - ขับลม ทำให้ตาสว่าง แก้วิงเวียน หน้าบวม บีบมดลูก
ใบ, ดอก- แก้หลอดลมอักเสบ
ฐานรองดอก - แก้อาการปวดหัว ตาลาย ปวดฟัน ปวดท้อง โรคกระเพาะ ปวดประจำเดือน ฝีบวม
เมล็ด - แก้บิด มูกเลือด ขับหนองใน ฝีฝักบัว ขับปัสสาวะ เสมหะ แก้ไอ แก้ไข้หวัด
เปลือกเมล็ด - แก้อาการหูอื้อ
ราก - แก้อาการปวดท้อง แน่นหน้าอก ฟกช้ำ เป็นยาระบายขับปัสสาวะ
//www.thaigoodview.com/node/44918
เมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. เมล็ดใช้สกัดนํ้ามัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดำ เปลือกเมล็ดบางให้นํ้ามันมาก
2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวก
ในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทำเป็นแป้งประกอบอาหาร
หรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้วแทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่าง เช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือสัตว์อื่น ๆ โดยตรง
การใช้ประโยชน์
ทานตะวัน เป็นพืชให้น้ำมันโดยสกัดจากเมล็ด น้ำมันดอกทานตะวันมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูงสามารถนำ
ไปใช้ในการฟอกหนังและประกอบอาหาร ชาวอินเดียนแดงกินเมล็ดทานตะวันและใช้น้ำมันเมล็ดทานตะวัน
มานานแล้ว แต่ในปัจจุบัน ประเทศที่เป็นผู้นำในการผลิตเมล็ดทานตะวัน คือประเทศรัสเซีย
ทานตะวัน เป็นพืชที่มีบทบาทมากในการฟื้นฟูดิน ตัวอย่างเช่น ทานตะวันสะสมตะกั่วได้ 0.86 mg/kg
เมื่อเลี้ยงแบบไฮโดรโพนิกส์ และส่งเสริมการย่อยสลายคาร์โบฟูรานได้ 46.71 mg/kg
ยังมีตำนานของดอกทานตะวันที่เกี่ยวข้องกับพระอาทิตย์ ก็เพราะดอกทานตะวันมักจะหันดอกไปตาม
แสงอาทิตย์แถมยังชอบแสงแดดมาก ทำให้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความหยิ่งทะนงและความกระปรี้กระเปร่า
มีชีวิตชีวานั่นเอง นอกจากนี้ ดอกทานตะวันยังให้ความรู้สึกถึงพลัง ความอบอุ่น และ การดูแลทนุถนอม
จากลักษณะที่ดอกหันไปหาแสงอาทิตย์เสมอ ๆ นั้น ทำให้เราเรียก ดอกทานตะวันว่า เป็นสัญลักษณ์ของ
"ความจงรักภักดีในรัก" นั่นเอง
เมล็ดดอกทานตะวันจัดเป็นอาหารสุขภาพชั้นดี มีวิตามินอี และกรดไขมันไลโนเลอิค (linoleic acid) ป้องกัน
โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคมะเร็ง มีวิตามินอีช่วยป้องกันหัวใจวาย วิตามินอียังเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์
ที่ช่วยป้องกันมะเร็งและโรคต้อกระจก กรดไลโนเลอิคช่วยลดระดับทั้งคอเลสเตอรอลรวม และคอเลสเตอรอลร้าย
(LDL) อันเป็นสาเหตุของหลอดเลือดหัวใจตีบ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันการแข็งตัวของเกล็ดเลือดอีกด้วย
ต้นอ่อนของเมล็ดทานตะวัน มีโปรตีนสูงกว่าถั่วเหลือง เมล็ดทานตะวันงอกมีโปรตีน 25 เปอร์เซนต์ มี
วิตามินเอ และวิตามินอีสูง บำรุงสายตา ผิวพรรณและชะลอความชรา มีวิตามิน บี 1 บี 6 โอเมก้า 3 โอเมก้า 6
โอเมก้า 9 ช่วยบำรุงเซลล์สมอง ป้องกันโรคสมองเสื่อม (Alzheimer's disease หรือ AD) และธาตุเหล็กสูง
นอกจากนี้ต้นอ่อนทานตะวันยังมีสารอาหารอื่น ๆ อีกหลายตัวตัวด้วยกัน เช่น วิตามินเอ วิตามินอี โปรตีน ฯลฯ
เทศกาลทุ่งทานตะวันบาน เป็นชื่อเรียกเทศกาลรวม ๆ ในการจัดชม ดอกทานตะวัน ในบริเวณภาคกลาง
ของประเทศไทย ช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ ของทุกปี โดยมีพื้นที่ปลูกใน อำเภอพัฒนานิคม
และบางส่วนของ อำเภอเมืองลพบุรี รวมทั้งบริเวณโดยรอบเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ และรวมถึงพื้นที่ติดต่อ
กันในจังหวัดสระบุรีอีกด้วย
ทานตะวันมีรูปร่างและขนาดแตกต่างกันออกไปมากมายเนื่องจากได้รับการผสมและปรับปรุงพันธุ์
สนใจ คลิกอ่าน //www.thaikasetsart.com/page/47/
ข้อมูลจาก
https://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=fasaiwonmai&month=05-2013&date=27&group=2&gblog=505
CR - Consumer Review : กระทู้รีวิวนี้เป็นกระทู้ CR โดยที่เจ้าของกระทู้