GSP คืออะไร หลังสหรัฐฯ สั่งยกเลิกสิทธิพิเศษภาษีไทย สูญครั้งใหญ่ 3.9 หมื่นล้าน

กระทู้สนทนา
ดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศระงับโครงการ GSP ยกเลิกให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร กับประเทศไทย อาหารทะเลส่งออกทั้งหมดโดนเพิกถอนสิทธิ ระบุสาเหต ไทยแก้ปัญหาสิทธิแรงงานให้เป็นสากลไม่ได้

 วันที่ 26 ตุลาคม 2562 สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานว่า โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ลงนามประกาศคืนสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ให้กับประเทศยูเครน แต่มีระงับสิทธิดังกล่าวกับประเทศไทย
           โดยก่อนหน้านี้ ทรัมป์ ได้มีคำสั่งระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) กับสินค้าประเทศยูเครน เนื่องจากยูเครน ไม่มีความสามารถในการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างเพียงพอ แต่ขณะนี้ มีการพัฒนาในด้านนี้แล้ว ทางสหรัฐฯ จึงพิจารณายกเลิกคำสั่งระงับดังกล่าว
           ขณะเดียวกัน ในจดหมายอีกฉบับที่ทรัมป์ ที่เขียนถึงแนนซี เพโลซี ประธานสภาผู้แทนราษฎรแห่งสหรัฐอเมริกา และ ไมก์ เพนซ์ ประธานวุฒิสภา และรองประธานาธิบดี ระบุเรื่อง การระงับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรกับสินค้าบางประเภทจากประเทศไทย เนื่องจาก ประเทศไทยไม่ได้ดำเนินการเรื่องสิทธิแรงงานให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล

 ด้านสำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐอเมริกา (USTR หรือ United States Trade Representative) ระบุว่า การระงับสิทธิโคงการ GSP ดังกล่าว มีมูลค่าการค้ารวม 1.3 พันล้าน (ราว 3.9 หมื่นล้านบาท) โดยจะมีผลใน 6 เดือน สินค้า 1 ใน 3 ของไทยที่อยู่ในโครงการส่งออกจะได้รับผลกระทบ โดยการส่งออกอาหารทะเลทั้งหมดของประเทศไทยในรูปแบบปลอดภาษีจะถูกยกเลิกทั้งหมด
           สำหรับ GSP หรือ Generalized System Preference หมายถึง สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร คือสิทธิทางภาษีที่ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศให้กับประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย โดยไม่ต้องเสียภาษีสินค้านำเข้าบางรายการ เมื่อส่งสินค้าไปขายในประเทศผู้ให้สิทธิ เพื่อให้ประเทศที่กำลังพัฒนาสามารถส่งออกสินค้าไปแข่งกับสินค้าจากประเทศที่พัฒนาแล้ว หรือแข่งกับประเทศที่มีความสามารถในการผลิตสินค้าได้ราคาถูกและมีประสิทธิภาพ เช่น จีน เป็นต้น
           โดยสหรัฐอเมริกา ได้เริ่มโครงการ GSP ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา รวมถึงประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2519 ซึ่งตามรายงานของเว็บไซต์กรมการค้าระหว่างประเทศ ระบุว่า การให้สิทธิ GSP ของสหรัฐฯ ต่อประเทศไทย มีด้วยกัน 3 โครงการ ปัจจุบันอยู่ในโครงการที่ 3 ต่ออายุครั้งที่ 10 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 ถึง 31 ธันวาคม 2563
ข้อมูลเพิ่มเติมจาก กรมการค้าต่างประเทศ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่