นักวิทยาศาสตร์พบ พลาสติกในสมองมนุษย์ ปริมาณเทียบเท่า ‘ช้อน 1 คัน’
.
หลายคนคงเคยได้ยินว่า พลาสติกสามารถปนเปื้อนในร่างกายรวมถึงสมองได้ แต่อาจยังไม่เห็นภาพว่ามีมากแค่ไหน โดยไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ในสมองมนุษย์อาจมีพลาสติกสะสมอยู่ ในปริมาณเทียบเท่ากับ ‘ช้อน 1 คัน’
.
งานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Nature Medicine พบว่า ‘ไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก’ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 1 ถึง 1,000 นาโนเมตร อาจสะสมในสมองมนุษย์ ‘ในระดับที่สูงกว่า’ การสะสมในตับและไต ราว 7 ถึง 30 เท่า โดยพบโพลีเอทิลีนซึ่งมักใช้ในบรรจุภัณฑ์มากที่สุด
.
ผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างสมองมนุษย์ที่ถูกชันสูตร จำนวน 52 ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งเป็น 28 ตัวอย่างจากปี 2016 และ 24 ตัวอย่างจากปี 2024 พร้อมทั้งตรวจสอบตับและไตจากร่างกายเดียวกัน จากนั้นวิเคราะห์เนื้อเยื่อ โดยใช้การถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการวิเคราะห์ระดับโมเลกุล เพื่อระบุองค์ประกอบทางเคมีของอวัยวะ
.
จากนั้นพบว่า ตัวอย่างสมองและตับจากปี 2024 มีการสะสมอนุภาคพลาสติกที่ ‘สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ’ เมื่อเทียบกับปี 2016 โดยสิ่งที่น่ากังวลคือในระยะเวลาเพียง 8 ปีนี้ ปริมาณพลาสติกในร่างกาย ‘เพิ่มขึ้นถึง 50%’
.
“ความเข้มข้นที่เราพบในเนื้อเยื่อสมองของคนทั่วไป ซึ่งมีอายุเฉลี่ยประมาณ 45 หรือ 50 ปี อยู่ที่ 4,800 ไมโครกรัมต่อกรัม หรือคิดเป็น 0.48% ของน้ำหนักสมอง” แมทธิว แคมเพน (Matthew Campen) ผู้เขียนร่วมของการศึกษานี้ จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก (University of New Mexico) กล่าวว่า ปริมาณพลาสติกที่พบในร่างกายนั้น อาจเทียบเท่ากับช้อนขนาดมาตรฐาน 1 คัน
.
เขาระบุว่า “สมองของเราในปัจจุบันประกอบด้วยเนื้อเยื่อสมอง 99.5% และส่วนที่เหลือเป็นพลาสติก” ซึ่งก่อนหน้านี้งานวิจัยหลายชิ้น ก็พบว่าไมโครพลาสติกอาจสะสมอยู่ในปอด ลำไส้ เลือด ตับ และรกของมนุษย์
.
อย่างไรก็ตามแคมเพนชี้แจงว่า มีความเป็นไปได้ที่วิธีวัดพลาสติกในปัจจุบัน อาจประเมินระดับของพลาสติกในร่างกายสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป แต่เขาย้ำว่า “เรากำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อให้ได้วิธีประมาณการที่แม่นยำ ซึ่งผมคิดว่าเราน่าจะทำได้ภายในปีหน้า”
.
“ไมโครพลาสติกอยู่ในอาหารที่เรากิน น้ำที่เราดื่ม และแม้แต่ในอากาศที่เราหายใจ” ริชาร์ด ทอมป์สัน (Richard Thompson) ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษและไมโครพลาสติก จากมหาวิทยาลัยพลีมัธ (University of Plymouth) ประเทศอังกฤษ กล่าว โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า ความเข้มข้นของพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในบ้าน อากาศ และน้ำรอบตัวเรานั้น อาจเป็นสาเหตุ
.
ด้านแอนดรูว์ เวสต์ (Andrew West) ผู้ร่วมการวิจัยก็กล่าวว่า “ระดับของพลาสติกที่ตรวจพบในสมองนั้นแทบจะเหลือเชื่อ จริงๆ แล้ว ผมไม่เชื่อเลยจนกระทั่งได้เห็นข้อมูลทั้งหมด”
.
คำถามต่อไปที่สำคัญคือ พลาสติกเข้าไปในสมองได้อย่างไร สามารถกำจัดได้หรือไม่ และพลาสติกเหล่านี้เป็นอันตรายแค่ไหน ซึ่งเวสต์ระบุว่า “พูดอย่างง่ายๆ ก็คือ เราไม่รู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพ จากไมโครพลาสติกในสมอง” อย่างไรก็ตามเขาย้ำว่า แม้จะยังไม่รู้ผลกระทบที่ชัดเจน แต่การแก้ปัญหาพลาสติกปนเปื้อนในร่างกายมนุษย์ ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน
.
นำบทความมาจาก
The MATTER
นักวิทยาศาสตร์พบ พลาสติกในสมองมนุษย์
.
หลายคนคงเคยได้ยินว่า พลาสติกสามารถปนเปื้อนในร่างกายรวมถึงสมองได้ แต่อาจยังไม่เห็นภาพว่ามีมากแค่ไหน โดยไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์เผยว่า ในสมองมนุษย์อาจมีพลาสติกสะสมอยู่ ในปริมาณเทียบเท่ากับ ‘ช้อน 1 คัน’
.
งานวิจัยใหม่ที่เผยแพร่บนวารสาร Nature Medicine พบว่า ‘ไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก’ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่า 1 ถึง 1,000 นาโนเมตร อาจสะสมในสมองมนุษย์ ‘ในระดับที่สูงกว่า’ การสะสมในตับและไต ราว 7 ถึง 30 เท่า โดยพบโพลีเอทิลีนซึ่งมักใช้ในบรรจุภัณฑ์มากที่สุด
.
ผู้วิจัยได้เก็บตัวอย่างสมองมนุษย์ที่ถูกชันสูตร จำนวน 52 ตัวอย่าง ซึ่งแบ่งเป็น 28 ตัวอย่างจากปี 2016 และ 24 ตัวอย่างจากปี 2024 พร้อมทั้งตรวจสอบตับและไตจากร่างกายเดียวกัน จากนั้นวิเคราะห์เนื้อเยื่อ โดยใช้การถ่ายภาพด้วยกล้องจุลทรรศน์ และการวิเคราะห์ระดับโมเลกุล เพื่อระบุองค์ประกอบทางเคมีของอวัยวะ
.
จากนั้นพบว่า ตัวอย่างสมองและตับจากปี 2024 มีการสะสมอนุภาคพลาสติกที่ ‘สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ’ เมื่อเทียบกับปี 2016 โดยสิ่งที่น่ากังวลคือในระยะเวลาเพียง 8 ปีนี้ ปริมาณพลาสติกในร่างกาย ‘เพิ่มขึ้นถึง 50%’
.
“ความเข้มข้นที่เราพบในเนื้อเยื่อสมองของคนทั่วไป ซึ่งมีอายุเฉลี่ยประมาณ 45 หรือ 50 ปี อยู่ที่ 4,800 ไมโครกรัมต่อกรัม หรือคิดเป็น 0.48% ของน้ำหนักสมอง” แมทธิว แคมเพน (Matthew Campen) ผู้เขียนร่วมของการศึกษานี้ จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก (University of New Mexico) กล่าวว่า ปริมาณพลาสติกที่พบในร่างกายนั้น อาจเทียบเท่ากับช้อนขนาดมาตรฐาน 1 คัน
.
เขาระบุว่า “สมองของเราในปัจจุบันประกอบด้วยเนื้อเยื่อสมอง 99.5% และส่วนที่เหลือเป็นพลาสติก” ซึ่งก่อนหน้านี้งานวิจัยหลายชิ้น ก็พบว่าไมโครพลาสติกอาจสะสมอยู่ในปอด ลำไส้ เลือด ตับ และรกของมนุษย์
.
อย่างไรก็ตามแคมเพนชี้แจงว่า มีความเป็นไปได้ที่วิธีวัดพลาสติกในปัจจุบัน อาจประเมินระดับของพลาสติกในร่างกายสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป แต่เขาย้ำว่า “เรากำลังทำงานอย่างหนัก เพื่อให้ได้วิธีประมาณการที่แม่นยำ ซึ่งผมคิดว่าเราน่าจะทำได้ภายในปีหน้า”
.
“ไมโครพลาสติกอยู่ในอาหารที่เรากิน น้ำที่เราดื่ม และแม้แต่ในอากาศที่เราหายใจ” ริชาร์ด ทอมป์สัน (Richard Thompson) ผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษและไมโครพลาสติก จากมหาวิทยาลัยพลีมัธ (University of Plymouth) ประเทศอังกฤษ กล่าว โดยนักวิทยาศาสตร์คาดว่า ความเข้มข้นของพลาสติกที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ในบ้าน อากาศ และน้ำรอบตัวเรานั้น อาจเป็นสาเหตุ
.
ด้านแอนดรูว์ เวสต์ (Andrew West) ผู้ร่วมการวิจัยก็กล่าวว่า “ระดับของพลาสติกที่ตรวจพบในสมองนั้นแทบจะเหลือเชื่อ จริงๆ แล้ว ผมไม่เชื่อเลยจนกระทั่งได้เห็นข้อมูลทั้งหมด”
.
คำถามต่อไปที่สำคัญคือ พลาสติกเข้าไปในสมองได้อย่างไร สามารถกำจัดได้หรือไม่ และพลาสติกเหล่านี้เป็นอันตรายแค่ไหน ซึ่งเวสต์ระบุว่า “พูดอย่างง่ายๆ ก็คือ เราไม่รู้ถึงผลกระทบต่อสุขภาพ จากไมโครพลาสติกในสมอง” อย่างไรก็ตามเขาย้ำว่า แม้จะยังไม่รู้ผลกระทบที่ชัดเจน แต่การแก้ปัญหาพลาสติกปนเปื้อนในร่างกายมนุษย์ ถือเป็นเรื่องเร่งด่วน
.
นำบทความมาจาก The MATTER