ครั้งแรก ที่นักวิจัยตรวจพบ “ไมโครพลาสติก” ในลูกแมวน้อย ที่ยังอยู่ในครรภ์

นี่เป็นครั้งแรก ที่นักวิจัยตรวจพบ “ไมโครพลาสติก” ในลูกแมวน้อย ที่ยังอยู่ในครรภ์
ผลการศึกษาของนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยปาร์มา (University of Parma) ที่ตีพิมพ์ลงในวารสาร PLOS ONE ซึ่งได้ทำการตรวจสอบแมวจรจัด 8 ตัวในช่วงแรกของการตั้งครรภ์ ผลพบว่า มีเศษพลาสติกในรกและลูกแมวในครรภ์ ราว 5 ตัวอย่าง จากทั้งหมด 16 ตัวอย่าง (แมว 8 ตัว ลูกแมวในท้องอีก 8 ตัว)
.
นักวิจัยรู้ได้อย่างไรว่ามีเศษพลาสติกในแมว ?

อย่างที่บอก นักวิจัยได้ศึกษาแมว 8 ตัว ทั้งหมดอยู่ในระยะแรกเริ่มของการตั้งครรภ์ หรือราว ๆ 15-30 วัน จากนั้น ทีมวิจัยใช้เทคนิคทางเคมีที่เรียกว่า รามานสเปกโตรสโก (Raman spectroscopy) ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์ องค์ประกอบทางเคมีหรือโครงสร้างของโมเลกุล
.
เมื่อลงมือตรวจ นักวิจัยพบไมโครพลาสติกในเนื้อเยื่อของทารกในครรภ์แมว 2 ตัว และในเนื้อเยื่อของรกแมวอีก 3 ตัว (ระวังสับสนระหว่างทารก กับรก) ทีนี้ ถ้าลงลึกในรายละเอียดไปอีกนิด เศษพลาสติกที่ว่านั้นสามารถจำแนกได้ ดังนี้
.
นักวิจัยพบทั้งหมด 19 อนุภาค มีขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน และมีเม็ดสีแตกต่างกันไป อาทิ Mars Red, Alcian Blue และ Burnt Umber ซึ่งเหล่านี้พบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์พลาสติกที่วางขายเชิงพาณิชย์ และ 7 อนุภาคในนั้น ได้รับการยืนยันว่าเป็น โพลีเอทิลีน (polyethylene)
.
น่ากังวลแค่ไหน?

อย่างที่ทุกคนเข้าใจ ไมโครพลาสติกนั้นกระจายและอยู่แวดล้อมเรา โดยที่เรามองไม่เห็นมัน ทั้งยังมีงานวิจัยที่แสดงหลักฐานว่ามีการซึมลงเข้าไปในอวัยส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย ในที่นี้ การพบพลาสติกจิ๋วในแมวนั้นสะท้อนว่าแมวจรจัดเหล่านี้ใช้ชีวิตอย่างอิสระ ล่าเหยื่อ กินอาหารตามถนน เผลอได้รับพลาสติกเข้าไปในร่างกายโดยไม่รู้ตัว เข้าไปถึงทารกในครรภ์
.
อนึ่งว่า ไมโครพลาสติกได้ปนเปื้อนอยู่รายล้อมทั้งสัตว์และมนุษย์ ซึ่งจากตัวอย่างของแมวที่หยิบยกมา หรือการศึกษาชิ้นก่อน ๆ ก็อาจสรุปได้ว่าเราไม่จำเป็นต้องสัมผัสบรรจุภัณฑ์พลาสติกโดยตรง ก็เสี่ยงได้รับไมโครพลาสติกแล้ว

ที่มา : SpringNews
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่