'สุดารัตน์' ชงโมเดล 6/3 ฟื้นวิกฤติ SMEs
https://voicetv.co.th/read/RLoh1IIw_
คุณหญิงสุดารัตน์ เสนอแนวทางพลิกฟื้นธุรกิจ SMEs พร้อมเรียกร้องรัฐ อย่าเอื้อทุนใหญ่ฝ่ายเดียว
คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุถึงการพลิกฟื้นวิกฤต SMEs โดยมีการเสนอ 6 มาตรการสร้างความเข้มแข็ง รวมถึง 3 มาตรการเร่งด่วน ว่า
พรรคเพื่อไทยร่วมกับสถาบันสร้างไทย และสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย จัดงานเสวนา “
พลิกวิกฤติ SMEs ไทย ให้ทันโลก” ณ ห้องเสวนาชั้น 1 พรรคเพื่อไทย โดยตนได้ร่วมพูดคุยในช่วงต้นของงาน และได้เสนอว่า ตัวชี้วัดที่สำคัญว่ารัฐบาลบริหารเศรษฐกิจเป็นหรือไม่ อยู่ที่การดูแลหรือละเลย SMEs หรือไม่
เพราะวันนี้ประเทศไทยมี SMEs จำนวนกว่า 3 ล้านราย และผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมเหล่านั้น ก็จ้างงานอีกกว่า 12 ล้านคน คิดเป็น 82.2 เปอร์เซ็นต์ ของการจ้างงานทั้งหมด GDP ของ SMEs มีมูลค่า 6.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 42.4 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ทั้งประเทศ ดังนั้น ถ้า SMEs ตาย เท่ากับระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก สอดรับกับสิ่งที่ทีมเพื่อไทยได้พบเมื่อลงไปในพื้นที่ เราพบว่าพี่น้องกำลังประสบวิกฤตหนัก ชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องกู้หนี้ยืมสินต่อลมหายใจเพื่อทำการค้า รัฐบาลที่ทำงานเป็น และบริหารเศรษฐกิจเป็น จึงจะต้องให้ความใส่ใจกับการสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้พี่น้อง SMEs
โดยทีมเพื่อไทยขอถือโอกาสนี้ เสนอ 6 มาตรการใหญ่ และ 3 มาตรการเร่งด่วนเพื่อดูแลพี่น้อง SMEs ประกอบไปด้วย 6 มาตรการสร้างความเข้มแข็งSMEs
(1) รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ดี ต้องสามารถทำให้ทั้งโลกเป็นตลาดของสินค้าไทย รัฐบาลต้องติดปีก SMEs ไทย ให้บินโฉบเฉี่ยว ไปขายได้ทั่วโลกโดยการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล
(2) รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ SMEs ได้เข้าถึงการค้าขายของโลกยุคใหม่อย่าง E-commerce
(3) สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนการดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศ ต้องไม่ใช่เพื่อแต่ประโยชน์ของธุรกิจใหญ่เท่านั้น แต่ต้องมาเสริมโอกาสทางธุรกิจของ SMEs ไทยด้วย
(4) ให้สิทธิพิเศษของคนตัวเล็ก การเจรจากับประเทศคู่ค้าหลักต้องเป็นไปเพื่อขยายตลาดให้ SMEs ไทยด้วย ต้องช่วย SMEs ลดภาระและต้นทุนการค้าทั้งในแง่ของภาษี พิธีการศุลกากร และใบอนุญาตการค้าที่สำคัญ
(5) สร้างแบรนด์รวม Thailand Brand สำหรับคนตัวเล็กอย่าง SMEs ที่สำคัญต้องส่งเสริมให้ SMEs ไทย ที่กำลังสร้างแบรนด์ สามารถขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นทั้งใน และต่างประเทศ
(6) ต้องทลายอุปสรรคที่ขัดขวางการสร้างธุรกิจของประชาชน ทั้งกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ที่ไม่จำเป็น แต่เป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากินของคนตัวเล็ก ไม่ใช่ออกกฎหมายมาจับผิดธุรกิจเล็กๆ จนไม่มีช่องทางทำมาหากิน
สำหรับ 3 มาตรการเร่งด่วน
(1) ต้องส่งเสริมให้ SMEs ไทยที่เป็นโรงงานผู้ผลิต ปรับตัวและแข่งขันได้ในภาวะสงครามการค้าระหว่างประเทศ
(2) ต้องกระตุ้นกำลังการบริโภคภายในประเทศ ให้ SMEs ไทยในภาคธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ขนส่งและจัดจำหน่าย ค้าขายได้ดีขึ้น ไม่ใช่แจกเงินเจ้าสัวผ่านมือคนจน
(3) การฟื้นความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องเกิดขึ้น ให้ SMEs ไทยในภาคธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม สปา เสริมความงาม มีลูกค้าที่กำลังซื้อสูงเพิ่มขึ้น
คุณหญิง
สุดารัตน์ ระบุเพิ่มเติมว่า 17 ปีที่แล้ว รัฐบาลพรรคไทยรักไทยแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจได้สำเร็จ ก็เป็นผลจากการเสริมความแข็งแกร่งให้กับพี่น้องทั่วประเทศ คนทำงานพรรคเพื่อไทยเป็นคนริเริ่มพัฒนานโยบาย SMEs จนทำให้คำว่า SMEs เป็นที่รู้จัก ทำให้ธุรกิจของคนตัวเล็กตัวน้อยมีรายได้อย่างมีศักดิ์ศรี ทำให้ SMEs เป็น Growth Engine เสริมความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทยจนสำเร็จมาแล้ว
โดยวันนี้พี่น้องกำลังสิ้นหวัง เพราะพิษเศรษฐกิจโลก และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล แต่พรรคเพื่อไทยยอมไม่ได้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลหันกลับมาดูแล ส่งเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการรายย่อย โดยไม่มุ่งแต่อุ้มธุรกิจใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว แบบที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ถ้าบริหารเศรษฐกิจเพื่อคนทุกคนได้ประเทศไทยจะยังคงมีทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เสมอ
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/2467687179976727
โยนผ้าขาวส่งออกปีนี้พลาดเป้า
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1687433
“สนค.” สู้ยิบตาปีหน้าเติบโต 1-2%
พาณิชย์เผยมูลค่าส่งออก ก.ย.ที่ผ่านมา ติดลบ 1.39% ลดลงในอัตราชะลอตัวหลังส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมพลิกเป็นบวก และตลาดจีนเติบโต 6.1% ส่วน 9 เดือนแรกปีนี้ ยังติดลบ 2.11% ยอมรับในปีนี้ อาจลบไม่ต่ำกว่า 1% แต่ปีหน้า การันตีเติบโต 1–2%
น.ส.
พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา การส่งออกมีมูลค่า 20,481 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 1.39% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.2561 เป็นการหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ลดลงถึง 4% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 626,011 ล้านบาท ลดลง 7.76% เมื่อหักมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และทองคำออกจะเหลือติดลบ 1.1% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 19,206 ล้านเหรียญฯ ลดลง 4.24% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 595,475 ล้านบาท ลดลง 10.33% ส่งผลให้มีดุลการค้าเกินดุล 1,275 ล้านเหรียญฯ หรือเกินดุล 30,535 ล้านบาท
“9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกมีมูลค่า 186,571 ล้านเหรียญ ลดลง 2.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 5.832 ล้านล้านบาท ลดลง 4.14% ส่วนการนำเข้ามูลค่า 179,190 ล้านเหรียญ ลดลง 3.68% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 5.684 ล้านล้านบาท ลดลง 5.57% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 7,381 ล้านเหรียญ หรือ 147,974 ล้านบาท”
สาเหตุที่มูลค่าส่งออกเดือน ก.ย. ลดลงในอัตราที่ชะลอตัว มาจากสินค้าหมวดอุตสาหกรรม มีการส่งออกเพิ่มขึ้น 0.16% จากการเพิ่มขึ้นของทองคำ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ แม้ว่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ลดลง 3.1% จากการลดลงของข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ
ขณะที่ตลาดส่งออกตลาดหลักๆกลับมาขยายตัว 1.3% จากการขยายตัวของสหรัฐฯ 7.8% ญี่ปุ่น 2.4% แต่สหภาพยุโรป (อียู) ลดลง 5.1% เพราะหลายประเทศได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า โดยเฉพาะเยอรมนี ที่ค้าขายกับจีนมาก ส่วนตลาดศักยภาพสูง ลดลง 5.1% จากการลดลงของซีแอลเอ็มอี (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) 15.3% และเอเชียใต้ 12.5% แต่ตลาดจีนเพิ่มขึ้นถึง 6.1% ส่งผลให้การส่งออกในภาพรวมชะลอตัวลง และอาเซียน (5 ประเทศ) เพิ่มขึ้น 0.6% ขณะที่ตลาดศักยภาพระดับรอง ลดลง 4.1% จากการส่งออกไปซีไอเอส (สมาชิกสหภาพโซเวียตเดิม) เป็นต้น
“ผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน พบว่า เดือน ก.ย.มูลค่าส่งออกไทยกลับเพิ่มขึ้นได้ 331 ล้านเหรียญ เพราะการส่งออกสินค้าที่สหรัฐฯใช้มาตรการขึ้นภาษี เช่น แผงโซลาร์เซลล์ เพิ่มขึ้น แต่การส่งออกเครื่องซักผ้ายังลดลง ส่วนสินค้าไทยที่ส่งออกไปทดแทนจีน ในตลาดสหรัฐฯ มีมูลค่า 1,989 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 9.7%”
“มูลค่าส่งออกเดือน ก.ย.ที่ลดลงในอัตราชะลอตัว มาจากการส่งออกอุตสาหกรรมรายการสำคัญเพิ่มขึ้นทั้งยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ เพราะบางส่วนญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทย และความต้องการตลาดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น รวมทั้งไทยมีการส่งออกไปตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่า การส่งออกไตรมาส 4 ถ้ายังได้เฉลี่ยเดือนละ 20,821 ล้านเหรียญ ก็จะขยายตัวได้ 0.1% และทำให้ตลอดทั้งปีนี้มีโอกาสต่ำกว่า 0% แต่ติดลบไม่มากนัก ประมาณ 1% หรือมากกว่าลบ 1% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
สำหรับปี 2563 คาดว่า มูลค่าส่งออกจะขยายตัว 1-2% เมื่อเทียบกับปีนี้ โดยหากมูลค่าส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,000 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับปีนี้ ก็อาจขยายตัวได้ 1.2% แต่ถ้าได้เฉลี่ยมากกว่า 21,500 ล้านเหรียญ อาจจะขยายตัว 1.5-1.6% ภายใต้สมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ 2.7-3.2% ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย 60-70 เหรียญ/บาร์เรล ค่าเงินบาท 30-31.5 บาท/เหรียญ.
JJNY : 'สุดารัตน์'ชงโมเดล6/3 ฟื้นวิกฤติSMEs/โยนผ้าขาวส่งออกปีนี้พลาดเป้า/มาตรการช่วยอสังฯลุ้นไม่ขึ้น แนวโน้มกำไรยังทรุดฯ
https://voicetv.co.th/read/RLoh1IIw_
คุณหญิงสุดารัตน์ เสนอแนวทางพลิกฟื้นธุรกิจ SMEs พร้อมเรียกร้องรัฐ อย่าเอื้อทุนใหญ่ฝ่ายเดียว
คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ประธานยุทธศาสตร์การเลือกตั้งพรรคเพื่อไทย โพสต์เฟซบุ๊กระบุถึงการพลิกฟื้นวิกฤต SMEs โดยมีการเสนอ 6 มาตรการสร้างความเข้มแข็ง รวมถึง 3 มาตรการเร่งด่วน ว่า
พรรคเพื่อไทยร่วมกับสถาบันสร้างไทย และสมาคมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมไทย จัดงานเสวนา “พลิกวิกฤติ SMEs ไทย ให้ทันโลก” ณ ห้องเสวนาชั้น 1 พรรคเพื่อไทย โดยตนได้ร่วมพูดคุยในช่วงต้นของงาน และได้เสนอว่า ตัวชี้วัดที่สำคัญว่ารัฐบาลบริหารเศรษฐกิจเป็นหรือไม่ อยู่ที่การดูแลหรือละเลย SMEs หรือไม่
เพราะวันนี้ประเทศไทยมี SMEs จำนวนกว่า 3 ล้านราย และผู้ประกอบการขนาดกลาง และขนาดย่อมเหล่านั้น ก็จ้างงานอีกกว่า 12 ล้านคน คิดเป็น 82.2 เปอร์เซ็นต์ ของการจ้างงานทั้งหมด GDP ของ SMEs มีมูลค่า 6.5 ล้านล้านบาท คิดเป็น 42.4 เปอร์เซ็นต์ ของ GDP ทั้งประเทศ ดังนั้น ถ้า SMEs ตาย เท่ากับระบบเศรษฐกิจหยุดชะงัก สอดรับกับสิ่งที่ทีมเพื่อไทยได้พบเมื่อลงไปในพื้นที่ เราพบว่าพี่น้องกำลังประสบวิกฤตหนัก ชักหน้าไม่ถึงหลัง ต้องกู้หนี้ยืมสินต่อลมหายใจเพื่อทำการค้า รัฐบาลที่ทำงานเป็น และบริหารเศรษฐกิจเป็น จึงจะต้องให้ความใส่ใจกับการสร้างความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนให้พี่น้อง SMEs
โดยทีมเพื่อไทยขอถือโอกาสนี้ เสนอ 6 มาตรการใหญ่ และ 3 มาตรการเร่งด่วนเพื่อดูแลพี่น้อง SMEs ประกอบไปด้วย 6 มาตรการสร้างความเข้มแข็งSMEs
(1) รัฐบาลต้องมีนโยบายที่ดี ต้องสามารถทำให้ทั้งโลกเป็นตลาดของสินค้าไทย รัฐบาลต้องติดปีก SMEs ไทย ให้บินโฉบเฉี่ยว ไปขายได้ทั่วโลกโดยการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาล
(2) รัฐบาลต้องส่งเสริมให้ SMEs ได้เข้าถึงการค้าขายของโลกยุคใหม่อย่าง E-commerce
(3) สนับสนุนการเข้าถึงแหล่งทุนการดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศ ต้องไม่ใช่เพื่อแต่ประโยชน์ของธุรกิจใหญ่เท่านั้น แต่ต้องมาเสริมโอกาสทางธุรกิจของ SMEs ไทยด้วย
(4) ให้สิทธิพิเศษของคนตัวเล็ก การเจรจากับประเทศคู่ค้าหลักต้องเป็นไปเพื่อขยายตลาดให้ SMEs ไทยด้วย ต้องช่วย SMEs ลดภาระและต้นทุนการค้าทั้งในแง่ของภาษี พิธีการศุลกากร และใบอนุญาตการค้าที่สำคัญ
(5) สร้างแบรนด์รวม Thailand Brand สำหรับคนตัวเล็กอย่าง SMEs ที่สำคัญต้องส่งเสริมให้ SMEs ไทย ที่กำลังสร้างแบรนด์ สามารถขยายฐานลูกค้าได้มากขึ้นทั้งใน และต่างประเทศ
(6) ต้องทลายอุปสรรคที่ขัดขวางการสร้างธุรกิจของประชาชน ทั้งกฎเกณฑ์และระเบียบต่างๆ ที่ไม่จำเป็น แต่เป็นอุปสรรคต่อการทำมาหากินของคนตัวเล็ก ไม่ใช่ออกกฎหมายมาจับผิดธุรกิจเล็กๆ จนไม่มีช่องทางทำมาหากิน
สำหรับ 3 มาตรการเร่งด่วน
(1) ต้องส่งเสริมให้ SMEs ไทยที่เป็นโรงงานผู้ผลิต ปรับตัวและแข่งขันได้ในภาวะสงครามการค้าระหว่างประเทศ
(2) ต้องกระตุ้นกำลังการบริโภคภายในประเทศ ให้ SMEs ไทยในภาคธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ขนส่งและจัดจำหน่าย ค้าขายได้ดีขึ้น ไม่ใช่แจกเงินเจ้าสัวผ่านมือคนจน
(3) การฟื้นความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยวต่างชาติต้องเกิดขึ้น ให้ SMEs ไทยในภาคธุรกิจบริการ เช่น ร้านอาหาร โรงแรม สปา เสริมความงาม มีลูกค้าที่กำลังซื้อสูงเพิ่มขึ้น
คุณหญิงสุดารัตน์ ระบุเพิ่มเติมว่า 17 ปีที่แล้ว รัฐบาลพรรคไทยรักไทยแก้ไขวิกฤตเศรษฐกิจได้สำเร็จ ก็เป็นผลจากการเสริมความแข็งแกร่งให้กับพี่น้องทั่วประเทศ คนทำงานพรรคเพื่อไทยเป็นคนริเริ่มพัฒนานโยบาย SMEs จนทำให้คำว่า SMEs เป็นที่รู้จัก ทำให้ธุรกิจของคนตัวเล็กตัวน้อยมีรายได้อย่างมีศักดิ์ศรี ทำให้ SMEs เป็น Growth Engine เสริมความแข็งแกร่งให้เศรษฐกิจไทยจนสำเร็จมาแล้ว
โดยวันนี้พี่น้องกำลังสิ้นหวัง เพราะพิษเศรษฐกิจโลก และการบริหารงานที่ผิดพลาดของรัฐบาล แต่พรรคเพื่อไทยยอมไม่ได้ เราขอเรียกร้องให้รัฐบาลหันกลับมาดูแล ส่งเสริมความแข็งแกร่งให้ผู้ประกอบการรายย่อย โดยไม่มุ่งแต่อุ้มธุรกิจใหญ่แต่เพียงอย่างเดียว แบบที่ปรากฏอยู่ในขณะนี้ ถ้าบริหารเศรษฐกิจเพื่อคนทุกคนได้ประเทศไทยจะยังคงมีทางออกจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้เสมอ
https://www.facebook.com/sudaratofficial/posts/2467687179976727
โยนผ้าขาวส่งออกปีนี้พลาดเป้า
https://www.thairath.co.th/news/business/market-business/1687433
“สนค.” สู้ยิบตาปีหน้าเติบโต 1-2%
พาณิชย์เผยมูลค่าส่งออก ก.ย.ที่ผ่านมา ติดลบ 1.39% ลดลงในอัตราชะลอตัวหลังส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมพลิกเป็นบวก และตลาดจีนเติบโต 6.1% ส่วน 9 เดือนแรกปีนี้ ยังติดลบ 2.11% ยอมรับในปีนี้ อาจลบไม่ต่ำกว่า 1% แต่ปีหน้า การันตีเติบโต 1–2%
น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทยว่า เดือน ก.ย.ที่ผ่านมา การส่งออกมีมูลค่า 20,481 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง 1.39% เมื่อเทียบกับเดือน ก.ย.2561 เป็นการหดตัวในอัตราที่ชะลอลงจากเดือน ส.ค.ที่ผ่านมา ที่ลดลงถึง 4% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 626,011 ล้านบาท ลดลง 7.76% เมื่อหักมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน และทองคำออกจะเหลือติดลบ 1.1% ส่วนการนำเข้ามีมูลค่า 19,206 ล้านเหรียญฯ ลดลง 4.24% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 595,475 ล้านบาท ลดลง 10.33% ส่งผลให้มีดุลการค้าเกินดุล 1,275 ล้านเหรียญฯ หรือเกินดุล 30,535 ล้านบาท
“9 เดือนแรกของปีนี้ การส่งออกมีมูลค่า 186,571 ล้านเหรียญ ลดลง 2.11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 5.832 ล้านล้านบาท ลดลง 4.14% ส่วนการนำเข้ามูลค่า 179,190 ล้านเหรียญ ลดลง 3.68% เมื่อคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 5.684 ล้านล้านบาท ลดลง 5.57% ส่งผลให้เกินดุลการค้า 7,381 ล้านเหรียญ หรือ 147,974 ล้านบาท”
สาเหตุที่มูลค่าส่งออกเดือน ก.ย. ลดลงในอัตราที่ชะลอตัว มาจากสินค้าหมวดอุตสาหกรรม มีการส่งออกเพิ่มขึ้น 0.16% จากการเพิ่มขึ้นของทองคำ รถจักรยานยนต์ ฯลฯ แม้ว่าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ลดลง 3.1% จากการลดลงของข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ
ขณะที่ตลาดส่งออกตลาดหลักๆกลับมาขยายตัว 1.3% จากการขยายตัวของสหรัฐฯ 7.8% ญี่ปุ่น 2.4% แต่สหภาพยุโรป (อียู) ลดลง 5.1% เพราะหลายประเทศได้รับผลกระทบจากสงครามการค้า โดยเฉพาะเยอรมนี ที่ค้าขายกับจีนมาก ส่วนตลาดศักยภาพสูง ลดลง 5.1% จากการลดลงของซีแอลเอ็มอี (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) 15.3% และเอเชียใต้ 12.5% แต่ตลาดจีนเพิ่มขึ้นถึง 6.1% ส่งผลให้การส่งออกในภาพรวมชะลอตัวลง และอาเซียน (5 ประเทศ) เพิ่มขึ้น 0.6% ขณะที่ตลาดศักยภาพระดับรอง ลดลง 4.1% จากการส่งออกไปซีไอเอส (สมาชิกสหภาพโซเวียตเดิม) เป็นต้น
“ผลกระทบจากสงครามการค้าสหรัฐฯและจีน พบว่า เดือน ก.ย.มูลค่าส่งออกไทยกลับเพิ่มขึ้นได้ 331 ล้านเหรียญ เพราะการส่งออกสินค้าที่สหรัฐฯใช้มาตรการขึ้นภาษี เช่น แผงโซลาร์เซลล์ เพิ่มขึ้น แต่การส่งออกเครื่องซักผ้ายังลดลง ส่วนสินค้าไทยที่ส่งออกไปทดแทนจีน ในตลาดสหรัฐฯ มีมูลค่า 1,989 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 9.7%”
“มูลค่าส่งออกเดือน ก.ย.ที่ลดลงในอัตราชะลอตัว มาจากการส่งออกอุตสาหกรรมรายการสำคัญเพิ่มขึ้นทั้งยานยนต์ เครื่องปรับอากาศ เฟอร์นิเจอร์ เพราะบางส่วนญี่ปุ่นย้ายฐานการผลิตจากจีนมาไทย และความต้องการตลาดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงการส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น รวมทั้งไทยมีการส่งออกไปตลาดใหม่ๆเพิ่มขึ้น ทำให้คาดว่า การส่งออกไตรมาส 4 ถ้ายังได้เฉลี่ยเดือนละ 20,821 ล้านเหรียญ ก็จะขยายตัวได้ 0.1% และทำให้ตลอดทั้งปีนี้มีโอกาสต่ำกว่า 0% แต่ติดลบไม่มากนัก ประมาณ 1% หรือมากกว่าลบ 1% จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 3% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา”
สำหรับปี 2563 คาดว่า มูลค่าส่งออกจะขยายตัว 1-2% เมื่อเทียบกับปีนี้ โดยหากมูลค่าส่งออกเฉลี่ยต่อเดือนอยู่ที่ 21,000 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับปีนี้ ก็อาจขยายตัวได้ 1.2% แต่ถ้าได้เฉลี่ยมากกว่า 21,500 ล้านเหรียญ อาจจะขยายตัว 1.5-1.6% ภายใต้สมมติฐานอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยอยู่ที่ 2.7-3.2% ราคาน้ำมันดิบเฉลี่ย 60-70 เหรียญ/บาร์เรล ค่าเงินบาท 30-31.5 บาท/เหรียญ.