นักวิทยาศาสตร์แคนาดากำลังพยายามสร้างผึ้งที่ทนต่อโรคและอากาศหนาว
Cr.ที่มา techtimes
ผึ้งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของแคนาดามาก ทั้งทางตรงอย่างน้ำผึ้งและทางอ้อมอย่างการผสมเกสรพืช อย่างไรก็ตามด้วยโรคในผึ้ง และอากาศโลกที่เปลี่ยนไป ปริมาณผึ้งในธรรมชาติของแคนาดาจึงกำลังลดลงอย่างน่าใจหาย
นั่นทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามเป็นอย่างมากที่จะรักษาผึ้งของแคนาดาเอาไว้ ไม่เช่นนั้นพวกเขาอาจจะต้องน้ำเข้าผึ้งจากต่างประเทศก็เป็นได้
นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ พยายามสร้างลิงที่เป็นออทิสติกและโรคจิตเภท
Cr.ที่มา newsweek
นี่อาจจะฟังดูเลวร้ายสำหรับหลายๆ คน อย่างไรก็ตามนี่เป็นหนทางในการศึกษาอาการทางจิตของมนุษย์โดยไม่ต้องทดลองกับมนุษย์จริงๆ
นี่เป็นโครงการที่การทดลองส่วนใหญ่จัดขึ้นในประเทศจีน เนื่องจากหากทำในสหรัฐฯ ที่เป็นบ้านเกิดพวกเขาอาจจะต้องมีเรื่องกระทบกระทั่งกับกลุ่มปกป้องสิทธิสัตว์หลายครั้งเลยก็เป็นได้
นักวิทยาศาสตร์อินเดียสร้างด้วงที่มีสามตา
Cr.ที่มา sciencealert
นี่เป็นงานวิจัยที่ทำให้ด้วงมีตาที่สามงอกออกมาระหว่างตาทั้งสองดวง แถมยังใช้งานได้จริงอีกด้วย นี่เป็นการงอกอวัยวะใหม่แลกกับเขาที่เล็กลงหรือหายไป
นี่นับว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากเพราะตามปกติการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายสิ่งมีชีวิตจะมาจากยีนหลายตัวมาก โดยการทดลองในครั้งนี้เชื่อกันว่าจะสามารถนำไปสู่การสร้างอวัยวะเทียมในห้องเล็บเลยก็เป็นได้
นักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนามได้สร้างม้าน้ำทองคำ
ที่มา vietnamnews
นี่เป็นผลงานที่เกิดจากการผสมยีนของแมงกะพรุนกับทอง และฉีดให้กับไข่ของม้าน้ำ โดยการทำแบบนี้จะทำให้ม้าน้ำมีสีทองเป็นประกาย ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำไปสู่การตัดแต่งสายพันธุ์ที่ดีขึ้นในอาหาร
นอกจากนี้ทีมงานยังบอกด้วยว่าการทดลองนี้ยังอาจนำไปสู่การทดแทนยีนที่ไม่ดีของมนุษย์ด้วยยีนอื่นๆ ที่ดีกว่า และในปัจจุบันทีมของพวกเขาก็กำลังทดลองกับสัตว์อย่างหนู เพื่อคิดค้นอินซูลินรูปแบบใหม่ที่ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
นักวิทยาศาสตร์จีนดัดแปลงหมูเป็นสัตว์เลี้ยง
Cr.ที่มา theguardian
จริงอยู่ที่การดัดแปลงสายพันธุ์สุกรจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าที่คิด แต่ทราบหรือไม่ว่าที่จีนมีการดัดแปลง “หมูจิ๋ว” เพื่อมาเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย ซึ่งที่จริงที่จริงแล้วหมูจิ๋วเป็นหมูสายพันธุ์ที่มีอยู่แล้ว และไม่จำเป็นต้องดัดแปลงพันธุกรรมด้วยซ้ำ
แต่ที่มีการสร้างหมูจิ๋วขึ้นมา มันมาจากความบังเอิญล้วนๆ เพราะเดิมทีแล้วนี่เป็นการกระทำเพื่อสร้างหนูทดลองในงานวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดต่างหาก
นั่นทำให้ทางทีมวิจัยวางแผนที่จะขายหมู่ที่ว่าในราคา 10,000 หยวน (ราวๆ 46,000 บาท) และแน่นอนว่าทำให้เกิดทั้งเสียงต่อต้านและสนับสนุนในสังคมไปพร้อมๆ กัน
Cr.ที่มาข้อมูลทั้งหมด listverse
ทีมวิจัยจีนโชว์เทคนิคสร้าง ‘แกะลายจุด’
เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรงจากแวดวงวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ‘CRISPR/Cas9’ ทำให้พวกเราแก้ไขพันธุกรรมในระยะตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำและสามารถตัดแต่งยีน ‘ได้ทุกตำแหน่ง’ ราวกับการ Copy/Paste ตัวอักษรทำรายงานส่งครู
ทีมนักวิทยาศาสตร์จีน Liu Mingjun จากสถาบัน Xinjiang Animal Husbandry Research โชว์ผลงานล่าสุด ‘ดัดแปลงได้ทุกอย่าง’ แม้กระทั้งการเปลี่ยนสีขนแกะให้เป็นจุด และโครงการต่อไปคือการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้กับแกะรุ่นต่อๆไป ทีมวิจัยหวังผลการทดลองนี้จะเป็นการกรุยทางสู่ความก้าวหน้าทางพันธุวิศวกรรมและประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เราจะพัฒนาอวัยวะสัตว์ให้พร้อมเปลี่ยนถ่ายสู่ร่างกายมนุษย์ในเร็ววัน
Cr.ที่มา – www.mirror.co.uk
นักวิทยาศาสตร์จีนใส่ยีน MCPH1 ของมนุษย์ในลิง
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2019 วารสาร National Science Review ของปักกิ่งได้อธิบายการทดลองครั้งนี้ไว้ว่า เป็นการทดลองครั้งแรกที่ตั้งคำถามถึงพื้นฐานทางพันธุกรรมของการกำเนิดสมองของมนุษย์ โดยใช้ลิงดัดแปลงพันธุกรรมเป็นตัวหาคำตอบ และให้ความสำคัญกับการใช้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์เพื่อทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของมนุษย์
นักวิจัยทำการใส่สำเนาของยีน MCPH1 ของมนุษย์ ที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาสมองของเรา เข้าไปในลิง 11 ตัวผ่านไวรัสที่เป็นตัวนำของยีน และพบว่ามีลิง 6 ตัวตาย ในขณะที่ 5 ตัวที่เหลือแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในด้านความรู้ความเข้าใจของพวกมันอย่างชัดเจน
แม้ลิงทั้ง 5 ตัวจะมีพฤติกรรมทั่วไปหรือขนาดของสมองไม่แตกต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก แต่ความจำระยะสั้นของพวกมันดีขึ้น การตอบสนองดีขึ้น และสมองยังพัฒนาเป็นระยะเวลานานตามแบบฉบับของมนุษย์อีกด้วย
Bing Su นักพันธุศาสตร์ที่สถาบันสัตววิทยาคุนหมิง ผู้นำการวิจัยครั้งนี้กล่าวว่าเขากำลังการทดลองที่เกี่ยวกับความฉลาดของมนุษย์และสัตว์ที่ใหญ่กว่านี้ โดยการเพิ่มยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2C ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างใหม่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษาและจิตสำนึก ลงไปในลิง แต่ยังไม่มีผลการวิจัยออกมาให้ทราบกัน
เชื่อกันว่าลิงคาปูชินเป็นหนึ่งในลิงสายพันธุ์ใหม่ที่ฉลาดที่สุดในโลก พวกมันมีความสามารถในการใช้เครื่องมือ เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และแสดงสัญญาณต่าง ๆ จากความตระหนักรู้ในตนเอง
Cr.ที่มา flagfrog.com
นักวิจัยอังกฤษวิจัยหนอนใยผักดัดแปลงพันธุกรรม
หนอนใยผักจัดเป็นศัตรูพืชตัวฉกาจของผัก เช่น คะน้า กะหล่ำและบร๊อคโคลี่ โดยในแต่ละปีหนอนใยผักสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตผักเป็นมูลค่าถึง 4-5 ห้าพันล้าน USD หนอนชนิดนี้มีวงจรชีวิตที่สั้นมากและตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟอง จึงมีการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีความสามารถต้านทานต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ดี ด้วยเหตุนี้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาจึงมีการริเริ่มหาแนวทางใหม่ในการควบคุมประชากรหนอนใยผัก
บริษัท Oxitecจากอังกฤษ ได้วิจัยและพัฒนาหนอนใยผักดัดแปลงพันธุกรรมเพศผู้ซึ่งสามารถผสมกับหนอนเพศเมียและได้ลูกที่เป็นหมัน เพื่อลดอัตราการเพิ่มจำนวนของหนอนใยผัก โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA)ได้อนุมัติการทดสอบใช้หนอนใยผักดัดแปลงพันธุกรรมนี้แล้วในแปลงปลูกกะหล่ำในนิวยอร์ก
การทดสอบถูกควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกีฏวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) ถือเป็นความหวังใหม่ในการลดความเสียหายของผลผลิตผักที่เกิดจากหนอนใยผัก อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์บางส่วนได้คัดค้านโครงการนี้และแสดงความเป็นห่วงว่าหนอนดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้อาจปนเปื้อนในผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทำให้ไม่ผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
(เขียนโดย: ผศ. ดร. สิริวัฒน์ สาครวาสี)
Cr.mjusmartfarm.wordpress.com
ยุงดัดแปลงพันธุกรรมต้านไข้เลือดออก
ยุงที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมนี้คัดใช้เฉพาะยุงตัวผู้ ซึ่งจะถูกนำบางส่วนของยีนไวรัสโรคเริม (herpes simplex) และแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) มาตัดต่อใส่ลงไป เมื่อยุงจีเอ็มโอตัวผู้ถูกกลับสู่ธรรมชาติ และไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมีย ซึ่งเป็นยุงที่กัดคนและเป็นพาหะโรค ก็จะทำให้ไข่ที่ยุงตัวเมียวางไว้ฝ่อ ไม่ฟักออกเป็นลูกน้ำ ช่วยลดประชากรยุงที่จะเป็นพาหะ นำมาสู่การลดการแพร่เชื้อไข้เลือดออกได้
ทั้งนี้ ออกซิเทค ซึ่งเคยทำการทดลองแบบเดียวกันนี้แล้วที่เกาะเคย์เมนและประเทศบราซิล และได้ผลที่น่าพอใจ ระบุว่า จะไม่มียุงตัวเมียที่เหลือจากขั้นตอนการแยกเพศหลุดรอดออกนอกแล็บเป็นอันขาด และหากว่ายุงที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมไปกัดคนเข้า สารดัดแปลงพันธุกรรมนั้นก็จะไม่เข้าสู่กระแสเลือดแน่นอน
แต่ก็มีชาวอเมริกันจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการทดลองนี้ เนื่องจากไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยหรือผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหากว่ามนุษย์ถูกยุงจีเอ็มโอเหล่านี้กัดเข้า
Cr. ข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก bahianapolitica.com.br
“แมวเรืองแสง” หนึ่งในสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม
“แมวเรืองแสง” หนึ่งในบรรดาสัตว์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการทดลองรักษาโรคเอดส์และเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องในมนุษย์
ความจริงแล้ว การสร้างแมวเรืองแสง ได้เกิดขึ้นมานานแล้วในสหรัฐอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาลเมโยอัน ได้พยายามค้นหาวิธีรักษาเชื้อเอชไอวีในมนุษย์ จึงได้นำแมวบ้านธรรมดามาทดลองเพื่อหาวิธีการรักษาโรคดังกล่าว ซึ่งแมวที่ถูกจับมาทดลองจะได้รับเชื้อไวรัสเอฟไอวี (FIV: Feline immunodeficiency virus) หรือไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานบกพร่องในแมวนั่นเอง
เชื้อ FIV ในแมวทำงานเหมือนกับเชื้อ HIV ในมนุษย์ เชื้อไวรัสทั้งสองทำให้ร่างกายสูญเสียเซลล์ที ที่ใช้ต่อสู้กับการติดเชื้อ ทำให้มนุษย์และแมวสามารถติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และอาจนำมาสู่ “โรคเอดส์” ในที่สุด
ขณะนั้น นักวิจัยได้ค้นพบโปรตีนในลิงชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ HIV ในมนุษย์ และเชื้อ FIV ในแมว ทว่าการจะนำโปรตีนดังกล่าวมาปรับใช้กับมนุษย์ยังไม่เป็นที่ยืนยันในเรื่องของความปลอดภัย จึงต้องนำโปรตีนดังกล่าวมาทดลองกับแมวที่มีเชื้อ FIV เสียก่อน นักวิจัยจึงฉีดเชื้อไวรัส FIV เข้าไปในแมว ก่อนที่จะฉีดโปรตีนต้านโรคเอดส์จากลิงเข้าไปในไข่ของแมวตัวเมียด้วย
และเพื่อติดตามการทำงานของยีนในตัวแมว นักวิจัยจึงฉีดยีนของแมงกะพรุนเรืองแสงเข้าไปในไข่ของแมวตัวเมียด้วยเช่นกัน ยีนของแมงกะพรุนเรืองแสงจะช่วยให้ร่างกายแต่ละส่วนของแมวสามารถเรืองแสงได้ จึงทำให้มดลูกของแมวเรืองแสงและสะดวกต่อการติดตามยีนต้านไวรัส HIV
Cr.flagfrog.com
เส้นไหม ที่ดัดแปลงพันธุกรรมจากแมงมุม
นักวิจัยชาวญี่ปุ่นประดิษฐ์เส้นไหม ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมจากแมงมุมได้แล้ว โดยมีความแข็งแรงกว่าเส้นไหมปกติถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยพบวิธีปลูกถ่ายยีนจากแมงมุมสายพันธุ์ Araneus Vetricosus มายังตัวหนอนไหม
โยชิฮิโกะ คูวานะ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวเกษตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ทางคณะวิจัยนำยีนของแมงมุมมาใส่ในหนอนไหมที่ใช้ทางพาณิชย์ทั่วไป โดยเส้นไยจากรังไหมที่ได้จะแข็งแรงกว่าเส้นไยทั่วไป 1.5 เท่า
การนำใยแมงมุมมาทำเส้นด้ายเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากแมงมุมไม่ผลิตเส้นใยมากเท่าหนอนไหม นอกจากนี้ แมงมุมยังเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่รวมกันหลายตัว ซึ่งโยชิฮิโกะ กล่าวว่า ทางคณะวิจัยเคยจับแมงมุม 2 ตัวมาอยู่ด้วยกันเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าเจอแมงมุมเพียงตัวเดียวเท่านั้น
ขณะนี้ยังมีคำถามว่านวัตกรรมนี้ จะสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้แค่ไหน เนื่องจากยังทำได้เฉพาะในห้องทดลองเท่านั้น แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างก็ตื่นเต้นกับการค้นพบครั้งนี้
(ขอบคุณข้อมูล ข่าวต่างประเทศ ครอบครัวข่าว 3)
Cr.ที่มา ข่าวสดออนไลน์
Rise of the Planet of the Apes กำเนิดพิภพวานร
เริ่มต้นจากความถือดีของมนุษย์ซึ่งเป็นชนวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่นำไปสู่ความฉลาดของฝูงวานร และเป็นการท้าทายแห่งดินแดนของเราซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีอำนาจในการครองโลก
ตัวละครซีซ่าร์ บริษัท WETA ทีมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่อง Avatar ได้สร้างขึ้นมาด้วยเทคนิค CGI ทำให้เกิดการแสดงอารมณ์และความฉลาดที่น่าตื่นเต้น
Cr.mono29.com
สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมที่เกิดขึ้นจริงบนโลก
Cr.ที่มา techtimes
ผึ้งมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของแคนาดามาก ทั้งทางตรงอย่างน้ำผึ้งและทางอ้อมอย่างการผสมเกสรพืช อย่างไรก็ตามด้วยโรคในผึ้ง และอากาศโลกที่เปลี่ยนไป ปริมาณผึ้งในธรรมชาติของแคนาดาจึงกำลังลดลงอย่างน่าใจหาย
นั่นทำให้นักวิทยาศาสตร์พยายามเป็นอย่างมากที่จะรักษาผึ้งของแคนาดาเอาไว้ ไม่เช่นนั้นพวกเขาอาจจะต้องน้ำเข้าผึ้งจากต่างประเทศก็เป็นได้
นักวิทยาศาสตร์สหรัฐฯ พยายามสร้างลิงที่เป็นออทิสติกและโรคจิตเภท
Cr.ที่มา newsweek
นี่อาจจะฟังดูเลวร้ายสำหรับหลายๆ คน อย่างไรก็ตามนี่เป็นหนทางในการศึกษาอาการทางจิตของมนุษย์โดยไม่ต้องทดลองกับมนุษย์จริงๆ
นี่เป็นโครงการที่การทดลองส่วนใหญ่จัดขึ้นในประเทศจีน เนื่องจากหากทำในสหรัฐฯ ที่เป็นบ้านเกิดพวกเขาอาจจะต้องมีเรื่องกระทบกระทั่งกับกลุ่มปกป้องสิทธิสัตว์หลายครั้งเลยก็เป็นได้
นักวิทยาศาสตร์อินเดียสร้างด้วงที่มีสามตา
Cr.ที่มา sciencealert
นี่เป็นงานวิจัยที่ทำให้ด้วงมีตาที่สามงอกออกมาระหว่างตาทั้งสองดวง แถมยังใช้งานได้จริงอีกด้วย นี่เป็นการงอกอวัยวะใหม่แลกกับเขาที่เล็กลงหรือหายไป
นี่นับว่าเป็นเรื่องที่น่าทึ่งมากเพราะตามปกติการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกายสิ่งมีชีวิตจะมาจากยีนหลายตัวมาก โดยการทดลองในครั้งนี้เชื่อกันว่าจะสามารถนำไปสู่การสร้างอวัยวะเทียมในห้องเล็บเลยก็เป็นได้
นักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนามได้สร้างม้าน้ำทองคำ
ที่มา vietnamnews
นี่เป็นผลงานที่เกิดจากการผสมยีนของแมงกะพรุนกับทอง และฉีดให้กับไข่ของม้าน้ำ โดยการทำแบบนี้จะทำให้ม้าน้ำมีสีทองเป็นประกาย ซึ่งเชื่อกันว่าจะนำไปสู่การตัดแต่งสายพันธุ์ที่ดีขึ้นในอาหาร
นอกจากนี้ทีมงานยังบอกด้วยว่าการทดลองนี้ยังอาจนำไปสู่การทดแทนยีนที่ไม่ดีของมนุษย์ด้วยยีนอื่นๆ ที่ดีกว่า และในปัจจุบันทีมของพวกเขาก็กำลังทดลองกับสัตว์อย่างหนู เพื่อคิดค้นอินซูลินรูปแบบใหม่ที่ช่วยรักษาโรคเบาหวาน
นักวิทยาศาสตร์จีนดัดแปลงหมูเป็นสัตว์เลี้ยง
Cr.ที่มา theguardian
จริงอยู่ที่การดัดแปลงสายพันธุ์สุกรจะเกิดขึ้นบ่อยกว่าที่คิด แต่ทราบหรือไม่ว่าที่จีนมีการดัดแปลง “หมูจิ๋ว” เพื่อมาเป็นสัตว์เลี้ยงด้วย ซึ่งที่จริงที่จริงแล้วหมูจิ๋วเป็นหมูสายพันธุ์ที่มีอยู่แล้ว และไม่จำเป็นต้องดัดแปลงพันธุกรรมด้วยซ้ำ
แต่ที่มีการสร้างหมูจิ๋วขึ้นมา มันมาจากความบังเอิญล้วนๆ เพราะเดิมทีแล้วนี่เป็นการกระทำเพื่อสร้างหนูทดลองในงานวิจัยเกี่ยวกับเซลล์ต้นกำเนิดต่างหาก
นั่นทำให้ทางทีมวิจัยวางแผนที่จะขายหมู่ที่ว่าในราคา 10,000 หยวน (ราวๆ 46,000 บาท) และแน่นอนว่าทำให้เกิดทั้งเสียงต่อต้านและสนับสนุนในสังคมไปพร้อมๆ กัน
Cr.ที่มาข้อมูลทั้งหมด listverse
ทีมวิจัยจีนโชว์เทคนิคสร้าง ‘แกะลายจุด’
เทคโนโลยีดัดแปลงพันธุกรรมที่กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างร้อนแรงจากแวดวงวิทยาศาสตร์ทั่วโลก ‘CRISPR/Cas9’ ทำให้พวกเราแก้ไขพันธุกรรมในระยะตัวอ่อนได้อย่างแม่นยำและสามารถตัดแต่งยีน ‘ได้ทุกตำแหน่ง’ ราวกับการ Copy/Paste ตัวอักษรทำรายงานส่งครู
ทีมนักวิทยาศาสตร์จีน Liu Mingjun จากสถาบัน Xinjiang Animal Husbandry Research โชว์ผลงานล่าสุด ‘ดัดแปลงได้ทุกอย่าง’ แม้กระทั้งการเปลี่ยนสีขนแกะให้เป็นจุด และโครงการต่อไปคือการเพิ่มมวลกล้ามเนื้อให้กับแกะรุ่นต่อๆไป ทีมวิจัยหวังผลการทดลองนี้จะเป็นการกรุยทางสู่ความก้าวหน้าทางพันธุวิศวกรรมและประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่เราจะพัฒนาอวัยวะสัตว์ให้พร้อมเปลี่ยนถ่ายสู่ร่างกายมนุษย์ในเร็ววัน
Cr.ที่มา – www.mirror.co.uk
นักวิทยาศาสตร์จีนใส่ยีน MCPH1 ของมนุษย์ในลิง
เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2019 วารสาร National Science Review ของปักกิ่งได้อธิบายการทดลองครั้งนี้ไว้ว่า เป็นการทดลองครั้งแรกที่ตั้งคำถามถึงพื้นฐานทางพันธุกรรมของการกำเนิดสมองของมนุษย์ โดยใช้ลิงดัดแปลงพันธุกรรมเป็นตัวหาคำตอบ และให้ความสำคัญกับการใช้สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ไม่ใช่มนุษย์เพื่อทำความเข้าใจลักษณะเฉพาะของมนุษย์
นักวิจัยทำการใส่สำเนาของยีน MCPH1 ของมนุษย์ ที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการพัฒนาสมองของเรา เข้าไปในลิง 11 ตัวผ่านไวรัสที่เป็นตัวนำของยีน และพบว่ามีลิง 6 ตัวตาย ในขณะที่ 5 ตัวที่เหลือแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าในด้านความรู้ความเข้าใจของพวกมันอย่างชัดเจน
แม้ลิงทั้ง 5 ตัวจะมีพฤติกรรมทั่วไปหรือขนาดของสมองไม่แตกต่างจากเดิมเท่าไหร่นัก แต่ความจำระยะสั้นของพวกมันดีขึ้น การตอบสนองดีขึ้น และสมองยังพัฒนาเป็นระยะเวลานานตามแบบฉบับของมนุษย์อีกด้วย
Bing Su นักพันธุศาสตร์ที่สถาบันสัตววิทยาคุนหมิง ผู้นำการวิจัยครั้งนี้กล่าวว่าเขากำลังการทดลองที่เกี่ยวกับความฉลาดของมนุษย์และสัตว์ที่ใหญ่กว่านี้ โดยการเพิ่มยีนมนุษย์ประเภท SRGAP2C ที่ก่อให้เกิดการพัฒนาโครงสร้างใหม่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาษาและจิตสำนึก ลงไปในลิง แต่ยังไม่มีผลการวิจัยออกมาให้ทราบกัน
เชื่อกันว่าลิงคาปูชินเป็นหนึ่งในลิงสายพันธุ์ใหม่ที่ฉลาดที่สุดในโลก พวกมันมีความสามารถในการใช้เครื่องมือ เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ และแสดงสัญญาณต่าง ๆ จากความตระหนักรู้ในตนเอง
Cr.ที่มา flagfrog.com
นักวิจัยอังกฤษวิจัยหนอนใยผักดัดแปลงพันธุกรรม
หนอนใยผักจัดเป็นศัตรูพืชตัวฉกาจของผัก เช่น คะน้า กะหล่ำและบร๊อคโคลี่ โดยในแต่ละปีหนอนใยผักสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตผักเป็นมูลค่าถึง 4-5 ห้าพันล้าน USD หนอนชนิดนี้มีวงจรชีวิตที่สั้นมากและตัวเมียหนึ่งตัวสามารถวางไข่ได้หลายร้อยฟอง จึงมีการแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีความสามารถต้านทานต่อสารเคมีกำจัดศัตรูพืชได้ดี ด้วยเหตุนี้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาจึงมีการริเริ่มหาแนวทางใหม่ในการควบคุมประชากรหนอนใยผัก
บริษัท Oxitecจากอังกฤษ ได้วิจัยและพัฒนาหนอนใยผักดัดแปลงพันธุกรรมเพศผู้ซึ่งสามารถผสมกับหนอนเพศเมียและได้ลูกที่เป็นหมัน เพื่อลดอัตราการเพิ่มจำนวนของหนอนใยผัก โดยกระทรวงเกษตรของสหรัฐอเมริกา (USDA)ได้อนุมัติการทดสอบใช้หนอนใยผักดัดแปลงพันธุกรรมนี้แล้วในแปลงปลูกกะหล่ำในนิวยอร์ก
การทดสอบถูกควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญด้านกีฏวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell University) ถือเป็นความหวังใหม่ในการลดความเสียหายของผลผลิตผักที่เกิดจากหนอนใยผัก อย่างไรก็ตามเกษตรกรผู้ทำฟาร์มแบบเกษตรอินทรีย์บางส่วนได้คัดค้านโครงการนี้และแสดงความเป็นห่วงว่าหนอนดัดแปลงพันธุกรรมเหล่านี้อาจปนเปื้อนในผลผลิตเกษตรอินทรีย์ทำให้ไม่ผ่านมาตรฐานเกษตรอินทรีย์
(เขียนโดย: ผศ. ดร. สิริวัฒน์ สาครวาสี)
Cr.mjusmartfarm.wordpress.com
ยุงดัดแปลงพันธุกรรมต้านไข้เลือดออก
ยุงที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมนี้คัดใช้เฉพาะยุงตัวผู้ ซึ่งจะถูกนำบางส่วนของยีนไวรัสโรคเริม (herpes simplex) และแบคทีเรียอีโคไล (E. coli) มาตัดต่อใส่ลงไป เมื่อยุงจีเอ็มโอตัวผู้ถูกกลับสู่ธรรมชาติ และไปผสมพันธุ์กับยุงตัวเมีย ซึ่งเป็นยุงที่กัดคนและเป็นพาหะโรค ก็จะทำให้ไข่ที่ยุงตัวเมียวางไว้ฝ่อ ไม่ฟักออกเป็นลูกน้ำ ช่วยลดประชากรยุงที่จะเป็นพาหะ นำมาสู่การลดการแพร่เชื้อไข้เลือดออกได้
ทั้งนี้ ออกซิเทค ซึ่งเคยทำการทดลองแบบเดียวกันนี้แล้วที่เกาะเคย์เมนและประเทศบราซิล และได้ผลที่น่าพอใจ ระบุว่า จะไม่มียุงตัวเมียที่เหลือจากขั้นตอนการแยกเพศหลุดรอดออกนอกแล็บเป็นอันขาด และหากว่ายุงที่ได้รับการตัดแต่งพันธุกรรมไปกัดคนเข้า สารดัดแปลงพันธุกรรมนั้นก็จะไม่เข้าสู่กระแสเลือดแน่นอน
แต่ก็มีชาวอเมริกันจำนวนมากที่ไม่เห็นด้วยกับการทดลองนี้ เนื่องจากไม่มั่นใจถึงความปลอดภัยหรือผลที่จะเกิดขึ้นตามมาหากว่ามนุษย์ถูกยุงจีเอ็มโอเหล่านี้กัดเข้า
Cr. ข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก bahianapolitica.com.br
“แมวเรืองแสง” หนึ่งในสัตว์ดัดแปลงพันธุกรรม
“แมวเรืองแสง” หนึ่งในบรรดาสัตว์ที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรม โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้ในการทดลองรักษาโรคเอดส์และเชื้อเอชไอวี ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิด ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องในมนุษย์
ความจริงแล้ว การสร้างแมวเรืองแสง ได้เกิดขึ้นมานานแล้วในสหรัฐอเมริกา โดยนักวิทยาศาสตร์จากโรงพยาบาลเมโยอัน ได้พยายามค้นหาวิธีรักษาเชื้อเอชไอวีในมนุษย์ จึงได้นำแมวบ้านธรรมดามาทดลองเพื่อหาวิธีการรักษาโรคดังกล่าว ซึ่งแมวที่ถูกจับมาทดลองจะได้รับเชื้อไวรัสเอฟไอวี (FIV: Feline immunodeficiency virus) หรือไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะภูมิต้านทานบกพร่องในแมวนั่นเอง
เชื้อ FIV ในแมวทำงานเหมือนกับเชื้อ HIV ในมนุษย์ เชื้อไวรัสทั้งสองทำให้ร่างกายสูญเสียเซลล์ที ที่ใช้ต่อสู้กับการติดเชื้อ ทำให้มนุษย์และแมวสามารถติดเชื้อต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น และอาจนำมาสู่ “โรคเอดส์” ในที่สุด
ขณะนั้น นักวิจัยได้ค้นพบโปรตีนในลิงชนิดหนึ่ง ที่มีความสามารถในการยับยั้งเชื้อ HIV ในมนุษย์ และเชื้อ FIV ในแมว ทว่าการจะนำโปรตีนดังกล่าวมาปรับใช้กับมนุษย์ยังไม่เป็นที่ยืนยันในเรื่องของความปลอดภัย จึงต้องนำโปรตีนดังกล่าวมาทดลองกับแมวที่มีเชื้อ FIV เสียก่อน นักวิจัยจึงฉีดเชื้อไวรัส FIV เข้าไปในแมว ก่อนที่จะฉีดโปรตีนต้านโรคเอดส์จากลิงเข้าไปในไข่ของแมวตัวเมียด้วย
และเพื่อติดตามการทำงานของยีนในตัวแมว นักวิจัยจึงฉีดยีนของแมงกะพรุนเรืองแสงเข้าไปในไข่ของแมวตัวเมียด้วยเช่นกัน ยีนของแมงกะพรุนเรืองแสงจะช่วยให้ร่างกายแต่ละส่วนของแมวสามารถเรืองแสงได้ จึงทำให้มดลูกของแมวเรืองแสงและสะดวกต่อการติดตามยีนต้านไวรัส HIV
Cr.flagfrog.com
เส้นไหม ที่ดัดแปลงพันธุกรรมจากแมงมุม
นักวิจัยชาวญี่ปุ่นประดิษฐ์เส้นไหม ที่ได้รับการดัดแปลงพันธุกรรมจากแมงมุมได้แล้ว โดยมีความแข็งแรงกว่าเส้นไหมปกติถึง 50 เปอร์เซ็นต์ โดยพบวิธีปลูกถ่ายยีนจากแมงมุมสายพันธุ์ Araneus Vetricosus มายังตัวหนอนไหม
โยชิฮิโกะ คูวานะ นักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์ชีวเกษตกรรมแห่งชาติ กล่าวว่า ทางคณะวิจัยนำยีนของแมงมุมมาใส่ในหนอนไหมที่ใช้ทางพาณิชย์ทั่วไป โดยเส้นไยจากรังไหมที่ได้จะแข็งแรงกว่าเส้นไยทั่วไป 1.5 เท่า
การนำใยแมงมุมมาทำเส้นด้ายเป็นเรื่องที่ยากมาก เนื่องจากแมงมุมไม่ผลิตเส้นใยมากเท่าหนอนไหม นอกจากนี้ แมงมุมยังเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอยู่รวมกันหลายตัว ซึ่งโยชิฮิโกะ กล่าวว่า ทางคณะวิจัยเคยจับแมงมุม 2 ตัวมาอยู่ด้วยกันเป็นเวลา 1 เดือน พบว่าเจอแมงมุมเพียงตัวเดียวเท่านั้น
ขณะนี้ยังมีคำถามว่านวัตกรรมนี้ จะสามารถนำมาปฏิบัติจริงได้แค่ไหน เนื่องจากยังทำได้เฉพาะในห้องทดลองเท่านั้น แต่นักวิทยาศาสตร์ต่างก็ตื่นเต้นกับการค้นพบครั้งนี้
(ขอบคุณข้อมูล ข่าวต่างประเทศ ครอบครัวข่าว 3)
Cr.ที่มา ข่าวสดออนไลน์
Rise of the Planet of the Apes กำเนิดพิภพวานร
เริ่มต้นจากความถือดีของมนุษย์ซึ่งเป็นชนวนเหตุการณ์ต่างๆ ที่นำไปสู่ความฉลาดของฝูงวานร และเป็นการท้าทายแห่งดินแดนของเราซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่มีอำนาจในการครองโลก
ตัวละครซีซ่าร์ บริษัท WETA ทีมวิชวลเอ็ฟเฟ็กต์เบื้องหลังภาพยนตร์เรื่อง Avatar ได้สร้างขึ้นมาด้วยเทคนิค CGI ทำให้เกิดการแสดงอารมณ์และความฉลาดที่น่าตื่นเต้น
Cr.mono29.com