กระทู้ต่อไปนี้ จะพาท่านย้อนเวลาไปสู่ดินแดนยุคดึกดำบรรพ์ของโลกใบนี้
ซึ่งท่านจะได้ไปสัมผัสกับโลกยุคบรรพกาล ที่เราได้แต่ศึกษามาเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปี
ในกระทู้ชุดนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่เคยมีอยู่ในแต่ละยุคสมัยทั้ง 14 ยุคเท่านั้น
ของเชิญท่านดำดิ่งไปกับการคาดคะเน และหลักฐานฟอสซิลที่ถูกค้นพบได้ในปัจจุบันกันเลยครับ
ถ้าพร้อมแล้ว...ก็เลื่อนเมาส์ลงมาเลย
สารบัญ
ยุคที่ 1... Archean
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32096010
ยุคที่ 2... Proterozoic
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32099328
ยุคที่ 3... Cambrian
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32109829
ยุคที่ 4... Ordovician
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32139596
ยุคที่ 5... Silurian
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32153234
ยุคที่ 6... Devonian
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://ppantip.com/topic/32168869
ยุค Carboniferous อยู่ในช่วงระหว่าง 350 – 300 ล้านปีก่อน ซึ่งถ้าเราสังเกตจากชื่อยุค ก็อาจจะเดาได้ว่ามันคือ “ยุคที่มีแต่คาร์บอน” นั่นเอง (ให้เราลองจินตนาการไปถึงยุคที่มีความดันสูง แรงกดอัดในอากาศที่มีแต่ก๊าซที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ มีบึงมากมาย พื้นที่ร้อนชื้อ เฉอะแฉะ ดูครับ) ยุคนี้จะเริ่มมีการสะสมตัวของถ่านหิน ในชั้นหินใต้ดิน และมีแอ่งถ่านหินขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก (ก็ต้นไม้มันขึ้นหนาแน่นแล้วนี่นา) อย่างไรเสีย บริเวณขั้วโลกก็ยังหนาวเหน็บอยู่เช่นเคย โดยมีแผ่นน้ำแข็งปกคลุมลึกเข้ามามาก จนพบธารน้ำแข็งอยู่ทั่วไปหมด อุณหภูมิในยุคนี้ยังคงสูงอยู่เหมือนเดิม แต่จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ และลดลงตามเส้นละติจูด ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกนั่นเอง
สรุปข้อเท็จจริงของยุคนี้
- พบพืชตระกูลเฟิร์นเป็นครั้งแรก และพบเฟิร์นที่ใช้เมล็ดในการสืบพันธุ์
- สายพันธุ์ trilobites จะลดลงไปอีก แต่จะคล้ายแมงดาทะเลในปัจจุบันมากขึ้น
- พบสายพันธุ์ฉลามขนาดใหญ่
- มีความหลากหลายของสัตว์เลื้อยคลานที่มีหนังหนา (คล้ายไอ้เข้)
- พบสายพันธุ์แมลงปอเป็นครั้งแรก
- พบสายพันธุ์แมลงมีปีกที่บินได้เป็นครั้งแรก
- พบสายพันธุ์พืชกินแมลงเป็นครั้งแรก
- มีการพัฒนาของกิ่งก้านใบพืชให้หลากหลายมากขึ้น
- พบแมลงไซส์บิ๊ก เช่น กิ้งกือ ตะขาบ แมงป่อง แมงมุม แมลงสาบ เป็นครั้งแรก
- พบสัตว์เลื้อยคลานที่เลือกจะกินพืชเป็นครั้งแรก (ส่วนใหญ่ตัวเฮ้มันจะกินเนื้อ)
- จุดเริ่มต้นของสัตว์เลื้อยคลานที่ออกลูกเป็นไข่เปลือกแข็ง (แต่ก่อนเป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่เหนียวๆ)
- จุดกำเนิดของสายพันธุ์ไดโนเสาร์ (สัตว์ที่มีชื่อว่า “ซอรัส” ตามหลัง นั่นแหละ)
Oncolites
มันคือ Algae ชนิดหนึ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 15 cm พบได้ทั่วไป โครงสร้างของมันเหมือนกับการรวมกันของ ไซยาโนแบคทีเรีย และ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แต่จะมี แคลเซียมคาร์บอเนตสังเคราะห์อยู่ตามเปลือกนอกคล้ายกับปะการัง มันต้องการแสงเพื่อการเจริญเติบโต โดยจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งตื้นๆ มันจะสร้างชั้นเนื้อเยื่อจากข้างใน ส่วนชั้นนอกสุดก็จะเสื่อมสลายไปเป็นขั้นๆ
Thallites
มันคล้ายกับพืชจำพวก Liverworts ในปัจจุบัน มีขนาด 15 cm พบได้ทั่วไปในน้ำ มันมีลักษณะคล้ายพืชบกมาก แต่มันไม่มีราก ท่อลำเลียงกลางลำต้น และใบที่แท้จริง ลักษณะของมันจึงคล้ายริบบิ้นที่ลอยไปลอยมาในน้ำ มันจะมีรากขนเล็กเอาไว้หาธาตุอาหารในดิน และใบของมันจะแตกตัวออกเป็นสองกิ่งเสมอๆ
Lepidodendron
มันคือไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีจุดเด่นอยู่ตรงเปลือกไม้ที่มีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา มันสามารถสูงได้ถึง 40 m กระจายอยู่ทั่วภาคพื้นทวีป โดยมันได้วิวัฒนาการต่อยอดมาอีกขั้นหนึ่งจากยุคก่อนหน้า ใบของมันแคบและเป็นเกลียว มีการสร้างสปอร์จากในช่อใบด้านใน มันใช้เวลาครึ่งหนึ่งของช่วงชีวิต แตกกิ่งก้านอยู่ตามพื้นป่า ก่อนที่จะค่อยๆสูงขึ้น มันเติบโตช้ามากๆ และถ้ามันสร้างสปอร์ออกมาเมื่อไหร่มันก็จะหยุดสูงหรือแตกใบทันที บางสายพันธุ์ถ้ามันพร้อมปล่อยสปอร์ออกมาแล้ว มันก็จะตายทันทีเช่นกัน
Sigillaria
มันมีลักษณะคล้ายกันพืชด้านบน ยกเว้นมีเปลือกไม้คล้ายกับรังผึ้งที่สมมาตรทั่วกัน มีใบคล้ายใบหญ้ายาวๆในปัจจุบัน และใบอ่อนกว่าจะสร้างขึ้นไปเหนือใบแก่กว่าเสมอ มันมักจะมีสองกิ่งอยู่ด้านบนๆของลำต้น ซึ่งแต่ละต้นจะไม่เหมือนกันเลย และมันสามารถสูงได้แค่ 25 m เท่านั้น
Selaginella
เป็นพืชที่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันได้ ทรงพุ่มมีขนาดเล็ก ใบเล็กเป็นเกลียว สามารถแตกกิ่งก้านออกมาได้หลายทาง มีความสูงประมาณ 15 cm
Lepidophloios
เป็นไม้ยืนต้น มีความสูง 25 cm ที่มีเปลือกไม้คล้ายกับเกล็ดของงู มันชอบเจริญเติบโตในดินอินทรีย์ (ดินที่มีอินทรียวัตถุมากกว่า 35 % คล้ายกับป่าพรุในภาคใต้ของไทย) หรือดินเหนียวที่เป็นแอ่งน้ำในป่าลึก มันสร้างสปอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพืชตระกูลเดียวกัน และมีท่อลำเลียงสำหรับไม้ยืนต้นในยุคแรกๆอีกด้วย
Bowmanites
เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก (8 cm) โดยมันจะดูคล้ายกับเป็นต้นอ่อนของพืชชนิดอื่น จุดเด่นของมันก็คือ มันจะมีเซลล์สร้างสปอร์ที่เป็นเพศผู้และเพศเมีย โดยเมื่อเพศทั้งสองได้พบกัน มันก็จะเกิดสปอร์ขึ้น (เป็นการพัฒนาของการปฏิสนธิของพืชสมบูรณ์เพศครั้งแรก แต่ยังไม่ผลิตทรงดอกนะครับ)
Sphenophyllum
จุดเด่นของมันอยู่ที่ใบ ที่มีลักษณะแผ่กว้างออก มีความสูงถึง 1 m จัดเป็นพืชเลื้อยชนิดหนึ่ง
Calamites
จุดเด่นของมันคือมีข้อปล้องต่อกันไปเรื่อยๆ ที่สูงถึง 20 m โดยแต่ละข้อก็จะมีใบเล็กๆเป็นพวงอยู่รอบข้อนั้นๆ
Psaronius
โดยความสูงถึง 10 m และมีเปลือกลำต้นที่สง่างามคล้ายต้นปาล์ม มันคือสายพันธุ์เฟิร์นที่สวยงามที่สุดในยุคนี้ ลักษณะของมันจะเป็นทรงลำต้นเดี่ยว ไม่แตกกิ่งก้าน รากจะทิ่มจากลำต้นด้านข้าง ลงไปในดิน ใบของมันจะมีสปอร์อยู่ใต้ใบคล้ายเฟิร์นในปัจจุบัน
Zeilleria
เป็นสายพันธุ์เฟิร์นที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก มีสปอร์อยู่ใต้ใบ แต่ใบจะมีขนาดเล็กว่าแตกแขนงกว่าในปัจจุบัน
Sphenopteris
มันคือพืชที่ผสมกันระหว่างเฟิร์นและพืชมีเมล็ด มีความสูงแค่ 50 cm และพบได้ทั่วโลก มันคือพืชที่วิวัฒนาการยังไม่สุดและนิ่งดีพอ บางต้นก็พบสปอร์ บางต้นก็พบเมล็ดที่เกิดมาจากใบ (ยังไม่มีดอก) สปีชีส์ที่พบพืชเมล็ดเป็นครั้งแรกคือ Lyginopteris oldhamia มันจึงจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการศึกษาพืชเมล็ดในยุคดึกดำบรรพ์ และยังใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ เมื่อพบกับพืชเมล็ดสายพันธุ์อื่นๆอีกด้วย
Medullosa
มันคือไม้ยื่นต้นอีกชนิดหนึ่ง มีความสูง 3-5 m พบได้ที่ยุโรป และอเมริกาเหนือในปัจจุบัน จุดเด่นของมันคือมันจะผลิตเมล็ดที่มีขนาดใหญ่เท่าไข่ไก่เลยทีเดียว (สมัยนี้ยังไม่มีการพัฒนาของดอก หรือผลนะครับ) โดยทั้งโครงสร้างของมันจะผสมผสานระหว่างสายพันธุ์เฟิร์นกับพืชเมล็ดทั่วๆไป ถึงแม้ว่ามันจะยังไม่มีดอกแต่มันก็เริ่มมีใบที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดอ่อนในระยะเริ่มแรก บริเวณขั้วของเมล็ดออกมาบ้างแล้วเช่นกัน เมล็ดของมันมีขนาดใหญ่ (ให้นึกถึงเมล็ดต้นหูกวาง) จึงทำให้ลมไม่มีผลต่อการพัดพาไปเพื่อการกระจายเผ่าพันธุ์ แต่นักวิทยาศาสตร์คาดว่า มันอาจจะถูกพาไปโดยแมลง (แมลงในยุคนั้นตัวใหญ่เท่าคนนะครับ เดี๋ยวตามอ่านต่อไปนะ) มันจึงมีความสัมพันธุ์ต่อการศึกษาพืชเมล็ดอีกชนิดหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่ามันคือ บิดาของพืชมีดอกก็ย่อมได้
Potoniea
เป็นไม้ยืนต้นที่มีจุดเด่นคือมีอวัยวะพิเศษที่คล้ายกับกิ่งก้านที่เชื่อมต่อกับใบ ทั้งรูปทรงพุ่ม กิ่งก้าน จะมีความแตกต่างกันในแต่ละต้น ด้วยจุดเด่นนี้ในตอนนี้อาจจะไม่มีความสำคัญอะไร แต่มันจะเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับการมีดอกและผลในยุคถัดไปครับ
Macroneuropteris
ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่พืชที่มีขนาดใหญ่ในยุคนี้ (2.5 m) แต่เมื่อพูดถึงใบของมัน กลับมีการพัฒนาไปไกลมากๆ ใบของมันจะกว้าง ยาว และใหญ่ มีการแผ่กระจายของเนื้อเยื่อพืชที่ดีมาก
Cyclopteris
มันมีขนาดเล็ก ที่ 10 cm ใบของมันจะคล้ายเปลือกหอยขนาดเล็กๆที่ซ้อนกันคล้ายกับพัด ขึ้นสู่ด้านบนไปเรื่อยๆ ในทางทฤษฎี ได้คิดกันว่า มันอาจจะพัฒนาใบให้เจริญครบทั้งจำนวนที่ต้องการก่อนและค่อยพัฒนาเรื่องความสูง จัดเป็นความหลากหลายของตำแหน่งใบอีกแบบหนึ่ง
Alethopteris
ให้จินตนาการไปถึงพืชตระกูลเฟิร์นที่มีทรงพุ่มแบบต้นจามจุรี แต่ใบจะใหญ่และกว้างกว่า(ที่สุดในยุคเลยทีเดียว) มันมีฐานใบที่แข็งแรง มีท่อลำเลียงที่ทรงพลัง มีอายุได้หลายปี และเป็นอีกชนิดหนึ่งที่กำลังพัฒนาเมล็ดเป็นของตัวเอง
Callipteridium
จัดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ใบของมันสามารถเจริญเติบโตได้เรื่อยๆ จึงทำให้มันมีใบขนาดใหญ่กว่าลำต้นตัวเอง ถึงแม้ว่าจากหลักฐานฟอสซิลจะไม่พบอวัยวะที่ใช้สร้างสปอร์เลย จึงทำให้มีการคาดการไปว่ามันอาจจะเป็น seed-ferns ก็เป็นได้
Mariopteris
เป็นพืชเลื้อยชนิดหนึ่ง มีขนาด 50 cm จัดเป็นพืชมีเมล็ด ที่จะพึ่งพาอาศัยกับพืชชนิดอื่นเสมอๆ มีความแตกต่างของใบ ทำให้สามารถแยกสปีชีส์ต่างๆได้
Odontopteris
มันคือพืชมีเมล็ดทั่วไป ที่พบได้ในยุคนี้ มีความสูงแค่ 1 m จัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า เพราะมันจะพบมากในพื้นที่ที่แห้งแล้งหรือรอบๆบึงก็ได้ นักวิทยาศาสตร์จัดมันเป็นพืชผักชนิดหนึ่ง เพราะมักจะพบใบที่มีร่องรอยแมลงกัดกินอยู่บ่อยครั้ง
Plagiozamites
จุดเด่นของมันอยู่ที่ใบจะเข้าคู่กันโดยมีกิ่งกั้นกลาง ไม่พบลำต้นในพืชชนิดนี้ มีขนาด 1 m โดยมีจะผลิตสปอร์บริเวณใบที่ทำเป็นรูปทรงกระบอก
Noeggerathia
ใบของมันจะเป็นใบประกอบ ที่มีลักษณะกว้างมน มีการวางตัวเป็นคู่ๆของลำต้นยาวขึ้นไปที่ขนาดความสูง 1 m
.
.
.
ช่องเต็มละ ไปเขียนหน้าใหม่ต่อเลยแล้วกัน
[ มหากาพย์กระทู้ชุด ][ เรามาย้อนเวลาไปดูสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์กันเถอะ ][ ยุคที่ 7/14 ][ยุค Carboniferous][เชิญด้านในครับ]
ซึ่งท่านจะได้ไปสัมผัสกับโลกยุคบรรพกาล ที่เราได้แต่ศึกษามาเป็นเวลากว่า 4 พันล้านปี
ในกระทู้ชุดนี้ จะกล่าวถึงเฉพาะสิ่งมีชีวิตที่เคยมีอยู่ในแต่ละยุคสมัยทั้ง 14 ยุคเท่านั้น
ของเชิญท่านดำดิ่งไปกับการคาดคะเน และหลักฐานฟอสซิลที่ถูกค้นพบได้ในปัจจุบันกันเลยครับ
ถ้าพร้อมแล้ว...ก็เลื่อนเมาส์ลงมาเลย
สารบัญ
ยุคที่ 1... Archean [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยุคที่ 2... Proterozoic [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยุคที่ 3... Cambrian [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยุคที่ 4... Ordovician [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยุคที่ 5... Silurian [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยุคที่ 6... Devonian [Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ยุค Carboniferous อยู่ในช่วงระหว่าง 350 – 300 ล้านปีก่อน ซึ่งถ้าเราสังเกตจากชื่อยุค ก็อาจจะเดาได้ว่ามันคือ “ยุคที่มีแต่คาร์บอน” นั่นเอง (ให้เราลองจินตนาการไปถึงยุคที่มีความดันสูง แรงกดอัดในอากาศที่มีแต่ก๊าซที่มีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ มีบึงมากมาย พื้นที่ร้อนชื้อ เฉอะแฉะ ดูครับ) ยุคนี้จะเริ่มมีการสะสมตัวของถ่านหิน ในชั้นหินใต้ดิน และมีแอ่งถ่านหินขนาดใหญ่อยู่เป็นจำนวนมาก (ก็ต้นไม้มันขึ้นหนาแน่นแล้วนี่นา) อย่างไรเสีย บริเวณขั้วโลกก็ยังหนาวเหน็บอยู่เช่นเคย โดยมีแผ่นน้ำแข็งปกคลุมลึกเข้ามามาก จนพบธารน้ำแข็งอยู่ทั่วไปหมด อุณหภูมิในยุคนี้ยังคงสูงอยู่เหมือนเดิม แต่จะค่อยๆลดลงเรื่อยๆ และลดลงตามเส้นละติจูด ที่อยู่ใกล้ขั้วโลกนั่นเอง
สรุปข้อเท็จจริงของยุคนี้
- พบพืชตระกูลเฟิร์นเป็นครั้งแรก และพบเฟิร์นที่ใช้เมล็ดในการสืบพันธุ์
- สายพันธุ์ trilobites จะลดลงไปอีก แต่จะคล้ายแมงดาทะเลในปัจจุบันมากขึ้น
- พบสายพันธุ์ฉลามขนาดใหญ่
- มีความหลากหลายของสัตว์เลื้อยคลานที่มีหนังหนา (คล้ายไอ้เข้)
- พบสายพันธุ์แมลงปอเป็นครั้งแรก
- พบสายพันธุ์แมลงมีปีกที่บินได้เป็นครั้งแรก
- พบสายพันธุ์พืชกินแมลงเป็นครั้งแรก
- มีการพัฒนาของกิ่งก้านใบพืชให้หลากหลายมากขึ้น
- พบแมลงไซส์บิ๊ก เช่น กิ้งกือ ตะขาบ แมงป่อง แมงมุม แมลงสาบ เป็นครั้งแรก
- พบสัตว์เลื้อยคลานที่เลือกจะกินพืชเป็นครั้งแรก (ส่วนใหญ่ตัวเฮ้มันจะกินเนื้อ)
- จุดเริ่มต้นของสัตว์เลื้อยคลานที่ออกลูกเป็นไข่เปลือกแข็ง (แต่ก่อนเป็นปลาที่ออกลูกเป็นไข่เหนียวๆ)
- จุดกำเนิดของสายพันธุ์ไดโนเสาร์ (สัตว์ที่มีชื่อว่า “ซอรัส” ตามหลัง นั่นแหละ)
Oncolites
มันคือ Algae ชนิดหนึ่ง มีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 15 cm พบได้ทั่วไป โครงสร้างของมันเหมือนกับการรวมกันของ ไซยาโนแบคทีเรีย และ สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน แต่จะมี แคลเซียมคาร์บอเนตสังเคราะห์อยู่ตามเปลือกนอกคล้ายกับปะการัง มันต้องการแสงเพื่อการเจริญเติบโต โดยจะอาศัยอยู่ตามชายฝั่งตื้นๆ มันจะสร้างชั้นเนื้อเยื่อจากข้างใน ส่วนชั้นนอกสุดก็จะเสื่อมสลายไปเป็นขั้นๆ
Thallites
มันคล้ายกับพืชจำพวก Liverworts ในปัจจุบัน มีขนาด 15 cm พบได้ทั่วไปในน้ำ มันมีลักษณะคล้ายพืชบกมาก แต่มันไม่มีราก ท่อลำเลียงกลางลำต้น และใบที่แท้จริง ลักษณะของมันจึงคล้ายริบบิ้นที่ลอยไปลอยมาในน้ำ มันจะมีรากขนเล็กเอาไว้หาธาตุอาหารในดิน และใบของมันจะแตกตัวออกเป็นสองกิ่งเสมอๆ
Lepidodendron
มันคือไม้ยืนต้นชนิดหนึ่งที่มีจุดเด่นอยู่ตรงเปลือกไม้ที่มีลักษณะคล้ายเกล็ดปลา มันสามารถสูงได้ถึง 40 m กระจายอยู่ทั่วภาคพื้นทวีป โดยมันได้วิวัฒนาการต่อยอดมาอีกขั้นหนึ่งจากยุคก่อนหน้า ใบของมันแคบและเป็นเกลียว มีการสร้างสปอร์จากในช่อใบด้านใน มันใช้เวลาครึ่งหนึ่งของช่วงชีวิต แตกกิ่งก้านอยู่ตามพื้นป่า ก่อนที่จะค่อยๆสูงขึ้น มันเติบโตช้ามากๆ และถ้ามันสร้างสปอร์ออกมาเมื่อไหร่มันก็จะหยุดสูงหรือแตกใบทันที บางสายพันธุ์ถ้ามันพร้อมปล่อยสปอร์ออกมาแล้ว มันก็จะตายทันทีเช่นกัน
Sigillaria
มันมีลักษณะคล้ายกันพืชด้านบน ยกเว้นมีเปลือกไม้คล้ายกับรังผึ้งที่สมมาตรทั่วกัน มีใบคล้ายใบหญ้ายาวๆในปัจจุบัน และใบอ่อนกว่าจะสร้างขึ้นไปเหนือใบแก่กว่าเสมอ มันมักจะมีสองกิ่งอยู่ด้านบนๆของลำต้น ซึ่งแต่ละต้นจะไม่เหมือนกันเลย และมันสามารถสูงได้แค่ 25 m เท่านั้น
Selaginella
เป็นพืชที่เหลือรอดมาถึงปัจจุบันได้ ทรงพุ่มมีขนาดเล็ก ใบเล็กเป็นเกลียว สามารถแตกกิ่งก้านออกมาได้หลายทาง มีความสูงประมาณ 15 cm
Lepidophloios
เป็นไม้ยืนต้น มีความสูง 25 cm ที่มีเปลือกไม้คล้ายกับเกล็ดของงู มันชอบเจริญเติบโตในดินอินทรีย์ (ดินที่มีอินทรียวัตถุมากกว่า 35 % คล้ายกับป่าพรุในภาคใต้ของไทย) หรือดินเหนียวที่เป็นแอ่งน้ำในป่าลึก มันสร้างสปอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในพืชตระกูลเดียวกัน และมีท่อลำเลียงสำหรับไม้ยืนต้นในยุคแรกๆอีกด้วย
Bowmanites
เป็นพืชที่มีขนาดเล็ก (8 cm) โดยมันจะดูคล้ายกับเป็นต้นอ่อนของพืชชนิดอื่น จุดเด่นของมันก็คือ มันจะมีเซลล์สร้างสปอร์ที่เป็นเพศผู้และเพศเมีย โดยเมื่อเพศทั้งสองได้พบกัน มันก็จะเกิดสปอร์ขึ้น (เป็นการพัฒนาของการปฏิสนธิของพืชสมบูรณ์เพศครั้งแรก แต่ยังไม่ผลิตทรงดอกนะครับ)
Sphenophyllum
จุดเด่นของมันอยู่ที่ใบ ที่มีลักษณะแผ่กว้างออก มีความสูงถึง 1 m จัดเป็นพืชเลื้อยชนิดหนึ่ง
Calamites
จุดเด่นของมันคือมีข้อปล้องต่อกันไปเรื่อยๆ ที่สูงถึง 20 m โดยแต่ละข้อก็จะมีใบเล็กๆเป็นพวงอยู่รอบข้อนั้นๆ
Psaronius
โดยความสูงถึง 10 m และมีเปลือกลำต้นที่สง่างามคล้ายต้นปาล์ม มันคือสายพันธุ์เฟิร์นที่สวยงามที่สุดในยุคนี้ ลักษณะของมันจะเป็นทรงลำต้นเดี่ยว ไม่แตกกิ่งก้าน รากจะทิ่มจากลำต้นด้านข้าง ลงไปในดิน ใบของมันจะมีสปอร์อยู่ใต้ใบคล้ายเฟิร์นในปัจจุบัน
Zeilleria
เป็นสายพันธุ์เฟิร์นที่มีลักษณะเป็นทรงพุ่มขนาดเล็ก มีสปอร์อยู่ใต้ใบ แต่ใบจะมีขนาดเล็กว่าแตกแขนงกว่าในปัจจุบัน
Sphenopteris
มันคือพืชที่ผสมกันระหว่างเฟิร์นและพืชมีเมล็ด มีความสูงแค่ 50 cm และพบได้ทั่วโลก มันคือพืชที่วิวัฒนาการยังไม่สุดและนิ่งดีพอ บางต้นก็พบสปอร์ บางต้นก็พบเมล็ดที่เกิดมาจากใบ (ยังไม่มีดอก) สปีชีส์ที่พบพืชเมล็ดเป็นครั้งแรกคือ Lyginopteris oldhamia มันจึงจัดเป็นพืชที่มีความสำคัญต่อการศึกษาพืชเมล็ดในยุคดึกดำบรรพ์ และยังใช้เป็นมาตรฐานเปรียบเทียบ เมื่อพบกับพืชเมล็ดสายพันธุ์อื่นๆอีกด้วย
Medullosa
มันคือไม้ยื่นต้นอีกชนิดหนึ่ง มีความสูง 3-5 m พบได้ที่ยุโรป และอเมริกาเหนือในปัจจุบัน จุดเด่นของมันคือมันจะผลิตเมล็ดที่มีขนาดใหญ่เท่าไข่ไก่เลยทีเดียว (สมัยนี้ยังไม่มีการพัฒนาของดอก หรือผลนะครับ) โดยทั้งโครงสร้างของมันจะผสมผสานระหว่างสายพันธุ์เฟิร์นกับพืชเมล็ดทั่วๆไป ถึงแม้ว่ามันจะยังไม่มีดอกแต่มันก็เริ่มมีใบที่ทำหน้าที่ห่อหุ้มเมล็ดอ่อนในระยะเริ่มแรก บริเวณขั้วของเมล็ดออกมาบ้างแล้วเช่นกัน เมล็ดของมันมีขนาดใหญ่ (ให้นึกถึงเมล็ดต้นหูกวาง) จึงทำให้ลมไม่มีผลต่อการพัดพาไปเพื่อการกระจายเผ่าพันธุ์ แต่นักวิทยาศาสตร์คาดว่า มันอาจจะถูกพาไปโดยแมลง (แมลงในยุคนั้นตัวใหญ่เท่าคนนะครับ เดี๋ยวตามอ่านต่อไปนะ) มันจึงมีความสัมพันธุ์ต่อการศึกษาพืชเมล็ดอีกชนิดหนึ่ง และอาจกล่าวได้ว่ามันคือ บิดาของพืชมีดอกก็ย่อมได้
Potoniea
เป็นไม้ยืนต้นที่มีจุดเด่นคือมีอวัยวะพิเศษที่คล้ายกับกิ่งก้านที่เชื่อมต่อกับใบ ทั้งรูปทรงพุ่ม กิ่งก้าน จะมีความแตกต่างกันในแต่ละต้น ด้วยจุดเด่นนี้ในตอนนี้อาจจะไม่มีความสำคัญอะไร แต่มันจะเป็นก้าวที่สำคัญสำหรับการมีดอกและผลในยุคถัดไปครับ
Macroneuropteris
ถึงแม้ว่ามันจะไม่ใช่พืชที่มีขนาดใหญ่ในยุคนี้ (2.5 m) แต่เมื่อพูดถึงใบของมัน กลับมีการพัฒนาไปไกลมากๆ ใบของมันจะกว้าง ยาว และใหญ่ มีการแผ่กระจายของเนื้อเยื่อพืชที่ดีมาก
Cyclopteris
มันมีขนาดเล็ก ที่ 10 cm ใบของมันจะคล้ายเปลือกหอยขนาดเล็กๆที่ซ้อนกันคล้ายกับพัด ขึ้นสู่ด้านบนไปเรื่อยๆ ในทางทฤษฎี ได้คิดกันว่า มันอาจจะพัฒนาใบให้เจริญครบทั้งจำนวนที่ต้องการก่อนและค่อยพัฒนาเรื่องความสูง จัดเป็นความหลากหลายของตำแหน่งใบอีกแบบหนึ่ง
Alethopteris
ให้จินตนาการไปถึงพืชตระกูลเฟิร์นที่มีทรงพุ่มแบบต้นจามจุรี แต่ใบจะใหญ่และกว้างกว่า(ที่สุดในยุคเลยทีเดียว) มันมีฐานใบที่แข็งแรง มีท่อลำเลียงที่ทรงพลัง มีอายุได้หลายปี และเป็นอีกชนิดหนึ่งที่กำลังพัฒนาเมล็ดเป็นของตัวเอง
Callipteridium
จัดเป็นเฟิร์นชนิดหนึ่ง ใบของมันสามารถเจริญเติบโตได้เรื่อยๆ จึงทำให้มันมีใบขนาดใหญ่กว่าลำต้นตัวเอง ถึงแม้ว่าจากหลักฐานฟอสซิลจะไม่พบอวัยวะที่ใช้สร้างสปอร์เลย จึงทำให้มีการคาดการไปว่ามันอาจจะเป็น seed-ferns ก็เป็นได้
Mariopteris
เป็นพืชเลื้อยชนิดหนึ่ง มีขนาด 50 cm จัดเป็นพืชมีเมล็ด ที่จะพึ่งพาอาศัยกับพืชชนิดอื่นเสมอๆ มีความแตกต่างของใบ ทำให้สามารถแยกสปีชีส์ต่างๆได้
Odontopteris
มันคือพืชมีเมล็ดทั่วไป ที่พบได้ในยุคนี้ มีความสูงแค่ 1 m จัดเป็นพืชที่เจริญเติบโตช้า เพราะมันจะพบมากในพื้นที่ที่แห้งแล้งหรือรอบๆบึงก็ได้ นักวิทยาศาสตร์จัดมันเป็นพืชผักชนิดหนึ่ง เพราะมักจะพบใบที่มีร่องรอยแมลงกัดกินอยู่บ่อยครั้ง
Plagiozamites
จุดเด่นของมันอยู่ที่ใบจะเข้าคู่กันโดยมีกิ่งกั้นกลาง ไม่พบลำต้นในพืชชนิดนี้ มีขนาด 1 m โดยมีจะผลิตสปอร์บริเวณใบที่ทำเป็นรูปทรงกระบอก
Noeggerathia
ใบของมันจะเป็นใบประกอบ ที่มีลักษณะกว้างมน มีการวางตัวเป็นคู่ๆของลำต้นยาวขึ้นไปที่ขนาดความสูง 1 m
.
.
.
ช่องเต็มละ ไปเขียนหน้าใหม่ต่อเลยแล้วกัน